OS X - Leopard (10.5)

บทความเกี่ยวกับการใช้งาน OS X และ Application ต่าง ๆ บน OS X Leopard เบื้องต้น มีหัวข้อดังนี้

OS X Leopard (10.5) - เกี่ยวกับการติดตั้ง และการ setup เบื้องต้น

จากนั้นก็จะมีหัวข้ออื่น ๆ อีกตามนี้ครับ

สามารถเลือกดูตามที่สนใจได้จากรายการทางด้านขวามือในส่วนของ How-Tos หรือจากรายการที่มีให้เลือกทางด้านล่างนี้ก็ได้ครับ  โดยบางหัวข้อจะมีหัวข้อย่อยที่เกี่ยวอื่น ๆ อีก ลองเลือกดูนะครับ

note : ถ้าเมนูทางด้านขวามือซ้อนกันหรือมีหลายบรรทัดจนอ่านไม่รู้เรื่อง ให้ดูหัวข้อจากด้านล่างนี้แทนครับ


update :
31 มีค. 2552 - update เนื้อหาให้ตรงกับที่มีอยู่ในปัจจุบัน
28 มีค. 2552 - แก้ไขคำผิด
6 ธค. 2551 - เพิ่มรายละเอียดการใช้งาน How-tos

การติดตั้ง OS X Leopard (10.5)

เกี่ยวกับ การ Install และการใช้งาน OS X Leopard เบื้องต้น

การติดตั้ง OSX 10.5- Leopard ตอนที่ 1/2

วิธีการติดตั้ง OS X 10.5 - Leopard

ต่อไปนี้เป็นการแสดงขัั้นตอนการลงโปรแกรม OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard)
note : เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมากพอสมควร ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนจะได้ไม่ยาวเกินไป และเพื่อความรวดเร็วในการโหลดภาพ โดย link ไปยังตอนต่อไปจะอยู่ด้านล่างสุดของหน้านี้ครับ

ภาพประกอบอาจจะไม่ชัดนะครับ ขออภัย

ใส่แผ่น install dvd เข้าไปในเครื่อง

001-install-dialog-1_7.jpg
จะมีตัวเลือกดังนี้

  • Install Mac OS X.app - เป็นการติดตั้ง OS X ลงในเครื่อง
  • DVD or CD Sharing Setup.mpkg - สำหรับ setup การลง OS X ให้กับ Macbook Air
  • Optional Installs - ติดตั้งตัวเลือกอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น xcode, ภาษาต่าง ๆ (สามารถเลือกลงเพิ่มเติมได้ภายหลัง
  • Instructions - คำแนะนำอื่น ๆ

ให้เลือก Install Mac OS X.app เพื่อทำการติดตั้งลงในเครื่อง ถ้ามีหน้าต่างใหม่บอกให้เรา restart ก็ให้เลือก restart ไปนะครับ แล้วเราจะเข้าสู่การ Install

เลือกภาษาในการ Install

003-2_7.jpg

ตรงนี้จะให้เราเลือกภาษาหลักที่จะใช้ต่อไปตลอดการ Install ครับ
เราจะพบกับกล่องข้อความต้อนรับ สำหรับการติดตั้ง OS X

010-1_7.jpg

เราจะเจอกล่องข้อความต้อนรับเราเข้าสู่การติดตั้ง osx ให้กด Continue ผ่านไป

ข้อตกลงการใช้งาน

011-1_7.jpg

เลือกพื้นที่บน hard disk ที่จะทำการติดตั้ง OS X Leopard

R0011137-1_7.jpg

  1. เลือก Options ถ้าต้องการเลือกรูปแบบการ Install OS X Leopard ลงบนเครื่อง (มี 3 แบบให้เลือก - อธิบายในภาพถัดไป)
  2. เลือก hard disk ที่ต้องการจะ install OSX
  3. คลิ๊ก Continue

note : จากภาพผมแบ่ง partition เอาไว้ + กับมี external hdd อีก 2 ตัวต่อเข้้ากับเครื่อง เลยมีให้เลือกเพิ่มขึ้น -- ซึ่งถ้าปรกติเครื่องใหม่ จะเห็น hard disk อยู่ น้อยกว่านี้ อาจจะ 1 -2 hard disk แล้วแต่ว่าจะแบ่ง partition เอาไว้ก่อน install OS X หรือไม่

หน้าต่าง Options

R0011138-1_14.jpg

มีคำสั่งเลือก Install ให้เราเลือก 3 แบบ ดูรายคำอธิบาย เรื่องรูปแบบการ Install OS X Leopard แบบละเอียดได้จาก ใน link เลยครับ =)

เมื่อเลือกได้แล้วกด OK เราจะกลับไปหน้า Select a Destination ในหัวข้อที่แล้ว .. ให้เลือก Hard disk ที่ต้องการจะลง system แล้วจากนั้นกด Continue

หน้าต่างเตรียมสำหรับการติดตั้ง OS X

R0011139-1_7.jpg

ในหน้าต่างนี้ จะเป็นการบอกเราว่าเรากำลังจะติดตั้ง system ใหม่แล้ว

  1. ถ้าเราใช้ MacBook/ MacBook Pro แล้วใช้ไฟจากแบตเตอร๊่เพียงอย่างเดียวอยู่ .. เครื่องจะทำการเตือนให้เราเสียบปลั๊กไฟบ้านเข้ากับ MacBook ของเราด้วย เพราะว่าใช้ระยะเวลานาน เครื่องอาจจะดับไปก่อนการ Install เสร็จสิ้นได้
  2. เลือก Customize เพื่อเข้าไปดูว่า สิ่งที่เรากำลังจะ Install นั้น มีอะไรบ้าง
  3. หลังจากปรับในส่วนของ Customize เรียบร้อยแล้ว ให้เลือก Install เพื่อเป็นการเริ่มต้นติดตั้ง system ใหม่ (ดูภาพถัดไป)

note : เครื่องจะทำการ restart เองหลังจากที่ install เสร็จเรียบร้อยแล้ว

หน้าต่าง Customized บอกเราว่า เราจะ Install อะไรลงไปในเครื่องบ้าง

R0011140_7.jpg

ใครอยากลงอะไรเพิ่มเติม หรือว่าเอาออก ก็สามารถทำได้ในขั้นตอนนี้เลย (ตามปรกติจะถูกเลือกเอาไว้หมด) หรือถ้าอยากจะลงเพิ่มเติมทีหลัง หลังจากลง system ใหม่ไปแล้วก็ได้ ดู Optional Installs บน OS X ได้จากใน link นะครับ

จัดการเสร็จแล้วเลือก Done เพื่อกลับไปหน้าต่างเดิม

ถ้าพร้อมแล้ว ก็เลือก Install ทำการติดตั้ง system ใหม่ได้เลย~

Note : แนะนำว่าเลือกลงทั้งหมดเลยก็ได้ครับ จะได้ไม่ต้องมาติดตั้งใหม่ภายหลัง (ยุ่งยากนะ ผมว่า ไหน ๆ ก็จะ Install system ใหม่แล้ว ก็ Install พวกนี้แถมเข้าไปด้วยก็ประหยัดเวลาดีครับ)

ระบบทำการตรวจสอบแผ่น ว่าพร้อมใช้งานหรือไม่

R0011142_7.jpg

เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการ Install Mac OS X แล้วครับ... แต่ก่อนอื่น ระบบจะทำการตรวจสอบแผ่นที่เราเอามาใช้ก่อนว่าสามารถใช้งานได้ดีหรือไม่ ... (ตามแนวคิดแล้วเป็นเรื่องที่ดี ที่ถ้าตรวจสอบแล้วเจอ error จะได้ไม่ต้องเสียเวลาลง)

แต่...
เค้าใช้เวลาตรวจสอบนานนนนนนนนนนนนนนนนนนนน ไปนิดครับ .. ผมเลยเลือก Skip ข้ามขั้นตอนนี้ไปครับ =P

เข้าหน้ากระบวนการติดตั้ง

R0011143_7.jpg

R0011144_7.jpg

ระหว่างนี้เราก็รอเค้าไปเรื่อย ๆ ครับ จะใช้เวลาประมาณ 40 นาที - 1 ชม. ในขึ้นตอนนี้ครับ =)

แอบสงสัย?

R0011145-1_7.jpg

ผมไม่ทราบว่าเป็นที่ระบบตั้งเอาไว้หรือเปล่า ระหว่างที่ผมลง system ใหม่นี้เจ้าตัว airport นั้นจะถูกเปิดขึ้นมาด้วยเฉยเลย -.-a

ผมเลือกปิดไปจากตรงนี้เลยครับ ฮ่า... ไม่รู้จะมีผลอะไรหรือเปล่า แต่ปิดเอาไว้ก่อนครับ มีความสุข

Install เสร็จแล้วววว ~

R0011146_7.jpg

พอเราติดตั้ง OS X เสร็จไปแล้ว จะมีหน้าต่างนี้ขึ้นมา พร้อมด้วยการนับถอยหลังเตรียม restart เครื่องครับ .. ใครไม่อยากรอให้เค้านับจบ ก็กดปุ่ม Restart เองเลยก็ได้

ตรงนี้จะใช้เวลา restart นานหน่อย แต่อดใจไว้นิดครับ ได้ใช้ system ใหม่ในไม่กี่อึดใจนี้ล่ะ ยิ้มปากกว้าง

ขั้นตอนต่อไป

เนื่องจากการ install OS X Leopard เป็นขึ้นตอนที่มีรายละเอียดมาก ผมเลยคิดว่าจะแบ่งออกเป็น 2 ตอนนะครับ จะได้ไม่ยาวเกินไป และง่ายต่อการโหลดภาพ

ไปที่หัวข้อ Setup การใช้งานครั้งแรก

การติดตั้ง OSX 10.5- Leopard ตอนที่ 2/2 : Setup การใช้งานครั้งแรก

การ SetUp เข้าใช้งาน Mac OS X Leopard ครั้งแรก

หลังจากที่เราติดตั้ง OS X 10.5 Leopard เสร็จเรียบร้อย เครื่องจะทำการ restart เองแล้วเข้าสู่ขั้นก่อนการ SetUp เพื่อใช้งานครั้งแรกเราจะเข้าสู่อนิเมชั่นต้อนรับ

พบกับ อนิเมชั่นต้อนรับงาม ๆ ที่บางคนยังไม่เคยเห็น ยิ้มปากกว้าง

ตรงนี้ไม่มีภาพนะครับ อยากให้ลองดูกันเอง

หน้าต่าง Welcome + setup เลือกประเทศ

020-_1.jpg

ให้เลือกประเทศที่เราอยู่ครับ สำหรับผู้ใช้ในประเทศไทย เลือกติ๊กที่ช่อง Show All แล้วจากนั้นเลือกประเทศ Thailand ... เสร็จแล้วกด Continue ครับ

เลือกคีบอร์ด

R0011149_1.jpg

เลือกเป็น U.S.(อันแรก) ไปก่อนครับ แล้วเราสามารถตั้งค่า ภาษาไทย + การใช้งานคีบอร์ดภาษาไทย ได้ภายหลัง

ต้องการย้ายข้อมูลจากเครื่อง Mac เครื่องเก่าของคุณไหม?

R0011150_1.jpg

เป็นตัวช่วยสำหรับคนที่มีเครื่องหลายเครื่อง มาลง system ใหม่แล้วจะได้ไม่ต้องมานั่งย้ายไฟล์เอง .. เราใช้ตรงนี้ช่วยจัดการให้ได้ครับ มีตัวเลือกดังนี้

  • from another Mac : จากเครื่อง Mac เครื่องอื่น (ต้องใช้สาย Firewire ในการเชื่อมต่อจะดีที่สุดครับ)
  • from abother volume on this Mac : สำหรับย้ายข้อมูลจาก partition อื่น บนเครื่องเดียวกันนี้
  • from a Time Machine Backup : กู้ข้อมูลเดิมมาจากใน Time Machine (ถ้าคุณมีการใช้งาน Time Machine อยู่ก่อนแล้ว ให้เลือกตัวนี้ได้)
  • Do not transfer my information now : ยังไม่ทำการย้ายตอนนี้.. เอาไว้ก่อน ยิ้มปากกว้าง

เลือกเสร็จแล้วกด Continue ครับ

ตัวอย่างการย้ายไฟล์จาก partition อื่นในเครื่องเดียวกัน (ถ้า backup ไว้)

R0011151-1_1.jpg

จากตัวอย่างผมลองเลือกย้ายข้อมูลจาก hard disk ในอีก partition นึงเข้ามาไว้ใน system ใหม่นี้มี 4 หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

  • ข้อมูลส่วนตัวจาก user account ของผมใน system เดิม
  • ค่า setting ต่างในในส่วนของ network (น่าจะรวมถึง internet ด้วย)
  • Applications folder - อันนี้ตรงตัวครับ คือแฟ้ม Applications บน system เดิม
  • แฟ้ม กับ ไฟล์ต่าง ๆ ที่ผมสร้างเอาไว้บน system เดิม

R0011152_1.jpg

รอสักแป๊ปนึงให้เค้าทำการคำนวณพื้นที่ของไฟล์ที่ผมจะย้ายทั้งหมดก่อน จากนั้นจะมีปุ่ม Transfer ขึ้นมาให้เลือก

ให้กดปุ่ม Transfer เพิ่มเริ่มขบวนการขนย้ายไฟล์จากที่เก่ามาไว้ใน system ใหม่ครับ..

note : ผมเลือกเอาเฉพาะข้อมูลส่วนตัว User account กับ Network and other setting นะครับ เพราะจะประหยัดเวลากว่าย้ายทั้งหมด (โดยเฉพาะถ้าใครย้าย Applications folder เดิมมาด้วย จะรอนานมากครับ และโปรแกรมอาจจะทำงานได้ไม่สมบูรณ์จากการย้ายมา system ใหม่นี้ด้วย .. สุดท้ายก็ต้องลงใหม่อยู่ดี ผมเลยเลือกข้ามไปครับ)

ส่วนไฟล์กับแฟ้มจาก system เดิมของผมนั้น ไม่ได้เลือกเพราะว่า ผมลง Leopard ในเครื่องเดียวกับ Tiger ครับ แฟ้มหรือว่าไฟล์ต่าง ๆ ของ system เดิมผมก็ยังอยู่ และสามารถเข้าถึงได้โดยตรงจาก Leopard ครับ (เค้าจะมองเห็น Tiger เป็น hard disk อีก partition ที่อยู่ในเครื่อง) =)

จากนั้นก็เริ่มย้าย

R0011154_1.jpg

หน้าต่าง รีจิสเตอร์

R0011155-1_1.jpg

เป็นข้อมูลผู้ใช้ที่จะถูกส่งไปรีจิสเตอร์ผลิตภัณฑ์ของ Apple และนอกจากนั้นยังจะถูกใช้เพื่อสร้างชื่อเราใน Address Book, Mail อีกด้วย ... ดังนั้น กรอกให้หมด แล้วกด Continue ครับ =)

ถามต่ออีกนิดหน่อย

R0011156_1.jpg

เราจะถูกถามต่อว่าใช้เครื่องนี้ที่ไหน และเราทำงานเกี่ยวกับอะไร
และจะมีให้เราเลือกว่าสนใจจะรับข่าวสารล่าสุดจากทาง Apple หรือเปล่า? ถ้าสนใจ ก็เลือกติ๊กลงไป

จากนั้นกด Continue

กด Continue เพื่อส่งข้อมูลไปให้กับทาง Apple แล้วเตรียมเข้าสู่การ set up เครื่อง

R0011157_1.jpg

อาจจะดูงง ๆ แต่เค้าหมายถึงเตรียมที่จะ login เข้าใช้งานเครื่องเราจริง ๆ กันแล้วครับ

หน้าต่างขอบคุณ พร้อมใช้งาน

R0011158-1_1.jpg

คลิ๊ก Go ~

เข้าสู่ Leopard

R0011159-1_1.jpg

note : จากรูปผมย้ายข้อมูล user account ผมจาก system เดิมมาไว้ใน system ใหม่ (ของเดิมผมตั้ง password ตอน login เอาไว้) เลยเจอหน้าต่างนี้ก่อนเข้าเครื่องครับ ให้กรอก password =)

เข้า system ใหม่

desktop_3.jpg

เข้าสู่หน้าต่าง system ใหม่ของเรากันแล้วนะครับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ OS X Leopard ครับ

การตั้งค่าต่าง ๆ บนเครื่องจากใน system preferences

การตั้งค่าภาษาไทยบน OS X
การปรับแต่ง desktop
การสร้าง user account
อัพเดท software ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

รูปแบบในการ Install OS X Leopard

รูปแบบในการ Install OS X Leopard

ในการ Install OS X นั้น จะมีรูปแบบการ Install ต่าง ๆ ให้เราเลือกตามความต้องการ และนี่คือคำอธิบายครับ

บนหน้าต่าง Select a Destination

R0011137-2_5.jpg

ระหว่างการ Install Mac OS X Leopard ในหน้าต่าง Select a Destinantion นั้น ถ้าเราเลือก Options เราจะถูกพาเข้ามาให้เลือกรูปแบบของการ Install OS X Leopard ตามนี้

เลือกรูปแบบการ Install OS X Leopard

R0011138-1_13.jpg

มีคำสั่งเลือก Install ให้เราเลือก 3 แบบ มีรายละเอียดดังนี้

1.Install Mac OS X / Upgrade Mac OS X :
หัวข้อแรกมีอยู่ 2 หัวข้อที่จะขึ้นให้เลือกตรงส่วนนี้คือ

  • Install Mac OS X - ในกรณีที่เราไม่มี OS X อยู่ในเครื่องก่อนหน้านี้ เครื่องจะเลือกตรงนี้ให้อัติโนมัติ
  • Upgrade Max OS X - ในกรณีที่มี OS X อยู่ในเครื่องอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว จะเป็นการ Upgrade มาเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดตามแผ่น Install ครับ

2. Archive and Install :
เป็นการลง system ใหม่ โดยที่ก่อน Install ใหม่ เครื่องจะทำการเก็บไฟล์ system เก่า back up ลงเอาไว้ในเครื่องให้ด้วย โดยไฟล์ของ system เก่าจะอยู่ในแฟ้มชื่อ Previous System (ในแฟ้มนี้ จะเก็บโปรแกรมในเครื่องตัวเก่า, พวก font และค่า setting อะไรต่าง ๆ .. ให้เราสามารถเข้าถึงได้ภายหลังจากที่ลง system ใหม่เสร็จแล้วได้ครับ)

หัวข้อนี้จะมีตัวเลือก Preserve Users and Network Settings ถ้าเราไม่เลือกห้วข้อนี้ พวกรายละเอียดต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกเอาไว้ใน บัญชีผู้ใช้ ( user account) จะถูกเก็บไว้ในแฟ้ม Previous System ด้วยกันส่วนต่าง ๆ จาก system เก่า

แต่ถ้าเราเลือก Preserve Users and Network Settings พวกรายละเอียดจาก User account จะตามมาติดตั้งให้ใน system ใหม่ให้ด้วยเลยตอน Install

สิ่งที่อยู่ใน user account ที่จะตามมาด้วยตอนลง system ใหม่ถ้าเราติ๊กถูกหน้าหัวข้อ Preserve Users and Network Settings ได้แก่

  • Home folders และรายละเอียดต่าง ๆ
  • Preference settings หน้าตา desktop และการปรับแต่งต่าง ๆใน system preferences
  • ฐานข้อมูลใน Address Book
  • Browser favorites (พวก bookmarks )
  • Network settings and locations การตั้งค่า Internet และอื่น ๆ เกี่ยวกับสถานที่

หัวข้อนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลง system ใหม่ แต่ยังไม่กล้าลงใหม่แบบลบของเก่าทั้ง 100% โดยปรกติแล้ว การ install แบบนี้เราก็จะได้ system ที่เกือบ ๆ จะใหม่หมด 100% เพียงแต่มี setting บางตัวจาก system เดิมตามมาด้วย (ถ้า setting ของเดิมมีปัญหา หรือ setting จากโปรแกรมต่าง ๆ ย้ายมาแล้วมาตีกับ system ใหม่ ... ก็มีแนวโน้มว่า จะมีปัญหาตามมาบน system ใหม่ด้วยครับ ยิ้มปากกว้าง)

note : การลง OS X แบบ Archive and Install นี้ หลังจากติดตั้ง system ใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้้ว บางโปรแกรมหลังจากที่ติดมาอยู่บน system ใหม่ด้วยนั้น จะออกอาการ “เอ๋อ” ครับ .. ถ้าเอาชัวร์จริง ๆ ควรจะทำการ Install โปรแกรมเหล่านั้นใหม่อีกรอบ

3. Erase and Install :
เป็นการลง system โดยก่อนที่จะลง system ใหม่นั้น จะทำการล้างข้อมูลที่มีอยู่เดิมออกไปทั้งหมด แล้วจากนั้นจึงค่อย Install Mac OS X

ถ้าคุณแน่ใจว่าได้ back up ข้อมูลในส่วนต่าง ๆเอาไว้ครบถ้วนดีอยู่แล้ว การเลือกหัวข้อนี้ จะเป็นการลง system แบบสะอาดที่สุด (หรือเรียกว่า clean Install) ค่า setting ต่าง ๆ จะกลับไปเริ่มต้นใหม่หมด

เหมาะสำหรับคนที่ต้องการล้าง system ใหม่จริง ๆ หรือว่ามีปัญหากับบางตัวอย่างเรื้อรัง และแก้ไขไม่ได้ด้วย Archive and Install ครับ...

Optional Install

รายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลือก Optional Installs ในการติดตั้ง OS X ใช้สำหรับ

  • ติดตั้ง application บางตัวเพิ่มเติม
  • ติดตั้งภาษาเพิ่มเติม
  • ติดตั้ง printer driver เพิ่มเติม

โดย Application ที่สามารถลงได้ใหม่จาก Optional Install มีดังนี้

  • Address Book
  • iCal
  • iChat
  • iTunes
  • Mail
  • Oxford Dictionaties
  • Safari
  • X11

note : ดูขึ้นตอนการใช้ Optional Install แบบละเอียดได้จากการติดตั้ง X11 ในหัวข้อด้านล่างนี้ครับ 

เกี่ยวกับ X11

เกี่ยวกับ X11 บน OS X และการติดตั้ง + Update ครับ

การติดตั้ง X11

การติดตั้ง X11 จากแผ่น Os X Installer ที่เรามี

x11-app_3.jpg        x11-icon-2_3.jpg

X11 คือการแสดงผลหน้าต่างแบบ Bitmap ในคอมพิวเตอร์ระบบ Unix ที่บางแอปพลิเคชั่นยังต้องการทำงานผ่าน X11 นี้อยู่ เราจึงต้องมีเอาไว้ในกรณีที่เราต้องการจะใช้งานแอปพลิเคชั่นเหล่านั้น เช่น Inkscape (www.inkscape.org), Gimp (www.gimp.org) เป็นต้น ส่วนแอปพลิเคชั่นบน Os X ส่วนใหญ่ไม่ต้องการ X11 นี้ครับ

ตามปรกติถ้าการ Install ทั่วไป ก็จะมี X11 มาให้ภายในเครื่องเราครับ แต่ก็ไม่เสมอไปนะ โดยขึ้นอยู่กับ Option ตอนที่เราเลือก Install Os X ครับ =)

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ X11 จาก Wiki Pedia (ข้อมูลเป็นภาษาไทย) จาก Link นี้ครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/x_window_system

Note :

  • แอปพลิเคชั่นบน Osx ทั้งจาก Apple เองหรือว่าค่ายอื่น ๆ ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องทำงานผ่าน X11 ครับ คุณไม่จำเป็นต้องเลือกลงก็ได้ ถ้าไม่ได้ลงมาตั้งแต่ตอน Install ครั้งแรก และไม่ได้ใช้แอปพลิเคชั่นที่เฉพาะเจาะจงว่าต้องการ X11 ในการทำงาน
  • ตัวอย่างแผ่น Installer ที่ผมใช้นี้เป็นแผ่น Os X - Leopard เวอร์ชั่น 10.5.4 แผ่นเดียวครับ เพราะผมซื้อแยกต่างหากทีหลัง ไม่ใช่แผ่นที่มากับเครื่อง (เครื่องเดิมผมเป็น 10.4-Tiger) ถ้าใครมีแผ่น Installer อยู่ 2 แผ่น ที่ปรกติจะแถมกับเครื่อง ให้ใส่แผ่นที่ 1 เข้าไปครับ

ใส่แผ่น Os X Installer Dvd เข้าไปในเครื่อง

ZZ1EE6E2A3_3.jpg

เลือก Optional Installs

เข้าสู่หน้าต่าง Optional Installs

ZZ30CD1971_3.jpg
ดับเบิลคลิ๊กที่ Optional Installs.mpkg

เข้าสู่หน้าต่างเตรียมการลงแอปพลิเคชั่น

003-_4.jpg

ข้อตกลงการใช้งานแอปพลิเคชั่น

004-_4.jpg
เลือก Continue แล้วจะมีหน้าต่างนี้โผล่ขึ้นมา

005-_2.jpg
กด Agree เป็นการยอมรับข้อตกลงผ่านไปครับ

เข้าสู่การเลือกจุดหมายปลายทางที่จะ Install

006-_4.jpg
ปรกติแล้วให้เลือกไปที่ Partition หรือ Hard Disk เดียวกับที่เราลง Leopard นะครับ (จากในรูปผมตั้งชื่อ Hard Disk ที่ผมลง 10.5 เอาไว้ว่า Leopard ครับ มีความสุข)

หน้าต่าง Custom Install

007-_2.jpg
เลือก Applications

Note : เกี่ยวกับ Custom Install เป็นรายการที่อยู่นอกเหนือจากการลงแอปพลิเคชั่นปรกติ ซึ่งเราสามารถเลือกลงเองได้ภายหลัง

  • ในกรณีที่เราต้องการแอปพลิเคชั่นเพิ่มเติมส่วนที่เหลือ เหมือนกับที่เรากำลัง Install X11 อยู่นี้
  • หรือในกรณีที่เราเผลอลบแอปพลิเคชั่นติดเครื่องบางตัวไป เช่น Address Book, Ical, Mail, Ichat .. ฯลฯ (ดูรายการแอปพลิเคชั่นที่เหลือได้จากรูปถัดไปครับ)
  • สำหรับผู้ที่ซื้อเครื่อง แล้วมาพร้อมกับ Ilife’08 สามารถ ลงชุดแอปพลิเคชั่น Ilife’08 ใหม่ได้จากตรงส่วนนี้ด้วยครับ =)

นอกจากแอปพลิเคชั่น หรือ Applications อื่น ๆ แล้ว ยังมี

Ipod Support : แอปพลิเคชั่นสำหรับipod Support - - (จากในคำอธิบายนะครับ ผมไม่รู้จะแปลออกมายังไงเหมือนกัน)
Additional Fonts : ฟ้อนท์เพิ่มเติมในประเทศแถบเอเชียครับ พวกจีน เกาหล๊ ไทย .. ฯลฯ
Language Translations : เพิ่มภาษาหลักให้กับเครื่องในกรณีที่การ Install ตามปรกติไม่มีให้ ตามนี้

add-lang_2.jpg

Printer Driver : ลองไดร์เวอร์เพิ่มเติมของปรินเตอร์รุ่นต่าง ๆ มีรายชื่อตามนี้ครับ

add-print_2.jpg

เลือกทำการติดตั้งเฉพาะ X11

007-1_3.jpg

  1. เลือก Application
  2. แล้วมาติ๊กที่ช่อง X11 เพื่อเตรียมติดตั้ง

Note : สำหรับผู้ที่ซื้อเครื่องแล้วมาพร้อมกับ Ilife’08 สามารถลงแอปพลิเคชั่นจาก Ilife’08 ใหม่ (จะเลือกรายตัวหรือทั้งชุด) ได้จากตรงนี้ด้วย - - จากรูปไม่มีชุดแอปพลิเคชั่น Ilife’08 เพราะว่าเป็นแผ่น 10.5 ที่ไม่ได้มากับเครื่องครับ ผมไปซื้อเอาทีหลัง

008-_4.jpg
จากนั้นเลือก Continue

หน้าต่างสรุปว่าเรากำลังจะ Install อะไรบ้างใช้พื้นที่ทั้งหมดเท่าไหร่ (ในที่นี้คือ X11)

009-_4.jpg

ถามยืนยันอีกครั้งก่อน Install

010-_4.jpg
กรอกชื่อผู้ใช้ กับรหัสผ่านลงไปครับ จากนั้นกด Ok

Note : ปรกติเวลาที่เราไปยุ่งเกี่ยวกับระบบมักจะมีหน้าต่างนี้ถามขึ้นมาทุกครั้ง (รวมถึงการ Install แอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ก็ด้วย)

เข้าสู่สถานะ Install

011-_4.jpg

หน้าต่างแจ้งว่าการ Install ผ่านไปได้ด้วยดีครับ ยิ้มปากกว้าง

012-_4.jpg
เลือก Close ไปเป็นขั้นตอนสุดท้าย

เสร็จแล้ว ก่อนที่จะทำการใช้โปรแกรมอื่น ๆ บน X11เราควรที่จะ update X11 บนเครื่องเราให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด หรือ เสถียรที่สุดก่อนเสมอ

การ update X11 (สำหรับ 10.5)

การ update X11 บน Leopard สำหรับใช้งานโปรแกรม Inkscape/GIMP

ที่มาว่าทำไมเราต้อง update X11 บน OS X 10.5-Leopard ให้เป็น version ล่าสุด

X11 บน OS X 10.5 มีความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่กับ X11 ที่ได้นำระบบใหม่มาใช้ และจากตรงนี้เอง ในเวอร์ชั่นแรก ๆ ของ Leopard 10.5.0-10.5.1 หรือกว่านั้น X11 ค่อนข้างจะมีปัญหามากเรียกว่าใช้งานแทบไม่ได้เลย จนบางคนต้องเอา X11 จาก 10.4 มาใช้แทนบน 10.5 - - หลังจากนั้นไม่นาน พออัพเดทเป็น 10.5.2 แล้ว X11 จึงเริ่มที่จะใช้งานได้ (ปัญหาน้อยลง)

และจนถึงปัจจุบันที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ (10.5.4) ก็ยังมีปัญหาอยู่ครับ เลยอยากขอแนะนำว่า ให้ update X11 ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดก่อน (หรือไม่ก็เป็นเวอร์ชั่นที่เสถียรที่สุด - ดูรายละเอียดได้จาก link ด้านล่างนี้ครับ) ก่อนเสมอ

สามารถเข้าดาวน์โหลด X11-XQuartz เวอร์ชั่นล่าสุดได้ ที่นี่ หรือจาก link นี้ครับ
http://xquartz.macosforge.org/trac/wiki

update : หลังจาก install รอบแรกผ่านไปแล้ว ปรากฎว่าตัว 2.3.0 มีปัญหากับ wacom รุ่นที่ผมใช้อยู่ -.- เลยต้องโหลดตัว 2.2.3 มาลงแทน จึงใช้งานได้ครับ

update: 23 กย. 51 เวอร์ชั่นล่าสุดเป็น 2.3.1 ครับ ใช้งานได้ ไม่ตีกับ wacom แล้ว แต่มีปัญหาเรื่องการสลับภาษาในบางเครื่อง (เครื่องผมด้วย แห่ะ ๆ 2) และจะแก้ในเวอร์ชั่น 2.3.2 ครับ
จาก http://xquartz.macosforge.org/trac/ticket/162#comment:1

update: 10 เมษา 52 เวอร์ชั่น 2.3.2 ออกแล้วครับ และสามารถสลับภาษาระหว่างใช้งานโปรแกรมบน X11 ได้แล้ว ลองเข้าไปโหลดมา update กันดูนะครับ
http://xquartz.macosforge.org/trac/wiki

ดาวน์โหลด X11-XQuartz เวอร์ชั่นล่าสุด

Picture4_20.jpg
เข้าหน้าเวปมา จะเห็นหัวข้อ Latest Release ซึ่งคือเวอร์ชั่นล่าสุดที่เราต้องการ (ตอนที่เขียนบทความอยู่นี้เป็นเวอร์ชั่น 2.3.0 ครับ) ซึ่งก็จะมีรายละเอียดปลีกย่อยถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งใน X11 จากการอัพเดท OS X เองมาเทียบให้ดูด้วย ซึ่งตามปรกติแล้ว X11 -XQuartz บนเวปนี้จะอัพเดทเร็วกว่าบน OS X ครับเพราะเป็น open source ไม่ต้องรออัพเดทพร้อมกับ OS

ให้คลิ๊กเข้าไปที่เวอร์ชั่น 2.3.0 (หรืออื่น ๆ ก็ตามที่ออกมาภายหลังและมีมาให้เลือกในส่วนของ Lastest Release ครับ)

Picture5_26.jpg
เราจะถูกพามาหน้าใหม่ พร้อมโหลด แต่สำหรับตอนที่ผมกำลังจะโหลดตัว 2.3.0 มีหัวข้อฟ้องมาดังนี้ครับ

  1. เค้าเตือนว่า มีผู้ใช้หลายคนที่โหลดตัวล่าสุดไปแล้วมีปัญหาเรื่องคีบอร์ดในบางโปรแกรม ถ้าคุณโหลดไปแล้วเจอปัญหาดังกล่าว ให้เปลี่ยนไปลง XQuartz เวอร์ชั่นอื่นแทน (อันที่ผมวงเอาไว้ในกรอบนั่นล่ะครับ)
  2. เป็น link สำหรับโหลดเวอร์ชั่นล่าสุด (2.3.0) มาลงบนเครื่อง (ผมโหลดตัวนี้มาลงครับ ถ้ามีปัญหาผมจะไปโหลดตัวในข้อ 1 มาอีกที มีความสุข

(update : หลังจาก install รอบแรกผ่านไปแล้ว ปรากฎว่าตัว 2.3.0 มีปัญหากับ wacom รุ่นที่ผมใช้อยู่ -.- เลยต้องโหลดตัว 2.2.3 มาลงแทน จึงใช้งานได้ครับ)

จากนั้นเราก็มา install ตัว update นี้กัน

update บน OS X 10.5-Leopard ให้เป็น version ล่าสุด

006-1_1.jpg
ไปที่เราโหลดเค้ามานะครับ จากนั้นดับเบิลคลิ๊กไปที่ X11-2.3.0.pkg ตัวนี้

ขึ้นหน้าต่าง Introduction เตรียมการลงโปรแกรม

Picture1_40.jpg

Read Me รายละเอียดของ update ตัวนี้

ZZ34708B79_1.jpg
note : ตามปรกติแล้วเรากดผ่านไปได้เลย แต่ถ้าเราลงโปรแกรมจากค่ายอิสระ (3rd Party) แล้วหัวข้อตรงนี้เป็นส่ิงที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ เพราะจะมีรายละเอียดและเรื่องที่ผู้ใช้ควรจะทราบก่อนการ install ครับ

ข้อตกลงของโปรแกรม

ZZ5A5F1882_1.jpg
กด continue ผ่านไป เราจะได้หน้าต่างยืนยันการลงโปรแกรมนี้มา

ZZ4070E337_1.jpg
กดยืนยัน Agree ครับ

install ลงบน hard disk หลักของเครื่องเรา

ZZ4575EFE5_1.jpg
คลิ๊ก install จะมีหน้าต่างขึ้นเตือนนี้มา
ZZ4A51BDB2_1.jpg
ให้กรอกชื่อผู้ใช้ กับรหัสผ่านของเราลงไปครับ จากนั้นกด OK

หน้าต่างเตือน การปิดโปรแกรม และการ log out ออกจากระบบ

ZZ393775E8_1.jpg
จะมีหน้าต่างเตือนเราว่า การ install update นี้ เมื่อ install เสร็จสิ้น ระบบจะต้องปิดโปรแกรมที่เปิดไว้อยู่ทั้งหมด และจะทำการ logout ออกจากระบบ (เป็นขั้นตอนอัตโนมัติครับ .. ดังนั้นใครเปิดโปรแกรมอะไรค้างไว้อยู่ก็รีบ save แล้วปิดให้หมดก่อนตอนนี้เลยนะครับ มีความสุข)

ถ้าปิดโปรแกรมเรียบร้อยหมดแล้ว เลือก Continue Installation เพื่อทำการติดตั้งจริงต่อไปได้เลย ยิ้มปากกว้าง

ทำการติดตั้งจริง

ZZ635F8827_1.jpg
แจ้งว่าติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ZZ6888FA58_1.jpg
เลือก Logout เพื่อออกจากระบบ แล้วทำการ login เข้ามาใหม่เป็นอันเสร็จพิธีการ update X11 บน 10.5 ครับ

เสร็จแล้ว...

จากนั้นเราก็จะมาทำการ install โปรแกรม Inscape หรือ GIMP กันต่อไปได้แล้วครับ

ใช้งาน OS X เบื้องต้น

การใช้งาน OS X 10.5-Leopard ทั่วไปเบื้องต้น

Software Update

Software Update : อัพเดทซอฟแวร์ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด

สิ่งที่เราควรทำหลังจาก Install Application ต่าง ๆ ลงในเครื่องแล้วคือการตรวจสอบว่า Applications ของเรานั้นเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดหรือไม่ เพราะ

  • เวอร์ชั่นใหม่ อาจจะมีคำสั่งใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมา เพื่อทำให้การใช้งานสะดวกขึ้น
  • เวอร์ชั่นใหม่แก้ปัญหา (bug) ที่เคยมีในเวอร์ชั่นเก่า
  • เวอร์ชั่นใหม่ปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรในเครื่องให้มีปัญหาน้อยลง หรือว่าทำงานได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

โดยที่รูปแบบทั่วไปของการอัพเดทมีดังนี้

  1. กรณีอัพเดทแบบเตือนอัตโนมัติ ส่วนใหญ่เกิดกับ update สำคัญ เช่น OS X เวอร์ชั่นใหม่ หรือ Securities Update (การปรับปรุงระบบความปลอดภัย)
  2. การอัพเดท OS X และ Application ของ OS X ทั่วไปต้วยตนเอง (เช่นพวก iCal, Address Book, iTunes, iLife, iWork,... เป็นต้น)
  3. การอัพเดท Application จาก 3rd party อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ของ Apple

note : ปรกติแล้ว หลังจากที่ทำการติดตั้ง OS X หรือโปรแกรมต่าง ๆ ครั้งแรก จะมีการเตือนอัตโนมัติให้เราอัพเดทตามครับ =)

1.การ update แบบเตือนอัตโนมัติ

สำหรับบางกรณี OS X หรือ Securities Update (การปรับปรุงระบบความปลอดภัย) จะมีการเตือนขึ้นมาโดยอัตโนมัติให้เราเลือก update ครับ แบบนี้

software-update-icon_1.jpg

เมื่อคลิ๊กเข้าไปจะพบกับหน้าต่างนี้
002-_2.jpg

จากนั้นก็คลิ๊กเพื่อ Install Update ครับ

2.การ update สำหรับ OS X / OS X Apps ต่าง ๆ ด้วยตนเอง

ไปที่เครื่องหมาย Apple (บนเมนูบาร์ ด้านซ้ายบนสุด)

apple-update_1.png

อธิบาย
1.About This Mac : บอกว่าตอนนี้เครื่องที่เราใช้งาน OS X เวอร์ชั่นไหนอยู่ และมี Spec อะไรบ้าง
2.
Software Update... : ตรวจสอบอัพเดทของ OS X รวมไปถึง Application พื้นฐานต่าง ๆ ที่มากับ OS X (ถ้าใครซื้อซอฟแวร์จาก Apple เช่น Pro Apps ต่าง ๆ ก็จะมาขึ้นในส่วน update นี้ให้ด้วย)
3.
Mac OS X Software... : เข้าไปที่หน้า download Application ต่าง ๆ จากในเวป apple ครับ มีทั้ง app จากทาง apple เอง กับ app ค่ายอื่น ๆ

ถ้าต้องการตวรจสอบ update ด้วยตนเอง ให้เลือก Software Update.. ครับ

About This Mac

Picture2_3.png

ข้อมูลพื้นฐานบนเครื่องเรา ว่าใช้ System เวอร์ชั่นไหน และมี Spec อะไรบ้าง

note : สามารถกดเลือก Software Update ได้จากหน้าต่างนี้เลย

Software Update...

จะเป็นการตรวจสอบ Applications พื้นฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่ใน OS X ครับ พวก iCal, Safari,... หรือว่าชุด iLife, iWork เป็นต้น
003-1_1.jpg
1.ถ้าตรวจเจอ Update เค้าจะถามเราว่าต้องการจะ Install หรือไม่ โดยทั่วไปแล้วควรจะเลือกลงทั้งหมด
2.กด Install ทั้งหมดที่เลือกไว้เพื่อ update Application บนเครื่องเรา

Mac OS X Software

005_1.jpg
เราจะถูกพาเข้ามาที่หน้า download บน apple.com ครับ มีทั้ง app จากทาง apple เอง และ app จากค่ายอื่น ๆ

3.การอัพเดท Application ที่ไม่ใช่ของ apple

ถ้าเราต้องการ update Application ที่เราซื้อ หรือ install ติดตั้งเองภายหลังที่ไม่ใช่ software จาก apple โดยทั่วไปสามารถทำได้ จาก

1.การไปที่ Help ของโปรแกรมนั้น ๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีทั้งการเชคแบบอัตโนมัติ หรือไม่ก็ให้เราเชคเองเป็นครั้ง ๆ ไปครับ เช่น..

006_1.png         หรือ                 007_1.png

2.การ update จะอยู่ในเมนูภายใต้ชื่อของโปรแกรมเอง (อันเดียวกับที่เราจะเข้า preference ของโปรแกรมนั้น ๆ ล่ะครับ) เช่นแบบนี้

Picture4_1.png

วิธีแก้ปัญหา update OS X ผ่าน Software Update แล้วค้าง

Apple โพสในหน้า support บน apple.com ถึงวิธีแก้อาการ update OS X ผ่าน Software Update (จาก apple menu) แล้วค้างค้างระหว่างการ update  

มีขั้นตอนคร่าว ๆ ดังนี้

<

div>

  1. ถ้าพบว่าเครื่องค้างให้ force shutdown ด้วยการกดปุ่มเปิดเครื่องค้างเอาไว้จนเครื่องดับเอง แล้วจากนั้นเปิดขึ้นมาใหม่
  2. เมื่อเข้าสู่การทำงาน OS X ปรกติ บน Finder ไปที่คำสั่ง Go บนเมนูบาร์
  3. พิมพ์ /Library/Updates แล้วกด enter เราจะเข้าไปยัง folder ที่มีข้อมูลของตัว update ล่าสุดที่เราลงค้างเอาไว้
  4. ให้ลบไฟล์ทั้งหมดใน folder นั้นทิ้ง จากนั้นลอง update ผ่าน Software Update อีกครั้ง
หรือ 

เข้าไปโหลดตัว Update แบบ stand alone มาติดตั้งเองจากในเวป
http://www.apple.com/downloads/macosx/apple/

*ปัญหานี้คาดว่าน่าจะแก้ได้หลังจากลง 10.5.6 ไปแล้ว คงต้องรอตัว 10.5.7 ออกมาแล้วทำการ update ดูว่าจะแก้ปัญหานี้ได้จริงหรือเปล่า
*ผมเจอปัญหานี้กับตัวเองระหว่าง update จาก 10.5.4 ไป 10.5.5 ครับ แก้ด้วยการโหลดตัว update แบบ stand alone มาติดตั้งเองบนเครื่อง

Desktop พื้นที่ทำงานของเรา

มาทำความรู้จักกับ Desktop ของเรากัน

Desktop หรือว่าหน้าต่างแรกที่เราจะเข้ามาเจอตอนเปิดเครื่องเป็นพื้นที่หลักในการทำงานบนเครื่องของเรา และยังใช้สำหรับให้เราจัดการเข้าถึงทรัพยากร หรือส่วนต่าง ๆ ของเรื่องเราได้โดยง่าย (คล้าย ๆ กับบน windows pc)

desktop_8.jpg

มีส่วนประกอบทั่วไปดังนี้

desktop_9.jpg

1.Menu Bar - เมนูบาร์ : แถบแสดงคำสั่ง + icon แสดงสถานะการทำงานของเครื่อง

  • ทางด้านมุมบนซ้ายมือ เป็นแถบที่อยู่ของชุดคำสั่งของแต่ละโปรแกรม
  • ส่วนทางด้านขวามือจะเป็นไอคอนเกี่ยวกับการทำงานทั่วไปของเครื่อง เช่น ระดับคุณภาพสัญญาณไวเลส, Bluetooth, ระดับแบตเตอรี่, เวลา, วันที่, account ที่ใช้งานอยู่ และ Spotlight (จะเรียกส่วนนี้ว่า Menu Bar Extra ก็ได้)

1.1. Active application : ตรงนี้จะเป็นตัวบอกว่าเรากำลังใช้งาน application อะไรอยู่ (โดยจะเปลี่ยนไปตาม application ที่เราใช้งานอยู่ล่าสุดเสมอ)

2.Hard disk icon : แสดง icon ของ Hard disk (HD) เราบนเครื่อง จำนวนขึ้นอยู่กับ partition ที่แบ่งเอาไว้ภายในเครื่อง และ จำนวน HD ที่ถูกเชื่อมต่อภายนอก

3.Desktop : พื้นที่ทั้งหมดนี้ เรียกว่า Desktop

4.Dock : เป็นแหล่งรวม icon ของ applications ต่าง ๆ ให้เราเรียกใช้ได้โดยสะดวกมากขึ้น (สามารถลาก icon โปรแกรมที่อยากได้มาลงเพิ่ม/ ปรับลดได้) + ใน 10.5 นี้มี Stack มาเป็น Feature ใหม่เพิ่มขึ้นมาบน Dock ด้วย

5.Finder Window : หน้าต่างของโปรแกรม Finder (ประมาณ windows explorer) เอาไว้สำหรับค้นหา/ บริหาร / เข้าถึงเพื่อจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในเครื่องเรา

6.Stack : เป็นความสามารถใหม่ที่เพิ่งมีบน OS X Leopard มีจุดประสงค์เพื่อสดความสับสนของจำนวนไฟล์ที่มีมากขึ้นเรื่อย ๆ บน desktop ของเรา โดยที่ติดมากับเครื่องทีแรกเลยจะมี 2 stack คือ

  • Documents : เข้าถึง Documents folder จาก dock
  • Download : อะไรที่เราโหลดมา จะมารวมกันอยู่ในนี้ (เว้นแต่ว่าเราจะกำหนดให้ download ไปลงที่อื่น)

บางคนอาจจะสับสนว่า แล้วมันต่างอะไรกับการสร้าง folder แล้วลากมาวางบน dock?

ที่แตกต่างจาก Folder คือ Stack จะแสดงไฟล์ที่ถูกจับโยนลงมาล่าสุดให้เราได้เห็นเป็น icon เล็ก ๆ ครับ (ซึ่งจะเปลีี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามไฟล์ที่ถูกใส่ลงมาล่าสุด) ... เท่านี้ครับ เท่านี้จริง ๆ - -a ลองเอาไปปรับใช้กันดูนะ ผสม ๆ กันก็ได้

stack_2.png
จากภาพ 1.stack สำหรับไฟล์ชั่วคราว / 2.Documents folder / 3.Download stack / 4.trash

7.Trash : ถังขยะประจำเครื่อง เอาไว้สำหรับลบไฟล์ที่ไม่ต้องการ หรือลบ application ที่ไม่ต้องการทิ้งไป
(ใช้สำหรับการ uninstall บาง application ได้ด้วย) โดยที่ไฟล์ที่ถูกเราลบจะถูกนำมาพักไว้ในถังขยะนี้ก่อน (เหมือนบน windows pc) ถ้าเราต้องการที่จะลบไฟล์ออกจริง ๆ ให้คลิ๊กขวาแล้วเลือก Empty Trash

emptytrash_2.png

note :

  1. ในบางกรณีถ้าเราจะลบไฟล์ที่ lock เอาไว้ เครื่องจะฟ้องเราว่าไฟล์นี้ถูก lock อยู่ ต้องกด Option ค้างเอาไว้ตอนเลือก Empty Trash ด้วย จึงจะสามารถลบไฟล์ที่ lock เอาไว้ใน Trash ได้
  2. ไฟล์ที่มาอยู่ใน Trash แล้ว จะไม่มีปุ่มลัดเพื่อนำกลับไปไว้ที่เดิม ... ดังนั้น โปรดระวังก่อนนำไฟล์ลงถัง นะครับ

8.Spotlight : ค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในเครื่อง การทำงานคร่าว ๆ ของ spotlight คือ คล้าย ๆ กับการค้นหา โดย search engine บนเครื่องเรา เช่น ลองพิมพ์คำว่า mac ลงไป ผลลัพท์ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า mac จากในส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจะขึ้นมาให้เราเห็น พร้อมทั้งแยกประเภทของไฟล์ต่าง ๆ ที่ค้นเจอมาให้ด้วย ยิ้ม

spotlight-result_2.jpg

เพิ่มเติม
ดู System Preferences : การเปลี่ยนรูปพื้นหลัง Desktop

จัด Icon บน Desktop

จัด Icon บน Desktop

kok-desktop.jpg

เราสามารถปรับแต่งรูปแบบการแสดงผลของ icon บน desktop ให้ตรงกับความต้องการของเราได้ โดยมีวิธีการดังนี้

คลิ๊กขวาบนที่ว่างในหน้า Desktop ของเรา

show-view-options.png
เลือก Show View Option
ถ้ายังไม่เคยปรับอะไรมาก่อนเลย เราจะได้หน้าต่างประมาณด้านล่างนี้ครับ

view-default.jpg

เริ่มปรับแต่งในส่วนต่่าง ๆ กัน

Icon Size :

ปรับขนาดของ icon บน desktop เราครับ

icon-size-big-1.jpg
Icon size : 48 x 48

icon-size-small-1.jpg
Icon size : 32 x 32

Grid Space :

ขนาดช่องไฟของ icon แต่ละแถว

gridspace-full-2.jpg

girdsapce-adjusted.jpg

Text size :

ขนาดของตัวหนังสือ (ชื่อ Icon) เลือกปรับเอาที่อ่านแล้วสบายตาที่สุดนะครับ =)

icon-font-size.jpg
Label Position

เลือกตำแหน่งของชื่อไฟล์ / แฟ้ม

name-right.jpg
เอาชื่อไว้ทางขวาของ icon

name-bottom.jpg
เอาชื่อไว้ด้านล่าง icon

Show items info :

แสดงรายละเอียดของไฟล์ เช่น ขนาดกว้าง x ยาวของไฟล์ภาพ หรือพื้นที่ ๆ เหลืออยู่บน HD หรือจำนวนไฟล์ในแฟ้ม .. เป็นต้น

show-icon-info.jpg

Show icon preview :

แสดง / ยกเลิก icon preview

show-icon-nopreview.jpg

แบบไม่แสดง preview ไฟล์จะขึ้นเป็นสัญลักษณ์มาตรฐานของ OS

show-con-preview.jpg

แสดง icon preview สังเกตดูว่าตัว icon เป็นรูปเนื้อหาของไฟล์นั้น ๆ เองแล้ว

Arrange By :

การจัดเรียง icon ตามลำดับ ตามที่เราเลือก ซึ่งถ้าเราไม่เลือกตรงนี้ไว้ icon บน desktop ของเราจะอยู่กันกระจัดกระจายไม่เป็นหลักแหล่ง ทำให้ยากต่อการค้นหา (ในบางกรณีเค้าสามารถซ้อนกันได้) ดังรูป

arrange-no.jpg

ตัวเลือกสำหรับการ Arrange มีดังนี้

arrange-by.jpg

  • None : ไม่มีการจัดไฟล์
  • Snap to Grid : นอกจากจะจัดแล้ว ยังบังคับให้ไฟล์เรียงตัวกันตามช่องไฟที่เรากำหนดเอาไว้ ดูเป็นระเบียบเรียบร้อย (ควรจะเลือกตรงนี้เอาไว้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัด desktop นะครับ)
  • Name : เรียงลำดับตามตัวอักษร
  • Date Modified : เรียงลำดับตามวันที่มีการแก้ไข
  • Date Created : เรียงลำดับตามวันที่ไฟล์ถูกสร้างขึ้น
  • Size : เรียงตามขนาด
  • Kind : จัดกลุ่มตามประเภทของไฟล์ เช่น ไฟล์ภาพ, แฟ้ม, ไฟล์ word
  • Label : จัดเรียงตามสีที่เราเลือก Label ไว้ให้กับไฟล์

ตัวอย่างของการ Arrange By Name + Snap to Grid การจัดไฟล์เรียงลำดับตามชื่อ และเรียงตาม Grid เว้นช่องไฟไว้เท่า ๆ กัน

arrange-by-name.jpg

Bluetooth

Bluetooth เป็นการเชื่อมต่อในรูปแบบหนึ่ง โดยอาศัยการเชื่อมต่อผ่านสัญญาณวิทยุสั้น ๆ เพื่อรับส่งข้อมูลจากปุกรณ์ Bluetooth เหมือนกัน โดยสามารถใช้งานได้คร่าว ๆ ดังนี้

  • เชื่อมต่ออุปกรณ์มือถือ/pda/ palm เข้ากับ OS X ผ่าน iSync สำหรับการ backup Contact หรือ ปฎิทินนัดหมาย
  • เชื่อมต่อ Mouse/ Keyboard ไร้สาย
  • เชื่อมต่อกับเครื่อง Printer

หรือการเชื่อมต่อหูฟังไร้สายเข้ากับโทรศัพท์มือถือที่ตอนนี้เร่ิมจะมีให้เห็นกันมากขึ้นแล้วในประเทศไทย จากการบังคับไม่ให้ยกโทรศัพท์ขึ้นมาคุยขณะขับรถ

ถือว่าการเชื่อมต่อแบบ Bluetooth นี้มีประโยชน์ในหลาย ๆ ทาง และบางครั้ง ก็สามารถรับ - ส่งไฟล์ข้ามไปมาระหว่างเครื่อง Notebook ได้อีกด้วย (อันนี้ผมเจอมากับตัวเองครับ เลยเขียนเก็บเอาไว้ด้วยเลย อ่านได้จาก link ข้างล่างนี้ หรือในส่วนของ Mac 101 นะครับ)

การเปิด /ปิด Bluetooth ภายในเครื่อง
เราสามารถเปิด / ปิดการทำงานของระบบ Bluetooth ภายในเครื่องได้จาก

  • บนเมนูบาร์ เข้า Bluetooth icon แล้วเลือก Turn Bluetooth On

bluetooth-on-1.jpg

  • หรือจากใน System Preference / Bluetooth

bluetooth-on-2.jpg

การจับคู่อุปกรณ์ Bluetooth เข้ากับ OS X

เรียก System Preferences แล้วเลือก Bluetooth

bluetooth-02_3.jpg

เข้าหน้าต่างใหม่ แสดงรายการอุปกรณ์ Bluetooth ที่ทำการ pair (จับคู่) เข้ากับเครื่องเราแล้วอยู่ทางด้านซ้ายมือ

bluetooth-03_3.jpg
กดเครื่องหมาย + เพื่อเพิ่มอุปกรณ์ชิ้นใหม่เข้าไปในระบบ จากนั้นจะเข้าหน้าต่าง Bluetooth Setup Assistant เพื่อให้เราเลือกว่าจะเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ Bluetooth แบบไหนบ้าง

bluetooth-05-1.jpg
เมื่อเลือกเชื่อมต่อจับคู่ (Pairing) เรียบร้อยแล้ว สามารถรับส่งข้อมูลผ่าน icon bluetooth หรือผ่าน iSync ได้ (กรณีต่อกับโทรศัพท์มือถือ)

สามารถเข้าไปดูตัวอย่างเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ iSync เชื่อมต่อกับมือถือได้จาก link นี้ครับ
http://macmuemai.com/content/92

อ่านเพิ่มเติมประกอบ
เกี่ยวกับ Bluetooth บน OS X
http://support.apple.com/kb/HT3039?viewlocale=en_US

การรับส่งไฟล์ระหว่าง OS X และอุปกรณ์ Bluetooth ด้วยกัน
http://support.apple.com/kb/HT3042?viewlocale=en_US

เกี่ยวกับการใช้งาน iSync เบื้องต้น(บนแมคมือใหม่.คอม)
http://macmuemai.com/tag/isync/view

Bluetooth Sharing : การกำหนดรายละเอียดรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth

ส่วน Bluetooth Sharing นั้น จะมีรายละเอียดดังนี้

bluetooth-09.jpg

อธิบาย

  • When receiving items: จะเป็นการกำหนดว่า เมื่อมีคนส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth เข้ามาที่เครื่องเราแล้ว ให้ทำอย่างไร มีหัวข้อย่อยอีก 4 ตัวเลือกดังนี้
    • Accept and Save : เลือกรับไฟล์และ save เก็บเอาไว้โดยไม่ถาม
    • Accept and Open : เลือกรับไฟล์และเปิดไฟล์ที่ได้รับขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
    • Ask What to Do : ถามเตือนเราก่อนว่าจะรับไฟล์นั้นหรือไม่
    • Never Allow : เป็นการปฎิเสธไฟล์ที่ส่งเข้ามาผ่านทาง Bluetooth ในทุกรณี
  • Require Paring : บังคับว่าจะรับส่งไฟล์ได้กับอุปกรณ์ที่เราจับคู่เอาไว้แล้วเท่านั้น
  • Folder for accepted items : เลือกว่า จะเก็บไฟล์ที่รับมาไว้ที่ไหนในเครื่อง
  • When other devices browse : กำหนดว่าเมื่อมีบุคคลอื่นเข้ามาดูไฟล์ (browse) เครื่องเรา จะทำอย่างไร มีมาอีก 3 ตัวเลือกคือ
    • Ask What to Do : ถามเราก่อนว่าจะทำอย่างไร
    • Always Allow : อนุญาตเสมอ โดยไม่ถามเตือนเมื่อมีใครเข้ามาเครื่องเราผ่าน Bluetooth
    • Never Allow : ไม่อนุญาตไม่ว่ากรณีใดใด
  • Folder others can browse : เลือกว่าบุคคลอื่นสามารถเข้ามาเห็นส่วนไหนของเครื่องเราได้บ้าง โดยปรกติจะเข้าได้แค่ Public Folder บนเครื่องเรา ถ้าเราอยากแชร์ไฟล์อะไรก็ให้นำไปไว้ใน folder นี้ คนอื่นเข้ามาก็จะเห็นครับ
  • Bluetooth Preferences : เลือกเพื่อที่จะเข้าหน้า Bluetooth Preferences ใน System Preferences

Tips : วิธีง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้ามสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง notebook [update]

เคยไหมครับ ที่บางทีเราต้องออกมาคุยงานกันข้างนอก แต่..

  • ไม่มี wifi hotspot หรือจะเชื่อมต่อดัวย wifi ก็จะมีปัญหาจุกจิกตามมาอีก ถ้าเป็นการเชื่อมต่อ Mac-Win เช่นพวก เครื่อง Mac มองเห็นเครื่อง Win แต่เครื่อง Win มองไม่เห็นเครื่อง Mac ทำนองนี้ ...
  • ไม่มี Internet
  • ไม่มีสาย Lan
  • ไม่มีแผ่น CD เปล่าติดตัวมา
  • มี iPod แต่เอาไว้ส่งไฟล์แบบข้ามระบบ Mac-Win ไม่ได้ - -a
  • ไม่มี Card Reader
  • ไม่มี thumb drive...

เรื่องนี้เกิดกับตัวผมเอง เลยอยากจะมาเล่าสู่กันฟังสำหรับวิธีง่าย ๆ ในการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่องโน๊ตบุค ที่ถ้าเราเกิดมาอยู่ในสถานการณ์ไร้การเชื่อมต่อแบบนี้ เราจะทำอย่างไร?

note : วิธีในบทความนี้จะกล่าวถึงการส่งไฟล์ระหว่าง MacBook กับ Notebook ระบบ Windows (XP) นะครับ แต่วิธีเดียวกันสามารถใช้ได้กับทั้งเครื่องแบบ Mac-Mac หรือ Mac-Win ครับ

วิธีที่ว่านี้คือ ใช้ Bluetooth ครับ

ใช่แล้ว เจ้า Bluetooth ที่เราใช้ sync ข้อมูลจากมือถือลงเครื่อง หรือจับคู่หูฟังกับเครื่องโทรศัพท์เรานั่นล่ะ

วิธีคือให้ทำการ pair (จับคู่) เครื่อง notebook ของทั้งสองเครื่องเข้าด้วยกัน ด้วยกรรมวิธีแบบเดียวกับการจับคู่อุปกรณ์ Bluetooth อื่น ๆ กับเครื่องของเราสำหรับการรับส่งข้อมูล หรือ การ pair เครื่องโทรศัพท์เข้ากับหูฟัง

เมื่อ pair ด้วยกันแล้วจากนั้นจะส่งไฟล์ หรือว่าเข้าไปดูไฟล์ของเครื่องอีกฝ่ายหนึ่งได้เหมือนการเชื่อมต่อ network แบบทั่วไปแล้วครับ =)

และตัวอย่างต่อไปนี้ จะเป็นการ setup เพื่อเตรียมการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง MacBook กับ Notebook ระบบ Windows XP ซึ่งจะเขียนอธิบายการเชื่อมต่อจากฝั่งเครื่อง MacBook เป็นหลัก โดยให้อีกเครื่อง ที่เป็น Windows XP อยู่เฉย ๆ แค่เปิด Bluetooth รอเอาไว้อย่างเดียวครับ

ขั้นตอนที่ 0 ก่อนเริ่ม
บนเครื่อง MacBook มีเรื่องที่ต้องทำก่อนการรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth นี้ครับ

  • ไปที่ System Preferences เลือก Sharing

bluetooth-08_4.jpg

  • ติ๊กถูกในช่อง File Sharing และ Bluetooth Sharing ครับ

bluetooth-10_4.jpg
ในส่วนของ File Sharing คือการกำหนด Permission ว่าผู้ที่จะมารับส่งไฟล์กับเรานั้น สามารถเข้าถึงได้แค่ไหน และใครเข้ามาได้บ้าง ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก link นี้ครับ
http://macmuemai.com/content/95

ในส่วนของ Bluetooth Sharing นั้นจะเป็นการกำหนดรายละเอียดปลีกย่อยในการรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth บน OS X ของเราครับ ผมคงข้ามไปก่อน แต่จะเขียนเพิ่มเติมให้อ่านกันอีกทีในส่วนของ How-to ไปเลยก็แล้วกันนะครับ มีรายละเอียดเยอะพวกสมควร =)

[update : ผมเขียนรายละเอียดของ Bluetooth Sharing เอาไว้แล้ว ที่นี่ http://macmuemai.com/content/676 ครับ ]

ขั้นตอนที่ 1ให้เปิดการทำงานของ Bluetooth ในเครื่องโน๊ตบุคทั้งสองตัว

  • ในเครื่อง MacBook ให้เปิดการใช้งาน Bluetooth บนเครื่อง จากบนเมนูบาร์ด้านบนครับ

Bluetooth-01_4.jpg

  • ในเครื่อง Win ก็ให้เปิด Bluetooth ไปพร้อม ๆ กัน (ในเครื่องรุ่นใหม่ ๆ บางรุ่นจะมีปุ่มเปิด / ปิด Bluetooth ให้กดได้จากบนตัวเครื่อง)

ขั้นตอนที่ 2 การ Pair (จับคู่) เครื่องทั้งสองเข้าด้วยกัน
หลังจากเปิด Bluetooth บนเครื่องทั้งสองแล้ว บนเครื่อง MacBook ให้ไปที่ System Preferences แล้วเลือกหัวข้อ Bluetooth ครับ

bluetooth-02_5.jpg

จะเข้าหน้า Bluetooth Preferences

bluetooth-03_5.jpg

จากนั้น กดเครื่องหมาย + เพื่อเรียก Bluetooth Setup Assistant ขึ้นมาทำการ scan อุปกรณ์ Bluetooth ให้เครื่องของเรา ซึ่งในที่นี้คือการ scan หาเครื่อง Windows XP ที่เปิด Bluetooth รอเอาไว้แล้ว

bluetooth-04_4.jpg

กด Continue ผ่านหน้านี้ไป

bluetooth-05_4.jpg

  1. เลือก Any device เพื่อ scan หาเครื่อง Notebook XP ครับ
  2. แล้วกด Continue

รอสักพักถ้าไม่มีอะไรผิดปรกติ เราจะเห็นชื่อเครื่องของอีกฝ่ายนึงอยู่ในรายการ Devices ในผลการ scan ค้นหาอุปกรณ์ Bluetooth ของเรา

จากนี้ไปไม่มีภาพนะครับ เพราะผมลืมเตรียมภาพเก็บเอาไว้ ขอน้อบรับผิดครับ.. แต่คิดว่าไม่น่ายากแล้ว เพราะว่าจะคล้าย ๆ กับการ pair อุปกรณ์ bluetooth อื่น ๆ ทั่วไปครับ

ที่ต้องทำต่อคือ

  1. สั่งจับคู่โดยเลือกชื่อเครื่องเพื่อนเราที่เห็นอยู่ในผลการ scan แล้วกด Continue
  2. ระบบจะบังคับให้เรากำหนดเลขระหัส 8ตัว (Passkey หรือเรียกว่า Passcode บนมือถือบางรุ่น) ที่เครื่องเรา .. ให้ตั้งระหัสและกดยืนยันไป
  3. จากนั้น ที่เครื่อง Windows XP แล้วให้กดยีนยันระหัส 8 ตัวนี้ เพื่อเป็นการตอบรับการ pair (เหมือนกับการ pair หูฟัง Bluetooth กับโทรศัพท์มือถือครับ)

หลังจากการเชื่อมต่อเสร็จสิ้นแล้ว ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็นชื่อของเครื่องเพื่อนเราอยู่ในรายการ Devices ใน Bluetooth ตรงเมนูบาร์ของเราแล้วแบบนี้ครับ

bluetooth-06_4.jpg

note : จะใช้เครื่องไหนสั่งจับคู่ก็ได้ให้ผลเหมือนกันครับ คือต้องตั้งระหัสก่อน แล้วให้อีกฝ่ายกดรับเหมือนกัน

ขั้นตอนที่ 3 การรับส่งไฟล์
บน OS X ไปที่เมนูบาร์ เลือก icon ของ Bluetooth และเลือกชื่อเครื่องของเพื่อนเราจากในรายการ Devices เราจะเห็นตัวเลือกเพิ่มเติมมาอีก 2 หัวข้อ ตามนี้ครับ

bluetooth-07_3.jpg

อธิบาย

  • Send File... : จะเป็นการกำหนดเพื่อส่งไฟล์จากเครื่องเรา (จาก OS X) ไปที่เครื่องเพื่อนของเรา ซึ่งถ้าผมส่งไฟล์จากตรงนี้ไปแล้ว เครื่องเพื่อนผมที่เป็น Windows XP จะเข้าไปเอาไฟล์ได้จากใน Bluetooth Exchange Folder ครับ
  • Browse Device... : เป็นการเข้าไปดูไฟล์ต่าง ๆ ของเครื่องเพื่อนเรา ส่วนจะเข้าได้ลึกแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับเครื่องเพื่อนเราว่ากำหนด permission ให้บุคคลอื่นเข้าถึงไฟล์ของเค้าได้แค่ไหนด้วยครับ

เมื่อทำทั้งหมดนี้เรียบร้อยแล้ว เราก็สามารถที่จะรับส่งไฟล์ต่าง ๆ ผ่าน Bluetooth ได้เหมือนเชื่อมต่อ network แบบปรกติทั่วไปแล้วครับ =)

note : การรับส่งไฟล์ขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้เวลานานกว่าปรกติบ้าง เพราะว่าระบบ Bluetooth ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รองรับแนวนี้โดยเฉพาะครับ แต่ถ้าเอาไว้ใช้รับส่งไฟล์ภาพ หรือเอกสารทั่วไป ก็ค่อนข้างเร็วพอสมควร

หมดแล้วครับ หวังว่าน่าจะเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ มีความสุข

credit : สำหรับผู้ที่จุดประกายให้ผมได้ลองวิธีนี้ ขอบคุณน้อง Nannie มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ยิ้มปากกว้าง

Burn - การเขียนแผ่น

Burn : คือการเขียนแผ่น (หรือที่บางคนจะเรียกว่า Write) เป็นการบันทึกข้อมูลลงแผ่น CD/DVD โดยที่ Burn จะเป็นคำที่จะใช้ในความหมายนี้บน OS X

ถ้าเราต้องการที่จะทำการ Burn ข้อมูลลงบนแผ่น CD/DVD เราสามารถทำได้เลยบน OS X โดยที่ไม่ต้องหาโปรแกรมมาเพิ่มเติมตามวิธีการด้านล่างนี้

note : ถ้าต้องการจะ Burn DVD แผ่นที่จะใช้จะต้องเป็นแผ่นแบบ DVD-R เท่านั้น - [ตรงนี้ผมเข้าใจผิดครับ drive รุ่นใหม่ ๆ burn แผ่น DVD+R ได้แล้ว-ก๊อก อาย ]

1.สร้าง Burn folder :

Picture2-1_12.jpg
เป็นวิธีที่ง่าย และเร็วมากวิธีหนึ่งในการเขียนแผ่นครับ คือคลิ๊กขวา เลือกสร้าง Burn folder แล้วลากไฟล์ที่ต้องการลงมาใน folder เพื่อเตรียม Burn ได้เลย

ข้อดี :

  • สะดวก และรวดเร็ว
  • สามารถ Burn หลาย ๆ แผ่นได้โดยใช้ข้อมูลชุดเดียวกัน หรือจะปรับเปลี่ยนก็ทำได้ไม่ยาก
  • ประหยัดพื้นที่บน HDD เพราะใน Burn Folder เก็บเฉพาะ alias หรือว่า link ไปยังไฟล์ต้นฉบับเท่านั้น

ข้อด้อย :

  • แผ่นที่ Burn ด้วยวิธีนี้อาจจะ Burn ต่อแบบ Multisession ไม่ได้ (ถ้าจะ Burn แบบ Multisession ต้องใช้ Disk Utility)

note :

  • การเขียนแผ่นผ่าน Burn folder นี้ แผ่นที่ได้ออกมาจะสามารถนำไปใช้ได้ทั้งบน Mac และ Pc ครับ
  • ดู การใช้ Burn folder ประกอบ

2.Burn Disk Image ผ่าน Disk Utility

Picture11_8.jpg

ใช้ Disk Utility สร้าง Disk Image ขึ้นมาสำหรับไฟล์ที่เราต้องการจะ Burn โดยเฉพาะ

มีข้อดีคือ :

  • กำหนดขนาดของ Disk Image ได้แน่นอน ว่าจะให้ขนาดเท่าไหร่ ทำให้โอกาสที่จะ Burn เกินความจุของแผ่นเป็นไปได้น้อยมาก
  • blank-diskimg_1.jpg
  • เลือก format ของแผ่นที่เราต้องการจะ Burn ได้ด้วยจากตรงนี้ ทำให้เราสามารถนำแผ่นที่ Burn ไปเปิดในระบบอื่นเช่น window pc ได้แบบไม่มีปัญหาครับ
  • Burn แผ่นแบบ Multisession ได้ (เขียนข้อมูลเพิ่มทีหลังได้ จนกว่าพื้นที่บนแผ่นจะเต็ม)
  • สามารถทำสำเนา CD/DVD ทั้งแผ่นได้รวมทั้งทำสำเนา Bootable Disc ต่าง ๆ ได้ด้วย (เช่น OS X Install DVD)

ข้อด้อย :

  • มีวิธีการที่ดูซับซ้อน และยุ่งยากกว่าการใช้ Burn folder หรือการสั่ง Burn โดยตรงจาก Finder

note : ดู การ Burn แผ่นจาก Disk Utility ประกอบ

3.ถ้าเป็นไฟล์ที่เราทำขึ้นบน iPhoto, iMovie, iDVD

เราสามารถที่จะส่งตรงไป Burn ลงแผ่นได้เลยจากภายในตัวโปรแกรมเอง (ส่วนมากอยู่บนคำสั่ง Share บน เมนูบาร์)

iphoto-share_0.jpg

ตัวอย่างการ Burn ลงแผ่นโดยตรงจาก iPhoto 06

4.Burn ผ่าน Finder

file-burn_1.jpg

ตอนอยู่ใน Finder

  • เลือก file/folder ที่เราต้องการ
  • ไปที่ menu bar เลือก File / Burn “แฟ้มที่เราต้องการ” to Disc..

burn-icon_1.jpg

เราสามารถนำ Burn icon มาไว้บน Finder toolbar ได้เพื่อความสะดวกครับ

ดู การ Burn แผ่นจาก Finder ประกอบ
ดู Tips : การ นำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar ประกอบ

อ่านเพิ่มเติม

Mac OS X 10.5 Help : Burning CD or DVD จากหน้าเวป support บน Apple.com
Disk Burning Quick Assist จากหน้าเวป support บน Apple.com

Burn : Burning Drive และ แผ่นที่ Burn ได้ครับ [update : 27 พย.51]

ผมมีความคิดที่ว่า เราน่าจะมาแชร์ข้อมูลตรงนี้กันนะครับ เอาไว้สำหรับอ้างอิง มีจุดประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหรือข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการซื้อแผ่น CD, DVD เพื่อมา burn ข้อมูลเก็บเอาไว้ โดยที่ผมจะทะยอยอัพเดทโพสนี้ให้เรื่อย ๆ ตามข้อมูลที่มีเข้ามานะครับ

MacBook

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
MacBook รุ่นแรก Intel 2.0 GHz Core Duo
RAM 1 GB
10.5.5 MATSHITA DVD-R UJ-857
  • DVD-R ขนาด 4.7 GB : TDK
  • CD-R ขนาด 700MB/80 min : IMATION
  • CD-R ขนาด 700/80 min : Princo
  • ไม่มี

MacBook Pro

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
MBP (mid 2007) 2.4GHz - MATSHITA DVD-R UJ-85J
  • DVD 4.7 GB : HP, TDK, Verbatim
  • DVD DL : Mitshbishi
  • DVD : Princo
MBP 2.2 GHz Core 2Duo - MATSHITA DVD-R UJ-857E
  • DVD-R, DVD-RW, CD-R : PRINCO
  • CD-R : IMATION
  • DVD+R : SONY (อ่านได้แต่ไม่ยอม burn)

iMac

Model Details OS Drive แผ่นที่ Burn ได้ แผ่นที่มีปัญหา
iMac Intel 2.66 GHz Core2Duo 10.5.5 OPTIARC DVD RW AD-5630A
  • DVD+R ขนาด 4.7GB : Anitech
  • DVD+R ขนาด 4.7 GB : Princo
  • ไม่มี

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถนำหัวข้อ (สีน้ำเงิน) นี้ไปเขียนข้อมูลประกอบแล้วโพสต่อไปได้เลย เดี๋ยวที่เหลือผมจับมารวมกันในตารางให้นะครับ

Drive : MATSHITA DVD-R UJ-857 (เป็นรุ่นของ Combe/ Supper Drive ที่เรามีในเครื่องครับ ดู note ประกอบ)
Model : MacBook รุ่นแรก
Processor : Intel 2 GHz Core Duo
RAM : 1 GB
OS : 10.5.5 (ตรงนี้ใคร Burn ผ่าน Windows ก็ให้ระบุมาด้วยก็ได้ครับ)
แผ่นที่ Burn ได้ดี (ไม่มีปัญหา) :

  • แผ่น DVD-R ขนาด 4.7GB ยี่ห้อ TDK
  • แผ่น CD-R ขนาด 700 MB/80 Min ยี่ห้อ IMATION

แผ่นที่ Burn ไม่ได้ หรือว่า Burn แล้วเสีย :

  • ไม่มี

note : วิธีดูว่าเครื่องเรามีไดร์ฟรุ่นไหน ให้เปิด System Profiler (เรียกจากใน Applications/ Utilities) แล้วเลือกหัวข้อ Disc Burning ทางด้านซ้ายมือ เราจะเห็นชื่อไดร์ฟที่เรามีครับ

optical-drive_11.jpg

สำหรับผู้ที่ต้องการจะให้ข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากที่โพสนี้ตกหน้าแรกไปแล้ว สามารถตามเข้าไปดูได้จากหัวข้อ burn disc ที่เป็น tag ทางด้านซ้ายมือครับ

การ Burn แผ่นจาก Disk Utility

ขั้นตอนการ Burn Disk Image ผ่าน Disk Utility

ใน Disk Utility เลือก File /New/ Blank Disk Image

Picture5_23.jpg

หน้าต่างกำหนดค่าของ Disk Image

Picture6_15.jpg

Volume Name : ชื่อ Volume ของ Disk Image ที่จะเห็นตอนที่ Mount บน Desktop หรือว่าเป็นชื่อของ Disk ที่อยู่ใน CD/DVD Drive ครับ

Volume Size : กำหนดขนาดของ Disk Image (เลือกเอาตามเหมาะสมครับ)
blank-diskimg.jpg
Volume Format : กำหนด Format ของ Disk Image จากตัวอย่างด้านบนผมจะ burn แผ่นนี้ไปใช้บน window pc ครับ เลยเลือก Format แบบ MS-DOS (FAT)

Encryption : เลือกว่าต้องการเข้ารหัส หรือไม่ โดยส่วนใหญ่เราตั้งค่านี้สำหรับ Disk Image ที่เราไม่ต้องการให้คนอื่นเข้าใช้งานครับ (ถ้าเลือกตรงนี้ ก่อนการเปิด Disk Image ทุกครั้งเราจะต้องใส่ Password ครับ)

Partition : เลือกรูปแบบของ partition ใน Disk Image นี้ครับ
Picture1_33.jpg

โดยทั่วไปเลือกแบบ Single partition - CD/DVD with ISO data

Image Format : เลือกว่าจะให้เขียน หรือว่าอ่านได้อย่างเดียว

จากนั้นเลือก Create ครับจะมีหน้าต่างบอกเราว่ากำลังสร้าง Disk Image

Picture7_17.jpg

หลังจากสร้าง Disk Image เสร็จแล้ว

เค้าจะ Mount อยู่บน Desktop ของเรา ให้เรา copy file/folder ที่เราต้องการลงไปในนั้นเลยครับ จากนั้นก็ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในเครื่อง

Picture10_7.jpg
เลือก Open Disk Utility แล้วกด OK

ใน Disk Utility

Picture11-1.jpg

  1. เลือก Disk Image ที่เราต้องการจะ Burn
  2. แล้วไปเลือกที่ปุ่ม Burn ด้านบนครับ

เข้าสู่หน้าต่างเตรียม Burn

Picture12_4.jpg

คลิ๊กที่ปุ่มลูกศรเล็ก ๆ ด้านบนขวาตามรูปครับ เพื่อดึงส่วนของรายละเอียดเพิ่มเติมขึ้นมา

Picture13_2.jpg

จะมีให้เราเลือก
Speed : ตั้งค่าความเร็วที่ต้องการ (ยิ้งเขียนที่ความเร็วสูง ๆ ก็มีโอกาสที่ไดร์ฟรุ่นเก่า ๆ จะอ่านไม่ได้นะครับ)

  • Erase disc before burning : สำหรับ CD/DVD แบบ RW คือจะเป็นการล้างข้อมูลเดิมบนแผ่นออกไปก่อนเขียนของใหม่ทับลงไป
  • Leave disc appendable : ตรงนี้เอาไว้ตั้งค่าสำหรับการเขียนแผ่นแบบ Multisession ครับ สำหรับผู้ที่ต้องการจะเขียนข้อมูลลงบนแผ่นนี้ต่อ จนกว่าพื้นที่บนแผ่นจะเต็ม

After Burning :เป็นการเลือกสิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจาก Burn แผ่นเสร็จแล้ว

  • Verify burned data : ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกเขียนลงไปบนแผ่นว่าใช้งานได้หรือไม่
  • Eject : หลังจาก Burn เสร็จจะ Eject แผ่นออก
  • Mount on Desktop : หลังจาก Burn แผ่นเสร็จจะถูก Mount บน Desktop ของเราครับ

หลังจากเลือกทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว กด Burn เพื่อเขียนแผ่น

Picture14_3.jpg

และหลังจากเขียนแผ่นเสร็จแล้ว ถ้าเราเลือก Mount on Desktop ไว้ ก็จะเห็นแผ่นของเรา Mount ขึ้นมาบน Desktop ด้วยครับ

Picture17.jpeg

note : ชื่อแผ่นเปลี่ยนจาก low res เป็น hi res เพราะผมลืม capture หน้าจอเอาไว้ตอนที่เขียนแผ่น Low res เสร็จครับ ^^’

เสร็จแล้วครับ เราสามารถนำ Disk ที่ได้นี้ไปเปิดดูบน window pc ได้ตามที่เราต้องการแล้ว =)

การ Burn แผ่นจาก Finder

การ Burn แผ่นจาก Finder เป็นวิธีการ Burn แผ่นที่ง่ายอีกวิธีหนึ่ง เพราะสามารถทำจากใน Finder โดยตรงได้เลย เพียงแค่เลือก File/Folder ที่เราต้องการจะ Burn แล้วสั่ง File/Burn “File/Folder ที่ต้องการ” to Disc.. (ดู การนำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar ประกอบ)

ข้อดี :

  • สะดวกสำหรับผู้ใช้งานส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ที่คุ้นเคยกับ windows pc มาก่อน เพราะวิธีการใช้งานคล้ายกัน
  • สามารถนำแผ่นที่ Burn แล้วไปเปิดบน window pc ได้

ข้อด้อย

  • กินพื้นที่บน HD ในกรณีที่เราต้องการจะทำสำเนาแยกเก็บเอาไว้ต่างหาก
  • ไม่สะดวกเวลาที่เราต้องการะจะ Burn แผ่นซ้ำกันมาก ๆ หรือหลาย ๆ version (ดู note )
  • ไม่สะดวกในการกะขนาดข้อมูลที่ต้องเขียนลงแผ่น (จริงอยู่คือมีวิธีครับ แต่ต้องสลับหน้าต่าง ไปมา ๆ ตรงนี้ทำให้ผมรู้สึกว่าเป็นข้อด้อยครับ)

note : ตรงนี้ต่างจาก Burn Folder ตรงที่ ใน Burn Folder ไฟล์ต้นฉบับจะยังอยู่ที่เดิม และมีอยู่ที่เดียวจะ update หรือว่าเปลี่ยนแปลงไฟล์ต้นทางก็ทำได้โดยง่าย เราจะไม่สับสน .. ไม่เหมือนการ Burn บน Finder ปรกติ ที่จะมี copy หลายอันจากไฟล์ต้นฉบับ จะ update หรือว่าแก้ไขกันที ก็ต้องทำหลายขั้นตอนซึ่งทำให้ “มึน” ได้ครับ

วิธี Burn แผ่นจากใน Finder

1.เลือก File/Folder ที่ต้องการ

2.จากนั้นเลือก File / Burn “File/Folder ที่ต้องการ” to Disc (หรือปุ่ม Burn บน Toolbar)

file-burn_2.jpg

3.เครื่องจะเตือนให้เราใส่แผ่นเปล่าเข้าไปพร้อมกับบอกขนาดไฟล์คร่าว ๆ

error-msg_1.jpg

4.ใส่แผ่นเข้าไปแล้วรอสักครู่ จะมีหน้าต่างมาให้เราตั้งค่าการ Burn แผ่น

burn-details_0.jpg
Disc Name : ชื่อของแผ่น
Burn Speed : ความเร็วในการเขียนแผ่น (สำหรับการเขียนแผ่นที่ความเร็วสูงสุดนั้น อาจจะอ่านไม่ได้กับไดร์ฟรุ่นเก่า)
จากนั้นเลือก Burn จะมีกล่องแสดงสถานะการ Burn แผ่นของเราขึ้นมา

burnprocess_0.jpg
เสร็จแล้ว แผ่นของเราจะถูก Mount บน Desktop ให้อัตโนมัติ

done_0.jpg

การใช้ Burn Folder

Burn Folder : เป็นหนึ่งในวิธีการ Burn ข้อมูลลงแผ่นบน OS X ครับ ที่ค่อนข้างสะดวกสำหรับการใช้งานทั่วไป แต่สำหรับมือใหม่ หรือผู้ที่เพิ่งจะเปลี่ยนมาใช้ OS X อาจจะมีเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมตามนี้นะครับ

Picture2-1_10.jpg
ไอคอนของ Burn Folder จะมีสัญลักษณ์ Radioactive อยู่ตรงกลางให้เราแยกออกจาก Folder ทั่วไป

note : แผ่นที่ถูกเขียนจาก Burn Folder นี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งบน Mac และ PC

หลักการและ Concept :

คือตัว Burn Folder เองจะเป็นแค่แหล่งรวม link (alias) ไปยัง File/ Folder ต้นฉบับอีกทีเท่านั้น

Picture8_9.jpg
จากภาพนะครับ ทุก File/ Folder ที่ถูกลากเข้ามาไว้ใน Burn Folder จะถูกสร้าง alias (Shortcut-Link)ไปยังไฟล์ต้นทางอีกที โดยการ Burn แต่ละครั้งผ่าน Burn Folder นี้ไฟล์ที่จะถูก Burn จะเป็น File/Folder ต้นทางของ alias ทั้งหมดใน Burn Folder นะครับ ไม่ใช่ตัวไฟล์ที่เป็น alias ใน Burn Folder ... (อย่าเพิ่งงงนะ =P)

ซึ่งจะมีข้อดีคือ

  • ไม่เกิด File/Folder ซ้ำซ้อนขึ้นมาบนเครื่อง เพราะเราสามารถเก็บ File/Folder ต้นฉบับเอาไว้ตรงไหนก็ได้ เพียงแค่ทำ Alias มาลงใน Burn Folder เท่านั้น ประหยัดพื้นที่บน HDD เราครับ
  • และจากที่เราจะมีไฟล์ต้นทางเพียงที่เดียว เวลาเราแก้ไขเพิ่มเติมจึงทำให้ง่ายและสับสนน้อยกว่ากว่าการมีหลาย copy มากครับ
  • เราสามารถเก็บ Burn Folder นี้เอาไว้เพื่อ Burn ต่อได้อีกได้ จะสะดวกมากในกรณีที่ต้องการ Burn ข้อมูลชุดเดียวกันซ้ำ ๆ
  • note :
  • ปรกติการลากไฟล์ลงมาใน Burn Folder เค้าจะทำการสร้าง Alias ให้กับ File/Folder ต้นฉบับ เป็นปรกติ
  • ถ้าใน Folder ต้นทาง มี Alias ของ File/Folder อื่นอยู่ด้วย เวลาเรา Burn ผ่าน Burn Folder ไฟล์ต้นฉบับของ alias นั้นจะถูก Burn ลงมาในแผ่นด้วยครับ
  • ทาง Apple บอกเอาไว้ว่า การ Burn ผ่าน Burn Folder นี้สามารถนำไปเปิดกับเครื่อง window pc ได้

เราสามารถทราบขนาดของข้อมูลทั้งหมดที่เราต้องการจะ Burn ได้โดยดูจาก Status bar ด้านล่างของหน้าต่าง Burn Folder ครับ

Picture8-1_4.jpg

เอาล่ะ มาหลังจากหลักการคร่าว ๆ ของ Burn Folder แล้ว เรามาเริ่มลอง Burn ผ่าน Burn Folder กัน

สร้าง Burn Folder

Picture1_32.jpg

ให้เลือกตำแหน่งที่เราต้องการจากนั้นคลิ๊กขวา เลือก New Burn Folder เราจะได้แฟ้ม Burn Folder ใหม่มา หน้าตาแบบนี้

Picture2_1.jpeg

เริ่มย้ายไฟล์เข้ามาใน Burn Folder
Picture4_15.jpg
คลิ๊กเข้าไปใน Burn Folder ที่เราสร้างขึ้น จากนั้น ให้ลาก File/Folder ที่เราต้องการจะ Burn เข้ามาในนี้ครับ เหมือนลากไฟล์ทั่วไป

Picture3_29.jpg

แล้วเราจะได้หน้าตาของ Burn Folder แบบนี้

Picture5_22.jpg
note : สังเกตว่า ไฟล์ที่เราลากเข้ามาจะถูกทำเป็น Alias นะครับ

เมื่อพร้อมแล้ว เลือก Burn

Picture8_10.jpg
จากปุ่ม Burn ด้านบนขวาตามรูปเลยครับ

  • ถ้าเรายังไม่ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปในเครื่อง เค้าจะเตือนเราขึ้นมา
  • ให้เราใส่แผ่นเปล่าเข้าไป แล้วจะพบหน้าต่างถามว่าเราจะทำอะไรกับแผ่นเปล่านี้ ให้เลือก Finder ครับ

insert-blankcd.jpg

หลังจากมีแผ่นเปล่าอยู่ในไดร์ฟแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

เข้าหน้าต่างกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการ Burn
Picture9_8.jpg
Disc Name : ตั้งชื่อแผ่น (จะเป็นชื่อแทนตัวแผ่นที่จะเห็นตอนใส่เข้าไปใน Optical Drive แล้ว Mount บน Desktop หรือ บน windows pc ครับ)
Burn Speed : ตั้งค่าความเร็วของการเขียนแผ่น (การเขียนแผ่นด้วยความเร็วสูง ๆ บางครั้งจะทำให้ไดร์ฟ CD/DVD บางรุ่นอ่านไม่ได้ครับ ทางทีดีคือลดความเร็วในการเขียนแผ่นลง)

จากนั้นเลือก Burn เพื่อยืนยัน แล้วจะขึ้นหน้าต่างแสดงขั้นตอนการ Burn แผ่นครับ

Picture10_6.jpg
หลังจากเสร็จแล้ว CD/DVD ที่เราเพิ่ง Burn ไปจะถูก Mount ขึ้นมาบน Desktop ให้เลย

Picture11.jpeg

เป็นอันเสร็จขั้นตอนการ Burn ผ่า่น Burn Folder ครับ =)

note : ตามาปรกติของการ Burn Folder นั้นเราจะเขียนแผ่นแบบ Multisession โดยตรงเลยไม่ได้ ต้องใช้ Disk Utility ช่วยครับ .. ประมาณว่า ให้เราสร้าง Disk Image จาก Burn Folder อีกทอดหนึ่งครับ .. ให้เราเลือก Disk Image from Folder แทน ตอนสร้าง Disk Image

การแก้ปัญหา Burn แผ่นเบื้องต้น

สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการ Burn แผ่นนะครับ จากหน้าเวป support ของ Apple มีแนะนำไว้ดังนี้

1.ถ้าแผ่นที่ใช้อยู่ Burn ไม่สำเร็จ ให้ลองแผ่นอื่น ถ้าจาก lot เดียวกันมายังไม่ได้ผล ให้ลองเปลี่ยนยี่ห้อ

2.เชคให้แน่ใจว่า Drive ที่มีอยู่ในเครื่อง สามารถเขียนแผ่นได้ (เครื่องบางรุ่นไม่สามารถเขียนได้ แต่อ่านได้อย่างเดียว เช่นพวก cd combo drive)

3.ตรวจดูหน้าแผ่น ว่ามีรอยหรือสกปรกหรือไม่ หรือว่าแผ่นมีข้อมูลอยู่ก่อนแล้วและเขียนทัับไม่ได้หรือไม่

4.ตรวจดูชนิดของแผ่น DVD ต้องเป็นแผ่นแบบ DVD-R เท่านั้นถึงจะเขียนได้ - เครื่องรุ่นใหม่ ๆ เขียนแผ่นได้ทั้ง +R,-R แล้ว

5.ถ้าเขียนแผ่นด้วยความเร็วสูงสุดแล้วมีปัญหา ให้ลองเลือกเขียนแผ่นที่ความเร็วต่ำกว่าดู

6.ถ้าเปิด app ที่ไม่ได้ใช้ทิ้งเอาไว้ ให้ปิด app นั้นไปก่อน หรือปิดทั้งหมดก็ได้ เหลือเอาไว้เฉพาะ app ที่จะใช้เขียนแผ่น

7.ตรวจดูพื้นที่ที่เหลือบน HDD เพราะการเขียนแผ่นจำเป็นที่จะต้องมีการจำลองและกินพื้นที่บางส่วนบน HDD เรา

8.Restart เครื่อง

9.Update Software ที่ใช้เขียนแผ่น

10.ถ้าเราใช้ Optical Drive แบบต่อแยกต่างหาก ให้ลองตรวจสายเชื่อมต่อว่าเป็นปรกติหรือไม่่

ที่มา
http://support.apple.com/kb/HT1152#trouble

Networking

เกี่ยวกับการเชื่อมต่อบน OS X ครับ =)

วิธีรับส่งไฟล์ผ่าน Bluetooth

ผมเขียนวิธีรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง notebook ผ่าน Bluetooth เอาไว้แล้วบน How-to (Mac กับ Mac หรือ Mac กับ PC ก็ได้) แต่อยู่ในหัวข้อ Bluetooth, คิดว่าเกี่ยวข้องกับหัวข้อ Networking ด้วย เลยอยากจะมาทำ link เก็บเอาไว้ครับ

Tips : วิธีง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้ามสำหรับการรับส่งไฟล์ระหว่างเครื่อง notebook

วิธีเปลี่ยน IP Address ครับ

สำหรับผู้ที่ต้องการเปลี่ยนหมายเลข ip address ของเครื่องเราเวลาเล่น Internet ผ่าน router

ตามปรกติแล้ว router จะเป็นตัวกำหนด ip address ให้เราเองทุกครั้งที่ต่อ internet แต่สำหรับในบางกรณีที่เราต้องการจะเปลี่ยน ip address ไปยังหมายเลขอื่น ซึ่งโดยส่วนใหญ่ผมจะใช้เมื่อ ip address ที่ผมใช้อยู่มีปัญหา หรือว่าอัตราการรับส่งข้อมูลต่ำกว่าที่ควรจะเป็นครับ

หลักการคร่าว ๆ

  • ทำเครื่องให้หลุดจาก ip address ที่มีอยู่ปัจจุบัน
  • ให้เครื่องขอ ip address ใหม่

note : การเปลี่ยน IP Address จะทำให้เราหลุดจาก Internet เป็นการชั่วคราว ** ไม่ควรทำขณะที่ยัง download ข้อมูลอยู่จาก Internet นะครับ

วิธีการเปลี่ยน ip address แบบละเอียด

ขั้นตอนที่ 1 : ไปที่ System Preferences เลือก Network

change-ip-01.jpg
เราจะเห็นรายละเอียดของ IP address ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน

change-ip-02.jpg

ขั้นตอนที่ 2 : หัวข้อ IP Address เลือก hi-light ข้อความและ copy ตัวชุด IP ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน

change-ip-03.jpg

ขั้นตอนที่ 3 : หัวข้อ Configure เลือกเปลี่ยนจาก Using DHCP เป็น Using DHCP with manual address

change-ip-06.jpg
เราจะเห็นช่อง IP Address เปล่า ๆ ขึ้นมาแบบนี้ครับ

change-ip-04.jpg

ขั้นตอนที่ 4 : ให้เรา paste หมายเลข IP ขุดที่เรา copy เอาไว้เมื่อสักครุ่ลงไป พร้อมด้วยเปลี่ยนเลขหลักสุดท้าย เป็นหมายเลขที่เราไม่ได้ใช้อยู่ในปัจจุบันครับ จะเป็นเลขอะไรก็ได้ สุ่มขึ้นมาครับ

ไม่ต้องกลัวว่าจะไปซ้ำกับเลข IP อื่นที่มีคนใช้อยู่แล้ว ... เพราะระบบจะกันตรงนี้ให้เราเอง คือถ้าเราเปลี่ยนไปใช้เลข IP อื่นที่มีคนใช้อยู่ หรือระบบไม่เปิดให้เราเอามาใช้ เราจะหลุดจาก IP เดิมที่เรามีครับ ซึ่งตรงนั้นเป็นสิ่งที่เราต้องการ =)

change-ip-05.jpg

จากตัวอย่าง ผมใช้ IP ที่อยู่ถัดไปหนึ่งเบอร์ (จาก .15 เป็น .16 ) ครับ ซึ่งที่ผมทำแบบนี้ เพื่อที่จะทำให้เครื่องของเราหลุดจาก IP ที่ใช้อยู่เดิมครับ จากนั้นกด Apply ที่ทางด้านล่างขวาครับ

change-ip-07.jpg

หลังจากกด Apply แล้วถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะหลุดจากชุด IP เดิมของเรา โดยที่หน้ารายละเอียดนี้จะไม่แสดงอะไรขึ้นมาครับ เป็นช่องเปล่า ๆ ตามภาพตังอย่างในหัวข้อถัดไป

ขั้นตอนที่ 5 : ในหน้ารายละเอียดเปล่า ๆ ของ IP ที่เราสุ่มมาใหม่นี้ ให้เลือก Advance ครับ

change-ip-09.jpg

ขั้นตอนที่ 6 : เราจะถูกพามายังหน้าต่างใหม่ ให้เลือกปุ่ม Renew DHCP Lease ครับ

change-ip-10.jpg

จากนั้นรอสักพัก เขาจะกำหนดหมายเลข IP Address ชุดใหม่ให้เรา

การทำแบบนี้เพื่อเป็นการร้องขอ IP Address ชุดใหม่ใหักับเครื่องของเราครับ ตามปรกติเราจะได้ IP Address ชุดใหม่มาในขั้นตอนนี้ เป็น IP ที่ไม่ซ้ำกับอันเดิมที่เราใช้ก่อนหน้านี้นะครับ.. ในกรณีของผม ได้อันใหม่มาแบบนี้

change-ip-11.jpg

note : การ Renew DHCP Lease นี้ บางครั้งจะยังได้ IP ชุดเดิมที่เราไม่ต้องการอยู่.. ให้ทำซ้ำขั้นตอนที่ 2 ถึง 4 ใหม่จนกว่าเขาจะเปลี่ยน IP ชุดใหม่ให้เรานะครับ

หลังจากได้ IP Address ชุดใหม่มาแล้ว ให้กด OK เพื่อปิดหน้าต่างนี้ไป และกลับไปยังหน้าเดิมเกี่ยวกับ Networking ของเรา

ซึ่งเราจะเห็นรายละเอียดของ IP ชุดใหม่ปรากฎอยู่ในหน้านี้แล้วให้เรากด Apply อีกครั้ง จากนั้นก็ปิดหน้าต่าง System Preferences นี้ไป เป็นอันเสร็จครับ =)

Spotlight

Spotlight : เป็นการค้นหาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ภายในเครื่องเราครับ นึกภาพประมาณว่า มี Search Engine ไว้ช่วยค้นหาไฟล์บนเครื่องของเรา .. ซึ่ง spotlight นี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่บน OS X เวอร์ชั่น 10.4 ครับ แล้วก็ยังติดตามมาบน 10.5 ด้วย ซึ่ง spotlight บน 10.5 นี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นจากบน 10.4 พอสมควร

splight-02-1_4.jpg

spotlight ค้นหาอะไรได้บ้าง?

เมื่อเรากรอกคำค้นหาที่เราต้องการลงไปในช่อง search แล้ว.. ที่เราจะได้ออกมาเป็นผลการค้นหานั้นจะเป็นทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรง หรือทางอ้อม กับคำค้นที่เราใส่ลงไปครับ ตามนี้..

  • Top hit : เป็นลำดับความสำคัญที่เราใช้บ่อยที่สุดจากผลการค้นหาที่ได้
  • Definition : แปลความหมายของคำค้น (ถ้าเราติดตั้ง Thai-Eng Dictionary เอาไว้ เค้าจะแปลเป็นไทยให้ด้วยจากตรงนี้เลย ดู เกี่ยวกับ Thai-Eng Dictionary บน OS X ประกอบ)
  • Applications : แสดง app ในเครื่องของเราที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหา
  • System Preferences : ส่วนของ System Preferences ที่เกี่ยวข้องกับคำค้น
  • Documents : ไฟล์งานต่าง ๆ
  • Folders : แฟ้มงานที่เก็บไฟล์ที่เกี่ยวข้อง
  • Messages : email ที่เกี่ยวข้อง
  • Contacts : Contact จากใน Address Book ที่เกี่ยวข้อง
  • Images : ไฟล์ภาพที่เกี่ยวข้อง
  • PDF Documents : ไฟล์ PDF ที่เกี่ยวข้อง
  • Webpages/Bookmarks : url /bookmarks ของเวปที่เกี่ยวข้อง
  • Music/Audion : เพลงที่เกี่ยวข้อง
  • Movies : ไฟล์หนังที่เกี่ยวข้อง
  • Fonts : ฟ้อนท์ ที่เกี่ยวข้อง
  • Presentation : ไฟล์ Keynote presentation ที่เกี่ยวข้อง

note : เมื่อเราคลิ๊กไปที่ผลการค้นหาที่ได้ เราจะเปิดไฟล์นั้นบน app ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาครับ

การเรียกใช้งาน spotlight

ปรกติ เราสามารถเรียกใช้งาน spotlight ได้จากช่องค้นหาบนหน้าต่าง Finder ครับ

splight-01-1_4.jpg

หรือว่าจากเครื่องหมายแว่นขยายบน menu bar

splight-01_4.jpg

note : ดั้งเดิมเราสามารถเรียกใช้งาน spotlight ผ่าน shortcut = Command+Space bar แต่สำหรับคนที่ใช้ shortcut นี้สำหรับเปลี่ยนภาษาไปแล้ว จะมี shortcut ของ spotlight ที่ต่างไปจากนี้ครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราตั้ง shortcut ใหม่ให้ spotlight ว่าอะไร .. โดยปรกติจะหนีไปอยู่ที่ Option+Space bar แทน

Spotlights บน 10.5 ทำอะไรได้อีก?

บน 10.5 spotlight มีความสามารถใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมาครับ ทำให้สามารถใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้น

  • เป็น Application Launcher(shortcut ในการเรียกเปิด application ที่มีอยู่ภายในเครื่อง)
  • ใช้คิดเลข (ได้ทั้งบวกลบคูณหารปรกติ และนอกเหนือจากนี้ด้วย!)

การตั้งค่าใช้งาน Spotlight

เราสามารถปรับแต่งการแสดงผลของ spotlight และรวมไปถึงการกำหนดว่าไม่ให้ spotlight แสดงผลอะไรบ้างตามที่เราต้องการได้ด้วย ซึ่งมีวิธีการดังนี้

เปิด System Preferences แล้วเลือก Spotlight

splight-03.jpg

เราจะเปิด Spotlight preferences ขึ้นมา

ใน Search Results tab
splight-04.jpg
บน Search Result นี้เราสามารถที่จะเรียงลำดับผลการค้นหาได้ใหม่ เราก็จับแล้วลากสลับตำแหน่งตามที่ต้องการได้เลย

นอกจากนี้ยังมีหัวข้อแสดง shortcut ในการเรียกใช้งาน spotlight ด้านล่างอีก 2 หัวข้อดังนี้

  • Spotlight menu keyboard shortcut : การเรียกใช้งาน spotlight จากบน menu bar
  • Spotlight window keyboard shortcut : การเรียกใช้งาน spotlight จากช่อง search บน Finder (ส่วนมากเอาไว้สร้าง Smart Folder ต่าง ๆ )

Privacy tab

ในบางกรณีที่เราไม่ต้องการให้ spotlight แสดงผลการค้นหาของบาง file/folder เราสามารถกำหนด spotlight ไม่ให้ index หรือว่าแสดงผลการค้นหาของไฟล์ที่เราต้องาการได้จากตรงนี้

splight-05.jpg
เราอยากให้ spotlight ยกเว้นผลการค้นหาไฟล์อะไรบ้าง ก็ให้กด + เพื่อเพิ่มไฟล์ /แฟ้ม ที่เราไม่ต้องการเข้าไป

Spotlight Tips

Tips & Tricks ในการใช้งาน Spotlight ครับ

note : ถ้ารายการด้านซ้ายมือซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง ให้ดู list จากด้านล่างนี้แทนนะครับ

Application Launcher

เป็นความสามารถใหม่บน 10.5 ของ spotlight ครับ คือเราสามารถเรียกเปิด application ที่เราต้องการได้จากใน spotlight ได้โดยตรงเลย..

ที่เราต้องทำคือ ใส่ชื่อ app ที่เราต้องการจะเปิดลงในช่อง search ครับ จะใส่เต็มคำหรือว่าบางส่วนก็ได้ แล้วดูจากผลการค้นหาที่ได้ออกมา ถ้า app ที่เราต้องการอยู่ในผลการค้นหาก็เลือกแล้วกด enter เพื่อเปิด app นั้นขึ้นมาได้เลยครับ

splight-10_0.jpg

การใช้ spotlight สำหรับเปิด app นี้ ผมใช้ค่อนข้างจะบ่อยนะ ช่วยให้เราไม่ต้องไปค้นหาโปรแกรมจากใน application folder และทำให้ dock เราไม่รกอีกด้วย เพราะเราไม่ต้องเอา app มาวางไว้ใน dock เหมือนแต่ก่อนแล้ว ยิ้ม

Spotlight เอาไว้คิดเลข?

เราสามารถใช้ Spotlight ในการคำนวณหรือว่าคิดเลขได้ครับ โดยทั่วไปเราจะเข้าใจว่า spotlight เอาไว้คิดเลขคร่าว ๆ เท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วเค้าสามารถคิดเลขที่ซับซ้อนพวก รากที่2 หรือยกกำลัง หรือว่า sin, cos, tan ได้ด้วย เพียงแต่เราต้องใช้คำสั่งให้ถูกเท่านั้นเองครับ =)

ตัวอย่างการใช้ spotlight ช่วยคำนวณในแบบต่าง ๆ

การบวกลบคูณหารทั่วไป
splight-11.jpeg

ใช้ำคำนวน sin,cos,tan
splight-12.jpg

หารากที่ 2
splight-13.jpg

คำนวณเลขยกกำลัง
splight-14.jpg

จากตัวอย่าง คือเลข 2 ยกกำลัง 3 ครับ ได้ผลลัพท์เท่ากับ 8

[Spotlight Tip] การไปยัง folder ปลายทางของไฟล์ที่ค้นหาจาก spotlight ครับ

บางครั้ง หลังจากที่เราค้นหาไฟล์จากใน spotlight แล้วได้ผลการค้นหามาแล้ว เราเพียงแค่อยากจะทราบว่าไฟล์ที่ต้องการนั้นอยู่ตรงไหนภายในเครื่อง โดยไม่ต้องการที่จะเปิดไฟล์นั้นขึ้นมาโดยตรง

ทำได้ด้วยการกด command ค้างเอาไว้ก่อนคลิ๊กที่ชื่อไฟล์บนผลที่ได้ตรงผลการค้นหาจาก spotlight ครับ

เมื่อเรากด command + click ที่ชื่อไฟล์แล้ว สักพักนึงเค้าจะเปิด finder ปลายทางอันใหม่ขึ้นมา ที่มีไฟล์เราอยู่ในนั้นครับ ยิ้ม

การจำกัดผลการค้นหาแบบเฉพาะเจาะจงบน Spotlight

เหมือนบน Search Engine ส่วนใหญ่ ที่เราสามารถจำกัดวงการค้นหาให้เฉพาะเจาะจงตามที่เราต้องการได้ ใน spotlight เราก็สามารถทำได้ทำนองเดียวกันในหลาย ๆ วิธีดังนี้

การค้นหาชื่อไฟล์ที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องแบบเฉพาะเจาะจง

เราสามารถทำได้โดยการเพิ่มคำว่า AND และ NOT ลงไประหว่างคำค้นที่เราต้องการ

  • AND : จะเป็นการเพิ่มผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 คำค้น
  • NOT : ยกเว้นผลการค้นหาที่เราไม่ต้องการ

note : คำว่า AND และ NOT จะต้องเขียนด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เท่านั้น

ตัวอย่าง

splight-06-1_0.jpg
ผมจะได้ผลการค้นหาที่เกี่ยวข้องกับคำค้น sky และ apple เท่านั้นด้วยกัน
splight-07_0.jpg

ได้ผลการค้นหาที่ไม่ใช่ไฟล์ Numbers และใน mail ครับ

การค้นหาตามประเภทของไฟล์

เราสามารถค้นหาตามประเภทของไฟล์ที่เกี่ยวข้องได้จากการเพิ่มคำว่า kind:(ประเภทของไฟล์) ลงไปในช่องค้นหา เช่น

splight-08_0.jpg

ค้นหาไฟล์ชื่อ sky ที่เป็นไฟล์ภาพเท่านั้น (kind:image)
splight-06_0.jpg
จากตัวอย่าง ผมต้องการค้นหาไฟล์ที่มีชื่อว่า sky และมีนามสกุลแบบ tga และเป็นไฟล์ภาพเท่านั้น (kind:image)

ตารางแสดง การค้นหาตามประเภทของไฟล์

ประเภทของไฟล์ที่เอาไว้ใช้คู่กับคำสั่ง kind: ครับ

ประเภทของไฟล์ การใช้งานคู่กับ kind:
Applications kind:application

kind:applications
kind:app

Contacts kind:contact

kind:contacts

Folders kind:folder

kind:folders

Email kind:email

kind:emails
kind:mail message
kind:mail messages

iCal Events kind:event

kind:events

iCal To Dos kind:todo

kind:todos
kind:to do
kind:to dos

Images kind:image

kind:images

Movies kind:movie

kind:movies

Music kind:music
Audio kind:audio
PDF kind:pdf

kind:pdfs

Preferences kind:system preferences

kind:preferences

Bookmarks kind:bookmark

kind:bookmarks

Fonts kind:font

kind:fonts

Presentation kind:presentation

kind:presentations

ที่มา : จาก help ใน spotlight ครับ

การ Install & Uninstall โปรแกรมบน OS X

บทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการ Install & Uninstall โปรแกรมต่าง ๆ ที่เราติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปบน OS X ที่จะมีโดยทั่วไปอยู่ 2 แบบคือ

  1. การติดตั้งผ่าน Installer Package
  2. การติดตั้ง Application Bundle ผ่าน Disk Image

โดยจะแบ่งเนื้อหาออกเป็นตอน ๆ ดังนี้

  • การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 1 : Installer Package
  • package.jpg จะเป็นการติดตั้ง Package โปรแกรมผ่าน Installer.app ส่วนใหญ่ใช้กับการติดตั้งโปรแกรมใหญ่ ๆ หรือว่าโปรแกรมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ system files

<

ul style="list-style-type: disc">

  • การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 2 : Bundle + Disk Image
  • disk-img-icon.jpg เป็นการติดตั้ง Bundle โปรแกรมผ่าน Disk Image แบบลาก copy มาไว้ใน Application folder ส่วนใหญ่ใช้กับโปรแกรมเล็ก ๆ หรือโปรแกรมที่โลหดมาติดตั้งจาก internet (ดูเกี่ยวกับ Bundle /Application Bundle ได้จากเนื้อหา การ Install แบบ Bundle + Disk Image ประกอบ)

    note :

    1. ถ้าเราไม่แน่ใจว่าแต่ละโปรแกรม Install และ Uninstall อย่างไร หรือว่าสร้างไฟล์อะไรไว้ตรงไหนบนเครื่องเราบ้าง ... อย่าลงโปรแกรมนั้นครับ
    2. สิ่งที่ดี และควรทำที่สุดคือ อ่านเอกสารประกอบโปรแกรมอย่างละเอียดทุกครั้งก่อนการใช้งาน เพื่อช่วยลดปัญหาและเข้าใจกระบวนการทำงานต่าง ๆ ของโปรแกรม บ่อยครั้งจะมีข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น เช่นการ Install, Uninstall หรือ FAQ ปัญหาและวิธีแก้เบื้องต้นครับ
    3. หลีกเลี่ยงการใช้งานโปรแกรมตระกูล Beta เพื่อเป็นโปรแกรมที่ยังไม่สมบูรณ์ ส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาโปรแกรมนั้น ๆ ก่อนนำออกมาใช้จริง พวกนี้ส่วนใหญ่เราจะเจอกับโปรแกรม freeware ต่าง ๆ ที่โหลดมาได้จากบน Internet ครับ .. ถ้ามีเวอร์ชั่นจริงของโปรแกรมนั้น (ซึ่งส่วนใหญ่จะมีคู่กันกับ Beta) ก็ให้โหลดมาใช้งานจะดีกว่าเอาตัว Beta มาใช้

    อ่านอ้างอิงประกอบแบบละเอียดได้จาก
    http://developer.apple.com/tools/installerpolicy.html
    การ Install ทั่วไปบน OS X
    http://support.apple.com/kb/HT1148?viewlocale=en_US
    เกี่ยวกับ OS X Installer
    http://en.wikipedia.org/wiki/Installer_(Mac_OS_X)
    เกี่ยวกับ Uninstall โปรแกรมบน OS X
    http://guides.macrumors.com/Uninstalling_Applications_in_Mac_OS_X

    การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 1 : Installer Package

    • การ Install โปรแกรมแบบที่ 1 : แบบ Installer Package

    การ Install
    หน้าตาของตัว Package จะมีลักษณะแบบนี้ครับ จะมีไฟล์ต่าง ๆ ซ่อนอยู่ภายใน icon รูปกล่องน้อย ๆ อันนี้

    package_0.jpg

    เวลา Install ให้ดับเบิลคลิ๊กที่ตัว package จะเป็นการเรียกใช้งาน Installer.app ขึ้นมาจากในเครื่องเราแบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในการ Install ครับ จะมีหน้าตาแบบนี้

    installer-icon.jpg

    แล้วจากนั้นจะเข้าหน้า Installer เพื่อช่วยเราติดตั้งโปรแกรมตามปรกติทั่วไป

    installer.jpg

    วิธีการติดตั้งผ่าน Installer แบบนี้ สำหรับผู้ใช้งานแมคมือใหม่ที่ใช้ windows มาก่อน จะพบว่าคล้าย ๆ กันกับการ Install โปรแกรมบน windows ครับ คือมีขั้นตอนให้เลือกกดคลิ๊ก continue ไปเรื่อย ๆ สำหรับบน OS X แล้ววิธีนี้ส่วนมากจะใช้กับโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับไฟล์ system หรือมีส่วนประกอบที่จำเป็นอื่น ๆเยอะเกินกว่าจะ Install ด้วยวิธี Bundle + Disk Image ครับ

    การ Uninstall
    ส่วนมากการ Install ผ่าน Installer Package แบบนี้ จะมีตัว Uninstall มาให้ เพียงแต่อาจจะมีวิธีไม่เหมือนกันในแต่ละโปรแกรมครับ ถ้าต้องการ Uninstall โปรแกรมออก ให้ลองทำดังนี้

    • เข้าสู่ขั้นตอน Install application นั้น ๆ ใหม่อีกรอบ แล้วค่อย ๆ ดูว่ามีตัวเลือก Uninstall มาให้เลือกในระหว่างขั้นตอน Install ปรกตินี้หรือไม่ (ส่วนใหญ่ถ้ามีตรงนี้จะเป็น pop up มาให้เลือกครับ)
    • บางโปรแกรม จะมีตัว Uninstall แยกต่างหากมาให้ใน folder ของโปรแกรมนั้น ๆ เลย ถ้ามี ก็ให้เลือกใช้ตรงนี้เพื่อการ Uninstall ครับ
    • บางโปรแกรม จะไม่มีตัว Uninstall ตรง ๆ ให้ทำการอ่าน Readme หรือเอกสารประกอบของแต่ละโปรแกรมเพื่อให้ทราบขั้นตอนการ Uninstall ที่ถูกต้อง
    • ท้ายที่สุด ถ้าไม่มีเอกสารประกอบอะไรเลย ให้สอบถามไปยังบริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมนั้น ๆ โดยตรงจะได้คำตอบที่ดีที่สุดครับ

    การ Install & Uninstall รูปแบบที่ 2 : Bundle + Disk Image

    • การ Install โปรแกรมแบบที่ 2 : Bundle + Disk Image (หรือโดยทั่วไปเข้าใจกันว่า Install แบบ Disk Image ครับ) ตรงนี้อธิบายยาวหน่อย แต่สรุปสั้น ๆ คือการ Install แบบลากมาวางใน Applications folder ครับ

    ก่อนอื่น... Bundle / Application Bundle คืออะไร?

    สำหรับผู้ใช้งานแมคมือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นกับคำว่า Bundle มากนัก (จริง ๆ สำหรับ mac user หลาย ๆ คนก็ไม่เคยได้ยินคำนี้เหมือนกันครับ - ตัวผมเองเป็นต้น) ตัว Bundle จะเป็นคล้าย ๆ กับ folder หลักของโปรแกรมนั้น ๆ ที่จะเก็บ folder ที่เกี่ยวข้องกับ application นั้น ๆ เอาไว้อีกที มีหน้าตาเป็น iCon ของแต่ละโปรแกรมครับ

    app-icons.jpg

    เป็น icon แบบเดียวกับที่แสดงใน Applications folder ในเครื่องเรา โดยตัว icon พวกนี้คือ Bundle ที่จะมี folder ย่อย ๆ ซ่อนอยู่ ลองคลิ๊กขวาที่ icon โปรแกรมไหนก็ได้แล้วเลือก Show Package Contents จะเห็นภาพ

    show-contents-1.jpg

    ห้ามเลือกผิดนะครับ เพราะอาจจะพา app ลงถังขยะได้ (มาถึงตรงนี้ผมพอจะเข้าใจแล้วว่าทำไมถึงมีกรณีลบ app โดยไม่ตั้งใจเยอะมาก... คำสั่งอยู่ติดกันแบบนี้ - -) และเมื่อเลือกมาแล้ว ก็จะเห็น folder + file ต่าง ๆ ขึ้นมาเหมือน folder ปรกติทั่วไปบน OS X

    show-contents-2.jpg

    หมดจากอธิบายเรื่อง Bundle ไปแล้ว ก็จะมาที่วิธีการ Install app แบบ Bundle นี้กัน

    การ Install แบบ Bundle + Disk Image นี้ ส่วนใหญ่จะใช้กับ application ที่ไม่ซับซ้อน หรือว่ามีขนาดเล็กที่ download มาจาก internetโดยทั่วไป app จำพวก Bundle นี้จะมาในรูปของ Disk Image ครับ มีหน้าตาแบบนี้

    disk-img-icon_0.jpg

    ตัว disk image เองจะเป็นคล้าย ๆ กับ container ที่ห่อ Bundle เอาไว้อีกทีนึง เวลา install ก็ดับเบิลคลิ๊กไปที่ disk image ที่เราต้องการ ซึ่งตัว disk image จะทำการ mount ตัวเองบน desktop พร้อมกับแสดงหน้าต่าง finder ใหม่ที่มีไฟล์ Bundle ของโปรแกรมนั้น ๆ และไฟล์ประกอบ(ถ้ามี)ขึ้นมาครับ ดูภาพด้านล่างนี้ประกอบ

    Picture4_23.jpg

    หน้าต่าง Finder ด้านบนนี้เป็นฉบับย่อส่วนครับ ถ้าอยากเห็นแบบเต็ม ๆ ให้กดปุ่มด้านบนขวา เพื่อเรียกส่วนที่ซ่อนอยู่ของ Finder ออกมา แบบนี้ครับ

    Picture6_17.jpg

    ภาพประกอบจากขั้นตอนการติดตั้ง Adium ซึ่งจะเห็นว่า DIsk Image ของ Adium จะ mount บน desktop ของเราด้วย (ตรงลูกศรหมายเลข 2)

    หลังจากเราเห็นหน้าต่าง Finder แสดง Bundle ที่อยู่ใน disk image แล้ววิธี Install คือ จับ Bundle (icon app ตัวนั้นล่ะครับ) แล้วลากมาวางใน Applications folder บนเครื่องเรา

    เมื่อ copy Bundle ลงใน Applications folder เราแล้ว ก็ Eject ตัว disk image ออกจาก desktop ก็เป็นอันเสร็จกรรมวิธี Install แบบ Bundle + Disk Image นี้แล้ ครับ

    Tips :
    สำหรับบางโปรแกรม เช่น adium ในหน้าต่าง Finder ของ disk image ที่ mount ขึ้นมา จะมี Alias (shortcut )ไปยัง Applications folder ภายในเครื่องเราให้อยู่ในนี้เลย.. ที่เราต้องทำคือลาก Bundle ไปไว้ใน Alias นั้นแทนก็ได้ครับ ให้ผลเหมือนกัน ดูภาพประกอบต่อไปนี้ครับ

    drag-drop.jpg

    เครื่องหมายลูกศรเล็ก ๆ (ในวงสี่เหลี่ยมสีแดง) จะเป็นตัวบอกเราว่านี่เป็น Alias (shortcut) ไปยัง Applications Folder ภายในเครื่องของเราครับ .. เราสามารถลาก icon (Bundle) ลงมาตรงนี้ได้เลย

    การ Uninstall
    ตามธรรมดาทั่วไป โปรแกรมที่เรา Install แบบลาก copy มาไว้ใน Application folder แบบนี้ เราสามารถ Uninstall ได้ด้วยการลบทิ้ง หรือว่าลากลง Trash ได้เลย แต่จะมีไฟล์ของโปรแกรมนั้นบางส่วนที่ถูกสร้างขึ้นมาทีหลังและยังค้างอยู่บนเครื่องเราครับ เพราะว่าไฟล์พวกนั้นจะอยู่ใน folder อื่น ไม่ได้อยู่ใน bundle ที่เราลากลงถังไปครับ.. ไฟล์พวกนี้ได้แก่

    • Preferences : จะเป็นไฟล์ที่จดจำค่าการใช้งานต่าง ๆ ของโปรแกรมระหว่างถูกใช้งานอยู่บนเครื่องเราส่วนมากไฟล์พวกนี้จะมีประโยชน์กรณีที่เราเปลี่ยนใจต้องการ Install โปรแกรมนั้นใหม่ เราสามารถใช้พวกค่า setting ต่าง ๆ ที่เราเคยทำเอาไว้แต่ก่อนได้เหมือนเดิมครับ ไม่ต้องตั้งใหม่ ปรกติฟล์พวกนี้มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่จำเป็นที่จะต้องเอาออก แต่ถ้าต้องการเอาออกจริง ๆ ก็สามารถเข้าไปลบเองได้จาก ~/Library/Preferences (ตัวสัญลักษณ์ ~ แทน Home folder ของเครื่องเรา) โดยไล่หาไฟล์ที่มีชื่อเดียวกับโปรแกรมที่เราต้องการเอาออก และมีนามสกุล .plist (preference file) หรือให้แน่ใจที่สุด ดูเอกสารประกอบโปรแกรม ว่ามีไฟล์อะไรที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมนั้น ๆ บ้าง เพราะว่าบางไฟล์ ใช้งานร่วมกันหลายโปรแกรม ถ้าเราไปเอาออกเข้า โปรแกรมที่เหลือจะเพี้ยนครับ

    • Support files : ไฟล์ประกอบโปรแกรม เป็นไฟล์เสริมต่าง ๆ มีหลายขนาดตั้งแต่ไม่กี่ KB ไปจนถึง GB ที่เห็นมีขนาดใหญ่ ๆ เช่นพวกไฟล์เสียงจาก GarageBand หรือไฟล์ประกอบโปรแกรมมัลติมีเดียต่าง ๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่ ~/Library/Application Support

    ถ้าเราไม่ต้องการไล่ลบไฟล์ Preferences ต่าง ๆ พวกนี้เอง มี App เสริมช่วยให้เราเอาตรงนี้ออกได้ทุกครั้งที่เรา Uninstall หรือว่าลบตัว Application Bundle ทิ้งไปครับ เช่น AppCleaner (ฟรี)

    ถ้าโปรแกรมนั้นมีอยู่บน dock ด้วย หลังจากที่ลากตัว app จริงลงถังและ empty trash ไปแล้ว ตัว icon โปรแกรมจะเปลี่ยนเป็นเครื่องหมายคำถาม ให้เราลากตัว icon นั้นออกจาก dock ทิ้งไปครับ (จะเป็นฝุ่นหายไปเมื่อเอามาปล่อยนอก dock)

    note :

    1. ก่อนลบโปรแกรมด้วยการ empty trash ให้ปิดโปรแกรมนั้น ๆ ก่อนเสมอนะครับ
    2. ก่อนลบไฟล์ใดใดก็ตามออกจากเครื่อง ให้อ่าน readme หรือเอกสารประกอบโปรแกรมให้แน่ใจว่าไฟล์ไหนเกี่ยวข้องกับอะไร ลบได้หรือลบไม่ได้บ้าง เพราะมีบางไฟล์ที่อาจจะใช้งานร่วมกันหลายโปรแกรม ถ้าเราไปเอาตรงนั้นออก พวกโปรแกรมที่เหลือจะทำงานผิดปรกติครับ

    การจัดการไฟล์แบบฐานข้อมูล ในโปรแกรมต่าง ๆ บน OS X

    บทความนี้จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ในแบบฐานข้อมูล (Database) ในโปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีอยู่บน OS X คร่าว ๆ นะครับ

    คือผมตั้งใจว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับ iTunes และเริ่ม iLife’08 แล้ว จึงน่าจะเป็นการดีกว่าถ้าจะมีการอธิบายเพิ่มเติมตรงนี้เพื่อเตรียมพื้นฐานความเข้าใจตรงนี้ร่วมกันก่อนครับ

    ที่มา

    สำหรับผู้ที่ใช้ Windows PC มาก่อน อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับการจัดไฟล์ในรูปแบบฐานข้อมูลนี้เท่าไหร่นัก เพราะบน WIndows PC โปรแกรมฐานข้อมูลนั้นค่อนข้างเฉพาะทาง และมีราคาแพง ไม่เหมือนกับบน OS X ที่โปรแกรมพื้นฐานต่าง ๆ แทบทั้งหมดล้วนมีการทำงานในรูปแบบของฐานข้อมูลทั้งสิ้น เช่น iTunes, iPhoto, Address Book, iCal, Mail.. ฯลฯ

    ข้อดี

    การจัดไฟล์แบบฐานข้อมูลมีข้อดีดังนี้

    • การบริหารจัดการไฟล์ทำได้ง่ายกว่า เราไม่ต้องเสียเวลาจัดการกับไฟล์เอง เช่นบน Windows PC ส่วนใหญ่แล้วเราจะจัดตำแหน่ง หรือว่าบริหารจัดการไฟล์เองเกือบทั้งหมด ..ซึ่งมักจะมีปัญหากับขนาดของข้อมูลที่มากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป แต่บน OS X เราแทบไม่ต้องทำตรงนั้นครับ เราแค่เอาไฟล์ใส่เข้าไปใน Library ของโปรแกรมนั้น แล้วที่เหลือ โปรแกรมจะจัดการต่อเกือบทั้งหมดให้เรา ตรงนี้จะเป็นประโยชน์มากตามขนาดของข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเราไม่ต้องทำเอง
    • การแสดงผล หรือว่าการจัดการที่ทำได้หลากหลาย จากเดิมบน Windows PC ถ้าเราจัดการกับไฟล์เพลงเป็นแฟ้มปรกติ อย่างมากที่เราทำได้คือการเรียงลำดับตามชื่อ, ขนาด หรือว่าวันที่ แต่เราไม่สามารถแสดงผลเฉพาะเช่น แสดงเฉพาะเพลงแจ๊สเพียงอย่างเดียวได้. ซึ่ง iTunes (ทั้งบน Windows และ OS X) สามารถทำตรงนี้ได้ครับ
    • การค้นหาที่ทำได้รวดเร็ว เพราะโปรแกรมแบบฐานข้อมูลส่วนมากจะมีการเก็บรายละเอียดของไฟล์เอาไว้เพื่อใช้ในการค้นหาได้ด้วย เช่นใน iTunes เราสามรถค้นหาจากชื่อเพลง, ชื่อวง หรือว่า แนวเพลงที่ต้องการจากเงื่อนไขเดียว หรือหลายเงื่อนไขพร้อม ๆ กันได้อย่างรวดเร็ว

    ธรรมชาติของการจัดไฟล์แบบฐานข้อมูล หรือว่า database

    ส่วนใหญ่แล้วที่เราต้องทำคือการนำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือทั้งหมดไปใส่ไว้ใน Library หรือว่าฐานข้อมูลของโปรแกรม แล้วจากนั้น เราค่อยจัดการกับไฟล์ต่าง ๆ ใน Library ของตัวโปรแกรมนั้น ๆ อีกที.. ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว โปรแกรมจะทำงานได้ดี และเต็มประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ เรานำไฟล์ไปใส่ไว้ใน Library ของโปรแกรมนั้น ๆ แล้วครับ เช่น นำเพลงไปใส่ไว้ใน Library ของ iTunes, การนำไฟล์ภาพ ไปใส่ไว้ใน Library ของ iPhoto เป็นต้น

    พอเราเอาไฟล์ทุกอย่างไปใส่ไว้ใน Library ของโปรแกรมแล้ว เราสามารถ

    1. เลือกแสดงผลของไฟล์ในรูปแบบที่เราต้องการได้ ทั้งจากข้อมูลของไฟล์นั้น ๆ หรือจากเงื่อนไขที่เรากำหนดเอง
    2. ค้นหาจากข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับไฟล์นั้น ๆ
    3. บน OS X ฐานข้อมูลของหลาย ๆ โปรแกรมสามารถทำงานร่่วมกันได้เป็นอย่างดี ผ่าน Media Browser ครับ

      • media-browser.jpg
      • เช่น
      • เราสามารถนำรูปจาก iPhoto ไปแทรกไว้ใน email บน Mail.app ที่เราต้องการได้ โดยที่ไม่ต้องย้ายไฟล์ไปมา
      • หรือใน iPhoto เวลาเราทำ slideshow เราสามารถแทรกเพลงจากใน GarageBand หรือว่าใน iTunes ตาม playlist ที่เราจัดเอาไว้ได้ โดยที่ไม่ต้องเอาเพลงออกมาจากใน iTunes ครับ
      • บน iMovie เราแทรกรูปจาก iPhoto หรือว่าเพลงจาก GarageBand, iTunes ได้ เหมือนการทำงานร่วมกันระหว่างโปรแกรมบน iLife อื่น ๆ

    คร่าว ๆ เป็นประมาณนี้นะครับ =)

    note : เอาไว้ผมจะค่อย ๆ ทะยอย update บทความนี้นะครับ คิดว่าคงจะเพิ่มเติมข้อมูลตรงนี้หลังจากที่เขียนเกี่ยวกับ iTunes, iPhoto เสร็จแล้ว

    การบำรุงรักษา OS X ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ

    ปรกติจะมีเรื่องที่ผู้ใช้ที่เพิ่งเปลี่ยนจาก Windows PC มาใช้ Mac หลังจากใช้งานไปสักพัก จะเร่ิมเป็นกังวลเกี่่ยวกับการบำรุงรักษา OS X ให้ใหม่สดและใช้งานได้ดีอยู่เสมอ โดยจะมีอยู่สองเรื่องหลัก ๆ คือ

    1. การ Defrag บน OS X
    2. ล้าง Temporary Files หรือไฟล์ขยะบน OS X

    อธิบาย..

    1.เกี่ยวกับการ Defrag Hard disk บน OS X

    การใช้งานระบบไฟล์แบบ FAT32 บน Windows PC นั้น หลังจากเราเขียน อ่าน ข้อมูลบน HD ไปสักระยะแล้ว จะเกิด “หลุมอากาศ” ขึ้นบน HD ที่ทำให้ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปได้ ปรกติระบบ OS จะทำการเขียนข้อมูลข้้าม “หลุม” พวกนี้ไปให้แบบอัตโนมัติ ก็จะมีที่ตามมาคือ ข้อมูลกระจายตัวอยู่บน HD มากขึ้น ทำให้การเข้าถึงข้อมูล และการทำงานกับข้อมูลที่กระจายตัวเหล่านั้นทำได้ช้าลง ที่เรามักจะต้องทำการ Defrag Disk เองอยู่เสมอบน Windows pc ที่จะทำการจัดเรียงข้อมูลใหม่ ให้ข้อมูลอยู่ใกล้กันมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมให้ดีขึ้น

    บน OS X ก็จะมีหลุมอากาศพวกนี้เกิดขึ้นเมื่อเราจัดการกับไฟล์ต่า่ง ๆ ตรงนี้เหมือนกัน ... แต่.. บน OS X จะพยายามจัดการหลุมอากาศที่เกิดขึ้นเหล่านี้เอง พูดให้ง่ายคือ ระบบ OS จะทำตรงนี้ให้เราเองครับ โดยที่เราไม่ต้องสั่งการอะไรเพิ่มเติม และไม่จำเป็นครับ

    อีกเหตุผลนึงที่คือ Hard disk สมัยใหม่ที่มีค่าการอ่าน - เขียนกับพื้นที่ ๆ เพิ่มขึ้นมากแล้ว ไม่เหมือนแต่ก่อนที่พื้นที่น้อย แล้ว OS ต้องพยายามจะหาที่เขียนข้อมูลลงไปแบบจำกัดจำเขี่ย.. ด้วยเหตุผลนี้ เป็นอีกประการที่เราไม่มีความจำเป็นในการ Defrag เพื่อการทำงานที่ดีขึ้นครับ

    หรือถ้าใครไม่มั่นใจ และต้องการที่จะทำการ Defrag disk เอง ก็สามารถทำได้โดยอาศัย app อื่น ๆ มาช่วยครับ เช่น iDefrag (ไม่ฟรีครับ ราคา 17.5 ปอนด์ หรือประมาณ 950 บาทครับ)

    note : จากเอกสารประกอบในเวป apple.com ระบุเอาไว้ว่า การ defrag เองนั้น อาจจะมีการย้ายตำแหน่งไฟล์สำคัญของระบบบางส่วนเกิดขึ้น และตรงนี้อาจจะก่อปัญหาให้เครื่องทำงานผิดพลาดได้ครับ

    อ่านเพิ่มได้จาก
    About disk optimization with Mac OS X

    2.เกี่ยวกับการล้าง Temporary , Log files บน OS X

    Temporary Files (Temp files) : คือไฟล์ชั่วคราวซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราใช้งานเครื่องไปสักระยะ มีทั้งเกิดขึ้นจากตัวระบบ OS เอง (พวก System Logs) และเกิดจาก Application ต่าง ๆ ที่เราใช้งานบนเครื่อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมีประโยชน์มากกว่าโทษครับ

    ก่อนจะเข้าสู่การล้าง Temp file บน OS X ผมอยากจะเขียนอธิบายก่อน ซึ่งเป็นไฟล์ขั่วคราวที่บางคนไม่เข้าใจว่ามีเอาไว้ทำอะไร เลยพาจะลบเอาเรื่อย ๆ เพราะคิดว่ากินพื้นที่

    • Cache : จะเป็นไฟล์ที่เก็บค่าใช้งานบางส่วนของโปรแกรมที่เราใช้ เมื่อมี Cache อยู่ เราจะใช้งานโปรแกรมโดยรวมได้ดีขึ้น เช่นใน Safari พวก Cache ก็จะทำให้เราเปิดหน้าเวปได้เร็วขึ้น เพราะเค้าจะจำบางส่วนของหน้าเวปเอาไว้ ทำให้ไม่ต้องโหลดใหม่หมดทุก ๆ ครั้งครับ การล้าง Cache สมควรกระทำเพื่อแก้ปัญหาการทำงานของโปรแกรมที่ทำงานผิดพลาด มากกว่าจะกระทำเป็นประจำนะครับ
    • System Logs : ตรงนี้เป็นรายการของกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนเครื่องของเรา มีประโยชน์มหาศาลในการไล่หาความผิดปรกติของเครื่องครับ (ไม่จากเรา ก็ให้ช่างเทคนิกดู) โดยปรกติ OS X จะทำตรงนี้เอง (ในตอนตี 3- ตี 5 ของทุกวัน) แต่ถ้าเราต้องการทำเองก็สามารถทำได้ ดูจาก link บทความด้านล่างประกอบตรงนี้ครับ

    note : การแก้ปัญหาถ้าเกิดเราเจอโปรแกรมทำงานผิดพลาดที่ดีและง่ายที่สุดเลยคือ การ restart ครับ =)

    อ่าน เกี่ยวกับ Temporary Files และ System Logs บน OS X ประกอบ
    ดู การล้าง Temp files, system logs บน OS X ครับ

    note : บทความนี้ผมเขียนเอาตามความเข้าใจส่วนตัวเองนะครับ ตัดเรื่องข้อมูลทางเทคนิคลืึก ๆ ไป (เพราะผมเองก็ไม่รู้ แบร่..) เอาเฉพาะที่คิดว่าผู้ใช้มือใหม่ส่วนใหญ่น่าจะอ่านได้ง่ายเป็นหลัก หากมีข้อผิดพลาดหรือจะแนะนำเพิ่มเติม ก็ใส่ไว้ใน comment ด้านล่างนี้นะครับ

    การ Maintenance OS X #1 : เกี่ยวกับ Temporary files และ System Logs

    สำหรับคนที่ใช้ Windows pc มาก่อน อาจจะคุ้นเคยกับคำว่า Temp files ที่เป็นไฟล์ที่เกิดขึ้นจาก system หรือโปรแกรมต่าง ๆ เองเรื่อย ๆ เมื่อเราใช้เครื่องของเราไปสักระยะหนึ่ง ที่จะกินพื้นที่ HD ของเราไป และในบางกรณีจะใช้พื้นที่มากเกินความจำเป็น ทำให้เราต้องหาทางจัดการล้างไฟล์เหล่านั้นทิ้ง

    บน OS X ก็เหมือนกัน คือจะมีการสร้างไฟล์ชั่วคราว (Temporary Files) และ System log เกิดขึ้นระหว่างที่เราใช้งานไปแต่มีหลายอย่างที่แตกต่างกันครับ ในบทความนี้เลยจะขอเขียนถึง Temporary Files ที่มีบน OS X แบบคร่าว ๆ

    Temporary Files : ไฟล์ที่เกิดขึ้นชั่วคราวทั้งจากระบบและจากโปรแกรมต่าง ๆ มีทั้งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ยอมไปไหน และมีทั้งแบบที่เกิดขึ้นแล้วจะหายไปเอง ที่เราคุ้น ๆ กันทั่วไปเช่น

    • จาก OS X : Recovered Files ใน Trash

      • บางครั้งเราจะเจอ Recovered ไฟล์ใน Trash ครับ ซึ่งจะเป็น temp file แบบนึงที่เกิดจาก app ต่าง ๆ ขณะใช้งาน ซึ่งปรกติแล้ว app จะจัดการล้างไฟล์ที่ไม่จำเป็นพวกนี้ทิ้งไปเมื่อปิดโปรแกรม แต่ในบางกรณี ถ้า app ค้าง หรือว่า crash เจ้า temp file ที่เกิดขึ้นค้างเอาไว้จะยังคงอยู่ในระบบ และถ้าเรา restart เครื่อง เจ้าไฟล์ที่ค้างเอาไว้อยู่นี้จะถูกนำไปอยู่ใน Trash ให้โดย OS X ครับ ในบางกรณีเราสามารถจะใช้ Recovered File จากใน Trash เพื่อกู้ข้อมูลที่ทำงานค้างเอาไว้ได้ด้วย
    • บน Safari (หรือ Browser อื่น ๆ ) จะเป็น temp file แบบถาวรติดอยู่ในเครื่องครับ
      • Cache : ไฟล์ชั่วคราวที่จะทำให้ใช้งานโปรแกรม / เปิดหน้าเวปเร็วขึ้น
      • Web History : รายการแสดงหน้าเวปที่เราเคยเข้ามา
      • ฯลฯ
    • บน iDVD (temp ชั่วคราว และหายไปเมื่อเสร็จสิ้นคำสั่ง)
      • เวลาที่เราแปลงหนัง จะใช้พื้นที่บน HD เราส่วนนึงเพื่อที่จะแปลงไฟล์
    • Photoshop (temp ชั่วคราว และหายไปเมื่อออกจากโปรแกรม)
      • Scratch disk : พื้นที่บน HD ชั่วคราวที่จะถูกดึงมาใช้ตอนเราทำงานกับไฟล์บน Photoshop

    System Logs : เป็นการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นของระบบ เป็นการบันทึกเองในข้างหลังการทำงานทั่วไปขณะที่เราใช้งาน OS X ครับ .. มีเอาไว้ให้ช่างเทคนิกดูเพื่อไล่หาอาการผิดปรกติของเครื่องได้ด้วยดู การล้าง Temp files และ System Logs บน OS X ประกอบครับ

    การ Maintenance OS X #2 : การล้าง Temporary files และ System Logs

    การล้าง Temporary Files, System logs บน OS X สามารถทำได้หลัก ๆ 2 แบบครับ

    1. ใช้ Application จากค่ายอื่นมาช่วย
    2. ใช้คำสั่งผ่าน Command line บน Terminal.app ใน OS X

    1.การใช้ Application อื่น ๆ มาช่วยล้าง Temp files

    เราสามารถใช้ Application จากผู้พัฒนาอื่น ที่ไม่ใช่จาก Apple มาใช้ล้าง temp ได้ครับ ซึ่งสามารถหาโหลดได้จากเวป mac app ทั่วไปในหัวข้อเกี่ยวกับ Utilities หรือว่า System ครับ เช่น

    • Cocktail : โปรแกรมจัดการ Utility สารพัด ราคา 14.95 เหรียญ
    • Onyx : โปรแกรมฟรี ที่จะช่วยจัดการ Maintenance Tasks ต่าง ๆ ให้เรา จาก Titanium’s Software
    • Maintenance 1.2.4 : maintenance พวกล้าง cache, Log หรืออื่น ๆ (เป็นความสามารถบางส่วนเหมือน Onyx เพราะมาจากผู้พัฒนาเดียวกัน แต่ตัวนี้จะเล็กกว่า) ตัวนี้ ฟรีครับ
    • Maintenance 3.8 : automator script ที่เรียบง่าย และช่วยเราล้างไฟล์ที่เราต้องการได้ พัฒนาโดยคุณ Jesse Hogue ฟรีครับ

    note : การล้าง Temp ไฟล์จากโปรแกรมต่าง ๆ ด้านบน ผู้ใช้ควรจะทราบค่าต่าง ๆ ที่ตัวเองเลือกเป็นอย่างดีก่อน เพราะอาจจะมีปัญหาที่วุ่นวายตามมาได้หากใช้งานไม่ถูกต้อง

    2.การใช้ Command line สั่งงานผ่านTerminal.app บน OS X

    ปรกติ OS X จะทำการล้างไฟล์ temp หรือว่า system log เป็นประจำอยู่แล้ว (ระหว่าง ตี 3-ตี 5 ของทุก ๆ วัน) แต่ถ้าเราปิดเครื่องระหว่างช่วงเวลากลางคืน เราก็อาจจะต้องสั่งงานตรงนี้เอาเอง อย่าเพิ่งกลัวครับ เป็นแค่การพิมพ์ภาษาอังกฤษบรรทัดเดียว มีความสุข

    สามารถเข้าไปดูรายละเอียด การสั่งงานผ่าน Command line เพื่อ Manitenance OS X นะครับ ผมเขียนเอาไว้ในห้อง Tips& Tricks แล้ว =)

    การแบ่ง partition

    ดู Disk Utility : การแบ่ง partition

    ดูรายละเอียดไฟล์

    ดู Get Info

    ปรับแต่ง OS X

    ปรับแต่งส่วนต่าง ๆ ของ OS X เช่น ภาษา, การแสดงผลของหน้าจอ, การพักหน้าจอ, การเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น ๆ

    ดู System Preferences

    เกี่ยวกับ Shortcut

    ว่าด้วยเรื่องทั่วไปเกี่ยวกับ Shortcut หรือว่าคีย์ลัดบน OS X

    สัญลักษณ์ Shortcuts บน OS X

    สัญลักษณ์ใน Shortcuts บน OS X

    Shortcut คือ การกดคีย์ลัดเพื่อใช้งานคำสั่งต่าง ๆ บนโปรแกรม มีเอาไว้ให้การเข้าถึงคำสั่งรวดเร็วขึ้น บน OS X จะมีปุ่มที่หลัก ๆ สำหรับกดคีย์ลัด หรือ Shortcut ดังนี้

    ปุ่มบนแป้นคีบอร์ด สัญลักษณ์ใน shortcut เรียกว่าปุ่ม..
     command ⌘  Command
    alt, option Alternate, Alt, Option
    ctrl Control
    fn fn Function
    shift shift
    tab tab หรือ →| Tab
    esc Esc, Escape
    enter Enter
    return Return
    arrow ←↑→↓ ลูกศร
    page up Page Up
    page down Page Down
    Top (home) Top (Home)
    End End
    delete Delete (ลบตามปรกติ)
    forward delete Forward Delete (ลบไปข้างหน้า)
    Space bar Space bar Space bar

    ตัวอย่างวิธีอ่าน

    ⌘⇧3 = Command + Shift + เลข3 = เป็นการ Capture หน้าจอ
    ⌘⎋ = Command + esc = เรียกใช้งาน Front Row

    ดูเพิ่มเติมได้จากใน help ของ finder แล้วพิมพ์คำว่า Symbols for special keys

    การเพิ่ม Shortcut เอง

    การเพิ่ง Shortcut ใหักับ application ต่าง ๆ เอง

    ดู System Preference : การเพิ่ม Shortcut ให้กับคำสั่งต่าง ๆ เอง

    เกี่ยวกับการ Sleep

    Sleep : เป็นการเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน (ทั้งจากเครื่องต่อไฟตรง หรือว่าโน๊ตบุคที่ทำงานผ่านแบตเตอรี่)

    การตั้งค่าเกี่ยวกับการ Sleep

    enegy-saver.jpg
    ไปที่ System Preferences เลือำ Energy Saver

    เข้าหน้าต่างการตั้งค่า Sleep

    sleep-1.jpg
    อธิบาย
    Setting For : ให้เราเลือกว่าจะใช้การตั้งค่านี้สำหรับสถานะการณ์ใดบ้าง โดยทั่วไปมีให้เลือก 2 แบบคือ ระหว่างที่เราต่อไฟตรงจากปลั๊ก กับ การใช้งานบนแบตเตอรี่สำหรับโน๊ตบุค
    Optimization : เลือกว่าจะปรับค่าการใช้งานแบบใด

    Optimization.jpg

    • Better Energy Saving : สำหรับประหยัดพลังงานแบบสุด ๆ เพื่อให้้ใช้งานได้นานขึ้น (แบตลดช้าลง)
    • Normal : การใช้งานปรกติ
    • Better Performance : เน้นการทำงานเป็นหลัก ทำให้โปรแกรมสามารถใช้ทรัพยากรที่อยู่บนเครื่องได้เต็มที่ เหลือกับต่อไฟบ้านอยู่ (แบตหมดเร็วขึ้น แต่งานก็เสร็จเร็วขึ้นเช่นเดียวกัน)

    Put the computer to sleep when it inactive for : ตั้งว่าให้เครื่อง sleep ถ้าไม่มีกิจกรรมใด ๆ เกิดขึ้นบนเครื่อง

    note : ถึงเราจะไม่ได้ทำอะไรอยู่ก็ตาม แต่ถ้าบาง app ยังคงทำงานอยู่ใน background เครื่องก็จะไม่ sleep ครับ ส่วนใหญ่ app พวกโปรแกรมช่วย download จะทำให้เครื่องไม่ sleep

    Put the display(s) to sleep when it inactive for : ตั้งค่าตรงนี้จะเป็นการพักหน้าจอ (แบบดับไปเลย) ครับ ซึ่งจะทำงานร่วมกันกับ ScreenSaver จากภาพตัวอย่างมีคำเตือนขึ้นมาว่า หน้าจอผมจะดับก่อนที่ ScreenSaver จะทำงาน

    ทำนองเดียวกัน ถ้าผมเข้าไปดูในส่วนของ ScreenSaver เค้าก็จะเตือนมาแบบนี้เหมือนกัน

    Picture2_24.jpg

    Put the hard disk to sleep when possible : ทำให้ Hard disk หมุนช้าลง หรือหยุดหมุนเลยเมื่อเข้าสู่การ sleep ครับ

    การตั้งค่า Schedule

    Schedule.jpg

    ตรงนี้จะเป็นการตั้งเวลาเปิด ปิด แน่นอน หรือว่าจะสั่ง Sleep ในเวลาที่แน่นอนก็ได้

    การตั้งค่า Options

    sleep-option.jpg

    Wake for Ethernet network administrator access : สามารถถูกปลุกได้จาก network
    Automatically reduce the brightness of the display before display sleep : หรือหน้าจออัตโนมัติก่อน Sleep
    Restart automatically after a power failure : ให้เครื่องทำการรีสตาร์ทเอง หลังจากที่ไฟตก หรือไฟกระชาก
    Show battery status in the menu bar : แสดงสถานะของแบตเตอรี่บน menu bar

    note : อาจจะมี options อื่นเพิ่มเติมนอกจากนี้ เช่น ถ้าในเครื่องมี modem อยู่ เราสามารถตั้งให้เครื่องถูกปลุกได้จากสัญญาณของ modem ได้ด้วย

    ว่าด้วยเรื่อง Sleep

    sleep : เป็นภาวะที่เครื่องเข้าสู่โหลดประหยัดพลังงาน โดยทั่วไปเหมือนกับบน window pc ครับ แต่บน Mac มีสิ่งที่แตกต่างออกไปอีกนิดหน่อย

    (ดู เกี่ยวกับการตั้งค่า sleep ประกอบ)

    ตามความเข้าใจของผม การ Sleep ของเครื่องมีอยู่ 2 ระดับครับ คือ

    1.การหลับแบบไม่ลึก (Idle State, Display Sleep) : หรือดับแค่หน้าจอ .. ถ้าเครื่องไม่มีกิจกรรมอะไรสักระยะ (แต่อาจจะยังมี app ที่ยังคงทำงานอยู่ใน background)หน้าจอจะดับ และ ไฟหน้าเครื่องจะติดค้าง (สำหรับ MacBook, MacBook Pro) เราสามารถเรียกกลับมาได้ด้วยการขยับเมาส์

    2.หลับลึก (ที่เราเรียก ๆกันว่า Sleep นี่ล่ะครับ จะหมายถึงตรงนี้) หลังจากหน้าจอดับไปสักพัก (หรือตามที่เราตั้งเวลาเอาไว้) และไม่มีกิจกรรมใด ๆ เกิดขึ้นบนเครื่อง HDD จะเริ่มหมุนช้าลงและหยุดหมุน และทุกส่วนเข้าสู่โหลดการประหยัดพลังงานเต็มรูปแบบ ไฟหน้าเครื่องจะกระพริบเป็นจังหวะเหมือนหายใจอ่อน ๆ แบบนี้ เราเรียกกลับมาด้วยการขยับเมาส์ไม่ได้ครับ ต้องกดปุ่มบนคีบอร์ดเพื่อกระตุ้น

    note : การเข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานเครื่องจะค่อย ๆ ลดการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ลง จนหมดก่อนถึงจะเข้าสู่การ“หลับลึก“ ครับ ดังนั้น ถ้าเรายังขยับเมาส์แล้วเรียกเค้ากลับมาได้ แสดงว่ายังมีส่วนหนึ่งส่วนใดของเครื่องยังทำงานอยู่ และเป็นการพักแค่หน้าจอเฉย ๆ =)

    มีอะไรเกิดขึ้นตอน Sleep บ้าง?

    เครื่อง Desktop

    • Cpu เข้าสู่โหมดประหยัดพลังงาน
    • Video output ถูกปิด
    • Hard disk ในเครื่องหมุนช้าลง(ทั้งจากของ Apple หรือยี่ห้ออื่นที่เราใส่เข้าไปในเครื่อง)

    เครื่องโน๊ตบุค (MacBook Series)

    • Port Lan จะถูกปิดการทำงาน
    • Express Card, PCMCIA slot จะถูกปิด
    • ปิดการทำงานของ Built-in Modem, Airport, Audio input/output
    • Usb Port จะถูกปิดไม่ตอบสนอง ยกเว้นกับคีบอร์ดที่ถูกต่อเพิ่มเข้าไปเท่านั้น
    • Optical Drive จะหมุนช้าลง
    • และปิดแสงบนคีบอร์ด

    เราสามารถสั่งให้เครื่อง ”หลับลึก” (Sleep) ได้จาก

    • เลือก Sleep จาก Apple menu บน menu bar
    • ปิดฝาหน้าจอ (สำหรับเครื่องโน๊ตบุคของ Apple)
    • กดปุ่มเปิด/ปิดเครื่อง แล้วเลือก sleep
    • ปล่อยเครื่องทิ้งเอาไว้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งตามที่เราตั้งเอาไว้ใน System Preferences/Energy Saver

    อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง Sleep ได้จาก

    http://support.apple.com/kb/HT1776
    http://support.apple.com/kb/HT2412?viewlocale=en_US

    OS X Tips

    Tip & Tricks ในการใช้งาน OS X 

    Thai-Eng Dictionary บน OS X #2

    เป็น Thai-Eng dictionary อีกตัวนึงที่คุณ iolimit
    นำมาแนะนำในห้องสนทนาครับ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่นี่ครับ
    http://macmuemai.com/forum/topic/345

    Thai-Eng Ditionary บน OS X

    วันนี้จะลองเขียนแนะนำเกี่ยวกับการใช้งาน Thai-Dictionary บน OS X ครับ (บทความนี้อ้างอิงจากการใช้งานได้บน OS X 10.5.5)

    ทั่วไปการใช้งาน Thai-Eng Dictionary บน OS X มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ

    1. โปรแกรมติดตั้งในเครื่องแบบ Stand Alone
    2. โปรแกรม Widget ที่ใช้งานร่วมกับการค้นหาจากในเวป
    3. ค้นหาจากหน้าเวปโดยตรง

    โปรแกรมติดตั้งภายในเครื่อง

    เป็น Dictionary ที่ทำงานแบบโปรแกรมเดี่ยว ๆ โดยไม่จำเป็นต้องต่อ Internet เพื่อดึงข้อมูลมาเป็นผลการค้นหา

    • ข้อดี : การติดตั้งโปรแกรมลงบนเครื่องแบบนี้มีข้อดีคือเราไม่จำเป็นที่จะต้องต่อ internet ตลอดเวลา สามารถใช้งานเมื่อไหร่ก็ได้ หรือใช้งานในสถานที่ ๆ ไม่มี Internet ได้
    • ข้อด้อย : การอัพเดทคำต่าง ๆ ไม่รวดเร็วเหมือนโปรแกรมที่ผูกกับหน้าเวป

    เท่าที่ผมลองหาดูคร่าว ๆ เห็นมีของ Infinisoft Technology (มีให้โหลดจากหน้าเวปของ apple.com ในส่วนของ download ด้วย)ที่สามารถทำงานร่วมกับ shortcut ในการเรียก dictionary ปรกติภายในเครื่องได้ (กด Ctrl+Command+D) ตามภาพด้านล่างนี้

    thai-dict_0.jpg

    สามารถ download ได้จาก

    http://www.infinisoft.co.th/mac-thai-dict
    หรือ
    http://www.apple.com/downloads/macosx/productivity_tools/thaidictionary.html

    วิธีการติดตั้ง

    • Download โปรแกรมจาก Link ด้านบน (อันใดอันหนึ่ง) จากนั้นพอ Download เสร็จ ระบบน่าจะทำการเตรียม Install ให้โดยอัตโนมัติ
    • ถ้าเครื่องไม่ทำการเตรียมติดตั้งให้เองหลังจากที่ download มาไว้บนเครื่องแล้ว ให้เราดับเบิลคลิ๊กที่ไฟล์ mac-thai-dict-1.0.pkg ตรง ๆ เลย เพื่อเรียกตัวช่วยติดตั้ง (installer) ขึ้นมา
    • การติดตั้งจะเป็นเหมือน install โปรแกรมผ่าน installer ทั่วไป ให้กดผ่านไปเรื่อย ๆ และใส่ user + password เพื่อยืนยันการติดตั้ง
    • หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราสามารถเรียกใช้โปรแกรมได้เลยโดยการ hi-light ที่ตัวหนังสือ แล้วกด Ctrl+Command+D เพื่อเรียกใช้ Dictionary ปรกติ แต่จะเห็นตัวเลือกเป็นคำไทยขึ้นมาแล้ว (ตรงนี้แอบชอบครับ สะดวกสุด ๆ - ก๊อก)
    • ดูการปรับผลการค้นหาในขั้นตอนต่อไปประกอบ

    วิธีปรับให้ผลการค้นหาจาก Thai-Dict เป็นลำดับแรก

    1.เปิดโปรแกรม Dictionary ของเครื่องเราขึ้นมา (Application/Dictionary.app)
    2.ไปที่ Preference แล้วเลือกรายการ Dict ไทย อังกฤษ ที่เราเพิ่งติดตั้งเอาไว้ในเครื่อง(น่าจะอยู่รายการล่างสุด) ให้ลากมาไว้เป็นรายการแรก ตามภาพนี้ครับ

    order-list_0.jpg

    จากนั้น พอเราเข้าโปรแกรม Dictionary ครั้งต่อไป ผลการค้นหาที่ได้จะแสดงจาก Thai-Dict ของเราก่อนเป็นลำดับแรกแล้วครับ
    order-list-2_0.jpg

    note : ผมค่อนข้างจะชอบที่สามารถใช้ shortcut ร่วมกับ Dictionary (Ctrl+Command+D) ที่มีอยู่ในบน OS X ได้เป็นพิเศษครับ เพราะตามปรกติ เราสามารถที่จะใช้คำสั่งนี้ได้บนเกือบทุก app ใน OS X สำหรับ Dictionary ภาษาอังกฤษเดิมนะครับ พอตอนนี้สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ด้วย ยิ่งทำให้ใช้งานสะดวกขึ้นไปใหญ่เลย =)

    แบบ Dashboard Widget เพื่อใช่ร่วมกับผลการค้นหาจากในเวป

    เป็นกึ่ง ๆ app ในเครื่องในรูปแบบ Dashboard Widget ครับคือเราจะกรอกคำค้นลงใน widget แล้วผลลัพท์ที่ได้จะมาจากหน้าเวป

    • ข้อดี : เพราะผูกการทำงานกับฐานข้อมูลจากเวป ทำให้ได้ผลการค้นหาที่ค่อนข้างจะครอบคลุมเพียงพอ และข้อมูลที่มักจะอัพเดทกว่า Dictionary แบบ โปรแกรมที่ติดตั้งลงบนเครื่องครับ
    • ข้อด้อย : ใช้ได้เฉพาะตอนทีี่ต่อ Internet อยู่เท่านั้น ทำให้ใช้งานในบางสถานที่ ที่ไม่มี Internet ไม่ได้

    จาก http://dict.longdo.com/ ทำออกมาในรูปแบบของ Dashboard Widget ครับ หลักการคือ เหมือน widget ทั่วไป ที่เรากรอกคำค้นหา แล้วจะได้ผลลัพท์ผ่านหน้าเวปของ Longdo อีกที (มีบริการ Dictionary สำหรับ platform อื่น ๆ อีกนอกจากบน OS X ด้วยนะครับ เช่น Vista Gadget, IE Toolbar... ฯลฯ )

    longdo-wid-5_0.jpg

    สามารถ download พร้อมดูวิธีการติดตั้งได้จาก
    http://dict.longdo.com/?page=widget

    note : เท่าที่ผมลองใช้ดู ให้ผลการค้นหาที่ค่อนข้างจะละเอียดและรวดเร็วดีนะครับ จนบางทีก็ลืมไปว่านี่เป็นการทำงานผ่าน internet (หน้าเวปของ longdo โหลดเร็วมาก)

    ใช้งาน Eng-Thai Dictionary จากหน้าเวปโดยตรง

    http://lexitron.nectec.or.th/index1.php
    ของ Nextec ผมว่าใช้ง่ายดี ผลการค้นหาดูไม่รก แต่บางทีก็จะหาบางคำไม่ค่อยเจอ

    http://dict.longdo.com/
    อันนี้ของ Longdo เป็นที่เดียวกับที่แจก widget ในด้านบนครับ เท่าที่ลองดูได้ผลการค้นหาที่ละเอียดยิบ และหน้าเวปโหลดค่อนข้างจะเร็ว

    หมดแล้วครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

    ใครมีโปรแกรมที่เคยใช้อยู่อยากจะแนะนำก็โพสใน Comment ได้เลยนะครับ =)

    การ copy ไฟล์ครั้งละมาก ๆ (หลักหมื่น หรือว่าเป็นแสน ๆ ไฟล์) ด้วย rsync ครับ

    จากกระทู้ การ copy ไฟล์ครั้งละเยอะ ๆ (100,000 ไฟล์) และได้คุณ homoglobin มาโพสแนะนำเพิ่มเติมเอาไว้บน freemac.net เกี่ยวกับการใช้งานคำสั่ง rsync ผ่าน terminal เพื่อทำการ copy ไฟล์

    ผมเลยลองทำตามดู และคิดว่าน่าจะดีถ้าเขียนเป็น how-to เก็บเอาไว้ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ที่อาจจะไม่คุ้นกับการใช้งานคำสั่งผ่าน terminal ให้เห็นภาพทำตามได้ง่าย ๆ โดยเน้นบนพื้นฐานของผู้ใช้งานทั่วไปแบบบ้าน ๆ เป็นหลักครับ

    note : จากการทดสอบสำหรับย้ายไฟล์ 38,000 กว่าไฟล์จาก hd ภายในเครื่องของผมเองไปยัง external hd ที่ต่อผ่าน firewire400 ใช้เวลาประมาณ 4 นาทีตั้งแต่เริ่มกระบวนการจนเสร็จสิ้นครับ ..

    วิธีการ copy ไฟล์ผ่านคำสั่ง rsync บน terminal ครับ

    ขั้นตอนที่ 1: กำหนดเป้าหมาย และปลายทางที่เราต้องการ

    บน finder ให้เปิดเอาไว้ 2 หน้าต่างดังนี้ครับ

    1. หน้าต่างแรก เปิด folder ต้นทางที่เราต้องการจะ copy ไฟล์ข้างในนั้นทั้งหมดรอเอาไว้
    2. หน้าต่างที่สอง สร้าง folder ปลายทางที่เราต้องการ

    ขั้นตอนที่ 2 : เปิด terminal.app ขึ้นมา โดยจะเรียกจากใน applications folder/ utilities หรือผ่าน spotlight แล้วพิมพ์ terminal ก็ได้ เราจะเห็นหน้าต่างเปล่า ๆ ของ terminal แบบนี้ครับ

    rsync-01.png
    ขั้นตอนที่ 3 : พิมพ์คำสั่ง rsync ลงใน terminal

    คำสั่ง resync มีรูปแบบการใช้งานคร่าว ๆ ประมาณนี้ครับ

    rsync -av [path ของ folder ต้นทาง] [path ของ folder ปลายทาง]

    ** คำสั่ง rsync, -av, folder ต้นทาง และ folder ปลายทาง มีเว้นวรรคคั่นอยู่นะครับ ...
    อย่างในกรณีของผม เป็นแบบนี้

    rsync -av /apache2/htdocs/folder ต้นทาง /Volumes/MyBook-Mac/folder ปลายทาง

    โดยที่ [path ของ folder ต้นทาง] = /apache2/htdocs/folder ต้นทาง
    และ [path ของ folder ปลายทาง]= /Volumes/MyBook-Mac/folder ปลายทาง

    ทีนี้ สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ทราบว่าจะพิมพ์ path ของ folder ต้นทางกับ path ของ folder ปลายทางอย่างไรดีบน terminal ให้ทำแบบนี้ครับ

    rsync-02.jpg

    จาก finder ที่เราเปิดทิ้งเอาไว้ ให้ลองลาก folder ที่เราต้องการลงในบรรทัดของ terminal ดู เราจะเห็นว่า เค้าจะขึ้น path ของ folder นั้น ๆ ให้ แบบนี้ครับ

    rsync-03.jpg

    ที่เราต้องทำคือ พิมพ์คำสั่งว่า rsync -av ทิ้งเอาไว้บน terminal แล้วลาก folder ต้นทาง และ ปลายทาง จากบน finder มาลงใน terminal เพื่อให้คำสั่งสมบูรณ์

    เมื่อได้ path ต้นทาง กับปลายทางลงในคำสั่ง rsync โดยสมบูรณ์แล้ว ให้กด enter ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็นว่าเขาเริ่มทำงานย้ายไฟล์ให้เราครับ

    โดยไฟล์ที่มีปัญหา จะถูกแสดงขึ้นมาก่อนพร้อมด้วยระบุว่าทำไมถึงย้ายไม่ได้ให้เราทราบด้วย หลังจากนั้นก็จะเริ่มการย้ายไฟล์ตามปรกติทั่วไป เราจะเห็นหน้าต่าง terminal แสดงไฟล์ที่ถูกย้ายไล่ลงมาเรื่อย ๆ และเมื่อเสร็จกระบวนการแล้ว เขาจะแจ้งเรามาแบบนี้ครับ

    rsync-04.jpg

    หมดแล้วครับ ลองนำไปใช้งานกันดู หวังว่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ =)

    การตั้งชื่อไฟล์ : เรื่องง่าย ๆ ที่หลายคนมองข้าม

    มีเรื่องนึงที่ผมติดอยู่ในการทำงานแต่ก่อนของผมเสมอครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการตั้งชื่อไฟล์

    เรื่องนี้ใหญ่กว่าที่คิด เพราะว่าถ้าเราตั้งชื่อไฟล์แบบตามใจฉันแล้ว .. เรามีโอกาสเจอเรื่องราวดี ๆ ได้แบบนี้ครับ

    • ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมที่ใช้อยู่ไม่ได้
    • ใช้ไฟล์งานกับโปรแกรมเดียวกัน แต่คนละเวอร์ชั่นไม่ได้
    • หรือเวลาส่งไฟล์งานไปให้คนแผนกอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่ไฟล์มีปัญหา
    • ฯลฯ

    เรื่องราววุ่นวายอีกเยอะที่จะตามมาเพราะการตั้งชื่อไฟล์ตามใจฉันครับ ... ผมเลยอยากจะแนะนำการตั้งชื่อไฟล์ที่ทำให้มีปัญหาน้อยที่สุดมาให้ลองนำไปใช้กันดูนะครับ

    1.หลีกเลี่ยงการตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาไทย ... ควรจะตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ

    ภาษาไทยเป็นปัญหาใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบดิจิตอลเลยครับ.. เรื่องนี้บางคนไม่ทราบ หรือว่าเห็นว่าโปรแกรมเกือบทั้งหมดบน windows สามารถรองรับภาษาไทยได้ แต่ความเป็นจริงก็คือ ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอักษขระที่ซับซ้อนกว่าภาษาอังกฤษเยอะมาก .. และจะหวังให้ผู้พัฒนาโปรแกรมส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดที่เป็นชาวต่างชาติมาทำความเข้าใจกับภาษาหลักของบ้านเรา คงเป็นเรื่องที่ยากเข้าไปใหญ่ กอปรกับภาษาไทยในระบบดิจิตอลเอง ยังไม่มีมาตรฐานหรือองค์กรที่รับผิดชอบตรงนี้อย่างจริงจัง ตามที่ผมเข้าใจ.. เลยทำให้เวลาผู้พัฒนาโปรแกรมต้องการข้อมูลประกอบสำหรับอ้างอิง จึงเป็นเรื่องที่ลำบาก เวลาปัญหาเกิดขึ้นที ก็ต้องหาทางเดาหรือว่าแก้กันเองในหมู่ผู้ใช้

    เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนมากกับโปรแกรมพิมพ์และภาษาไทย ที่ไม่ค่อยจะคงเส้นคงวาในเรื่องของ font และอะไรต่าง ๆ

    การตั้งชื่อไฟล์ภาษาไทย ถ้าโชคดี คุณจะยังใช้งานได้อยู่ แต่อาจจะมีปัญหาเมื่อเปลี่ยนเวอร์ชั่นของโปรแกรม หรือระบบ OS ที่มักจะมีการปรับปรุงในเรื่องของ font และการทำงานเกี่ยวกับ font อยู่ตลอดเวลาครับ...

    การตั้งชื่อไฟล์เป็นภาษาอังกฤษ จึงสามารถแก้ไขข้อจำกัดตรงนี้ได้ เราไม่จำเป็นต้องใช้คำเริศหรู เอาคำบ้าน ๆ ที่ตั้งแล้วตัวเองเข้าใจก็พอครับ

    2.หลีกเลี่ยงการเว้นวรรคในชื่อไฟล์

    ตรงนี้ไม่เชื่ออย่าลบหลู่ การเว้นวรรคทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้คือโปรแกรมไม่อ่านไฟล์นั้น ๆ ซึ่งเรื่องนี้ไม่เป็นเฉพาะกับชื่อไฟล์ภาษาไทยเท่านั้น สามารถเกิดได้กับชื่อไฟล์ที่เป็นภาษาอังกฤษได้ด้วย

    ถ้าต้องการวรรคตอนจริง ๆ สำหรับชื่อไฟล์หลายพยางค์ ควรจะใช้เครื่องหมายขีดกลาง (-) หรือขีดล่าง (_) มาเป็นตัวแบ่งพยางค์แทนครับ เช่น

    my-room-1.jpg
    wall-map_1.jpg
    wall-map_2.jpg...

    3.หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์แบบ default ที่โปแกรมตั้งมาให้ตอน save ... เราควรจะใช้คำที่สื่อความหมายที่ตัวเราเองเข้าใจและตั้งเองมากกว่า

    ส่วนใหญ่พวกโปรแกรมแต่งภาพหรือไฟล์ภาพจากอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่นพวกกล้องดิจิตอล หรือว่าสแกนเนอร์ มักจะตั้งชื่อไฟล์มาให้เราเอง ซึ่งจะเป็นชื่อไฟล์ในแบบที่เครื่องอ่านเข้าใจ แต่คนอ่านไม่รู้เรื่อง เช่น R122003.jpg หรือ PIC00098.jpg อะไรทำนองนี้

    เราควรจะตั้งใหม่ ให้เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักของไฟล์หรือภาพนั้น ๆ เพื่อที่ตัวเราเอง หรือแม้แต่ผู้ร่วมงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ จะสามารถเข้าใจตัวไฟล์นั้นได้ โดยที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดไฟล์ขึ้นมาดู หรือรอรูปตรง preview ให้แสดงผลเสมอไป .. ช่วยให้การทำงานเร็วขึ้นได้ในระดับนึง

    4.หลีกเลี่ยงชื่อไฟล์ที่ยาวเกินไป

    การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะสั้นห้วน และได้ใจความครับ จริงอยู่ ว่าระบบ OS หรือว่าโปรแกรมรุ่นใหม่ ๆ ในปัจจุบันรองรับการทำงานกับชื่อไฟล์ยาว ๆ หลายตัวอักษรได้แล้ว

    แต่ในเรื่องของการใช้งานจริง ถ้าชื่อไฟล์ยาว ๆ มีโอกาสที่ชื่อไฟล์จะแสดงเพียงบางส่วนครับ เช่น

    my-material-of-the-stand......jpg

    อะไรทำนองนี้.. งงกันไปใหญ่ หรือไม่ก็ต้องเสียเวลาดู preview หรือเปิดไฟล์นั้นขั้นมาดู

    การตั้งชื่อไฟล์ที่ดี ควรจะทำให้เราเห็นและเข้าใจได้ในวินาทีนั้นเลยโดยที่ไม่ต้องเปิด หรือทำอะไรอย่างอื่นให้วุ่นวายจะดีที่สุดครับ


    หลัก ๆ ที่ผมใช้อยู่เป็นประมาณนี้ .. ใครมี tip หรือวิธีการตั้งชื่อไฟล์ก็ลองมาแชร์กันนะครับ

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ =)

    มือใหม่ต้องเจอ : Capture หน้าจอยังไงเนี่ย???

    ทำงานเพลินๆ อยาก Capture หน้าจอเก็บไว้ แต่มันทำยังไงหละเนี่ย ปุ่ม Print screen ไปไหนล่ะ

    เวลาเราจะ Capture หน้าจอหรือทำ Screen shot บน Mac นั้น เราจะใช้คำสั่งเป็น Shortcut ดังนี้ครับ

    โดย
    1. Capture หน้าจอไปเป็น File ที่ Desktop โดยชื่อไฟล์จะเป็น Picture1 ไล่ไปเรื่อยๆ
    2. Capture หน้าจอไปที่ Clipboard เอาไว้ใช้ใน Application ที่ต้องการ
    3. Capture เฉพาะตรงส่วนที่เลือก ไปเป็น File ที่ Desktop โดยชื่อไฟล์จะเป็น Picture1 ไล่ไปเรื่อยๆ
    4.Capture เฉพาะตรงส่วนที่เลือกไปที่ Clipboard เอาไว้ใช้ใน Application ที่ต้องการ
    เท่านี้ครับ เราก็จะ Capture หน้าจอได้ดังใจแล้ว

    ปล.ใครยังไม่เข้าใจสัญลักษณ์ต่างๆให้ไปอ่านได้ที่นี่ครับ
    http://macmuemai.com/content/21

    มือใหม่ต้องเจอ : กด Caps Lock เร็วฉันใด เปลี่ยนภาษาเร็วฉันนั้น

    ครับ ตามหัวข้อเลย

    กำลังพิมพ์มันๆเลยเปลี่ยนภาษาทีต้องกดสองปุ่ม ไม่เหมือน windows กด Grave ปุ่มเดี่ยวได้แล้ว
    โอย Mac เจ้ากรรมแสนวุ่นวาย แท้จริงแล้ว การกดเปลี่ยนภาษาแบบนี้คือแบบที่ถูกต้องแล้วครับ
    ที่เรากดๆกันเคยชินที่ Windows นั่นน่ะ ถ้าใครเคยลง Windows ใหม่เองจะรู้ว่า Default ที่ตั้งมามัน
    ก็ต้องใช้สองปุ่มเหมือนกัน ซึ่งนั่นถูกต้องแล้วครับ คนไทยเรามาเปลี่ยนกันเอง
    ผลที่ได้คือ เสียอักขระทางภาษาไปสองตัว

    ทีนี้พอมาใช้ Mac แล้วก็อยากกดปุ่มเดียวทันใจเหมือน Windows มันก็มี Plug in ทำได้ครับ ปุ่มเดียวกันเลย
    แต่เรามาดูอีกวิธีดีกว่าที่ไม่ต้องลงอะไรเพิ่มเลย นั่นคือ Caps lock ครับ(มันช่วยท่านได้จริงๆนะ)

    วิธีการ ก็ง่ายๆ อันดับแรกเราต้องเปลี่ยนเป็นภาษาไทยโดยการกด Command+Space bar ตามปกติครับ
    แล้วก็พิมพ์ตามสบาย พออยากได้ภาษาอังกฤษมา กด Caps lock ครับ เท่านี้เลย ภาษาอังกฤษมาดังใจนึก
    แล้วถ้าอยากให้เป็นภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ก็กด Shift ไว้ขณะพิมพ์ครับ จะให้กลับเป็นภาษาไทยให้กด
    Caps lock ออกซะ เท่านี้เราก็เปลี่ยนภาษาได้ดังใจนึกแล้ว

    พิมพ์ให้สนุก อย่าลืม Caps lock ครับ

    ปล.สำหรับบางโปรแกรมที่มีการ Lock ภาษาอังกฤษไว้เพื่อเป็น Short cut ของโปรแกรมนั้นๆ ยังจำเป็นต้องกด
    Command+Space bar เหมือนปกตินะครับ เป็นข้อยกเว้นครับ

    มือใหม่ต้องเจอ : เสียงหลอนๆ ตอนคลิกๆ

    กำลังทำอะไรเพลินๆ อยู่ดีๆมีเสียงคนพูดมาจากในคอม ไม่ว่าจะคลิกอะไร กดตรงไหนมันพูดตามหมด

    เอาล่ะสิ หลอนแล้วมั๊ยล่ะ มีวิญญาณสิงใน Mac สุดรักรึเปล่าเนี่ย(เข้ากะ Halloween ดีแฮะตอนนี้)

    ใจเย็นครับ อย่าพึ่งหลอน คุมสติไว้ก่อนทุกท่าน มันเป็นแค่ Features ที่มีไว้สำหรับช่วยผุ้ที่มีปัญหาทางสายตาครับ
    ชื่อว่า Voice over 

    โดยเมื่อไปเปิด Voice over เอาไว้ เวลาเราไปคลิกอะไร แล้วมันก็จะมีเสียงออกมาให้ได้ยินตามที่เรากดไป
    อาจจะเป็นชื่อ Folder หรือ File ต่างๆ ไปจนถึงโปรแกรมกันเลยทีเดียว 

    Voice over มี shortcut ที่ง่ายต่อการกดพลาดครับ นั่นคือ Command+F5 เลยทำให้มือใหม่หลายคนเลย
    เปิดโดยไม่ตั้งใจ เวลาปิดเราสามารถกด Command+F5 ได้เลย หรือจะเข้าไปที่ System preferences
    แล้วไปที่ Universal access เลือก Seeing แล้วก็สั่งปิดครับ 

    แนะนำว่าให้ไปดูในส่วนของ Universal access กันหน่อยก็ดีครับ เอาไว้เป็นตัวช่วยเวลาคนอื่นมาใช้คอมเราครับ
    โดยเฉพาะผู้ที่ร่างกายทุพพลภาพครับ (ดีใจที่ Apple ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ครับ)

    วิธีจัดการกับการเปิดหลายหน้าต่าง

    วิธีจัดการกับการเปิดหลายหน้าต่าง

    วิธีช่วยจัดการให้เราทำงานได้สะดวกขึ้นเวลาเราเปิดหน้าต่างโปรแกรมหลาย ๆ อันซ้อนกัน

    1.ใช้ Exposé

    epose-icon_2.jpg
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การใช้งาน Exposé เบื้องต้น ครับ

    2.ใช้ Spaces

    spaces-icon_2.jpg
    อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การใช้งาน Spaces เบื้องต้น ครับ

    3.กด Command + Tab (⌘+Tab)

    cmd-tab_0.jpg

    ลองกดดูครับ จะเป็นการบอกเราว่าตอนนี้เราเปิดโปรแกรมไหนอยู่บ้าง และให้เราเลือกถ้าเราต้องการจะสลับไปใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ (โดยการกด Tab ไล่ไปเรื่อย ๆ หรือว่าใช้เมาส์คลิ๊กโปรแกรมที่ต้องการได้เลย)

    4.วางแผนในการทำงานล่วงหน้า - - เปิดเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้

    ตรงนี้ช่วยท่านได้ครับ =)

    เวลาทำงานก็เปิดเฉพาะ application ที่จำเป็นเท่านั้น นอกจากจะทำให้เครื่องมีทรัพยากรสำหรับทำงานมากขึ้นแล้ว เรายังจะมีสมาธิในการทำงานมากขึ้นไปด้วย = งานเสร็จเร็วขึ้น และมีเวลามากขึ้นในชีวิตครับ ยิ้มปากกว้าง

    วิธีย้าย Menu bar icon

    หลายๆคนคงไม่ค่อยพอใจกับการเรียงตัวของ Menu bar icon ไม่น้อย

    แล้วก็ไม่รู้จะย้ายมันยังไง ผมไปเจอวิธีมาแล้วครับ
    แค่เพียงกด command ค้างไว้ก่อน แล้วไปคลิกที่ Menu bar icon ที่จะย้าย
    แล้วลากเลยครับ อยากเอาไปวางไว้ไหนก็ตามสบายเลย ตัวอย่าง
    นี่คือตอนก่อนย้ายของผมครับ

    แล้วอันนี้หลังย้ายครับ

    การย้ายนี้ไม่ครอบคลุมไปถึงโปรแกรมที่ไม่ใช่ของ osx เองนะครับ
    ผมลองเลื่อนพวก adium หรือตัวอื่นๆแต่มันไม่เป็นผลครับ

    Credit : คุณ Iron_monk จาก Freemac.net ครับ

    OS X Bundle Apps

    Application ที่มีมากับ OS X ที่จะมีมาทุกครั้งที่เรา Install OS X ลงบนเครื่อง

    สำหรับผู้ที่ต้องการลงบาง application อีกครั้งโดยที่ไม่ต้องลง OS X ใหม่ เราสามารถทำได้โดยติดตั้งผ่าน OS X Install DVD แล้วเลือก Optional Install

    Application ที่สามารถลงได้ใหม่จาก Optional Install มีดังนี้

     (ดู Optional Install : การติดตั้ง X11 ประกอบ)

    Address Book

    Address Book

    address-book-icon_0.jpg

    Address Book : เป็น Application ที่มาพร้อม OS X ของเรา เอาไว้ใช้สำหรับจัดการเก็บข้อมูลของ Contact ที่เรามี

    Picture2_8.jpg

    ส่วนประกอบต่าง ๆ ใน Address Book

    Picture1-1_1.jpg

    1. ปรับการแสดงผล
    2. รายชื่อ Group : กลุ่มของ Contact ซึ่งเราสามารถจัดกลุ่มเองได้ในภายหลัง (ดู การจัด Group)
    3. รายชื่อที่เรามี (ปรับเปลี่ยนตาม Group ที่เราเลือก ถ้าเลือก All จะแสดงทั้งหมด)
    4. รายละเอียดของแต่ละรายชื่อ : รายละเอียดทั่วไปเช่น เบอร์บ้าน, เบอร์ที่บริษัท, อีเมล์, ที่อยู่ ฯลฯ
    5. ช่องใส่คำค้นหา (tips : เราสามารถค้นหารายละเอียดโดยที่ไม่ต้องเปิด Address Book ขึ้นมาได้โดยการเข้าไปที่ Dashboard - Address Book widget)
    6. Picture1-2_0.jpg

    การเพิ่ม Contact ใหม่

    การเพิ่มรายชื่อ Contact ใหม่ใน Address Book

    Address Book : เป็น Application ที่มาพร้อม OS X ของเรา เอาไว้ใช้สำหรับจัดการเก็บข้อมูลของ Contact ที่เราม

    คลิ๊กที่เครื่องหมาย + ในหัวข้อ Name

    Picture2-1_4.jpg
    คลิ๊กที่เครื่องหมาย “+” ในหัวข้อ Name

    มีรายชื่อใหม่เพิ่มขึ้น ให้กรอกรายละเอียดที่ต้องการได้เลย

    Picture3_9.jpg

    ในขณะที่กรอกช้อมูลตัวเลขในส่วนต่าง ๆ สังเกตดูเครื่องหมาย “+”, “-” ที่อยู่ด้านหน้ารายการนั้น ๆ ซึ่งถ้าเราต้องการเพิ่มเบอร์เข้าไป เราสามารถทำได้โดยการกด “+” และทำนองเดียวกัน ถ้าเราต้องการลบรายการใด ออก ก็ให้กด “-

    note : ดูความแตกต่างของการติ๊กช่อง Company ในแต่ละชื่อได้ที่ตอนท้ายของบทความนี้

    กรอกเสร็จเรียบร้อยแล้วจะเป็นดังนี้

    Picture7_0.jpg

    ใส่รูปให้ Contact ของเรา โดยดับเบิลคลิ๊กที่ช่องรูปของ Contact นั้น

    Picture8_0.jpg

    ขึ้นหน้าต่างใหม่ ให้ใส่รูป

    Picture9-1_2.jpg

    อธิบาย

    1. เป็นการถ่ายรูปตัวเองจากกล้อง iSight บนเครื่อง
      • Picture10.jpg
    2. เลือกภาพถ่ายจากไฟล์ที่มีอยู่ในเครื่อง (ถ้าคุณมีรูปอยู่ใน iPhoto library อยู่แล้ว สามารถเข้าไปเอารูปจากใน iPhoto Library มาได้จากตรงนี้เลย )

      • Picture12.jpg
      • note : จากภาพผมยังไม่มีอะไรใน iPhoto เลยไม่เห็นอะไรขึ้นมาให้เลือกครับ =P
    3. ใส่ effect ให้กับภาพที่เราเลือกมา

      • Picture10-1.jpg
      • note : ถ้าเราไม่ต้องการ ให้เลือกไปที่รูปตรงกลาง (Original) เพื่อเป็นการกลับสู่หน้าต่างปรกติต่อไป

    ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็เลือก Set เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง

    มีภาพให้กับ Contact ของเราแล้ว ~

    Picture15.jpg

    การเข้าไปแก้ไขข้อมูลของ Contact ต่าง ๆ ที่เราทำเอาไว้แล้ว

    ให้เลือกปุ่ม Edit ที่อยู่ด้านมุมซ้ายล่างของแต่ละ Contact

    Picture7-1.jpg

    ความแตกต่างของการติ๊กในช่อง Company ในแต่ละรายชื่อ

    Picture16.jpg

    ตามปรกติแล้ว เราจะเลือกให้ Address Book แสดงรายชื่อบุคคล แต่ถ้าเราต้องการให้แสดงรายชื่อบริษัทแทน เราสามารถทำได้โดยการติ๊กลงในช่อง Company ครับ จะได้ผลลัพท์ตามด้านล่างนี้

    Picture17.jpg

    จะเห็นว่าในรายชื่อของ Contact ถูกแสดงด้วยชื่อบริษัทแทนชื่อตัว (พร้อมกับเปลี่ยนแปลงการแสดงผลในหน้า Contact ของแต่ละคนด้วย)

    จัดการกับหัวข้อ

    จัดการกับหัวข้อ

    หัวข้อต่าง ๆ ที่ให้เรากรอกรายละเอียดลงไป เช่น Work, Home .. นั้น เราสามารถเปลี่ยนได้โดยการคลิ๊กไปที่ชื่อหัวข้อ แล้วเลือกเปลี่ยนตามความเหมาะสม

    Picture18-1_3.jpg
    สำหรับการเปลี่ยนหัวข้อต่าง ๆ เป็นภาษาไทย สามารถทำได้ โดยดูที่ การเปลี่ยนชื่อหัวข้อให้เป็นภาษาไทย ประกอบ

    จัดกลุ่มให้รายชื่อบน Address Book

    จัดกลุ่มให้รายชื่อบน Address Book

    เมื่อมีรายชื่อใน Address Book มากขึ้นเรื่อย ๆ การจัดกลุ่มให้ Contact ของเราเป็นเรื่องที่ควรจะทำ เพราะช่วยให้เราสามารถค้นหา - จัดการกับ Contact ได้สะดวกมากขึ้น

    มีขั้นตอนดังนี้

    เลือก “+” ที่ด้านล่างของรายชื่อใน Group

    Picture2-add-group.jpg
    จากนั้นพิมพ์ชื่อ Group ใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ให้กลับไปเลือกที่ All แล้วเริ่มลากรายชื่อจากที่เรามีมาลงใน Group ที่เราสร้างเอาไว้ได้แล้วครับ

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Group

    • เราสามารถลาก Contact มาใส่เพิ่ม หรือว่า ลบ Contact นั้นออกจาก Group ได้ โดยที่ไม่มีผลต่อฐานข้อมูลของ Contact ทั้งหมดภายใน Address Book
    • รายชื่อเดียวกันสามารถที่จะอยู่ในหลาย Group ได้
    • การลบ Group ออกไป Contact ต่าง ๆ ภายใน Group นั้นจะยังอยู่ในฐานข้อมูลของ Address Book ครับ เว้นเสียแต่ว่า เราไปเลือกที่ Edit/ Delete Card ซึ่งจะเป็นการลบ Contact นั้น ออกไปจากฐานข้อมูลของ Address Book ไปเลย (ดูหัวข้อถัดไปประกอบ)

    การลบ Contact ออกจาก Group

    เมื่อเราต้องการลบ Contact ออกจาก Group เราจะถูกถามก่อนว่าต้องการเอา Contact นั้นออกจาก Group เพียงอย่างเดียวหรือลบออกไปจากฐานข้อมูล Address Book เลย เราสามารถลบ Contact ออกจาก Group ได้ 2 วิธี คือ

      • 1.คลิ๊กที่รายชื่อที่เราต้องการภายใน Group แล้วกด delete
      • Picture1-1_0.jpg
        1. Delete : ลบรายชื่อนี้ออกจากฐานข้อมูลของ Address Book เลย (ปรกติไม่เลือกตัวนี้ ถ้าไม่แน่ใจจริง ๆ
        2. Remove from Group : เอาชื่อนี้ออกจาก Group แต่ยังคงอยู่ในฐานข้อมูลของ Address Book

    2.เลือกชื่อที่ต้องการภายใน Group แล้วไปที่ menu bar เลือก Edit

            Picture2_7.jpg
    มีตัวเลือกดังนี้

      1. Delete Card : ลบชื่อนี้ออกจาก Address Book ไปเลย
      2. Remove From Group : เอาชื่อนี้ออกจาก Group แต่ยังคงไว้ในระบบของ Address Book

    Address Book Tips

    Tips & Tricks ของ Address Book

    note : ถ้าเมนูด้านซ้ายมือซ้อนกัน หรือว่าอ่านไม่รู้เรื่อง สามารถดูได้จากด้านล่างนี้แทนนะครับ เหมือนกัน =)

    การ Sync ข้อมูล Address Book กับอุปกรณ์มือถือ

    การ Sync ข้อมูล Address Book กับอุปกรณ์มือถือ

    ดู การใช้ iSync ประกอบ

    เปลี่ยนชื่อหัวข้อให้เป็นภาษาไทย

    เปลี่ยนชื่อหัวข้อให้เป็นภาษาไทย

    จากเดิม หัวข้อต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษ เช่น Work, Home .. นั้นสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้ดังตัวอย่างนี้

    Picture20_1.jpg

    และนี่คือวิธีเปลี่ยนแปลงชื่อหัวข้อต่าง ๆ

    เลือกไปที่รายชื่อที่ต้องการแก้ไข แล้วเลือก Edit

    Picture7-1_1.jpg

    คลิ๊กไปที่หัวข้อที่เราต้องการจะเปลี่ยน

    Picture18_0.jpg
    เลือก Custom...

    เข้าสู่หน้าต่าง Custom label

    Picture19_0.jpg

    พิมพ์ชื่อหัวข้อที่เราต้องการลงไป จากนั้นกด OK

    เราจะเห็นว่าชื่อหัวข้อของเราเป็นภาษาไทยตามที่เราพิมพ์ไปแล้ว

    Picture20_2.jpg

    ทำขั้นตอนเดิมซ้ำกับหัวข้ออื่น ๆ ที่เหลือ ..

    Picture21_0.jpg
    เราจะพบว่า ชื่อหัวข้อใหม่ที่เราสร้างนั้นจะถูกเพิ่มเข้าไปให้เราเลือกใช้งานภายหลังได้ด้วย ทำให้ไม่ต้องพิมพ์ใหม่

    หลังจากเปลี่ยนจนเสร็จหมดแล้ว เราจะได้หัวข้อต่าง ๆ เป็นภาษาไทย

    Picture24_0.jpg

    เพิ่มหัวข้อใน Template

    การ เพิ่มหัวข้อใน Template

    เดิมที ทุกครั้งที่เราจะสร้าง Contact ขึ้นมาใหม่ พวกข้อมูลหรือว่ารายการต่าง ๆ มักจะถูกวางไว้ให้บ้างแล้วเป็น Template ให้เรามาใส่ข้อมูลเอาทีหลัง .. ในบางครั้ง ถ้าเกิดใช้งานไปสักพักแล้วเราอยากเพิ่มช่องกรอกข้อมูลบางอย่างเข้าไปเลยตั้งแต่ต้น เช่น ต้องการเพิ่มช่องใส่ URL เอาไว้ใน Template เลย..

    สามารถทำได้ดังนี้

    Address Book/ Preferences

    Picture4_3.png

    เลือกหัวข้อ ​Template

    จากนั้นเลือก Add Field เพื่อเลือกหัวข้ออื่นเพิ่มเติมที่เราอยากเพิ่มเข้ามาไว้ใน Template

    Picture5_3.jpg

    มีตัวเลือกเพิ่มเติมดังนี้

    1. Phonetic First/Lastname : สำหรับเพิ่มช่องเหนือชื่อ / สกุลเดิมที่มีอยู่ เอาไว้สำหรับ เพิ่มวิธีอ่านออกเสียงทั้งชื่อ/ สกุล ในกรณีที่เรามีเพื่อนต่างชาติ หรือไม่ใช่คนอังกฤษ หรือบุคคลที่ชื่อออกเสียงไม่เหมือนกับที่สะกด .. ให้เลือกตัวนี้ช่วย
    2. Prefix : คำขึ้นต้น
    3. Middle Name : ชื่อกลาง (ส่วนใหญ่สำหรับคนที่ใช้ชื่อ คริสเตียน)
    4. Suffix : คำลงท้าย
    5. Nick Name : ชื่อเล่น
    6. Job Title : ตำแหน่งงาน
    7. Department : แผนกงาน
    8. Maiden Name : สำหรับผู้หญิง โดยจะเป็นนามสกุลที่ใช้เดิมก่อนแต่งงาน
    9. URL : เวปไซต์ที่เกี่ยวข้อง
    10. Birthday : วันเกิด
    11. Dates : วันที่

    Automator : เกี่ยวกับ Automator

    Automator : เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้เราเขียนโปรแกรมขึ้นมา(อีกที)เพื่อทำงานตามที่เราต้องการได้ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเขียน code เองครับ หลัก ๆ จะเป็นประมาณนี้ คือเรานำ code (เรียกว่า action) ที่ทาง apple เขียนเสร็จมาให้แล้วมาเรียงต่อกันเพื่อสร้างเป็นชุดคำสั่ง (workflow) ที่เราต้องการอีกทอดหนึ่ง ซึ่งค่อนข้างจะสะดวกสำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่มีพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมครับ

    ส่วนใหญ่มีไว้เพื่อการทำงานเสริม จะเป็นการทำงานเล็กน้อย หรือซ้ำ ๆ กันแบบอัตโนมัติผ่าน app ต่าง ๆ ขึ้นมาโดยที่เราไม่ต้องเรียนรู้การเขียนโปรแกรมหรือว่าเรียนรู้การเขียน Apple Script.. จะใช้สำหรับการทำงานเฉพาะอย่าง หรือทำงานหลายอย่างพร้อมกันก็ได้ เช่น

    • การย่อขนาด + เปลี่ยนชนิด + ปรับแต่งไฟล์ภาพทีละมาก ๆ ในขั้นตอนเดียว หรือ
    • การเปลี่ยนชื่อไฟล์พร้อมกันครั้งละเยอะ ๆ

    note : ถ้าใครยังงง ๆ อยู่ สามารถอ่าน Automator : ตัวอย่างจากสถาณการณ์จริง ใช้ Automator ทำอะไรได้บ้าง? ประกอบนะครับ ผมเขียนตัวอย่างประกอบแบบละเอียดเอาไว้ให้แล้ว

    automatr-pane_0.jpg

    ตัว Automator เป็นโปรแกรมที่ค่อนข้างจะยืดหยุ่นในการใช้งานพอสมควร ที่เราจะใช้งานผ่านโปรแกรม Automator เอง หรือจะ save เป็นโปรแกรม scriptสำเร็จรูปเก็บเอาไว้เรียกใช้งานทีหลังต่างหากก็ได้ ซึ่งผมจะเขียนอธิบายตรงนี้อีกที สำหรับโพสนี้สำหรับรู้จักกับ Automator ในภาพรวมนะครับ (อ่าน การ save workflow ไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ประกอบ)

    ไอคอนโปรแกรม

    automatr-icon_0.png

    note : เนื้อหาของบทความเกี่ยวกับ Automator นี้ ผมเลือกจะเขียนเกี่ยวกับ Concept การใช้งานคร่าว ๆ พร้อมตัวอย่างประกอบในแบบไม่เป็นทางการมากนัก ใช้คำง่าย ๆ ที่คาดว่าผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่เคยจับตรงนี้มาก่อน น่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากจนเกินไปนัก ผมหมายถึงแค่เอาความเข้าใจในการใช้งานทั่วไปเป็นหลักนะครับ เพราะผมเองก็ไม่เข้าใจเค้าหั้งหมดเหมือนกัน =)

    Automator : ตัวอย่างจากสถานการณ์จริง Automator ใช้ทำอะไรได้บ้าง?

    มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่า Automator นี่มีเอาไว้ใช้ทำอะไรแน่ ผมจะลองยกตัวอย่างแบบละเอียดกว่าโพสที่แล้วก็แล้วกันนะครับ เผื่อจะเห็นภาพได้ง่ายขึ้น

    ตัวอย่างที่ 1
    เช่น ผมมีไฟล์ภาพขนาด 3216x2136 pixel (หรือขนาด 8 Mega Pixel ที่ประมาณ 3.3 MB ต่อภาพ) มีทั้งหมดอยู่ 577 ไฟล์ในแฟ้มงานโปรเจคของผมใน My Document แล้วผมต้องการที่จะ

    • เปลี่ยนชื่อใหม่ทั้งหมด จากเดิมชื่อว่า R00-XXX.jpg เป็น p-XXX.jpg และ
    • ย่อขนาดจาก 3216x2136 เป็นขนาด 1600x1200

    ผมมีทางเลือกระหว่าง

    1. หาโปรแกรมจัดการกับภาพ เช่น iPhoto ขึ้นมาแล้ว import รูปเข้าไปจัดใหม่, เปลี่ยนชื่อ แล้ว Export ออกมาให้ได้ขนาดที่ต้องการ คิดว่าขั้นตอนทั่งหมดนี้จะใช้เวลาไปเท่าไหร่ครับ?
    2. ใช้ Automator เขียน workflow ขึ้นมาเพื่อเปลี่ยนชื่อ กับลดขนาดไฟล์ให้ได้ตามที่ต้องการ
    3. หาโปรแกรมเฉพาะทางอื่น ๆ มาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ส่วนใหญ่สามารถหาได้ใน internet ครับ แต่จะมีแบบที่เสียเงินซื้อบ้าง และทำได้อย่างที่ต้องการไม่ทั้งหมดบ้าง .. ส่วนใหญ่จะเสียเวลาหาโปรแกรม + เรียนรู้วิธีใช้ใหม่ครับ..

    และจากการใช้ Automator เพื่อลดขนาดรูปจาก 3216x2136 pixel มาที่ 1600x1200 pixel จากเดิมขนาด 3.3MB โดยประมาณต่อภาพ เหลือที่ประมาณ 300KB ต่อภาพ ทั้งหมดผมใช้เวลาประมาณ 12 นาทีโดยประมาณ .. และเป็นการทำงานแบบ สั่งทีเดียวจบครับ ผมสามารถเอาเวลาไปทำอย่างอื่นได้อีก.. (อันนี้นั่งจับเวลาเองกับมือครับ ยิ้ม ตอนที่ทำ slideshow งานแต่งให้เพื่อนผม)

    มาต่อกันที่การเปลี่ยนชื่อ เสียดายที่ภาพงานแต่งเพื่อนของผมไม่ต้องเปลี่ยนชื่อผ่าน automator ครับ เลยไม่มีตัวเลขยืนยันแน่นอน มีแต่จะที่ลองเองกับชุดภาพถ่ายส่วนตัวจำนวน 83 ไฟล์ภาพใช้เวลาประมาณไม่ถึง 2 วินาทีในการเปลี่ยนชื่อทั้ง 83 ภาพใหม่ และยังมีลำดับการเรียงภาพเหมือนเดิมครับ

    ที่จะเสียเวลาจริง ๆ คือการสร้าง workflow ของ automator ครับ สำหรับตัวผมเองคิดว่า เรียนรู้ตรงนี้ไว้เองดีกว่า อย่างน้อย ถ้าเขียน workflow เสร็จไปแล้ว เราก็เก็บไว้ใช้อีกได้เรื่อย ๆ และสามารถสร้าง workflow ที่เราต้องการเพิ่มเองได้อีกในอนาคตครับ =)

    ตัวอย่างที่ 2
    ถ้าเรามี workflow ที่ใช้เป็นประจำอยู่เยอะ ๆ แล้ว .. ในตัว Automator เองเปิดโอกาสให้เราเซฟ workflow ที่เรามีเอาไว้ในเมนูบน Finder แล้วเรียกใช้งานโดยการคลิ๊กขวาบนเมาส์ (หรือกด Ctrl+Click) ได้แบบนี้ครับ

    submenu_1.jpg

    ทำให้เราไม่ต้องเปิด Automator ขึ้นมาทุกครั้งในการทำงาน และสามารถแจกให้กับ Mac เครื่องอื่นทำงานแบบเดียวกันนี้ได้อีก =)

    note : ดู การ save workflow ใน Automator ประกอบ

    ตัวอย่างที่ 3
    ผมสามารถเปลี่ยน workflow ที่มีอยู่ใน Automator แล้วสร้างโปรแกรมเล็ก ๆ แบบ stand alone ขึ้นมาทำงานเฉพาะอย่างได้ ซึ่งโปรแกรม stand alone หรือว่า script โปรแกรมเล็ก ๆ เหล่านี้ ทำงานได้ด้วยตัวของเค้าเองครับ คือไม่จำเป็นต้องเรียกผ่าน Automator และยังสามารถทำงานแบบเดียวกันได้อีกบน Mac OS X เครื่องอื่น ๆ ด้วย

    สรุป
    จากตัวอย่างการใช้งาน Automator ที่ผมเขียนทั้งหมดนี้พอจะเห็นภาพขึ้นบ้างไหมครับ?

    จริง ๆ Automator สามารถประยุกต์ไปได้อีกสารพัดแบบเลยครับ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะจินตนาการไปได้แค่ไหน ลองเล่นกันดูนะครับ ขอให้มีความสุขในการใช้งาน Automator ครับ =)

    Automator : หน้าตาและส่วนประกอบต่าง ๆ

    หน้าตาและส่วนประกอบทั่วไปของโปรแกรม Automator

    automatr-10_0.jpg

    อธิบาย
    ส่วนที่1,ส่วนที่ 7
    ส่วน Toolbar : ด้านซ้ายจะมีปุ่มเปิด/ปิดการแสดง library และปุ่ม media สำหรับเข้าไปดึง content มาจากในโปรแกรม iLife ทางด้านขวาจะเป็นปุ่มคำสั่งดังนี้

    automatr-pane-1-1_0.jpg

    • Record : สำหรับบันทึกการทำงานที่เราแสดงให้เครื่องดู แล้วนำมาเปลี่ยนเป็น workflow (ผมไม่เคยใช้ตรงนี้แบบจริงจังนะครับ แต่เท่าที่ลองมา เค้าสามารถบันทึกสิ่งที่ผมทำแล้วเปลี่ยนเป็น workflow ใน automator ให้ผมได้)
      • watch-me-do_0.jpg
    • Stop/ Run : ปุ่มสั่งเริ่ม และหยุด workflow ส่วนมากใช้สำหรับทดสอบ workflow หรือเรียกใช้งาน workflow ที่ทำเอาไว้เสร็จแล้วผ่าน automator

    ส่วนที่ 2เลือกสลับระหว่าง Library กับ Variables :

    • Library : จะเป็นชุดคำสั่ง (หรือเรียกว่า action) ที่จะเป็นการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    • Variables : เป็นความสามารถใหม่ที่เพิ่งจะมีบน OS X Leopard สำหรับกำหนดค่าตัวแปรเฉพาะกิจขึ้นมาเพื่อเอามาใช้ยังส่วนต่าง ๆ ของ workflow ทำให้สามารถสร้าง workflow ที่หลากหลาย หรือว่าซับซ้อนขึ้นมาได้ (ดู การใช้ Variables ใน Automator ประกอบ )

    ส่วนที่ 3.Library : Actions category : เป็นการรวมหมวดหมู่ของชุดคำสั่งที่เกี่ยวข้องกันเข้าไว้ด้วยกัน แยกเป็นหัวข้อต่าง ๆ เช่น Calendar ก็จะเป็นชุดคำสั่งเกี่ยวข้องกับ iCal หรือ Files & Folder จะเป็นชุดคำสั่งเกี่ยวข้องกับการจัดการ file/folder เป็นต้น

    ส่วนที่ 4
    Actions : เป็นชุดคำสั่งในแบบต่าง ๆ

    ส่วนที่ 5
    รายละเอียดของ Action ที่เราเลือก : ซึ่งจะเป็นตัวบอกเราคร่าว ๆ ว่าคำสั่งที่เรากำลังจะใช้งานอยู่นั้น ต้องการ Input แบบไหน และให้ Result เป็นอะไร

    ส่วนที่ 6
    Workflow pane : ส่วนนี้จะเป็นที่เอาไว้สำหรับให้เรานำคำสั่งมาต่อกันเพื่อทำเป็น workflow วิธีการใช้งานคือ เลือกคำสั่งจากทางด้านซ้ายมือ หรือจากหัวข้อที่ 4 แล้วลากมาวางตรงส่วนนี้ แล้วทำซ้ำต่อ ๆ กันไป เมื่อทำไปได้สักพักแล้วจะมีหน้าตาประมาณนี้ครับ

    workflow-pane-2-1_0.jpg

    ส่วนที่ 7
    ปุ่ม Record และ Play/Stop อธิบายไว้แล้วในส่วนที่ 1

    Automator : Workflow ชุดคำสั่งของเรา

    เนื้อหาของบทความนี้ประกอบด้วย

    • พื้นฐานการทำงานกับ actions ใน workflow pane
    • การดูหน้าต่าง Log เพื่อตรวจสอบการทำงานของ workflow ที่เราสร้าง

    ก่อนเริ่มเรามีคำศัพท์ที่ต้องทราบเกี่ยวกับ workflow นะครับ

    • Workflow : คือชุดคำสั่งที่เกิดจากการนำ Action หลาย ๆ อันมาต่อกันให้เค้าทำงานร่วมกันครับ
    • Action : คือคำสั่งที่จะสั่งให้โปรแกรม (Automator หรือ app อื่น ๆ ) ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
    • Input : ข้อมูลตั้งต้น หรือข้อมูลก่อนผ่าน Action
    • Output/Results : ข้อมูลผลลัพท์ หรือข้อมูลที่ผ่าน Action มาแล้ว

    ส่วนประกอบของ Action ใน Workflow pane

    workflow-pane-2-3_0.jpg

    อธิบาย
            1.เป็นส่วนชื่อของ Action นั้น ๆ จะบอกเราคร่าว ๆ ว่า action นี้จะเอาไว้ทำอะไร พร้อมกับมีไอคอนที่เกี่ยวข้องบอกเราเอาไว้ด้วย (จากในรูปเป็นไอคอนของ Finder ที่จะบอกว่า action นี้เกี่ยวกับการจัดการ file/folder ผ่าน Finder ครับ)

            2.เป็นส่วนรายละเอียดของ Action ซึ่งแต่ละ action ที่เราเลือกจะมีรายละเอียดตรงนี้ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่าเฉพาะกิจแค่ไหนและเกี่ยวกับ app อะไรบ้าง บาง action ก็ไม่มีรายละเอียดตรงนี้ให้เลือกครับ จากตัวอย่างคือ Move Finder Items จะเป็นการสั่งย้าย file ต่าง ๆ มาไว้ที่ผมต้องการ ซึ่งในส่วนของรายละเอียดตรงนี้จะให้ผมกำหนดว่า ต้องการที่จะย้ายไฟล์มาไปไว้ที่ไหน โดยเลือก To : ครับ

            3.เป็นส่วนของ Option หรือว่ากำหนดรายละเอียดปลีกย่อย จะมีให้เลือก 3 ตัวคือ

    • Results : จะเป็นการเลือกดูผลลัพท์ที่ได้จาก action ตัวนี้

    workflow-02_0.jpg

    • Options : ตัวเลือกเพิ่มเติม ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกว่า ต้องการที่จะแสดงหน้าต่างแจ้งเตือนตอนที่ workflow นี้ทำงานอยู่หรือไม่ ส่วนมากจะเหมาะกับ action ที่ให้เราป้อนค่าต่าง ๆ ได้เอง หรือมีตัวเลือกมากกว่า 1 อย่าง เช่น การปรับขนาดรูป หรือเปลี่ยนชนิดของไฟล์ภาพ

    workflow-03_0.jpg

    • Description : เป็นอันเดียวกับที่เราเห็นใน info pane ครับ คือเป็นรายละเอียดการทำงาน รวมไปถึง Input/Output(Results) ของ action นั้น ๆ

    workflow-01-3_0.jpg

            4.ส่วน Input/Output(Results) ตรงนี้จะเป็นการบอกเราคร่าว ๆ ว่า action ที่เราจับมาใส่สามารถที่จะทำงานร่วมกันได้หรือมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ถ้าทำงานร่วมกันได้ ก็จะเห็นเป็นลักษณะลูกศรลงต่อเนื่องมาแบบในภาพตัวอย่าง

    ความเกี่ยวข้องกันตรงนี้ดูได้จาก Input/Output ของแต่ละ action ครับ ตามปรกติแล้ว Output/Results ของ action ตัวบน(หรือว่าก่อนหน้า) มักจะเป็น Input ของ action ตัวล่างหรือว่าตัวที่อยู่ถัดลงมาครับ

    action แต่ละตัวจะทำงานร่วมกันได้ Input/Output ต้องตรงกัน หรือเป็นไฟล์ประเภทเดียวกันถึงจะทำงานได้ เช่น จากภาพตัวอย่าง

    workflow-01-2_0.jpg

    จากภาพตัวอย่างด้านบนนี้ Output/Results จาก action ด้านบนเป็น Files/Folders แบบเดียวกับ Input ของ action ตัวล่าง แบบนี้การทำงานจะไม่ค่อยมีปัญหา ในทางกลับกัน ถ้าเราจับเอา Input/Output(Results) ที่ไม่ตรงกันมาชนกัน ส่วนใหญ่จะ error ครับ

    note : ถ้าเราต้องการลบ Action ใน workflow ของเรา ให้ไปคลิ๊กที่ปุ่มกากบาท “X” ที่มุมขวาบนของแต่ละ action ครับ

    close_0.jpg

    Log pane : ดูว่ามีอะไรผิดพลาดใน workflow ของเราบ้าง
    การ test workflow ทำได้โดยการกดปุ่ม Run ที่ด้านบนขวาของหน้าต่าง Automator ครับ

    automatr-11-1_0.jpg

    ถ้าเรา test workflow ที่ Input กับ Output ไม่ตรงกันแล้ว จะมี error ขึ้นมาในด้านล่างตรง log ครับเมื่อกดเข้าไปดูก็จะมีรายละเอียดแจ้งเราว่ามีอะไรผิดพลาดบ้าง หลังจากที่เรา Test workflow ของเราด้วยการกดปุ่ม play แล้ว ที่ status bar ด้านล่างของ automator จะแสดงข้อความบอกเราครับ และถ้ามีอะไรผิดพลาดเค้าจะแจ้งให้เราทราบตรงนี้

    workflow-04_0.jpg

    1. จะบอกเราว่า test ผ่านหรือไม่ และถ้ามี error เกิดขึ้น จะเตือนเรามาตรงนี้ครับ (warning)
    2. คลิ๊กตรงนี้เพื่อที่จะเข้าไปดูรายละเอียด (Log) ของ workflow เรา ให้กดเข้าไปครับจากนั้นจะมีหน้าต่างแบบนี้ขึ้นมาให้เราดูว่ามีตรงไหนที่ผิดปรกตินะครับ โดยมีเครื่องหมายตกใจ “!” กำกับตามรูปด้านล่างนี้ครับ

    workflow-05_0.jpg

    ดู ตัวอย่างการสร้าง workflow ประกอบ

    Automator : หลักการสร้าง workflow เบื้องต้น

    หลักการทำงานโดยทั่วไปบน Automator
    เราจะสร้าง workflow ใน Automator ได้มีขั้นตอนคร่าว ๆ แบบนี้ครับ

    automatr-pane-1_0.jpg

            1.เลือกกลุ่มคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับ app ต่าง ๆ

            2.เลือกคำสั่ง (Actions) ที่เราต้องการจากนั้นลากเค้าเอามาไว้ในส่วนที่ 3

            3.เป็นที่รวมรวมคำสั่งต่าง ๆ ที่เราเลือกมาครับ หลักการทำงานของคำสั่งจะไล่ลำดับจากบนลงล่าง เมื่อเรียง workflow เป็นชุด ๆ แล้วจะมีหน้าตาประมาณนี้ครับ

    workflow-pane-2-2_0.jpg

    • ดู Automator : Workflow ประกอบสำหรับวิธีการทำงานกับชุดคำสั่งใน workflow pane ครับ
    • ถ้าใช้ Variables ช่วยจะสามารถไล่ลำดับได้ซับซ้อนขึ้น ดู การใช้ Variables ใน Automator ประกอบ

            4.ปุ่ม Run : ใช้เพื่อการทดสอบ workflow ที่เราสร้างเอาไว้ว่ามีอะไรผิดปรกติในการทำงานหรือไม่ ถ้ามีสิ่งผิดปรกติ ไม่ว่าลำดับหรือ input/output ไม่ถูกต้องเค้าจะฟ้องเตือนเราขึ้นมาตรงนี้ครับ แนะนำว่าควรจะทำการทดสอบ workflow จากตรงนี้ว่าใช้งานได้จริงก่อนที่จะ Save ออกไป

            5.หลังจากสร้าง workflow ทุกอย่างเป็นไปตามที่เราต้องการแล้ว ก็ต้อง save เอาไว้ครับ ใน Automator ไปที่เมนูบาร์เลือก File/ Save.. โดยเลือกอันใดอันหนึ่งครับ ส่วนรายละเอียดของการ Save แบบต่าง ๆ ดูได้จาก link ด้านล่างประกอบ ก็เป็นอันจบการสร้าง workflow ของเราครับ =)

    สำหรับการ Save ไฟล์ในแบบต่าง ๆ ดู การ Save workflow ของเราไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ ประกอบ

    Automator : การ save workflow ของเราไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ

    เมื่อเราสร้าง Workflow บน Automator เสร็จแล้ว ที่เราต้องทำต่อมาคือ Save workflow นั้นไว้ใช้ครับ และในบทความนี้จะเขียนอธิบายถึงการ Save workflow ไปใช้งานในลักษณะต่าง ๆ

    automatr-save_0.jpg

    Save :
    เป็นการ save แบบปรกติเป็น workflow ทั่วไปโดยจะเป็นไฟล์ที่ต้องสั่ง Run ผ่าน Automator เท่านั้น

    Save As... :
    ให้เราเลือก Save workflow ระหว่าง

    • Workflow : เป็นไฟล์ workflow แบบปรกติที่ทำงานบน Automator มีหน้าตา icon แบบนี้

    automatr-save-4.jpg

    • Application : เป็น Stand alone application ที่สามารถจะทำงานได้ด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นต้องเปิด Automator ครับ และสามารถนำไปใช้บน Mac เครื่องอื่น ๆ ได้ด้วย เมื่อ save เป็น application แล้ว จะมีหน้าตาแบบรูปด้านล่างนี้

    automatr-save-3.jpg

    Save As Plug-in... :
    จะเป็นการ Save เพื่อเป็นส่วน Plugin เพิ่มความสามารถให้กับ App ต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้วบน OS X ครับ เช่น Finder เมื่อเราเลือกหัวข้อนี้ จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาถามแบบนี้

    automatr-save-01.jpg

    1. Save Plug-in As : ให้เราตั้งชื่อ Plug-in ตัวนี้ครับ (ควรจะตั้งชื่อที่สื่อให้รู้ว่า Plugin ตัวนี้เอาไว้ใช้ทำอะไรจะดีมากครับ สะดวกในการเรียกใช้งานภายหลัง)
    2. Plug-in For : เลือกตรงนี้เพื่อที่จะกำหนดว่าจะให้ Plugin ที่เรากำลังจะ save นี้ไปอยู่ตรงไหนของ OS X ครับ เมื่อคลิ๊กเข้าไป จะมีหัวข้อให้เลือกตามนี้

    automatr-save-02.jpg

    อธิบาย

    • หัวข้อ Finder : จะเป็น Plug-in เสริมที่สามารถเรียกได้จากการคลิ๊กขวา (Ctrl+Click) บน Finder

    submenu_0.jpg

    • หัวข้อ Folder Actions : เอาไว้สำหรับฝัง workflow เข้าไปกับ Folder ปรกติเพื่อการทำงานตาม workflow ที่เราตั้งเอาไว้ ที่เราจะได้คือหน้าตา Folder ปรกติแต่จะทำงานเมื่อมี file ถูกลากลงไปไว้ข้างในครับ

    มีวิธี setup Folder Actions

    หลังจากที่ Save workflow เป็น Folder actions เรียบร้อยแล้ว บางครั้งจะมีช่องให้ติ๊ก Enable Folder Actions ตาม Folder ที่เรากำหนดให้เลย แต่บางทีก็ไม่มีครับ ถ้าไม่มี เราสามารถที่จะ Enable Folder Actions เองได้ด้วยวิธีนี้

    ขั้นตอนที่1.ไปที่ Folder ที่เราต้องการจะผูก workflow ที่เรา save เอาไว้ แล้วคลิ๊กขวา (Ctrl+Click) เลือก More/Config Folder Actions

    fldr-action-02.jpg

    ขั้นตอนที่ 2.จะมีหน้าต่างใหม่แสดงขึ้นมา ให้กำหนดค่าตามนี้ครับ

    fldr-action-03-1.jpg

    1. เลือก Folder action ที่เราต้องการจากที่ save เอาไว้ (จากภาพตัวอย่างมีรายการที่เป็นสีแดงอยู่แสดงว่าตัว folder actions นั้นหายไปแล้ว หรือว่า path ไม่สมบูรณ์ครับ - มีบางส่วนที่ผมลบทิ้งไปบ้างแล้ว ณ ตอนที่เขียนบทความนี้อยู่)
    2. จะแสดงรายการ .scpt ให้เราเลือกขึ้นมา ปรกติจะเลือกไว้อยู่แล้ว ปรกติเอาไว้ให้เรา edit เองได้ด้วยการแก้ไข Apple Script ครับ แต่สำหรับผู้ใช้บ้าน ๆ (เช่นผม) ให้ผ่านไปขั้นต่อไปเลย แบร่..
    3. เลือก Enable Folder Actions จากตรงนี้

    วิธีใช้งานก็ให้ลาก file ลง folder ที่ตั้งเอาไว้ได้เลย แล้วจากนั้นจะมีการทำงานแบบอัตโนมัติตาม workflow ของเราเกิดขึ้น

    note : สำหรับการตั้ง folder actions นี้ ผมคิดว่าบน 10.5 ทำงานแบบผีเข้าผีออกอยู่ครับ คาดว่าน่าจะเป็น bug (ปัจจุบัน 10.5.5 แล้วปัญหานี้ก็ยังไม่หาย) คือคุณสั่งงาน 2 ครั้ง ให้ผลไม่เหมือนกัน หรือไม่ก็หยุดการทำงานไปกลางทางเอาดื้อ ๆ แบบไม่มีเหตุผล .. ถ้าต้องการใช้ workflow นี้จริง ๆ ให้เลี่ยงไปใช้การ save แบบอื่นหรือว่า save เป็น application แทนครับ เวลาใช้ก็ลากไฟล์ลงตัว application ซึ่งให้ผลเหมือนกัน และผิดพลาดน้อยกว่ามากครับ

    • หัวข้อ Ical Alarm : เป็นการนำ workflow ไปผูกเข้ากับ Alarm บน iCal ครับ เมื่อเลือกตรงนี้ จะเป็นการสร้าง Event กำหนดการตั้งเตือนให้เปิดไฟล์ ที่เราเพิ่ง save เอาไว้ให้ทำงานบน iCal ในส่วนปฎิธินของ Automator ครับ

    ical-alrm-02.jpg

    ical-alrm-01.jpg

    • หัวข้อ Image Capture : นำ workflow ไปผูกเข้ากับขั้นตอนระหว่างการใช้งาน Image Capture ที่จะเอาไว้สำหรับถ่ายโอนไฟล์ภาพ digital จากเครื่อง scanner หรือว่ากล้อง digital เข้ามาในเครื่องเราครับ ซึ่งตามที่ผมเข้าใจ เค้าจะทำงานเองถ้าเกิดมีการถ่ายโอนไฟล์จาก Image Capture เกิดขึ้น
    • หัวข้อ Print Workflow : จะเพิ่มตัวเลือกในการ Print ให้เราครับ

    print-workflw.jpg

    • หัวข้อ Script Menu : save ให้ workflow ของเราเข้าไปรวมอยู่ใน Script menu สำหรับผู้ที่ชอบสั่งงาน Apple Script ผ่าน menu bar ครับ

    วิธีลบ Workflow ที่เรา Save เป็น Plug-in เอาไว้แล้วออกจากส่วนต่าง ๆ ของเครื่อง
    workflow ที่ถูก save เข้าไปเป็น Plug-in ยังส่วนต่าง ๆ ของ OS X นี้ ถ้าเราต้องการแก้ไข้หรือต้องการเอาออก ให้เปิด Finder ขึ้นมาแล้วไปที่

    Home Folder (แฟ้มด้านซ้ายรูปบ้าน เป็นชื่อเราเอง) /Library/Workflows/Applications

    delete-wkflw.jpg

    แล้วเราจะเห็นส่วนต่าง ๆ ที่เราเลือกเอาไว้แบบนี้ครับ .. จากนั้นอยากจะเอาตัวไหนออกก็ลบได้เลย
    หรือในทางกลับกัน ถ้าเราโหลด Folder Actions มาจากใน Internet ก็ให้จับมาใส่ไว้ในนี้เพื่อที่จะได้เรียกใช้งานได้นะครับ

    Tips :
    เมื่อเรา save ไฟล์ออกมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบ workflow, application หรืออื่น ๆ เราสามารถที่จะใช้ Automator เพื่อทำการแก้ไชไฟล์นั้นได้ครับ สังเกตความแตกต่างได้จาก title ตอนบนของหน้าต่าง Automator ครับ

    automatr-save-05.jpg

    แบบ Workflow ปรกติ

    automatr-save-06.jpg

    แบบ Application

    Automator : ตัวอย่าง workflow แบบต่าง ๆ

    ในส่วนนี้จะเป็นตัวอย่างการสร้าง workflow จาก automator ที่ผมทำเอาไว้สำหรับใช้งานเองด้วยส่วนหนึ่ง และเพื่อเป็นแนวทางในการสร้าง workflow ขึ้นมาเองสำหรับผู้สนใจทั่วไปนะครับ

    เนื้อหาในส่วนนี้ประกอบไปด้วย

    1. การสร้าง workflow เอาไว้สำหรับย่อไฟล์ภาพแบบง่าย ๆ - สำหรับย่อรูปทีละเยอะ ๆ ในคลิ๊กเดียว เนื้อหามีทั้งหมด 2 ตอนครับ
    2. ตัวอย่างการใช้งาน Variables ใน Automator - ในตัวอย่างนี้ จะอ้างอิงจาก workflow ของการย่อรูปในตัวอย่างในหัวข้อที่ 1 แล้วนำมาเพิ่มเติม Variable เข้าไป เพื่อให้ทำงานได้หลากหลายมากขึ้น

    ถ้าพบข้อผิดพลาด หรือไม่เข้าใจตรงไหนก็ทิ้งคำถามเอาไว้ได้จากใน comment หน้านั้น ๆ
    หรือจะอีเมล์มาหาผมก็ได้ที่ kok[แอด]macmuemai.com ครับ =)

    ขอให้มีความสุขในการใช้งาน Automator ครับ
    ก๊อก

    note : ถ้าหัวข้อทางด้านซ้ายใน How-Tos ซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง ให้เลือกจากรายการด้านล่างนี้ หรือจาก Automator Sample tags ทางด้านซ้ายมือครับ

    Automator : ตัวอย่าง Rename files เป็นกลุ่ม

    ผมมีความตั้งใจจะเขียนเกี่ยวกับ workflow ตัวนี้มาพักใหญ่ ๆ แล้วแต่ก็ทำนู่นทำนี่ลืมจนลืมในที่สุด จนมีกระทู้จากคุณ od2504 ที่มาถามเกี่ยวกับวิธี rename ไฟล์เป็นกลุ่ม ผมเลยอยากที่จะอธิบายตรงนี้แบบละเอียดตามที่ตั้งใจเอาไว้

    ก่อนอื่น นี่เป็นบทความเกี่ยวกับตัวอย่าง workflow ที่ผมใช้งานจริง ดังนั้นโปรดอ่านเกี่ยวกับพื้นฐานการใช้งาน Automator ตามหัวข้อด้านล่างนี้ก่อนสำหรับผู้ที่ไม่เคยใช้นะครับ

    • Automator : เกี่ยวกับ Automator
    • workflow : ชุดคำสั่งของเรา
    • กลักการสร้าง workflow
    • การ Save workflow ไปใช้ในลักษณะต่าง ๆ

    โดยเนื้อหาบทความนี้จะแบ่งเป็น 2 ตอน

    • รูปแบบการสร้าง workflow สำหรับ Rename ไฟล์เป็นกลุ่ม และการนำไปใช้กับ Finder
    • รายละเอียดของคำสั่ง Rename Finder Items แบบ Make Sequential

    เลือกดูได้จากหัวข้อด้านล่างนี้นะครับ =)

    Automator : ตัวอย่าง Rename files เป็นกลุ่ม #1

    ขั้นตอนที่ 1
    เปิด Automator ขึ้นมา เพื่อสร้าง workflow มี welcome screen ขึ้นมาให้เลือก Custom แล้วเราจะได้หน้าเปล่า ๆ ของ Automator ขึ้นมา

    ขั้นตอนที่ 2
    สร้าง workflow ตามนี้
    Action ที่ 1 = Get Selected Finder Items (จากหมวด Files & Folders)
    Action ที่ 2 = Rename Finder Items (จากหมวด Files & Folders)
     - ให้เลือก Options Show workflow when it runs ด้วย

    เสร็จแล้วจะได้หน้าตาประมาณนี้ครับ

    automatr-rename-1_1.jpg

    อธิบาย

    • Get Selected Items : ให้เราเลือกไฟล์ที่ต้องการจะเปลี่ยนชื่อ ก่อนสั่ง workflow ให้ทำงานครับ ซึ่งถ้าสั่ง workflow ตอนที่เรายังไม่ได้เลือกไฟล์อะไรไว้ จะไม่มีการทำงานเกิดขึ้น
    • Rename Finder Items : action นี้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อไฟล์ในรูปแบบต่าง ๆ ในตัวอย่างนี้ เลือก Make Sequential ครับ จะเป็นการเปลี่ยนชื่อไฟล์แบบไล่ลำดับ (ดูการใช้งาน Make Sequential แบบละเอียดได้จาก ที่นี่ ประกอบครับ)

    ขั้นตอนที่ 4
    ทดสอบ workflow นี้ด้วยการเลือกไฟล์ที่ต้องการเอาไว้ จากนั้นสั่ง RUN ครับ

    ขั้นตอนที่ 5
    เมื่อทุกอย่างเป็นไปตามที่เราต้องการแล้ว ให้ Save workflow นี้ออกมาเป็นแบบ Application ครับ จากนั้นก็จับเข้ามาวางไว้ใน Toolbar ของ Finder เพื่อที่จะสามารถเรียกใช้ workflow นี้ได้จาก Finder ครับ (ไม่ต้องเปิด automator มาสั่งงานอีกต่อไป)

    ดูรายะเอียดการ Save ในการนำ workflow มาทำงานกับ Finder ได้จากในนี้ครับ (ใช้วิธีการเดียวกัน)
    http://macmuemai.com/content/538

    หมดแล้วครับ =)

    Automator : ตัวอย่าง Rename files เป็นกลุ่ม #2

    อธิบายส่วนประกอบต่าง ๆ ของการเปลี่ยนชื่อไฟล์แบบ Sequential

    automatr-rename-1-1_7.jpg

    1.เลือกการเปลี่ยนชื่อไฟล์แบบ Make Sequential จะเป็นการใส่ลำดับเลขลงไปในชื่อไฟล์ครับ เช่น

    • ABC-01.jpg
    • ABC-02.jpg
    • ABC-03.jpg...

    2.Add number to : จะเป็นการเลือกว่าจะเพิ่มลำดับอย่างไร

    • existing item name : เป็นการใส่ลำดับลงไปต่อท้ายชื่อไฟล์เดิม
    • new name : ให้เราตั้งชื่อไฟล์ใหม่ พร้อมกับมีลำดับลงไปในชื่อไฟล์ใหม่ด้วย

    3.รายละเอียดการใส่ลำดับ

    • Place number : ให้เราเลือกว่า จะใส่ลำดับเลขอลงไปในชื่อไฟล์อย่างไร ระหว่าง

    before name : ใส่ลำดับไปก่อนชื่อไฟล์
    after name : ใส่ลำดับลงไปหลังชื่อไฟล์

    • Start numbers at : กรอกค่านับเลขแรกลงไปครับ สามารถกำหนดให้เริ่มลำดับไฟล์ตามตัวเลขที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มที่ 1 เสมอไป

    • Separate by : เป็นการกำหนดว่าจะให้มีอะไรอยู่ระหว่างชื่อไฟล์กับเลขลำดับหรือไม่

    dash : ใช้เครื่องหมาย “-” (ลบ)คั่น เช่น abc-01.jpg
    period : ใช้เครื่องหมาย “.” (จุด)คั่น เช่น abc.01.jpg
    space : เป็นการเว้นวรรค เช่น abc 01.jpg
    under score : ใช้เครื่องหมาย “_” (ขีดล่าง)คั่น เช่น abc_01.jpg
    nothing : ไม่มีอะไรคั่น เขียนติดกันทั้งชื่อไฟล์กับลำดับ abc01.jpg

    • Make all numbers XX digits long : เป็นการกำหนดว่าจะให้ลำดับไฟล์เป็นเลขกี่หลักครับ

    ⁃ 1 digit log = เลขหลักเดียว เช่น abc-1.jpg
    ⁃ 2 digit log = เลขสองหลัก เช่น abc-01.jpg
    ⁃ 3 digit log = เลขสามหลัก เช่น abc-001.jpg

    • Example : ตรงนี้จะแสดงตัวอย่างชื่อไฟล์ใหม่ตามข้อกำหนดที่เราเลือกนะครับ ลองเล่นดู

    4.ให้เลือก Options : Show this action when the workflow runs เอาไว้ด้วย เวลาสั่งให้เค้าทำงานเราจะได้ตั้งรายละเอียดได้ครับ

    Automator : ตัวอย่าง workflow #1/2 - ย่อรูปทีละเยอะ ๆ ในคลิ๊กเดียว

    ในบทความนี้จะเป็นตัวอย่าง workflow ที่ผมทำขึ้นง่าย ๆ มีจุดประสงค์เพื่อให้เห็นภาพขั้นตอนและแนวคิดในการสร้าง workflow ไว้ใช้เองในเบื้องต้น

    ตัวอย่างที่ผมเลือกมาทำคือ การย่อรูปครั้งละเยอะ ๆ ครับ .. คิดว่าหลาย ๆ คนยังไม่ทราบตรงนี้ และน่าจะที่ได้เอาไปใช้เองได้อีกในอนาคตเพราะมีขั้นตอนที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อนมากนัก โดยจะมีเนื้อหาดังนี้

    • การเริ่มต้นสร้าง workflow เพื่อย่อขนาดไฟล์ภาพทีละเยอะ ๆ
    • การปรับแต่ง workflow เดิม ๆ ให้ทำงานได้หลากหลายมากขึ้น

    note : ให้ลองเปิด Automator แล้วมั่วไปด้วยกันเลยครับ ยิ้ม

    ขั้นตอนที่ 1 :
    เรียกใช้งาน Automator ขึ้นมาจากใน Applications/Automator.app เราจะเจอหน้าต่าง welcome screen แบบนี้

    scale-img-01_1.jpg

    อธิบาย

    1. เลือกหัวข้อ Photo & Images : ตรงนี้จะเป็นการให้ Automator เริ่มต้น workflow ให้เราครับในกรณีที่เราไม่เคยใช้มาก่อนทำให้เริ่มต้น workflow ได้เร็วขึ้น
    2. มี 2 หัวข้อให้เลือก
      • ในหัวข้อ Get content from เลือก my Mac : เพื่อบอกว่าเราต้องการนำไฟล์จากที่ไหนมาป้อนให้ workflow ของเรา
      • เลือก Ask for image files when my workflow runs : ตรงนี้จะเป็นการบอกให้มีการถามหาไฟล์ภาพเมื่อเราสั่งงานไปแล้ว
    3. จากนั้นเลือก Choose เพื่อยืนยัน

    ขั้นตอนที่ 2:
    เราจะเข้าสู่หน้าต่างของ Automator พร้อมกับมี Action 1 อันมาให้แล้วคือ Ask for Finder Items

    scale-img-06_1.jpg

    ขั้นตอนที่ 3:

    scale-img-07-1_1.jpg

    อธิบาย

    1. ในช่อง Library ด้านซ้ายสุด ให้เลือก Photos หมวดเกี่ยวกับรูปภาพ (มี icon เป็นรูปไฟล์ภาพ)
    2. จากนั้นในช่องถัดมา ค้นหา Action ชื่อว่า Scale Images แล้วให้ลาก Action นี้มาไว้ใน workflow pane ทางด้านขวามือครับ ในตำแหน่งที่ 3

    ขั้นตอนที่ 4:
    จะมีหน้าต่างมาถามเราขึ้นมามีใจความว่า Action นี้จะทำการเปลี่ยนแปลงไฟล์ภาพต้นฉบับนะ เราต้องการที่จะสร้างสำเนาเอาไว้หรือไม่

    scale-img-02_1.jpg

    ให้เลือก Add เพื่อเป็นการสร้างสำเนาไฟล์ต้นฉบับเอาไว้อีกชุดหนึ่งกันพลาด

    note : สำหรับคนที่แม่นแล้ว หรือว่าทำเสาเนาไฟล์เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ก็เลือกข้ามตรงนี้ไปก็ได้ครับ ซึ่งถ้าเลือกข้ามตรงนี้ไป (Don’t Add) ก็จะไม่มี Action Copy Finder Items โผล่ขึ้นมาเหมือนขั้นตอนต่อไปนะครับ =)

    ขั้นตอนที่ 5:
    หลังจากเราเลือก Add ไปแล้ว จะเห็นว่าจะมี workflow เพ่ิมขึ้นมาคั่นตรงกลางระหว่างอันแรก (1) ที่เราสร้างเอาไว้แต่เดิม กับ Scale images (2)ที่เราเลือกเข้าไปครับ

    scale-img-03-1_1.jpg

    workflow อันนี้มีชื่อว่า Copy Finder Items จะเป็นการสร้างสำเนาไฟล์ที่เรานำมาใส่ใน workflow ไว้อีกชุดหนึ่ง ก่อนที่จะเปลี่ยนขนาดครับ ซึ่งสรุปแล้ว หลังจาก workflow ชุดนี้ทำงาน เราจะได้ไฟล์ภาพสุดท้าย 2 ชุดด้วยกันคือ

    1. ไฟล์ที่ถูกเปลี่ยนขนาดแล้ว
    2. ไฟล์ภาพเดิม(สำเนาต้นฉบับ)ก่อนที่จะถูกเปลี่ยนขนาด

    หมดแล้วครับ จากนั้นก็กดปุ่ม Run ด้านมุมบนขวามือเพื่อทำการใช้งาน workflow ที่เราเพิ่งสร้างเสร็จไป.. ลองกด Run ดูนะครับ หรือจะลองเปลี่ยนค่าที่มีให้เลือกตรงรายละเอียดของแต่ละ Action ดู ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด workflow จะทำให้เกิดเหตุการณ์ประมาณนี้ขึ้นมาครับ

    • Action#1 :หลังจากกด RUN ไปแล้ว จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เรา browse ไฟล์ภาพที่ต้องการจะย่อขนาด ให้เลือกไฟล์ภาพขึ้นมา (จะมากกว่า 1 ไฟล์ก็ได้ ถ้าเราติ๊กที่ Allow Multi Selection เอาไว้) จากนั้นกด Choose
    • Action#2 : มีการสร้างสำเนาไฟล์ภาพที่เราเลือกเอาไว้ขนาดเท่าต้นฉบับลงใน Desktop (หรือที่อื่นถ้าเกิดเราเปลี่ยนใน workflow) แบบอัตโนมัติ
    • Action#3 : ไฟล์ต้นฉบับที่เราเลือกเอาไว้ จะถูกย่อเป็นขนาดใหม่ตามค่าที่เรากำหนดใน workflow แบบอัตโนมัติ หลังจากเค้าทำงานจบ จะมีเสียงแจ้งเตือนเรามาครับ =)

    สำหรับการสร้าง workflow การย่อรูปหลัก ๆ จะมีแค่นี้ครับ แต่ผมจะเขียนต่อเพื่ออธิบายถึงขั้นตอนต่าง ๆ แบบละเอียดต่อไปนะครับ
    Action #1 : Ask For Finder Items
    เป็น action แรกที่เราสร้างขั้นมาจากหน้าต่าง welcome screen ตอนเปิด automator ขึ้นมา

    scale-img-03-2-1_1.jpg

    • Prompt : คือจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เราเลือกเมื่อ workflow ทำงานว่าเราจะเอาไฟล์ภาพจากไหนใส่เข้ามา (เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เป็นค่า Fix ของ action ตัวนี้)
    • Start at : ให้เริ่ม browse จาก Desktop (เปลี่ยนแปลงได้ตามเหมาะสม)
    • Type : เราสามารถเลือกได้ว่าจะเอาเฉพาะ file หรือว่าทั้ง folder เข้ามา ให้เลือกเป็น Files เพียงอย่างเดียวเอาไว้ เพราะคำสั่งเปลี่ยนขนาดภาพที่อยู่ด้านล่างจะไม่รองรับกับข้อมูลแบบ Folder ครับ
    • Allow Multiple Selection : เลือกติ๊กตรงนี้เพื่อที่จะสามารถเลือกไฟล์ได้มากกว่าครั้งละ 1 ไฟล์

    note : ในหัวข้อ Type ถ้าเลือกเป็น Folder ไว้ จะไม่มีการเปลี่ยนขนาดภาพเกิดขึ้นจาก Action ที่ 3 แต่จะมีการทำสำเนาเกิดขึ้นจาก Actions ที่ 2 ครับ เพราะ Action ที่ 2 : Copy Finder Items นั้นรองรับกับข้อมูลแบบ Folder ได้ด้วย... ถ้ายังงงอยู่ ก็ลองเลยครับ =)
    Action #2 : Copy Finder Items
    Action นี้จะทำหน้าที่ copy files/folder ทุกอย่างที่ผ่านเข้ามาจาก action ด้านบน แล้วทำสำเนาขึ้นมาใหม่ยังปลายทางที่เราต้องการครับ

    scale-img-03-3_1.jpg

    • To: กำหนดว่าเราต้องการสร้างสำเนาไฟล์ขึ้นมาที่ไหน
    • Replacing existing files : ถ้าเลือกตรงนี้เอาไว้ แล้วเกิดกรณีไฟล์ต้นฉบับกับไฟล์สำเนามาอยู่ที่เดียวกัน (เช่นบน desktop เหมือนกัน) เค้าจะ copy ทับไฟล์เก่าที่เคยมีในชื่อเดียวกันไปครับ กลับกัน ถ้าเราปล่อยไว้ไม่ติ๊ก ถ้าเกิดเราสร้างสำเนามาอยู่ที่เดียวกับต้นฉบับ เค้าจะเปลี่ยนชื่อไฟล์ให้ครับ ไม่เซฟทับของเดิม จากตัวอย่างผมเว้นตรงนี้เอาไว้ครับ กันพลาด =)

    Action #3 :Scale Images เป็นคำสั่งเปลี่ยนขนาดของไฟล์ภาพ

    scale-img-03-4_1.jpg

    โดยทั่วไปเราสามารถกำหนดการเปลี่ยนขนาดไฟล์ภาพได้ 2 แบบคือ

    • To Size (pixels) : จะเป็นการกำหนดค่า Pixel (จะกำหนดแบบ Fix ตายตัว หรือจะกำหนดเองตอน workflow ทำงานก็ได้ ดู tips ด้านล่างต่อไปประกอบครับ)
    • By Percentage : ย่อขนาดเป็นเปอร์เซ็นต์ ค่อนข้างสะดวกมากสำหรับคนที่ต้องย่อภาพในอัตรส่วนที่เท่า ๆ กันครั้งละเยอะ ๆ

    Tips
    ถ้าเราต้องการกำหนดขนาดเองทุกครั้งที่ workflow ทำงาน เราสามารถทำได้ โดยเลือกไปที่ Options (ใน Scale Images นี่ล่ะครับ) แล้วเลือก Show this action when the workflow runs

    ซึ่งถ้าเราเลือกตรงนี้ไปแล้ว และสั่ง Run workflow ให้ทำงาน จะมีหน้าต่างนี้ขึ้นมาถามเราครับ ให้เรากำหนดได้ว่าจะย่อรูปแบบไหน ที่ขนาดเท่าไหร่

    scale-img-08_1.jpg

    ผมแบ่งเนื้อหาตัวอย่างของ workflow ย่อรูปออกเป็น 2 ตอนนะครับ เพื่อสะดวกในการเปิดหน้าเวป .. จากตรงนี้เป็นอันหมดเนื้อหาในตอนที่ 1 แล้ว เข้าไปอ่านตอนที่ 2 ได้ที่ http://macmuemai.com/content/538

    Automator : ตัวอย่าง workflow #2/2 - ย่อรูปทีละเยอะ ๆ ในคลิ๊กเดียว

    เป็นตอนที่ 2 ต่อจาก Automator : ตัวอย่าง workflow #1/2 - ย่อรูปทีละเยอะ ๆ ในคลิ๊กเดียว นะครับ เนื้อหาในตอนนี้จะต่อเนื่องมาจากตอนที่แล้วที่หลังจากสร้าง workflow และรู้จักการทำงานของเค้าไปบ้างแล้ว เนื้อหาในตอนนี้จะกล่าวถึง

    • การนำไปประยุกต์ใช้งานจริงในรูปแบบต่าง ๆ
    • การเพิ่มความสามารถให้กับ workflow แบบบ้าน ๆ

    เมื่อเราสร้าง workflow เสร็จไปแล้วใน Automator แต่ผมต้องการที่จะใช้งาน workflow นี้แบบรวดเร็วโดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิด Automator ขึ้นมาสิ่งที่ผมต้องทำมีตามนี้ครับ

    note : ดูเรื่อง Automator : การ Save workflow ของเรา ประกอบ

    ขั้นตอนที่ 1
    ในหน้า Automator ของเราที่เพิ่งทำเสร็จไป ให้ไปที่เมนูบาร์เลือก File/ Save as..

    save-as-02_0.jpg

    save-as-01_0.jpg

    จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้กำหนดค่าตามนี้ครับ

    1. ตั้งชื่อที่เราต้องการ (ควรจะเกี่ยวกับ workflow ที่เราจะใช้นะครับ จะได้สะดวกเวลาใช้งานภายหลัง)
    2. เลือกว่าจะ Save ไปไว้ที่ไหน
    3. เลือก File Format เป็นแบบ Application เพื่อที่จะให้ workflow นี้ทำงานได้ด้วยตัวของเค้าเอง (Stand alone) ครับ
    4. จากนั้นเลือก Save เพื่อยืนยัน

    จริง ๆ จะหมดแค่ตรงนี้ก็ได้ครับ แต่ถ้าเราต้องการใช้งาน workflow ให้สะดวกกว่านั้น ให้ดูขั้นตอนต่อไปครับ จะเป็นการนำ workflow ที่เรา save ไว้เป็น application นี้มาฝังอยู่ใน Finder ของเรา

    ขั้นตอนที่ 2
    ใน Finder ให้ browse ไปยังที่ ๆ เรา save เค้าเอาไว้จากขั้นตอนด้านบน เราจะเห็นว่า สัญลักษณ์ไฟล์เป็น icon ที่ไม่เหมือนเรา Save workflow ตามปรกติ คือถ้าเราเลือก save แบบ Application เค้าจะมีหน้าตาแบบนี้ (เหมือนหุ่นยนต์ครับ)

    save-as-03_0.jpg

    note : สำหรับ workflow ที่เรา save ไว้แบบ application นี้ เค้าจะเหมือน app ทั่วไปตามปรกตินะครับ สามารถที่จะนำไปใช้เพื่อทำงานแบบเดียวกันบนเครื่อง Mac เครื่องอื่นได้

    ขั้นตอนที่ 3
    ใน FInder ให้คลิ๊กที่ icon ของ workflow ที่เป็นแบบ Application นี้ แล้วลากเค้ามาไว้บนที่ว่างของ Toolbar ใน Finder ครับ (ต้องค้างเอาไว้สักครู่นึง)

    save-as-04_0.jpg

    แล้วเราจะได้แบบนี้..

    save-as-05_0.jpg

    ซึ่งหลังจากนี้ต่อไปถ้าเราต้องการจะเรียกใช้งาน workflow นี้ก็สามารถคลิ๊กได้จากบน finder เราได้เลยโดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิด Automator ขึ้นมาแล้วครับ =)

    note : บน Toolbar ของ Finder เราสามารถลาก app ต่าง ๆ มาเก็บเอาไว้ในนี้ได้เหมือนกันด้วยวิธีเดียวกันนี้ครับ

    Tips
    ถ้าเราต้องการให้ workflow นี้ทำงานจากไฟล์ที่เราเลือกเอาไว้เลยตอนที่สั่งงาน แทนที่จะต้องเลือกไฟล์ใหม่ทุกครั้งหลังจากสั่ง workflow ให้ทำงาน

    • ให้เปลี่ยน Action แรกใน workflow เป็น Files/Folder : Get Selected FInder Items ครับ

    ถ้าต้องการย่อภาพสำหรับลงในเวป

    • เพิ่ม Sharpen หรือ Photo effect อื่น ๆให้พิ่ม Action = Photos : Apply Quartz Composition Filter to Image Files ลงไปหลัง Action สุดท้ายครับ และกำหนด Option ให้แสดง workflow ตอนทำงาน เพื่อที่เราจะได้เลือกได้ว่าจะปรับตรงไหนบ้าง (ถ้าใช้แล้วไม่ได้ผล ให้แทรกลงไปก่อนหน้าแทน)
    • ถ้าต้องการเปลี่ยนชนิดของไฟล์ภาพ ให้เพิ่ม Action = Photos : Change Type of Images ลงไปใน Action สุดท้าย และเลือก Option ให้แสดง workflow ตอนทำงาน

    Automator : ตัวอย่างการใช้งานค่า Variables ใน Automator

    บทความนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้งานเกี่ยวกับค่า Variables ของ Automator นะครับซึ่งจะนำ workflow จากบทความตัวอย่างสำหรับการย่อรูป มาปรับปรุงต่อกัน ซึ่งจะมีการข้ามเนื้อหาบางส่วนที่เคยเขียนไว้แล้วไป ถ้าใครยังไม่ได้อ่าน ก็ลองอ่านบทความนั้นก่อนเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหานะครับ

    Variables : เป็นคล้าย ๆ ตัวแปรที่จะจำข้อมูลของผลลัพท์ที่เกิดขึ้นใน workflow แล้วนำมาใช้ตรงไหนก็ได้ของ workflow ครับ .. คือปรกติการทำงานของ workflow ทั่วไป จะทำงานแบบไล่จากบนลงล่าง เราจะสั่งข้ามขั้นตอนหรือว่าใช้ผลลัพท์จาก action อื่นมาเป็น input ไม่ได้.. แต่ Variables จะเป็นตัวช่วยให้เราทำตรงนี้ครับ ซึ่งทำให้เราสามารถสร้าง workflow ที่สลับซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมได้

    workflow ปรกติเป็นประมาณนี้

    • ขั้นตอนที่ 1 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 2 เท่านั้น
    • ขั้นตอนที่ 2 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 3 เท่านั้น
    • ขั้นตอนที่ 3 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 4 เท่านั้น
    • ขั้นตอนที่ 4 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 5 เท่านั้น
    • ขั้นตอนที่ 5 จบการทำงาน

    ถ้าเราใช้ Variables ช่วย เราสามารถทำได้แบบนี้

    • ขั้นตอนที่ 1 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 2,3,4 หรือ 5
    • ขั้นตอนที่ 2 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 3 ,4 หรือ 5
    • ขั้นตอนที่ 3 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 4 หรือ 5
    • ขั้นตอนที่ 4 ได้ผลลัพท์เพื่อนำไปใช้ในขั้นตอนที่ 5
    • ขั้นตอนที่ 5 จบการทำงาน

    note : ที่ไฮไลท์สีนำเงินคือความแตกต่างในการใช้ Variables เข้าช่วยครับ

    ตัวอย่าง :
    จากเดิมผมทำ workflow สำหรับย่อรูปปรกติทั่วไปแต่ผมต้องการเพิ่มขั้นตอนบางอย่างลงไปให้ workflow เดิมครับ มีโจทก์เป็นแบบนี้..

    ผมต้องการให้ทุกครั้งที่มีการสั่ง workflow เพื่อย่อรูป จะมีการสร้าง folder ขึ้นมาใหม่แบบอัตโนมัติ (จะตั้งชื่อเองหรือไม่ก็ได้) แล้วย้ายไฟล์ที่ย่อแล้วไปไว้ใน folder นั้นทุก ๆ ครั้งเมื่อย่อรูปเสร็จแล้ว

    จากตรงนี้ จะเห็นว่า แค่ย่อรูปกับสร้าง folder ขึ้นมาใหม่ workflow ปรกติก็สามารถทำได้อยู่แล้ว แต่จะทำอย่างไร ให้มีการย้ายไฟล์รูปที่ย่อเสร็จแล้วลงไปใน folder ใหม่ ... ตรงนี้เป็นขั้นตอนที่ปรกติเราทำแบบอัตโนมัติไม่ได้ เราเลยต้องอาศัย Vaiables ช่วย

    ภาพรวม
    workflow ย่อรูปของเดิมเป็นแบบนี้

    • Action 1 : Ask for Finder Items
    • Action 2 : Copy Finder Items
    • Action 3 : Scale Images

    workflow ใหม่จะแทรก Action ต่อไปนี้ลงไป (Action ใหม่จะเป็นสีแดง)

    • Action 1: Files & Folders / New Finder
    • Action 2 : Utilities / Set Value for Variables
    • Action 3 : Ask for Finder Items
    • Action 4 : Copy Finder Items
    • Action 5 : Scale Images

    อธิบาย
    เปิด workflow สำหรับย่อรูปของเราที่ save เอาไว้ขึ้นมา (ใครยังไม่มี ลองทำตามในบทความก่อนหน้านี้นะครับ ยิ้ม)

    ขั้นตอนที่ 1
    แทรก Action : New Folder จากในหัวข้อ Files & Folders มาไว้ในขั้นตอนแรก ถ้าต้องการตั้งชื่อ Folder ใหม่เองตอน workflow ทำงาน ให้เลือก Options : Show this action when the workflow runs ครับ

    note : ถ้าใครยังสร้าง workflow ไม่คล่อง รบกวนดู ตัวอย่าง workflow สำหรับย่อรูป ทั้ง 2 ตอนประกอบนะครับ

    ขั้นตอนที่ 2
    แทรก Action : Set Value for Variables (ในหัวข้อ Utilities) เป็น Action ที่ 2 ครับ

    sample-va-03_0.jpg

    เมื่อแทรกเข้ามาแล้ว หน้าตาของ Action : Set Value for Variables จะเป็นแบบนี้

    sample-va-01_0.jpg

    เสร็จแล้วจะได้หน้าตา workflow ใหม่ประมาณนี้ครับ (ผมพับ workflow บางอันเก็บไป เปิดเฉพาะอันที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาใหม่นะครับ)

    sample-va-02_0.jpg

    สังเกตว่า Action 2 กับ Action 3 นั้นไม่เชื่อมต่อกันนะครับ หมายความว่า workflow นี้จะแบ่งการทำงานออกเป็น 2 ชุดด้วยกัน

    • ชุดแรกคือการสร้าง folder ใหม่แล้วจำค่านั้นเอาไว้
    • ชุดที่สองคือคำสั่งย่อรูปตามปรกติ

    วิธีแบ่ง workflow ให้ทำแบบนี้ครับ
    ไปคลิ๊กขวา (Ctrl+Click) ที่ Action : Ask for Finder Items แล้วเลือก Ignore Input

    ignor-input_0.jpg

    แล้วเราก็จะได้หน้าตาของ workflow แบบนี้มา

    ingnor-input-1_0.jpg

    note : สังเกตดูว่า Actions ไม่ต่อกันแล้วนะครับ

    ขั้นตอนที่ 3
    ใน Action ที่ 2 ให้คลิ๊กไปที่คำว่า New variable.. ในช่องที่มีให้เลือก

    sample-va-04_0.jpg

    จะมี pop up หน้าต่างใหม่เล็ก ๆ ขึ้นมาให้เราตั้งชื่อ Variables นี้ครับ

    sample-va-05_0.jpg

    เค้าจะตั้งมาให้เองว่า New Storage ส่วนถ้าใครต้องการจะเปลี่ยนเป็นชื่ออื่นก็ทำได้จากตรงนี้ครับ แต่ในบทความนี้ผมอ้างอิงกับคำว่า New Storage เป็นหลัก จากนั้นกด Done แล้วจะเราจะเห็นช่อง Variable แสดงขึ้นมาที่ด้านล่าง workflow pane พร้อมด้วยค่า New Storage เป็น Variable ที่เราเพิ่งสร้างไปตะกี๊ขึ้นมาครับ ตามรูปนี้

    sample-va-06_0.jpg

    การสร้าง Variables ในขั้นตอนนี้ จะหมายถึงการจำค่า Folder ที่เราสร้างใหม่นี้เอาไว้ ทั้งชื่อ Folder และ Path มายัง Folder นี้ครับ

    ขั้นตอนที่ 4
    จากหน้าต่าง Variable นี้ ให้เราคลิ๊กตัว New Storage แล้วลากขึ้นมาไว้แทนตำแหน่ง To ของ Action : Copy Finder Items ครับ แบบนี้

    sample-va-07_0.jpg

    แล้วเราจะได้ผลลัพท์แบบนี้

    sample-va-09_0.jpg

    เสร็จแล้วครับ ภาพรวมของ workflow ที่เสร็จแล้วจะได้แบบนี้

    sample-va-10_0.jpg

    จะเห็นว่ามีตัว Variable แทรกอยู่ 2 จุด คือ

    • ใน Action 2 : ให้โปรแกรมจำ Folder ใหม่เอาไว้ และนำ path มายัง folder ใหม่นี้ไปใช้ใน
    • และใน Action 4 : Copy Finder Items ครับ เมื่อเราสั่ง workflow นี้จะมีการสร้าง Folder ขึ้นมาใหม่ (ตรงนี้จะเลือก Option ให้แสดงขึ้นมาตอน workflow ทำงานด้วยก็ได้ เพื่อที่เราจะได้ตั้งชื่อ Folder เอง ถ้าไม่เลือกตรงนี้ folder ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นจะมีชื่อว่า untitled folder เสมอ

    จากนั้นลองสั่ง RUN workflow ใหม่นี้ดูถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะมี folder เกิดขึ้นใหม่ และภาพที่ย่อขนาดแล้วจะถูกนำมาใส่ไว้ใน folder นี้ครับ

    หมดแล้วครับ หวังว่าคงพอเป็นประโยชน์กับผู้ใช้งานแมคมือใหม่ขึ้นมาบ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ ยิ้ม

    ก๊อก

    Calculator - โปรแกรมดี ที่หลายคนมองข้าม

    Calculator : เป็นโปรแกรมเครื่องคิดเลขที่มีติดตัวมากับ OS X ครับ ผมคิดว่าเป็น app ที่หลาย ๆ คนมองข้าม หรือแทบไม่ได้เรียกออกมาใช้ (รวมทั้งตัวผมเองด้วย) .. จากที่ผมเขียนเกี่ยวกับการใช้งาน spotlight ช่วยคิดเลข ก็เลยทำให้ต้องมาหาข้อมูลของ app ตัวนี้ไปด้วย .. จากตรงนั้น ทำให้ผมพบว่า app คิดเลขที่มีมากับ OS X นี้ ทำอะไรได้มากกว่าที่เราคิดครับ

    cal-01-1_0.jpg

    icon ของ Calculator app
    cal-08-icon_0.jpg

    เปลี่ยนรูปแบบเครื่องคิดเลข
    เราสามารถเปลี่ยนรูปแบบเครื่องคิดเลขของเราให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ โดยจะมีให้เราเลือก 3 แบบ (เปลี่ยนรูปแบบได้จากบน menu bar ของ Calculator app แล้วไปที่ View

    1.Basic - เป็นรูปแบบที่เรียบง่าย เอาไว้ใช้บวกลบคูณหารทั่วไป (กด Command+1)
    cal-02_0.jpg
    2.Scientific - สำหรับการคำนวณที่ซับซ้อนขึ้นมาอีกหน่อย (กด Command+2)

    cal-01_0.jpg
    3.Programmer - สำหรับออกแบบโปรแกรมหรือคิดคำนวณพวก Binary (กด Command+3)
    cal-03_0.jpg

    ความสามารถที่ซ่อนอยู่

    ข้อดีของ Calculator app บน OS X ที่นอกจากจะมีหลายหน้าตาให้เลือกใช้เฉพาะทางแบบต่าง ๆ แล้ว ยังมีสิ่งดี ๆ ที่ซ่อนอยู่อีกครับ และนี่เป็นตัวอย่าง

    1.ย้อนดูว่าเรากดอะไรไปแล้วบ้าง?

    ข้อจำกัดของเครื่องคิดเลขในชีวิตจริงส่วนใหญ่ เราจะไม่สามารถย้อนไปดูว่าเรากดอะไรไปแล้วบ้าง (หรืออาจจะทำได้ แต่คงไม่สะดวกกับหน้าจอที่มี 2-3 บรรทัด) .. บน Calculator app เราสามารถย้อนกลับไปดูคำสั่งที่เรากดไปแล้วได้ครับ

    บน menu bar ไปที่ Window/ Show Paper Tape (หรือกด Command+T)

    cal-09_0.jpg
    ที่เราจะได้คือหน้าต่างใหม่ ที่มีข้อมูลการคำนวณย้อนหลังตามที่เรากดไปครับ

    cal-10_0.jpg

    note : เราสามารถนำคำสั่งที่เกิดขึ้นในการคำนวณตรงนี้ ไปใส่ในช่อง spotlight เพื่อให้ได้ผลลัพท์แบบเดียวกันได้ด้วย ดู spotlight เอาไว้คิดเลข? ประกอบ

    2.แปลงสารพัดหน่วย

    คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยเห็นตัว widget ตัวแปลงหน่วยบน Dashboard กันไปบ้างแล้ว .. ใน Calculator เองก็ทำตรงนี้ได้นะครับ และนี่เป็นวิธีการ

    บน menu bar เลือก Convert

    cal-04_0.jpg

    จากตรงนี้ เราสามารถเลือกหน่วยที่เราต้องการจะแปลงได้ ผมจะขอยกตัวอย่างการแปลงค่าเงินก็แล้วกันนะครับ (Currency..)

    note : บางครั้ง เราจะต้องกดตัวเลขเข้าไปใน Calculator ก่อน ถึงจะมีตัวเลือกนี้ให้เลือกกดได้ครับ

    ตัวอย่างการแปลงค่าเงิน จาก US เป็น Thai Baht

    เลือก Convert / Currency.. แล้วเราจะได้หน้าต่างเล็ก ๆ ให้เรากำหนดค่าเงินที่เราต้องการจะแปลง แบบนี้..

    cal-06_0.jpg

    • From : เลือกค่าเงินตั้งต้น
    • To : หน่วยของค่าเงินที่เราต้องการ
    • จากนั้นกด OK

    note :

    1. สังเกตว่า การแปลงค่าเงินนั้นจะใช้ข้อมูลจากเวป Yahoo! Finance ครับ ซึ่งจะอัพเดทแทบจะทันทีที่เราเลือกคำสั่งนี้
    2. เราสามารถเลือกแปลงหน่วยอื่น ๆ ได้อีก โดยใช้หลักการเดียวกันนี้ครับ

    หมดแล้ว.. หวังว่าคงเป็นประโยชน์นะครับ ยิ้ม

    Dashboard

    Dashboard : เป็นเหมือนกับที่ ๆ รวมเอาโปรแกรมเล็ก ๆ (เรียกว่า Widget) ไว้ให้เราดู ซึ่งโปรแกรม Widget พวกนี้จะทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งแตกต่างกันไป โดยมากจะเป็นการแสดงข้อมูลที่เราต้องการ ไม่ได้เอาไว้ใช้งานเป็นหลักหรือว่า เอาไว้ดูอย่างเดียว

    Picture1_24.jpg

    มีไอคอนโปรแกรมแบบนี้

    dashboard-icon.jpg

    เราสามารถเข้าใช้งาน Dashboard ได้จากการคลิ๊กที่ไอคอนโปรแกรมบน Dock หรือเลือกจากใน Application folder ของเรา (shortcut = F12)

    การปรับแต่ง Dashboard

    ตัวอย่างการปรับแต่ง Dashboard ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ

    เรียกใช้งาน Dashboard

    Picture1-1_4.jpg

    แล้วกดเลือกที่เครื่องหมาย “+” ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ

    เข้้าสู่การเลือก widget ลงใน dashboard

    Picture2_1_0.jpg

    เราจะเห็นตัว widget ต่าง ๆ เรียงกันขึ้นมา จากตรงนี้ เราสามารถที่จะเพิ่ม widget เข้าไปใน dashboard ของเราได้โดยการดับเบิลคลิ๊ก หรือว่าจะจับแล้วลากไปวางตรงพื้นที่ว่างโดยตรงเลยก็ได้

    note : เราสามารถเลือกปิด widget ที่เราไม่ต้องการได้จากตรงนี้ด้วย โดยการคลิ๊กไปที่เครื่องหมาย X ตรงมุมซ้ายบนของ widget แต่ละตัว

    การจัดการกับ widget เยอะ ๆ ในคราวเดียว

    Picture2-1_8.jpg

    ทำได้โดยการตลิ๊กไปที่ ปุ่ม Manage widget ตรงซ้ายมือด้านล่าง
    แล้วเราจะได้ widget หน้าตาแบบนี้มา

    009-.jpeg

    เอาไว้สำหรับเปิดปิด widget ที่เราต้องการได้จากตรงนี้เลย

    เกี่ยวกับ Widget

    Widget : เป็นโปรแกรมเล็ก ๆ ที่จะอยู่ใน Dashboard ของเรา มีความสามารถในการทำงานต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วจะเป็นการแสดงข้อมูล และไม่ใช่โปรแกรมแบบใช้งานจริงจัง

    ประเภทของ Widgets

    โดยทั่วไปแล้ว เท่าที่ผมสังเกต จะมี Widget หลัก ๆ อยู่ 3 แบบดังนี้

    1.Online Widgets : เป็น widget ทั่วไป ที่มีผู้พัฒนาขึ้นมาเฉพาะ โดยอาศัยการนำเสนอข้อมูลจาก internet เช่น พยากรณ์อากาศ หรือเวลาท้องถิ่น หรือดูหุ้น

    2.Offline Widgets : เป็น Widget เอาไว้สำหรับทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งแบบจบในตัวเอง ไม่ต้องอาศัยข้อมูลจากใน internet เช่น Dictionary, Address Book

    3.Safari Web Clips : เป็น Widget ที่เราสร้างขึ้นจาก Safari เอาไว้สำหรับดูข้อมูลจากเวปที่เราสนใจ

    การตั้งค่า widget

    สำหรับการตั้งค่า widget เพื่อให้แสดงผล หรือว่าทำงานได้ถูกต้อง เราสามารถปรับได้โดยไปคลิ๊กที่ตัว widget แล้วเลือกเครื่องหมาย i ที่ขึ้นอยู่ตรงมุมขวาล่างของ widget แต่ละตัว(บางตัวก็ไม่มีตรงนี้ครับ) เช่น

    004-1.jpg
    เลือกไปที่เครื่องหมาย i ของ widget พยากรณ์อากาศ (มีมากับ OS X)
    005-.jpeg
    เค้าจะให้เราตั้ง Zone ที่เราอยู่ รวมไปถึงหน่วยของอูณหภูมิที่จะแสดงด้วย

    หรือตัว widget นาฬิกา

    006-.jpeg
    เลือกคลิ๊กที่ตัว i
    007-.jpeg
    จะให้เราเลือกเมืองที่จะแสดงเวลา หลังจากเลือกเสร็จแล้วคลิ๊ก Done เราจะได้เวลาใหม่มา
    008-.jpeg

    เพิ่มเติม

    เราสามารถเข้าไปดาวน์โหลด widget เพื่อการใช้งานแบบต่าง ๆ ได้จากในเวป Apple.com ในหน้า widget นี้ครับ http://www.apple.com/downloads/dashboard/

    Disk Utilily

    Disk Utility

    disk-utility-icon_2.jpg

    เป็นโปรแกรมที่ช่วยเกี่ยวกับการดูแล ซ่อมแซม และจัดการเกี่ยวกับพื้นที่บน hard disk ที่เราใช้ มีหน้าที่หลัก ๆ ดังนี้

    • ทดสอบ ซ่อมแซม hard disk ของเราในเบื้องต้น
    • เข้าถึงไฟล์ disk image ที่เราสร้างเอาไว้ในเครื่องได้
    • ลบ, format และจัดแบ่ง partition บน hard disk ของเรา
    • จัดการเกี่ยวกับ RAID
    • ลบข้อมูลบนแผ่น CD-RW / DVD-RW

    อื่น ๆ

    • mount และ eject disk
    • สร้าง และจัดการกับ disk image
    • burn disk image ลงแผ่น CD/ DVD ในฟอร์แมท HFS+
    • ตรวจสอบ สถานะ S.M.A.R.T ของ hard disk

    การเรียกใช้งานโปรแกรมสามารถทำได้ 2 ทาง คือ

    1. จากแผ่น OS X Install DVD
    2. จาก Application/ Utilities ภายในเครื่องเรา

    เพิ่มเติมจาก : http://en.wikipedia.org/wiki/Disk_Utility

    First Aid

    การแก้ไขปัญหาโปรแกรม / Disk ที่ทำงานผิดพลาด เบื้องต้น

    เกี่ยวกับ Repair Disk

    เกี่ยวกับ Repair Disk

    คำสั่งนี้ใช้สำหรับซ่อมแซม disk ของเราที่อาจจะมีปัญหา ทำให้ startup แล้วไม่ยอมเข้าหน้า log in หรือการทำงานบนเครื่องผิดเพี้ยนไป

    คำสั่งที่ใช้

    Verify Disk : ตรวจสอบหาที่ผิดปรกติบน Disk ของเรา
    Repair Disk : ตรวจสอบ และทำการซ่อมแซม Disk ที่ผิดปรกติ

    Picture4_4.jpg
    จากภาพ : ถ้าตรวจสอบแล้วไม่พบสิ่งผิดปรกติ จะขึ้นข้อความสีเขียวมาบอกเราครับ ยิ้ม

    note : ถ้าจะทำการตรวจสอบ หรือว่า ซ่อม disk ที่ใช้เป็น startup volume ต้องทำจากแผ่น OS X Installation DVD

    อ่านเพิ่มเติมได้จาก :
    http://support.apple.com/kb/TS1417

    เกี่ยวกับ Repair Disk Permission

    เกี่ยวกับ Repair Disk Permission

    เหตุ และ ผล ของการ Repair disk permisiion

    ตามปรกติพวกไฟล์ที่เป็น packgage (มีนามสกุล .pkg ) เวลาเรา Install ไฟล์พวกนี้ไปแล้วในเครื่อง เค้าจะทำการสร้าง "ใบเสร็จ " หรือว่า "สำเนา" เอาไว้ใน /Library/Receipts/ โดยไฟล์พวกนี้จะเป็นตัวบอกว่า แต่ละ package ที่ install ลงไปนั้น ประกอบด้วยไฟล์อะไรบ้าง และมี permission อย่างไร .. การสั่ง verify กับ repair disk permission นั้น จะทำการตรวจสอบเปรียบเทียบ permission จากตรงนี้เป็นหลัก (สำหรับพวกโปรแกรมที่ Install แบบ package ทั้งหมดจะมีตรงนี้) หลังจากเปรียบเทียบแล้วจึงทำการแก้ไข permission ให้ถูกต้องในทางที่ควรจะเป็น

    คำสั่งใช้งาน
    Picture1_5.jpg

    Verify Disk Permissions : ตรวจสอบหา permission ที่ผิดเพี้ยนไป
            ให้ดูผลที่ได้จากกล่องข้อความ ถ้าผลที่ได้ปรกติ ไม่ต้องทำอะไร แต่ถ้าเจอสิ่งผิดปรกติ (ดูภาพประกอบ) ห้เราทำการ Repair Disk Permissions ต่อไป

    Repair Disk Permissions : ตรวจสอบ และซ่อมแซม permission ที่ผิดปรกติ

    ตัวอย่าง

    กด Verify Disk Permissions เพื่อหาสิ่งผิดปรกติ

    Picture2_4.jpg

    จากภาพเจอ permission ผิดปรกติอยู่ 1 รายการครับ จากนั้นกด Repair Disk Permission

    Picture3_6.jpg

    ผมจะได้ข้อความด้านบนนี้ เป็นการแจ้งให้เราทราบว่าเค้าได้ทำการแก้ไข permission ให้ถูกต้องแล้ว

    การสั่ง verify และ repair disk permission สามารถทำได้ 2 ทางคือ

    • จาก disk utility บนแผ่น OS X Installation DVD
    • จาก disk utility ใน application/utilities folder ภายในเครื่องของเรา

    note : ใน support ของ apple บอกเอาไว้ว่า ถ้าเป็นไปได้ ให้เปิดใช้งาน disk utility จากในเครื่องเราที่ผ่านการลง software update ล่าสุดแล้วจะดีกว่า เพราะทันสมัยกว่าบนแผ่น Installation DVD และ permission สำหรับบางไฟล์อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจากความปลอดภัยเป็นหลักด้วย

    อ่านเพิ่มเติมได้จาก :
    http://support.apple.com/kb/HT1452

    การ Format HD หรือ Partition บน OS X

    การใช้ Disk Utility Format Hard disk ของเราสามารถทำได้ดังนี้ครับ

    • ถ้าเรามีหลาย Partition อยู่ใน HD บนเครื่อง เราสามารถใช้ Disk Utility จาก Applications Folder มา format ได้เลย
    • ถ้าเราต้องการ Format หรือว่า รวม Partition หลายอันบน HD ให้เป็นก้อนเดียวเพื่อลง หรือว่า restore system ใหม่ ให้ใช้ Disk Utility จากในแผ่น OS X Installer DVD เท่านั้นครับถึงจะ format HD ภายในเครื่องได้ (ดูขั้นตอนการเรียกใช้งาน Disk Utility จากแผ่น OS X Install DVD ได้จาก Disk Utility : การรวม Partition ในขั้นตอนที่ 1-5 ประกอบ)

    การ Format HD หรือ Partiton บน OS X

    format-hd.jpg

    อธิบาย

    1. เลือก Volume จากรายการทางด้านซ้ายมือที่เราต้องการจะ Format ครับ
    2. หลังจากเลือกขึ้นตอนตามความเหมาะสมได้แล้ว บน Disk Utility เลือก Erase tab
    3. เลือก format ที่ต้องการ พร้อมกับตั้งชื่อ Volume (บาง format ไม่สามารถตั้งชื่อเป็นตัวเล็กและมีเว้นวรรคได้ เช่น FAT32)
    4. จากนั้นเลือก Erase ครับ

    note : การ Erase นี้จะทำการล้างข้อมูลที่มีอยู่เดิมทิ้งไปนะครับ ดังนั้น ก่อนการ Erase เราควรจะ backup ไฟล์สำคัญเอาไว้ด้วยครับ =)

    เพิ่มเติม
    ปรกติเวลาลง OS X ใหม่ถ้าเราติดตั้งไปตามขั้นตอน จะต้องผ่านการ Erase หรือว่า Format HD ให้อยู่แล้ว แต่มีกรณีนอกเหนือจากนี้ที่ทำให้เราอาจจะต้องใช้การ Format จากใน Disk Utility นี้นะครับ เช่น

    • การแบ่ง Partition บน External HD ให้สามารถใช้ได้กับระบบปฎิบัติการอื่น ๆ เช่น windows
    • การล้างข้อมูลเดิมทิ้้งพร้อมกับปรับพื้นที่ใหม่ ถ้าเกิดคิดว่าไฟล์หรือว่าพื้นที่เดิมมีปัญหาที่แก้ไม่ได้ด้วยวิธีการปรกติครับ

    การแบ่ง partition

    การแบ่ง partition

    สำหรับผู้ที่เคยใช้ PC มาก่อน คงคุ้นเคยกับคำ ๆ นี้ดี การแบ่ง partition คือการแบ่งพื้นที่การใช้งานบน hard disk ของเราให้เป็นสัดส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดเก็บ และบริหารไฟล์ .. บน OS X ก็เช่นเดียวกัน

    โปรแกรมที่จะใช้ในการแบ่ง partition ของเรานั้น คือ Disk Utility (อยู่ใน Applications/ Utilities)

    disk-utility-icon.jpg

    โดยหลักแล้ว การแบ่ง partition ผมขอแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆเพื่อให้กระชับได้ใจความ ดังนี้

    1. การแบ่ง partition บน external hard drive ( hard disk ภายนอก ซึ่งเราซื้อแยกมาต่างหาก)
    2. การแบ่ง partition บน Macintosh HD หรือว่า hard disk ที่เรามีอยู่แล้วในเครื่อง (โดยที่ข้อมูลเดิมยังอยู่ครบไม่ต้อง Format หรือว่าล้างข้อมูลกันใหม่)

    การรวม Partition

    note : สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ของบทความนี้จะเป็นการทำงานก่อนที่ user จะเข้าใช้งานเครื่องปรกติ ทำให้ไม่สามารถที่จะเข้า Internet ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการนำบทความนี้ไปอ้างอิงในการใช้งานจริง สามารถที่จะปรินท์บทความต่อไปนี้โดย

    1. เลือกคำสั่ง Printer-friendly version ที่ตอนล่างสุดของบทความนี้ในหน้า How-tos
    2. แล้วสั่ง print ครับ

    การรวม Partition ที่มีอยู่ใน HD ของเรา

    1.ใส่แผ่น OS X install DVD เข้้าไปในเครื่อง จากนั้นรอสักพักจนหน้าต่าง Finder ของ OS X Installation โผล่ขึ้นมาบน Desktop

    sysrstore-01_3.jpg

    2.ไปที่ Apple เมนูบนเมนูบาร์ด้านซ้ายมือบนสุด เลือก Shutdown (ต้อง Shutdown เท่านั้นนะครับไม่ใช่ Restart)

    3.รอให้เครื่องปิดสนิทดีแล้ว ค่อยเปิดขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนที่ได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง จากนั้นรอสักพัก จะมีตัวเลือกให้เราเลือกว่าจะ boot เครื่องจากตรงไหน ให้เลือก boot จากแผ่น OS X install DVD

    sysrestore-01-2_2.jpg

    note : ขั้นตอนนี้จะรอนานหน่อยเพราะว่าเป็นการ Boot จากแผ่น DVD Installer ครับ ไม่ใช่จาก HD ภายในเครื่องครับ

    4.เลือกภาษาหลักที่จะใช้ในการติดตั้ง เลือกเป็น English ตามหัวข้อแรกไปครับ

    sysrstore-01-1_2.jpg

    5.เมื่อเข้าหน้าต่าง Welcome เตรียมการติดตั้ง OS X ให้ปล่อยเอาไว้ แล้วไปเลือกบนเมนูบาร์ด้านบน เลือก Utilities / Disk Utility ครับ จากนั้นก็รอสักพัก

    sysrstore-05-1_1.jpg

    6.เข้าสู่การทำงานของ Disk Utility ให้รอจนแน่ใจว่า ใน List ทางด้านซ้ายมือเห็น Partition บนเครื่องเราทั้งหมด แล้วให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

    sysrstore-07-1_1.jpg

    อธิบาย
            1.        ให้เราเลือกไปที่ HD ของเราครับ (อันบนสุดของ List ด้านซ้ายมือ)
            2.        ในหัวข้อ First Aids ลอง Verify Disk ก่อนว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ ถ้ามีก็เลือก Repair จากตรงนี้
            3.        ถ้า Verify แล้วพบปัญหา ให้ทำการ Repair Disk ครับ หรือถ้าไม่พบปัญหาก็ไปขั้นที่ 4 ได้เลย
            4.        ไปที่ Partition tab เพื่อเข้าสู่ขึ้นตอนการรวม partition ต่อไปครับ

    7.ในหัวข้อ Partition ตรง Partition Scheme ให้เลือกใหม่เป็น 1 Partition จากนั้นก็ใส่รายละเอียดทางด้านขวาไป (กำหนดชื่อ และ Format ของ disk ปรกติจะเป็น Mac OS extend (journaled) อยู่แล้วให้ปล่อยเอาไว้) จากนั้นสั่ง Apply เพื่อยืนยันการรวม partition

    sysrstore-03-1_1.jpg

    อธิบาย

    1. เลือก Partition Scheme เป็น 1 Partition        
    2. ตั้งชื่อ Volume (Partition) ใหม่ของเรา พร้อมกับตั้ง format ของ drive เป็น Mac OS Extended (Journal)
    3. หลังจากตั้งค่าเสร็จให้เลือก Apply เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลง

            
    8.ถ้้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็น Volume ทางด้านซ้ายมือเหลืออันเดียวตรงกับชื่อที่เราตั้งเอาไว้เมื่อกี๊นะครับ ..

    note : สำหรับคนที่ต้องการรวม partition ของ HD ในเครื่องเพื่อที่จะ Restore system จาก Backup ของ Time Machine หรือว่าต้องการติดตั้ง Windows พอหมดขึ้นตอนที่ 8 แล้ว ให้ทำการ Force Quit เพื่อปิดเครื่องแล้วเปิดขึ้นมาใหม่ครับ แล้วเลือกจากหัวข้อที่ตรงกับความต้องการจากด้านล่างได้เลยครับ

    • ส่วนคนที่ต้องการจะลง Windows ผ่าน BootCamp หลังจากนี้นะครับ มีวิธีตามลำดับดังนี้
    1. ให้ทำการ Restore System เดิมกลับมาก่อน (ดู Disk Utility : การ Restore System จาก Time Machine Backup ประกอบ)
    2. จากนั้นค่อยเริ่มการใช้งาน BootCamp Asistant ได้เลย - ดู การติดตั้ง Windows บน OS X (Boot Camp) ประกอบ

    update 8 พฤศจิกายน 2553
    เนื่องจากบทความนี้ผมเขียนเอาไว้นานแล้ว ตั้งแต่เป็น 10.5 จะเป็นการดีหากทำการ backup เอาไว้ก่อนกระทำการแบ่งหรือการรวม partition นะครับ

    การแบ่ง partition บน External hard drive

    การแบ่ง partition บน External hard drive

    เรามี External hard drive (ขอเรียกว่า HD)อยู่ลูกหนึ่ง ถึงแม้ในเครื่องเราจะมี Time Machine เอาไว้สำหรับ backup ทุกสิ่งทุกอย่างเอาไว้ให้เราแล้วก็ตาม แต่ด้วยความที่ Time Machine ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ยึดหยุ่นเท่าไหร่นักในการใช้พื้นที่ร่วมกับ HD ที่เราอยากเก็บไฟล์อย่างอื่นเอาไว้ด้วย ...

    เป็นเรื่องที่ปวดหัวมากครับ ถ้าเกิดไม่มีการวางแผนเอาไว้ก่อน แบบที่ถ้าใช้งานไปสักพักนึงแล้วเกิดอยากจะ backup แบบเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาทีหลัง ..

    ถึงจะรู้ตัวเมื่อสาย เราก็ยังสามารถจัดการให้เข้ารูปเข้ารอยแบบที่ควรจะเป็นได้ครับ แต่จะยุ่งยากหน่อยถ้าพื้นที่ HD มีจำกัด และเหลือไม่มากพอ อาจจะต้องไปยืม HD จากคนใกล้ตัว หรืออาจจะต้องซื้อลูกใหม่มาเพื่อการนี้โดยเฉพาะ .. ซึ่งดูแล้วอาจจะสิ้นเปลืองเกินจำเป็นครับ สู้วางแผนเตรียมตัวแต่เนิ่น ๆ กันดีกว่า...

    บทความนี้เลยอยากจะเขียนถึงการ partition บน External hard drive เพื่อเตรียมตัวก่อนการ backup ไม่ว่าคุณต้องการจะใช้ Time Machine หรือไม่ก็ตาม

    note : เพื่อความรวดเร็วของการรับส่งข้อมูล ลองพิจารณาซื้อ External hard drive ที่มีการเชื่อมต่อแบบ Firewire มาใช้นะครับ จะความเร็วที่ 400 หรือว่า 800 ก็ได้ โดยดูว่าเครื่องเรารองรับ Firewire ได้ที่ความเร็วสูงที่สุดเท่าไหร่ เพราะจะเร็วกว่าการรับส่งข้อมูลด้วย USB 2.0 ครับ

    ต่อ External HD เข้ากับเครื่อง Mac ของเรา

    ex-hdd-icon.jpg

    โดยปรกติแล้วเราจะเห็นไดร์ฟใหม่จาก External HD ของเราโผล่ขึ้นมาอยู่บน desktop หลังจากต่อเข้ากับเครื่องเราแล้วไม่นานครับ

    จากนั้น เรียกใช้งาน Disk Utility

    disk-utility-icon_0.jpg
    จาก Applications/ Utilities

    เข้าสู่หน้าต่าง Disk Utility

    start.jpg

    หลังจากเข้าสู่การทำงานของ Disk Utility แล้ว เราจะเห็น External hard drive ของเราอยู่ใน list ทางด้านซ้ายมือด้วย จากนั้น มีขึ้นตอน การแบ่ง partition ดังนี้

    1. เลือก External Hard drive ของเราจากใน list
    2. ไปที่ tab partition
    3. ในตัวเลือก Volume Scheme ให้เลือกว่าเราต้องการจะแบ่ง hard disk ลูกนี้ออกเป็นกี่ partition (จากในตัวอย่าง ผมเลือกที่ 3 partition)

    ภาพรวมในการแบ่ง partition (ดูรายละเอียดการตั้งค่าแต่ละส่วนในหัวข้อถัดไป)

    มาดูภาพรวมกันก่อนนิดนึงครับ แล้วเดี๋ยวหัวข้อต่อไปจะว่ากันเรื่องวิธีตั้งค่าของแต่ละ partition
    partition.jpg

    จากที่ผมใช้อยู่ในการใช้งานทั่วไป ผมแบ่งดังนี้ครับ

    1. แบ่งพื้นที่ 10-20% สำหรับเก็บไฟล์ข้อมูลทั่วไป ในกรณีที่อาจจะเข้าถึงได้จาก windows ผมเลือก format เป็น FAT32 ครับ (และด้วยเหตุผลบางอย่าง ทำให้เราไม่สามารถใช้อักษรตัวเล็ก + ใช้เครื่องหมายอื่น ๆ ในชื่อของ HD ได้ ดังนั้น จะเป็นการดีถ้าตั้งชื่อให้เราอ่านเองแล้วรู้เรื่องง่าย ๆ ภายหลัง จะได้ไม่งงครับ)                                                                        
    2. แบ่งอีก 20-40% สำหรับเก็บ library ต่าง ๆ (ผมไม่เก็บ library พวก iTunes, iPhoto เอาไว้ในเครื่องครับ เลยต้องมีตรงนี้) format = HFS เพราะใช้เข้าถึงจากเครื่อง Mac ตัวเองได้เท่านั้น เลยไม่จำเป็นต้องเป็น FAT 32 ครับ และเข้ากันได้กับระบบไฟล์บน OS X ได้ดีกว่า เพราะ FAT 32 รองรับไฟล์ขนาดเกิน 4 GB ไม่ได้ ในขณะที่บน OS X มักจะสร้าง library ขึ้นมาขนาดใหญ่และอาจจะมีขนาดเกิน 4 GB เพื่อจัดการกับไฟล์ในแต่ละโปรแกรมครับ..         
    3. ที่เหลือ เอาไว้สำหรับ Time Machine - ถ้าใครต้องการจะใช้ Time Machine เพื่อการ backup แล้วล่ะก็.. การแบ่ง partition เตรียมเอาไว้ให้ Time Machine โดยเฉพาะเป็นสิ่งที่ควรจะทำมากครับ เพราะว่าเราสามารถจำกัดพื้นที่ backup สำหรับ Time Machine ได้                 

                            คือถ้าเราไม่แบ่ง partition แยกสำหรับ Time Machine เอาไว้ตั้งแต่ต้น โดยคิดว่าจะให้ใช้พื้นที่ backup ร่วมกับ partition ข้อมูลเดิมที่เรามีอยู่แล้วเนี่ย ... เจ้าTime Machine จะทะยอย backup กินพื้นที่ในส่วนที่เหลือของ HD มาเรื่อย ๆ ครับ จนเต็มพื้นที่ใน HD ไปในที่สุดเอง เพราะธรรมชาติแล้ว Time Machine ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบนี้ครับ - -

            
                            ถ้าเราแบ่ง partition เตรียมเอาไว้แล้ว อย่างในกรณีตัวอย่างนี้ อย่างมาก Time Machine ก็จะกินพื้นที่ในส่วนของ partition นี้จนหมด โดยไม่ไปรบกวน partition อื่น หรือว่าส่วนที่เหลือนอกจากนี้บน HD ของเรา ครับ =)

    การตั้งค่าของแต่ละ partition

    หลังจากที่เราเลือก Volume Scheme ได้แล้ว เราจะเข้าสู่การปรับแต่งในส่วนของแต่ละ partition
    มาดูกันที่ส่วนแรก (ล่างสุด) MyBookFAT32

    partition-fat.jpg
    ค่าพื้นฐาน - partition นี้สำหรับกรณีการแชร์ไฟล์ให้เข้าถึงได้จาก Windows ครับ

    • Name : MYBOOKFAT32
    • Format : MS-DOS(FAT)
    • Size : 35 GB

    partition-mac.jpg

    ค่าพื้นฐาน - partition นี้เก็บไฟล์ mac อย่างเดียว ไม่แชร์กับระบบอื่น

    • Name : MyBook-Mac
    • Format : Mac OS Extended (Journaled)
    • Size : 100 GB

    partition-tm.jpg

    ค่าพื้นฐาน - partition นี้สำหรับ Time Machine โดยเฉพาะ

    • Name : MyBook-TM
    • Format : Mac OS Extended (Journaled)
    • Size : 163.09 GB

    ถ้าเราต้องการจะแบ่ง partition มาก / น้อยกว่านี้ เราสามารถเลือก “+” หรือ “-” เพื่อปรับเพิ่ม / ลดจำนวน partition

    เมื่อตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อยหมดแล้ว เลือก หรือว่า Apply เพื่อยืนยัน

    เสร็จแล้วเราจะเห็น partition ตามที่เราตั้งเอาไว้เพิ่มมาอยู่ใน HD ของเรา

    done-1.jpg

    การแบ่ง partition บน hard drive ในเครื่อง (แบบไม่ต้องลบข้อมูลเก่าที่มีอยู่แล้ว)

    การแบ่ง partition บน hard drive ภายในเครื่อง โดยที่ไม่ต้องลบข้อมูลเก่าออก

    วิธีนี้ใช้สำหรับผู้ที่ต้องการแบ่งพื้นที่ของ hard drive (ต่อไปนี้ขอเรียกสั้น ๆ ว่า HD) ภายในเครื่องโดยที่ไม่อยากจะ format หรือว่าล้างข้อมูลเดิมที่มีอยู่นะครับ

    note :
    1. เป็นแบ่ง partition จาก Disk Utility นี้ จะเป็นการใช้งานแบบ OS X+OS X (เพื่อเก็บไฟล์, ลงอีก OSหรือ เพื่อแบ่งพื้นที่ให้กับ Time Machine เอาไว้ Backup) เท่านั้น ..ไม่ใช่การแบ่งเพื่อเตรียมติดตั้ง windows
    2. การปรับขนาด partition เดิมที่เคยมีอยู่แล้วเป็นขนาดใหม่ทุกครั้งมีความเสี่ยงสูง อาจจะทำให้ไฟล์เสียหาย หรือ drive เสียได้ ดังนั้นควรที่จะ backup ก่อนดำเนินการทุกครั้ง
    3. ซึ่งถ้าเราต้องการติดตั้ง windows ควรที่จะใข้ Bootcamp Assistant ในการแบ่งเตรียมพื้นที่เพื่อความสะดวก และตรงกับความต้องการมากกว่า

    มีขั้นตอนดังนี้

    ใส่แผ่น OS X Install DVD ที่เรามีอยู่เข้าไปในเครื่อง

    001-1_3.jpg

    จะขึ้นหน้าต่างนี้มา ไม่ต้องสนใจครับ ไปขั้นตอนต่อไปเลย

    บนเมนูบาร์ เลือก Apple/ Shut Down

    002-shutdown_3.jpg

    note : ต้องเลือก Shut Down เท่านั้น ห้ามเลือก Restart นะครับ แล้วรอให้เครื่องดับสนิท

    หลังจากเครื่องดับสนิทแล้ว ให้กดปุ่ม Power เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ + กดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง

    R0011206_3.jpg

    หลังจากเครื่องดับสนิทแล้ว ให้กดปุ่ม Power เปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ + กดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง

    แล้วรอสักพัก (จะเข้าสู่การทำงานของเครื่องช้ากว่าปรกติครับ )

    เลือกว่าจะ boot เครื่องจากที่ไหน

    R0011205_3.jpg

    จะขึ้นหน้าใหม่มาให้เราเลือกว่าจะ boot เครื่องเราขึ้นจากตรงไหน ให้เลือกไปที่รูปแผ่น Mac OS X Install DVD แล้วกด enter

    เข้าสู่หน้าต่างเลือกภาษาในการ Install

    R0011207_3.jpg

    เลือกเป็นอังกฤษแล้วกด enter ผ่านไปครับ

    มาที่หน้าต่าง Welcome ต้อนรับเตรียมลง OS X

    ไม่ต้องกด enter ผ่านไปตรงนี้นะครับ ให้ขึ้นไปที่ menu bar ด้านบน แล้วเลือก Utilities/ Disk Utility.. (ตามรูป)

    R0011208_3.jpg

    note : เหตุที่เราจะใช้ Disk Utility จากแผ่น Install DVD เพราะว่า มีบางคำสั่งที่ Disk Utility ปรกติในเครื่องเราทำไม่ได้ครับ ซึ่งก็คือ การแบ่ง partition โดยที่ข้อมูลเก่ายังอยู่

    ปรกติถ้าเรา Disk Utility ภายใน Application/ Utilities ที่อยู่ในเครื่องเราทำการ partition HD นั้น เค้าจะบังคับให้เราลบข้อมูลเดิมก่อนเสมอครับ

    จะเข้าสู่การทำงานของ Disk Utility บนแผ่น Install DVD

    R0011209_3.jpg

    ตรงนี้อาจจะใช้เวลาสักพักนึงนะครับ เพราะเป็นการรันโปรแกรมจากแผ่น ไม่ใช่จาก HD ของเรา ให้รอจนกว่าจะมีรายละเอียดของ Volume (partition) ต่าง ๆ ในเครื่องเราขึ้นมาอยู่ใน list ด้านซ้ายมือให้หมด ซึ่งตามปรกติแล้วจะมีอยู่ 1 Volume ชื่อ Macinstosh HD ครับ (ดู note)

    note : จากภาพผมได้ทำการแบ่ง partition เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว จึงขึ้นมาใน list ทางซ้าย 2 ตัว แทนที่จะมี Macintosh HD เพียงอันเดียวครับ

    เข้าสู่ขั้นตอนเตรียมการก่อน partition

    006-2_3.jpg

    สำคัญครับ ต้องค่อย ๆ ทำตรงนี้ทีละส่วน ตามนี้

    1. เลือก Volume ภายใน HD ของเรา (ถ้าเป็นเครื่องใหม่ มักจะใช้ชื่อว่า Macintosh HD หรือชื่ออื่นครับ ให้เลือก Volume ที่เราต้องการจะแบ่ง partition นั่นล่ะ)
    2. ไปที่ tab แรก (First Aid)
    3. เลือก Verify Disk ครับ - ตรงนี้จะเป็นการตรวจสอบ HD เราว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ ให้ทำตรงนี้ก่อนการ partition นะครับ ถ้าขึ้น error มา เค้าจะฟ้อง แล้วให้เราทำการ Repair Disk (ปุ่มอยู่ข้างล่าง Verify Disk) ก่อน

    หลังจาก Verify Disk เรียบร้อยแล้ว ไปที่ขั้นต่อไปได้เลย

    ไปที่ tab Partition

    note : ภาพตอน partition ผมไม่ได้ถ่ายเอาไว้ ให้ดูขั้นตอนเป็นลำดับแล้วค่อย ๆ ทำตามนะครับ ซึ่งปรกติคุณจะเห็นพื้นที่อยู่ HD ในเครื่องก้อนเดียว

    007-1_7.jpg

    จากนั้นมีวิธีแบ่ง Partition ดังนี้

    1.เลือก HD ของเราจากรายการทางด้านซ้ายมือ (อันบนสุดครับ)

    2.ไปที่ tab partition ซึ่งพอถึงตอนนี้แล้ว ที่คุณจะเห็นในกล่องสีเหลี่ยมกลางจอ (ใต้หัวข้อ Volume Scheme) คือ HD ของคุณครับ โดยมีพื้นที่สีฟ้า แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ ๆ มีการใช้งานไปแล้วอยู่ด้วย

    3.เลือกเครื่องหมาย + เป็นการเพิ่ม partition ใหม่ให้กับ HD ของเรา -- ถึงตอนนี้คุณจะเห็นว่า HD ของคุณถูกแบ่งออกเป็นสองก้อนแล้ว ~

    4.เลือกไปที่พื้นที่ใหม่ที่ถูกแบ่งขึ้นมาครับ

    5.หลังเลือก HD พื้นที่ใหม่ที่เราแบ่งไว้แล้ว ใส่รายละเอียดตามนี้

    • Name : ตั้งชื่อครับ ตามที่อยากได้ (ในรูปผมตั้งให้เป็น Leopard เพราะของเดิมผมเป็น Tiger แล้วต้องการจะแบ่ง partition เพื่อลง Leopard ใหม่ครับ)
    • Format : โดยปรกติจะเป็น Mac OS Extended -- ให้ตั้งไว้แบบนี้ ไม่ต้องไปเปลี่ยน
    • Size : คือพื้นที่ partition ที่เราต้องการ --ถ้าใครเล็งในขั้นตอนที่ 3 ไม่แม่น หรือว่าดูแล้วพื้นที่ขาด ๆ เกิน ๆ ก็ให้มากำหนดตรงนี้ได้ครับ ใส่ตัวเลขแบบลงตัวพอดีไปก็ได้ =)
    • note : ถ้าไม่แน่ใจตรงนี้ คุณสามารถดูลักษณะการใส่รายละเอียดของ partition ได้จาก การแบ่ง partition บน external HD ครับ

    6.เมื่อทำตามขึ้นตอนทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ให้เลือก Apply เพื่อยืนยันการ partition ครับ

    note : ระหว่างการแบ่ง partition นี้อาจจะมี error ขึ้นมาได้ครับ ส่วนใหญ่จะขึ้น error ว่า no space left on device / some files can not be moved ซึ่งมีสาเหตุเป็นได้จาก

    1. มีข้อมูลหรือไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ อยู่ในเครื่อง (1GB ขึ้นไป หรือกว่านั้นครับ... พวก library นี่ก็อาจจะเป็นส่วนนึงในนั้น แต่ถ้าคุณ partition บนเครื่องใหม่ ก็ไม่ต้องกังวลตรงนี้ครับ เพราะเครื่องใหม่ library น่าจะยังไม่ใหญ่นัก)
    2. มี partition ของ BootCamp ลง windows หรือว่าพวก Parallel, VM ware เอาไว้แล้วอยู่ในเครื่อง -- อันนี้สำคัญ เพราะถ้ามีตรงนี้ จะ partition ใหม่ไม่ผ่านครับ

    ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราก็จะได้ partition ใหม่มาไว้ในเครื่อง พร้อมใช้งานต่อได้เลย ~

    009-1_3.jpg

    จากขึ้นตอนนี้ผมลง อีก OS นึงไว้ในเครื่องครับ หลังจากนั้นแล้วลองกลับเข้ามาดู จะเห็นตามภาพด้านล่างนี้

    R0011212_3.jpg

    จากรูปผมลง Leopard ไปในอีก partition นึงแล้ว พร้อมกับมีการใช้งานไปแล้ว2-3 วันผลก็คือ เราจะเห็นพื้นที่สีฟ้าบอกให้เราทราบว่า partition นี้มีการใช้งานไปบ้างแล้ว

    หมดแต่เพียงเท่านี้ครับ
    note : ขออภัยที่ภาพไม่ชัด เพราะ capture หน้าจอตามปรกติไม่ได้ ต้องอาศัยถ่ายภาพเอาทีละตอน - -’

    Dock

    Dock : เป็นที่รวมทางลัดเข้าสู่โปรแกรม ไฟล์ หรือว่าแฟ้มงานต่าง ๆ ของเราบนต้านล่างของหน้าจอ Desktop (ประมาณเดียวกับ Task bar บน windows pc)

    Picture1_27.jpg

    Picture1-1_5.jpg

    ส่วนประกอบของ Dock

    ส่วนของ Application : เอาไว้เป็นทางลัดเปิดใช้งาน Applications ต่าง ๆ ที่เราต้องการ สามารถเพิ่ม app ลงตรงนี้ได้โดยการจับลากมาจากแฟ้ม Applications ได้โดยตรง (ดูภาพจากหัวข้อถัดไปประกอบ)

    Stacks : เป็นแฟ้มที่มีความสามารถพิเศษคือจะแสดงไอคอนไฟล์ล่าสุดในแฟ้มนั้นให้เราเห็น มีมากับ OS X อยู่แล้ว 2 ตัวเป็นพื้นฐานคือ Documents กับ Download หรือถ้าเราต้องการจะเพิ่ม folder เองก็สามารถลากลงมาวางไว้ตรงบริเวณนี้ได้

    Trash : ถังขยะเหมือนบน windows pc คือเป็นที่พักไฟล์ที่เราไม่ต้องการหรือว่าลบทิ้งมาแล้ว จะมาพักอยู่ในนี้จนกว่าเราจะสั่ง Empty Trash

    การ Empty trash ทำได้โดยคลิ๊กขวาที่ Trash แล้วเลือก Empty trash

    หรือจะคลิ๊กเข้าไปดูข้างในแล้วเลือก Empty จากในหน้าต่างของ Trash เลยก็ได้)

    การเพิ่ม icon ของ โปรแกรมที่เราต้องการลงบน Dock

    Picture3_24.jpg

    เข้าไปที่ Applications folder แล้วคลิ๊กเลือกโปรแกรมที่เราต้องการ แล้วลากมาวางไว้บน Dock ได้เลย

    note : การลากแล้ววางนี้สามารถใช้กับ Folder ปรกติที่เราใช้งานบ่อย ๆ ได้ด้วย โดยสามารถลากมาวางไว้ในบริเวณของ Stacks (เพื่อความเป็นระเบียบและไม่ไปปนกับไอคอนของ app)

    การลบ app บางตัวออกจาก Dock ก็ทำได้โดย

    1.คลิ๊กขวาที่ไอคอน app นั้น ๆ แล้วเลือก Remove from Dock
    Remove-from-dock.jpg
    2.หรือคลิ๊กบนไอคอน app แล้วลากออกมาวางทิ้งบนที่ว่างบน Desktop ได้เลย แล้วปล่อยเมาส์ เราจะเห็นไอคอนนั้นหายไป

    Picture2_23.jpg

    note :

    • ถึงไอคอน app จะหายไปจากบน Dock แล้ว แต่ตัวโปรแกรมจริง ๆ จะยังอยู่ใน Application folder ภายในเครื่อง
    • วิธีนี้สามารใช้กับการเอา folder ที่เราลากมาไว้บน Dock ออกได้ด้วย

    การปรับแต่ง Dock

    ถ้าใครไม่อยากได้ Dock แบบแข็ง ๆ ทื่อ ๆ แบบที่มีมาให้ตอนเริ่มแรกแล้ว เราสามารถเข้าไปปรับแต่งการแสดงผลของ Dock ได้ตามนี้ครับ

    เข้า System Preferences / Dock
    dock-pref.jpg
    หน้าต่างปรับแต่ง Dock
    dock-pref-2.jpg
    มีหัวข้อให้เราปรับได้ดังนี้

    • Size : ขนาดโดยรวมของ Dock
    • Magnification : เมื่อเลื่อนเมาส์เข้ามาใน Dock จะให้มีการขยายเพิ่มขึ้นกว่าปรกติแค่ไหน?
    • Position on screen : ตำแหน่งของ Dock เลือกได้ว่าจะให้อยู่ด้าน ซ้าย ขวา หรือว่าด้านล่างของหน้าจอ
    • Minimize using : เป็นเอฟเฟคตอนที่เราหดหน้าต่างของ finder หรือ app ต่าง ๆ (ดับเบิลคลิ๊กที่ Toolbar หรือกดปุ่มสีเหลืองบน Toolbar ก็ได้) ลองดูครับ
    • Animate Opening applications : ให้ไอคอน app ที่เราเลือกเปิดแสดงความเคลื่อนไหว (กระโดด) ให้เราดู =)
    • Automatically hide and show the Dock : ซ่อน Dock อัตโนมัติเมื่อนำเมาส์ออกจาก Dock ครับ (หรือเราจะซ่อนเองก็ได้โดยกด Option+Command+D กด shortcut ซ้ำอีกครั้งเป็นการนำ Dock กลับมา)

    [Dock Tip] การย้าย Dock แบบด่วน ๆ

    ปรกติเราจะเปลี่ยนตำแหน่ง Dock ได้จากใน System Preferences หรือจากบน Apple menu/Dock บนเมนูบาร์ .. ใน blog นี้ผมมีวิธีง่าย ๆ ในการย้าย Dock แบบไม่ต้องคลิ๊กเข้า Apple menu หรือว่าเปิด System Preferences มาแชร์ครับ

    move-dock.jpg

    วิธีการก็คือ ให้กด Shift ค้างเอาไว้ขณะที่คลิ๊กไปที่เส้นแบ่ง (ระหว่าง app กับ stacks) บน Dock ครับ ..แล้วลากเค้าไปด้านซ้าย - ขวา ของ Desktop ดู ยิ้ม

    update : เพิ่มการจัดการ Dock จาก Apple menu บนเมนูบาร์

    Finder

    Finder

    finder-icon_0.jpg

    เป็นโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการไฟล์ และทำทุกสิ่งทุกอย่างบนเครื่องของเราผ่านรูปแบบของหน้าต่าง (แบบเดียวกับ window explorer บน pc) เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่จะทำงานตลอดเวลา

    Picture6_2.jpg

    มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้

    Picture6-1_0.jpg

    1. มี menu bar อยู่ด้านบนจอ
    2. Dock อยู่ด้านล่าง
    3. Desktop อยู่ตรงกลางระหว่าง menu bar กับ Dock (ดู Basic : Desktop พื้นที่การทำงานของเรา ประกอบ)
    4. Finder window : หน้าต่างใหม่ที่เราเปิดขึ้นมา

    Picture5_5.jpg

    อ่านเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Finder ได้ที่
    http://support.apple.com/kb/HT2470?viewlocale=en_US

    Finder Toolbar

    มีอะไรใน Toolbar

    Toolbar : แถบที่อยู่ของเครื่องมือในโปรแกรม + ปรับรูปแบบการแสดงผล

    Picture1-2_2.jpg

    1.ปุ่ม ปิด / ย่อ / ขยาย หน้าต่าง Finder :

    Picture1-button_0.png

    • สีแดง : ปิด
    • สีเหลือง : ย่อ หรือว่าพับเก็บหน้าต่างนี้ไปอยู่บน Dock (ให้ผลเหมือนกับการ ดับเบิลคลิ๊กที่ toolbar กับทุกโปรแกรม)
    • สีเขียว : ขยายหน้าต่าง (แต่ละโปรแกรมอาจจะมีการขยายหน้าต่างตรงนี้ให้เป็นขนาดที่ไม่เท่ากัน)

    2.ปุ่ม back-forward : ทำงานเหมือนใน browser เราที่ถ้าเกิดเราต้องการจะย้อนกลับไปดูหน้าต่างอันที่แล้ว หรืออันถัดไป เราสามารถใช้ตรงนี้ช่วยได้

    Picture1-back_0.png

    3.ปุ่มปรับรูปแบบการแสดงผล :

    Picture1-view_0.png

    • แบบไอคอน : แสดง file / folder เป็นรูปไอคอน ซึ่งเราปรับเปลี่ยนขนาดเล็ก-ใหญ่ได้ (โดยการคลิ๊กขวาตรงที่ว่างในหน้าต่าง finder แล้วเลือก view option)         (กด Command+1)
    • Picture1_0.jpeg
    • note : สามารถเลือกให้แสดงขอมูลขนาดไฟล์ภาพได้ว่ากว้าง x ยาวเท่าไหร่ได้ด้วย
    • Picture8_2.jpg
    • แบบลิสรายชื่อ : แสดงลิสรายชื่อไฟล์เรียงกันภายในแฟ้มเดียว ไม่แสดงความต่อเนื่องจากแฟ้มอื่น ๆ รายละเอียดของแต่ละไฟล์ได้ค่อนข้างครบถ้วน (กด Command+2)
    • Picture2_0.jpeg
    • แบบคอลัม (ลิสรายชื่อแบบต่อเนื่อง) : แสดงไฟล์เป็นชั้น ๆ ไม่แสดงรายละเอียดในภาพรวม แต่จะขึ้น preview ใหกับไฟล์สุดท้ายที่เราเลือกอยู่เท่านั้น เพราะสำหรับเอาไว้จัดการไฟล์แบบเห็นภาพรวม (Command+3)
    • Picture3_2.jpeg
    • แบบ cover flow : เหมือนใน iTunes แสดงรูปของ file เลื่อนไปมาได้ เหมาะสำหรับค้นหาไฟล์ด้วยการใช้สายตามองที่รูปแบบของไฟล์มากกว่าดูรายละเอียด (เช่นขนาด, ชนิด ... อื่นๆ ) (Command+4)
    • Picture4_0.jpeg

    4.ปุ่ม Quicklook : เป็นการเปิดดูไฟล์ต่าง ๆ ขึ้นมาผ่าน Quicklook (หรือกด Space bar) โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิด application ของไฟล์นั้น ๆ ขึ้นมา สะดวกในการเอาไว้ดูไฟล์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งโดยปรกติแล้วจะเปิดไฟล์ได้แทบทุกอย่างที่ OS X รู้จัก แต่ก็จะมีคนที่เขียน plug in สำหรับ quicklook เอาไว้ให้โหลดติดตั้งเพิ่มเติม สำหรับเพิ่มความสามารถให้ Quicklook เปิดไฟล์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น

    เข้าไปดูได้จาก http://www.quicklookplugins.com/ (ผมยังไม่เคยลองนะครับ.. ไม่รับประกันใด ๆ เน้อ แบร่..)

    Picture1-qlook_0.png

    5.ปุ่ม action : เอาไว้สำหรับให้เราสั่ง finder ให้ทำตามคำสั่งเรา เช่น สร้าง folder ใหม่ .. (เราจะเห็นปุ่มเฟืองนี้ในอีกหลาย ๆ application ครับ ประมาณเดียวกัน คือสั่งให้ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง)

    Picture1-action_0.png

    กดเข้าไปแล้วจะเจอเมนูแบบนี้ (คำสั่งคล้าย ๆ กับการกดคลิ๊กขวา)

    Picture1-action-menu_0.jpg
    อธิบาย

    • New Folder : การสร้างแฟ้มเปล่าขึ้นมาใหม่
    • New Burn Folder : สร้างBurn Folder ขึ้นมาใหม่ (สำหรับเตรียมเอาไว้เขียนลงแผ่น)
    • Open : เปิดไฟล์ที่เลือกอยู่ บนโปรแกรมที่เครื่องเลือกให้เรา
    • Open With : เปิดไฟล์ที่เลือกอยู่ บนโปรแกรมที่เราเลือก
    • Move to Trash : ส่งไฟล์ที่เลือกอยู่ไปที่ถังขยะ
    • Get Info : ดูรายละเอียดของไฟล์ (ดู Basic : Get Info)
    • Compress “ไฟล์/แฟ้มที่เลือกอยู่” : สร้าง Zip ไฟล์ให้กับไฟล์ที่เลือกอยู่ เพื่อ
      • ไฟล์ที่ถูกบีบอัดให้ขนาดเล็กลง
      • รวมหลาย ๆ ไฟล์เป็นไฟล์เดียวเพื่อง่ายต่อการจัดเก็บ หรือว่าเคลื่อนย้ายไปที่อื่น
    • Duplicate : สร้างสำเนาขึ้นมาจากไฟล์ต้นฉบับที่เราเลือกอยู่
    • Make Alias : สร้างทางลัด (Alias หรือว่า Shortcut) ไปที่ไฟล์ / แฟ้มที่เราเลือกอยู่
    • Quick Look “ไฟล์ที่เราเลือกอยู่” : เปิดดูไฟล์ที่เราเลือกจาก Quick Look ( tip : เรากดใช้ Quick Look ได้โดยตรงเลยจากการเลือกไฟล์ แล้วกด Space bar ครับ)
    • Copy “แฟ้ม/ไฟล์ที่เราเลือกอยู่” : เป็นการ Copy ไฟล์ไปไว้บน Clipboard เตรียมนำไป Paste ลงที่อื่น
    • Label : เพิ่มสีให้กับไฟล์ / แฟ้มของเรา เพื่อช่วยให้แตกต่างจากอันอื่น เอาไว้สำหรับเน้นไฟล์ / แฟ้มสำคัญ ให้สะดวกต่อการค้นหา หรือว่าเข้าถึงในภายหลัง

    6.ช่องค้นหา : ค้นหาไฟล์ในเครื่อง เป็นแบบเดียวกับ spotlight ครับ

    Picture1-search_0.png

    7.ปุ่ม Hide toolbar : เอาไว้ซ่อน Side bar + Toolbar ครับ กดแล้วหน้าต่าง Finder ของเราจะเหลือโล้น ๆ แบบนี้
    Picture7_2.jpg

    8.ชื่อแฟ้ม : แสดงชื่อแฟ้มปัจจุบันที่เราเปิดอยู่ โดยเราสามารถคลิ๊กขวาแล้วเลือกไปที่แฟ้มที่อยู่ถัดไป (ทั้งก่อนหน้า และระดับที่ลึกลงไปได้) แบบนี้

    Picture10-1_1.jpg

    หรือจะใช้ตอนที่เราปิด Sidebar กับ Toolbar ไว้ก็ได้ครับ แบบนี้

    Picture9-1_4.jpg

    Side Bar : แสดงรายการของที่อยู่ของไฟล์ + แสดง HD Volume จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่(ทั้งโดยตรง หรือภายใน network ถ้าเครื่องนั้นเปิดให้สามารถเข้าถึงได้) รวมถึง smart folder ต่าง ๆ ด้วย

    Status bar : บอกสรุปให้เราทราบว่า folder ที่เราดูอยู่นั้นมีกี่ไฟล์ และมีพื้นที่เหลือบน HD เท่าไหร่

    http: //support.apple.com/kb/HT2470?viewlocale=en_US

    Finder Side Bar + Status bar

    มีอะไรใน Side bar + Status bar

    Side Bar : แสดงรายการของที่อยู่ของไฟล์ + แสดง HD Volume จากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่(ทั้งโดยตรง หรือภายใน network ถ้าเครื่องนั้นเปิดให้สามารถเข้าถึงได้) รวมถึง smart folder ต่าง ๆ ด้วย

    sidebar-1.jpg

    อธิบาย
    Devices : เป็นส่วนของ Hard disk หรือว่า Volume อื่น ๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง หรือเชื่อมต่อกับเครื่องของเราอยู่ในขณะนี้ (Volume : partition หรือว่า section บน Hard disk)

    Places : สำหรับการเข้าถึงส่วนต่าง ๆ บนเครื่องของเรา

    • Desktop : Desktop ของเรา
    • Home : จากภาพเป็นชื่อผมเอง ยิ้มปากกว้าง นี่คือที่เราเรียกว่า Home folder นะครับ (ถึงแม้จะไม่ใช้ชื่อว่า Home ตรง ๆ ก็เถอะนะ - -a )ปรกติจะเป็นชื่อของเราครับ ซึ่งเราจะตั้งเองได้ตอนที่ Install OS X - ไม่ควรเปลี่ยนชื่อนี้เองทีหลังนะครับ เพราะจะทำให้ system หรือว่าระบบหลังบ้านของเรารวนได้ ดูรายละเอียดได้ในหัวข้อถัดไปครับ
    • Applications : เป็นแฟ้มเอาไว้เก็บ applications หรือว่าโปรแกรมที่เรามีอยู่ในเครื่องทั้งหมด (เวลา install โปรแกรมเค้าจะบังคับให้เอามาลงในนี้ครับ)
    • Documents : ที่เก็บไฟล์ของเราที่เราสร้างขึ้นภายหลัง (แบบเดียวกับ My Documents บน window pc ครับ)

    Search For : เป็นที่รวม Smart Folder เอาไว้สำหรับค้นหาไฟล์ตามเงื่อนไขที่เรากำหนด

    • Today : หาไฟล์สำหรับวันนี้เท่านั้น
    • Yesterday : หาไฟล์ที่จัดการไปเมื่อวาน
    • Past Week : หาไฟล์จากรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
    • All Images : ไฟล์ภาพทั้งหมดที่เก็บเอาไว้ในที่ต่าง ๆ ของเครื่องเรา
    • All Movie : ไฟล์หนังทั้งหมดที่เก็บเอาไว้ในที่ต่าง ๆ ของเครื่องเรา
    • All Documents : ไฟล์งานทัั้งหมด (ทั้งภาพ หนัง หรืออื่น ๆ ) โดยจะมีช่อง Search ให้เรา “ค้นหา” จาก “ผลการค้นหาที่ได้” อีกทีครับ - -a

    tip : เราสามารถที่จะปิด เปิด เพื่อเลือกการแสดงผลเป็นส่วน ๆ ได้ครับ ช่วยให้ดูไม่รก และสบายตามากขึ้น โดยการกดที่ลูกศรเล็ก ๆ ด้านหน้าหัวข้อครับ

    Picture1-1hide.jpg

    รายละเอียดของ Home Folder

    Picture1-user.jpg

    Home Folder (หรือว่า icon รูปบ้านที่มีชื่อของเราตั้งเอาไว้) เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของเราครับ ยิ้มปากกว้าง คือมีทุกสิ่งทุกอย่างภายใต้ Account นั้น ๆ บนเครื่อง แต่ละ User account จะมีชื่อ Home Folder ตามชื่อที่เราตั้งเอาไว้ให้แต่ละ Account ครับ ประมาณเดียวกันกับของเรา ซึ่ง แต่ละคนมีข้อมูลภายในไม่เหมือนกัน

    มีรายละเอียดดังนี้

    • Desktop : เป็นทางเข้า Desktop เราอีกทางหนึ่งครับ
    • Documents : ไปที่ Documents ของเรา
    • Downloads : ไปที่ Downloads Stack ของเรา (ปรกติไฟล์ทุกอย่างที่เราโหลดมาจะมาลงในนี้ ถ้าเราไม่ได้ตั้งให้ไปลงที่อื่นนะครับ)
    • Library : ไฟล์ที่จะถูกใช้โดย OS ของเราครับ รวมไปถึงพวกฟ้อนท์ที่เราลงเองทีหลัง กับการตั้งค่า preferences ต่าง ๆ ที่เป็นของเราเองด้วย
    • Movie : หนังของเรา (เป็นที่เซฟงานจาก iMovie ของเราด้วยครับ)
    • Pictures : เป็นที่เก็บไฟล์รูปของเรา ทั้งจาก iPhoto และ Aperture
    • Music : เป็นที่เก็บเพลงจาก GarageBand และ iTunes
    • Public : แฟ้มตรงนี้สามารถเข้าถึงจากบุคคลอื่นได้ภายใน network เอาไว้สำหรับแชร์ข้อมูลกันครับ
    • Sites : สำหรับเอาไว้ใส่เวปส่วนตัว

    Status bar

    status-bar-1.jpg

    บอกสรุปให้เราทราบว่า folder ที่เราดูอยู่นั้นมีกี่ไฟล์ และมีพื้นที่เหลือบน HD เท่าไหร่
    และในบางกรณีจะบอกด้วยว่าเราใช้ view แบบไหนอยู่ และ สามารถแก้ไขไฟล์ในแฟ้มที่ดูอยู่ได้หรือไม่

    status-bar-iconview.png แสดงว่าเราดูแบบ icon view อยู่
    status-bar-notallow.png ไม่อนุญาตให้ทำการแก้ไขข้อมูลบนแฟ้มที่เปิดอยู่นี้

    เรายังลากเปลี่ยนขนาดของหน้าต่าง Finder ได้จากการคลิ๊กที่มุมขวาล่างของหน้าต่างค้างเอาไว้แล้วลากได้ด้วย

    status-bar-1-2.jpg

    Get Info

    Get Info : ดูรายละเอียดไฟล์

    Get Info : เป็นการแสดงรายละเอียดของไฟล(แบบละเอียดยิบ ๆ จริง ๆ) โดยเราสามารถเลือกดูรายละเอียดของไฟล์/แฟ้ม ต่าง ๆ ได้จากการคลิ๊กขวา แล้วเลือก Get Info หรือ กด Command+i

    Picture1_7.jpg
    อธิบาย

    ส่วน icon และ Spotlight Comment :

    ตรงนี้นอกจากจะแสดง icon โปรแกรม พร้อมขนาดให้เราดูคร่าว ๆ ยังสามารถใส่ Comment สำหรับ Spotlight ไว้ค้นหาได้อีกด้วย

    Picture3_14.jpg

    จากภาพผมลองดูว่า ถ้าใส่ comment เป็นภาษาไทยไปแล้ว Spotlight จะหาไฟล์นี้เจอหรือไม่

    Picture4_5.png
    และนี่คือผลที่ได้ครับ หาเจอจริง ๆ ด้วย ยิ้ม

    General :

    ข้อมูลทั่วไปของไฟล์

    Picture1-gen_0.png

    • Kind : ชนิดของไฟล์ เช่น JPEG, PNG .. เป็นต้น
    • Size : ขนาดของไฟล์
    • Where : ตอนนี้ไฟล์นี้อยู่ที่ไหน (Path)
    • Created : ถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่
    • Modified : มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่
    • Label : ใส่สีให้กับชื่อของ ไฟล์ / แฟ้ม เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหา

    มีตัวเลือกเพิ่มเติมอีก 2 หัวข้อดังนี้

    • Stationery Pad : เลือกตัวนี้เพื่อเป็นไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งจะสร้างสำเนาขึ้นมาใหม่ทุกครั้งที่เราเปิดไฟล์ขึ้นมา - เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้มาแก้ไขไฟล์นี้อีก หรือถ้าจะแก้ ก็ให้ไปแก้ในไฟล์สำเนาที่ถูกสร้างขึ้นมาแทน (มีอธิบายเพิ่มเติมหลังจากหัวข้อ เกี่ยวกับ Locked ไฟล์)
    • Locked : เป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงไฟล์ในอนาคต โดยจะขึ้นกล่องข้อความมาเตือนทุกครั้งถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกับไฟล์ (อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป)

    ดู Lock & Stationery Pad ประกอบ

    หัวข้อ More Info :

    รายละเอียดเพิ่มเติมของไฟล์ที่เราเลือก จะเปลี่ยนไปตามประเภทของไฟล์ ซึ่งแต่ละชนิดของไฟล์จะมีหัวข้อรายละเอียดในส่วนของ More info นี้ไม่เหมือนกัน

    more info : ไฟล์ภาพ

    Picture1-more-info_0.jpg
    more info : ไฟล์ pdf

    more-info-pdf_0.jpg
    more info : ไฟล์ Pages

    more-info-pages_0.jpg
    - -’ ไม่ทราบเหมือนกันครับว่าทำไมมีมาสองบรรทัด

    หัวข้อ Name & Extension

    Picture2-name_0.jpg
    เป็นที่เอาไว้ดูชื่อเต็มของไฟล์ + นามสกุล
    Hide extension : เราสามารถเลือกที่จะไม่แสดงนามสกุลไฟล์ได้จากตรงนี้

    หัวข้อ Open with :

    Picture2-open-w_0.jpg

    เลือกว่าจะเปิดไฟล์นี้กับโปรแกรมอะไร เป็นค่ามาตรฐาน มีผลกับไฟล์แบบเดียวกันที่เหลือด้วย เช่นถ้าเราเปลี่ยนให้เปิดไฟล์ภาพจาก QuickTime ไฟล์ภาพที่เหลืออื่น ๆ ในเครื่องเราจะถูกเลือกให้เปิดผ่าน QuickTime ด้วยเหมือนกัน

    หัวข้อ Preview :

    Picture2-preview_0.jpg
    เป็นการดูภาพตัวอย่างของไฟล์คร่าว ๆ

    note : จะเปิดหรือปิดตรงนี้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วผมดูเอาจากใน Quick Look หรือไม่ก็บน Finder แบบ Column view อยู่แล้ว

    หัวข้อ Sharing & Permission :

    Picture2-permission_0.jpg
    เป็นการกำหนด Permission ว่าไฟล์นี้ถูกเข้าถึงได้ โดยใคร และทำอะไรได้บ้าง
    (จากภาพตัวอย่าง จะเห็นว่า ตัวผมเองมีสิทธิแก้ไขไฟล์นี้แต่เพียงผู้เดียว โดยที่คนอื่นนั้นดูได้ แต่แก้ไขไม่ได้ครับ)

    View Options

    View Options : เป็นคำสั่งสำหรับปรับรูปแบบการแสดงผลของไฟล์ต่าง ๆ บน Finder เพื่อให้ค้นหา / จัดการกับไฟล์ได้สะดวกขึ้น

    เราสามารถเข้าสู่ View Option ได้จากการคลิ๊กขวาบนที่ว่างในหน้าต่าง finder ที่เราต้องการจะปรับ หรือว่ากด Command+J

    Picture2-1_7.jpg

    โดยปรกติแต่ละ View จะมี View Options ไม่เหมือนกันดังนี้

    View Options บน Icon View

    view-1.jpg
    มีตัวเลือกดังนี้

    • Always open in Icon view : เลือกเพื่อที่หน้าต่างใหม่ต่อจากนี้จะถูกเปิดในแบบ Icon view
    • Icon size : ปรับขนาดของ icon
    • Grid spacing : ปรับช่องไฟระหว่างตัว icon
    • Text size : ปรับขนาดตัวอักษรของชื่อไฟล์
    • Label option : เลือกว่าจะให้ชื่อไฟล์อยู่ตรงไหน ระหว่าง อยู่ด้านขวา หรือใต้ icon
    • Show item info : แสดงรายละเอียดของไฟล์ ถ้าเป็นไฟล์รูปก็จะบอกขนาด กว้าง x ยาว (ส่วนไฟล์อื่น ๆ แสดงบ้างไม่แสดงบ้าง - -’)
    • Show Icon preview : แสดงรูปเป็น thumbnail เล็ก ๆ แทน icon มาตรฐาน
    • Arrange By : รูปแบบการเรียง icon (ดู Basic : การจัด Icon บน Desktop ประกอบ)
    • Background : พื้นหลังของหน้าต่าง finder มีให้เลือก 3 ตัวคือ
      • White : สีขาว
      • Color : เลือกสีอื่น ๆ
      • Picture : ใส่รูปแทนสีพื้น
    • Use as Defaults : เลือกเพื่อที่จะเอาค่าที่เราตั้งนี้ไปใช้เป็นค่าเริ่มต้นกับหน้าต่างใหม่ที่จะถูกเปิดขึ้นมาต่อไป

    View Options บน List View

    view-2.jpg

    • Always open in list view : เลือกเพื่อที่หน้าต่างใหม่ต่อจากนี้จะถูกเปิดในแบบ list view
    • Icon size : ปรับขนาด Icon (เล็ก - ใหญ่)
    • Text size : ปรับขนาดตัวอักษรที่แสดงบน list
    • Show column : แสดงรายหัวข้อคอลัมน์ในเรื่องต่าง ๆ มีดังนี้
      • Date Modified : วันที่แก้ไขครั้งล่าสุด
      • Date Created : วันที่สร้างไฟล์นี้ขึ้น
      • Size : ขนาดไฟล์
      • Kind : ประเทภของไฟล์ เช่น JPG, Doc... เป็นต้น
      • Version : เอาไว้แสดงเวอร์ชั่นของ application ครับ หลัก ๆ จะใช้ดูในแฟ้ม application
      • Comments : เอาไว้แสดง Comment ที่เราใส่เข้าไปในไฟล์ในส่วนของ Spotlight comment ใน Get Info
      • Use relative dates : ถ้าเลือกไว้ จะใช้คำว่า Today แทนวันที่ล่าสุด

    relative-date.jpg

      • Calculate all size : คำนวณขนาดไฟล์สำหรับ folder ต่าง ๆ ด้วย ซึ่งปรกติถ้าไม่เลือกตรงนี้ เค้าจะไม่คำนวณขนาดไฟล์สำหรับ folder ต่าง ๆ ให้ (ถ้าในแฟ้มมีไฟล์ใหญ่มาก ก็จะคำนวณนานขึ้นไปอีก )

    calculate-size.jpg

      • Show Icon preview : แสดงรูปเป็น thumbnail เล็ก ๆ แทน icon มาตรฐาน
    • Use as Defaults : เลือกเพื่อที่จะเอาค่าที่เราตั้งนี้ไปใช้เป็นค่าเริ่มต้นกับหน้าต่างใหม่ที่จะถูกเปิดขึ้นมาต่อไป

    View Option บน Column View

    view-3.jpg

    • Always open in list view : เลือกเพื่อที่หน้าต่างใหม่ต่อจากนี้จะถูกเปิดในแบบ list view
    • Text size : ปรับขนาดตัวอักษร
    • Show Icons : เลือกว่าจะแสดง Icon หน้าชื่อหรือไม่
    • Show Icon preview : แสดงรูปเป็น thumbnail เล็ก ๆ แทน icon มาตรฐาน
    • Show preview column : แสดงช่องสำหรับ preview ไฟล์ใน column สุดท้าย เอาไว้บอกรายละเอียดของไฟล์ที่เราเลือกคร่าว ๆ พร้อมทั้งแสดงรูป ใน preview ให้ดูด้วย

    View Option บน Cover Flow view

    view-4.jpg

    • เหมือนใน List View

    Locked & Stationery Pad

    Locked & Stationery Pad

    ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายพร้อมวิธีการใช้งาน Locked กับ Stationery Pad จากใน Get Info ครับ

    • Stationery Pad : เลือกตัวนี้เพื่อเป็นไฟล์ต้นฉบับ ซึ่งจะสร้างสำเนาขึ้นมาใหม่ทุกครั้งที่เราเปิดไฟล์ขึ้นมา - เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการให้มาแก้ไขไฟล์นี้อีก หรือถ้าจะแก้ ก็ให้ไปแก้ในไฟล์สำเนาที่ถูกสร้างขึ้นมาแทน (มีอธิบายเพิ่มเติมหลังจากหัวข้อ เกี่ยวกับ Locked ไฟล์)
    • Locked : เป็นการป้องกันการเปลี่ยนแปลงไฟล์ในอนาคต โดยจะขึ้นกล่องข้อความมาเตือนทุกครั้งถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกับไฟล์ (อธิบายเพิ่มเติมในหัวข้อถัดไป)

    เกี่ยวกับ Locked ไฟล์

    Picture1-lock.jpg

    ถ้าเราเลือก Locked ไฟล์ จะมีสัญลักษณ์รูปกุญแจเล็ก ๆ โผล่มาตรงด้านล่างซ้ายมือของ icon

    Picture1-file-lock.png

    ถึงเราล๊อกไฟล์เอาไว้ เพราะไม่อยากให้ถูกลบ หรือมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขภายหลังอีก แต่จริง ๆ แล้วเราสามารถทำได้ โดยจะมีกล่องข้อความมาถามยืนยันกับเราก่อน ว่าต้องการเปลี่ยนแปลงไฟล์นี้จริง ๆ ใช่หรือไม่

    เช่น ถ้าผมต้องการจะเปลี่ยนขนาดไฟล์ที่ถูกล๊อกเอาไว้แล้วเซฟทับไฟล์เดิม จะมีกล่องข้อความมาถามยืนยันผมมาแบบนี้

    Picture1-warning-msg.png
    ถ้าเราจะแก้ไขจริง ๆ ให้เลือก Overwrite

    หรือถ้าเราจะเอาไฟล์ที่ถูกล๊อกเอาไว้ลงถัง จะถูกเตือนแบบนี้

    Picture1-move-locked-2-trash.png
    กรณีเดียวกับการ empty trash ถ้าใน trash มีไฟล์ที่ถูกล๊อคอยู่ จะมีกล่องข้อความขึ้นมาเตือนเรา ว่ามีไฟล์ที่ถูกล๊อกอยู่ในถังขยะนะ ยังจะต้องการ Empty trash ต่อไปจริง ๆ หรือเปล่า?

    Picture1-warning-msg-2.png
    ซึ่งคำเตือนทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมา ถ้าเราต้องการแก้ไขไฟล์จริง ๆ ก็สามารถทำได้ โดยการเลือก Continue

    การใช้ Stationary Pad

    ตัวอย่าง

    stapad-1.jpg

    1. เข้า Get Info แล้วไปเลือก Stationery Pad
    2. กดดับเบิลคลิ๊กเพื่อทำการเปิดไฟล์ของเราขึ้นมา

    stapad-2.jpg

    ที่ผมจะได้คือ ไฟล์ที่ผมเลือกเอาไว้ตอนต้น จะถูกสร้างสำเนาขึ้นมาใหม่ พร้อมกับเปิดขึ้นมาใหม่เอง บนโปรแกรมที่เหมาะสมครับ .. ถ้าเรากดดับเบิลคลิ๊กไปเรื่อย ๆ เราก็จะได้สำเนาไฟล์สร้างขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ ครับ =)

    สรุป

    จากตัวอย่างที่ผมยกมา ถ้าเราไม่อยากให้ไฟล์ต้นฉบับมีการแก้ไขใด ๆ อีก ควรจะเลือก Stationery Pad ไว้ด้วยจะดีที่สุดครับ เพราะจะมีการสร้างสำเนาให้กับไฟล์ต้นฉบับอัตโนมัติทุก ๆ ครั้งที่ถูกเปิดขึ้นมาใหม่ ซึ่งน่าจะใช้ได้ดีกับการทำงานกับคนเยอะ ๆ ที่บางครั้งเค้าก็เลือกที่จะไม่อ่านคำเตือนที่โผล่ขึ้นมาบนเครื่อง ถ้าเราเลือกแค่ Locked ไฟล์เอาไว้เพียงอย่างเดียว และเจ้า Stationery Pad นี้ยังมีข้อดีที่ดีกว่ามาทำการ save as ภายหลังนะครับ เพราะอาจจะลืมได้ เป็นการป้องกันการแก้ไขได้ดีในระดับนึง ยิ้ม

    Sharing & Permission

    การกำหนดสิทธิผู้ใช้งานให้กับไฟล์ต่าง ๆ

    Permission คือการกำหนดสิทธิ์ในการจัดการกับไฟล์ / แฟ้ม ต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่เราต้องการ โดยทั่วไปแล้ว เราผู้ซึ่งเป็นเจ้าของเครื่องที่เป็น account แบบ admin จะมีสิทธิ์ใช้งานแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ได้หมดทุกอย่างอยู่แล้ว

    แต่ในบางกรณีเราอาจจะต้องการเปลี่ยน permission ใหม่เพื่อ

    • ทำงานร่วมกับ user account อื่น ๆ และต้องการกำหนดสิทธิ์เฉพาะให้แต่ละ account นั้น เช่นไม่ให้ผู้อื่นสามารถแก้ไขไฟล์ / แฟ้มนั้น ๆ ได้ โดยอ่านได้เพียงอย่างเดียว
    • ถ้าเกิดค่า permission ผิดปรกติ หรือไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น ทำให้เราไม่สามารถแก้ไขไฟล์ต่าง ๆ ได้ เราต้องทำการตั้งค่า permission ใหม่ให้กับตัวเราเอง

    ดู System Preferences : การสร้าง user account ประกอบ

    ตัวอย่างในการสร้างผู้ใช้และกำหนดสิทธิ์ขึ้นมาใหม่
    ส่วนใครที่มีผู้ใช้อยู่แล้ว อยากแค่ต้องการทราบวิธีกำหนด permission ก็ดูวิธีปลดล๊อกเพื่อทำการแก้ไขในขั้นตอนแรก แล้วข้ามไปดูขั้นตอนสุดท้ายได้เลยครับ

    คลิ๊กขวาที่ไฟล์ / แฟ้ม ที่ต้องการกำหนด permission ใหม่ เลือก Get Info

    Picture1_10.jpg

    ในหน้าต่าง Get Info เลื่อนลงมาดูด้านล่างสุดในหัวข้อ Sharing & Permissions
    ถ้าเครื่องหมายกุญแจล๊อกอยู่ให้ทำการปลดล๊อก โดยคลิ๊กเข้าไปที่รูปกุญแจ แล้วเราจะเจอหน้าต่างถาม log in กับ password เพื่อยืนยันว่าเราเป็น admin

    Picture2-1_6.jpg
    ให้กรอก user name กับ password ของเราเข้าไปครับ จากนั้นกด OK

    เลือก “+” เพื่อสร้าง account ผู้ใช้ขึ้นมาใหม่

    Picture3_17.jpg

    เลือกเพิ่มรายชื่อจากฐานข้อมูลใน Address Book
    Picture4-2_0.jpg

    1. เลือกจากกลุ่มผู้ใช้จากรายการ จะเป็นจาก user account ในเครื่องเรา หรือจาก Address Book ก็ได้
    2. จากนั้นเลือกเพิ่มรายชื่อ (เลือกได้มากกว่า 1 ชื่อ)
    3. กด Select เพื่อยืนยัน

    ถ้าเราต้องการสร้าง User account ขึ้นมาใหม่เลย ให้เลือก New Person (ในตัวอย่างนี้ ผมเลือกสร้าง New Person ขึ้นมาใหม่ครับ)

    หน้าต่างยืนยันสร้าง user account ใหม่
    Picture4-1_3.jpg
    ให้กรอกชื่อ กับ password เข้าไปเพื่อสร้าง account ใหม่

    เลือก account ใหม่ที่เพิ่มเข้ามา
    Picture5_8.jpg
    เข้าไปดูที่ System Preferences จะพบว่ามี User account ใหม่ที่เราเพิ่งสร้างอยู่ในรายการแล้วด้วย

    Picture7_5.jpg

    เลือกเปลี่ยนสิทธิ์การใช้งานไฟล์จากใน Get Info : Sharing & Permission

    Picture9_1.jpg

    เลือกผู้ใช้ที่เราต้องการกำหนดสิทธิ์ (Privilege)โดยปรกติจะมีให้เลือก 2 ตัวคือ

    • Read only : อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไฟล์ไม่ได้
    • Read & Write : อ่านและแก้ไขไฟล์ได้

    วิธีแก้ไขก็ให้คลิ๊กไปที่รายการที่ต้องการจะเปลี่ยนได้เลย (ถ้ากุญแจล๊อกอยู่ อย่าลืมปลดล๊อกออกก่อนถึงจะแก้ตรงนี้ได้)

    Picture10_2.jpg

    ถ้าต้องการเปลี่ยน permission ให้กลับเป็นเหมือนเดิมก่อนการเปลี่ยนแปลง ให้เราเลือกที่ปุ่ม action (รูปเฟืองที่อยู่ด้านล่าง)แลืวเลือก Revert changes

    Picture13_1.jpg

    หลังจากเลือกเรียบร้อยแล้ว อย่าลืมทำการล๊อกกุญแจโดยการคลิ๊กไปที่เครื่องหมายแม่กุญแจอีกครั้ง เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงจากบุคคลอื่น

    note : ถ้าไม่ต้องการเพิ่มสิทธิ์ให้กับ user ที่เลือกไว้อีกต่อไปแล้ว ให้เลือกเครื่องหมาย “-” เพื่อลบ user นั้นออกจาก permission list ของไฟล์ .. ซึ่งจะไม่ใช่การลบ user ออกจากเครื่อง

    ถ้าต้องการลบ user นั้น ๆ ออกจากเครื่องไปเลย ให้เข้าไปจัดการลบออกจาก System Preferences / Accounts ครับ

    Finder-Tips & Tricks

    Tips & Tricks ในการใช้งาน Finder 

    Arrange Icon แบบทันใจ

    พอดีเมื่อหลายวันมานี้ผมเจอ Folder ที่ได้มา Icon มันทับๆกันอยู่เยอะ เกะกะไม่เป็นระเบียบ

    ด้วยความที่มันแกะกะนี่แหละทำให้รำคาญตา เลยนำ Shortcut สำหรับการจัดเรียง Icon 
    มาแนะนำครับ ตามนี้เลย
    ลองเอามาใช้ดูนะครับ น่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ แจ่ม

    Drag & Drop - การลากแล้ววาง ที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง #2

    Drag & Drop - ลากแล้ววาง ที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง # 2

    drag-drop-3_2.jpg

    ให้เราลองคลิ๊ก แล้วลากไฟล์ (จะเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มก็ได้) มาค้างเอาไว้เฉย ๆ บนไอคอนของแฟ้มนะครับ (โดยที่ยังคงกดคลิ๊กเมาส์ค้างไว้บนไฟล์นั่นล่ะ) รอสัก 1-2 วินาที ตัว Finder จะเปิดหน้าต่างใหม่ของแฟ้มนั้นขึ้นมาครับ

    เราสามารถนำวิธีนี้ไล่เปิด Finder ไปยังแฟ้มหรือว่าที่อยู่ใหม่ที่ต้องการได้ โดยวิธีนี้ ค่อนข้างสะดวก ถ้าเกิดเราลืมหรือว่าเผลอปิดหน้าต่าง Finder ที่เราเปิดรอเอาไว้ไปแล้ว

    note : ระหว่างที่คลิ๊กรอบน ไอคอนของแฟ้ม ปรกติจะใช้เวลาประมาณ 1-2 วินาทีกว่าที่ Finder จะเปิดหน้าต่างของแฟ้มนั้นขึ้นมาใหม่ .. ถ้าเราไม่อยากรอ เราสามารถกดเปิดแฟ้มขึ้นมาตอนที่ลากไฟล์มาทับกับไอคอนแฟ้มได้เลยโดยการกด Space bar ครับ

    เพิ่มเติม
    Drag & Drop - ลากแล้ววางที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง #1

    Drag & Drop - ลากแล้ววาง ที่เป็นมากกว่าการลากแล้ววาง #1

    เราใช้การลากแล้ววาง (drag & drop) ในการจัดไฟล์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่วันนี้ผมอยากจะลองแนะนำ การใช้งาน drag & drop ในอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เป็นมากกว่าแค่การลากไฟล์ไปมา ครับ น่าจะทำให้ใช้งาน OS X สะดวกขึ้นครับ ยิ้ม

    Finder : Show all hidden files

    วิธีสำหรับแสดงไฟล์ที่ซ่อนอยู่ใน Finder ครับมีวิธีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

    วิธีที่1: คำสั่งผ่าน terminal.app ให้เปิด terminal.app ขึ้นมา แล้วพิมพ์(copy&paste) คำสั่งนี้ลงไป

    defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles YES

    กด Enter จากนั้นพิมพ์

    killall Finder

    แล้วกด Enter เพื่อ relaunch Finder ขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะเห็นไฟล์ที่ซ่อนอยู่ขึ้นมาแล้ว (พวกไฟล์ที่มีจุดขึ้นต้นนำหน้าชื่อ ส่วนใหญ่จะไม่แสดงใน Finder ปรกติ เราก็จะเห็นจากตรงนี้ครับ)

    ถ้าต้องการเปลี่ยนกลับ ก็ให้ทำซ้ำแบบเดิม แล้วเปลี่ยนคำว่า YES เป็น NO แทน แบบนี้ครับ

    defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles NO

    แล้วกด Enter จากนั้นสั่ง killall Finder เพื่อ relaunch Finder อีกที เป็นอันเสร็จครับ

    note : คำว่า YES/NO สามารถแทนด้วยคำว่า TRUE/FAULT โดยให้ผลคำสั่งเหมือนกันครับ

    วิธีที่2 : สร้าง script ขึ้นมาเพื่อการนี้โดยเฉพาะให้เป็น Script Editor ขึ้นมา แล้วพิมพ์(copy&paste) คำสั่งนี้ลงไปในหน้า Script Editor ครับ

    set dotVisible to do shell script "defaults read com.apple.Finder AppleShowAllFiles"if dotVisible = "0" thendo shell script "defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles 1"elsedo shell script "defaults write com.apple.Finder AppleShowAllFiles 0"end iftell application "Finder" to quitdelay 1tell application "Finder" to activate
    จากนั้นสั่ง run รอบนึง แล้ว save as ออกมาเป็นแบบ application โดยที่ไม่ต้องติ๊กเครื่องหมายถึงในช่องที่เค้ามีให้เลือกนะครับ ปล่อยเอาไว้เฉย ๆ แล้วก็ตั้งชื่อเก๋ ๆ

    แล้วก็ลองเรียกใช้งาน script ที่เราเพิ่งเซฟออกมาดู ให้ดับเบิลคลิ๊กไปที่ script ที่เราเพิ่งสร้างมานี้ครับ ถ้าอยากเปลี่ยนกลับ ก็ให้สั่ง script ทำงานอีกที

    note :

    1. script ตัวนี้ เวลาเรียกใช้งานเค้าจะ killall Finder ให้โดยอัตโนมัติ เราแค่ดับเบิลคลิ๊กไปแล้วก็รอ Finder relaunch ใหม่อีกรอบก็พอ
    2. script ตัวนี้อาจจะมีปัญหากับ os x บางเวอร์ชั่น แต่เท่าที่ผมลองใช้งานดู (บน 10.5.6) สามารถใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาครัรบ

    ที่มาของ script นี้ และคำสั่งแบบผ่าน terminal จาก Mac OS X Hints บน macworld.com

    การนำ Burn icon มาไว้บน Finder Toolbar

    ปรกติแล้วเราสามารถที่จะ Burn file/folder ที่เราต้องาการผ่าน Finder ได้เลย โดยไปที่ File / Burn “file/folder ที่เราต้องการ” to Disc...

    ในบทความตอนนี้ มีวิธีการที่สะดวกเร็วกว่านั้นมานำเสนอครับ =)

    เราสามารถนำปุ่ม Burn มาไว้บน Finder Toolbar เพื่อความสะดวกในการ Burn file/folder ผ่าน Finder ครับ

    burn-icon.jpg

    มีขั้นตอนดังนี้

    บน Finder menu bar เลือก View/ Customize Toolbar

    หรือจะคลิ๊กขวาบนที่ว่างบน Toolbar ใน Finder ก็ได้ครับ ให้ผลเหมือนกัน

    Picture1_34.jpg

    เราจะเข้าหน้าต่างการจัดการปรับเปลี่ยน Toolbar บน Finder ครับ

    ให้เรามองหา Burn icon แล้วลากมาวางไว้บนพื้นที่ว่าง บน Toolbar ตามที่เราต้องการ

    Picture2_30.jpg

    Picture3_30.jpg

    เมื่อเรียบร้อยแล้ว เลือก Done ที่ตรงมุมขวาล่างของหน้าต่าง Customize Toolbar ครับ

    เข้าสู่หน้าต่าง Finder ปรกติ

    Picture4_16.jpg

    เราจะเห็นปุ่ม Burn อยู่ตามตำแหน่งที่เราวางเอาไว้เมื่อสักครู่ครับ

    note : เราสามารปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้อีก โดยการทำซ้ำแบบเดิมนะครับ คือเข้า Customize Toolbar ใหม่

    จากตรงนี้ เราก็เลือก file/ folder ที่ต้องการจะ Burn แล้วกดปุ่มนี้ได้เลย

    ถ้าเรายังไม่ได้ใส่แผ่น CD/DVD เปล่าเข้าไปตอนที่กดปุ่ม เค้าจะแจ้งเตือนเรามาแบบนี้

    error-msg.jpg

    ซึ่งจะเป็นการบอกเราว่าเรายังไม่ได้ใส่แผ่นเปล่าอยู่ในเครื่อง และขนาดไฟล์คร่าว ๆ ที่จะ Burn ลงแผ่นเป็นเท่าไหร่

    ความเหมือนที่แตกต่าง (จาก windows มาเป็น Mac)

    เป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวสำหรับคนที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งาน OS X ครับ โดยเฉพาะกับผู้ที่เพิ่งเปลี่ยนมาใช้ Mac ใหม่ ๆ เวลาเราอยู่ในหน้าต่าง Finder แล้วต้องสับสนกับรูปแบบที่เหมือนจะใช่ แต่พอกดไปแล้วมันไม่ออกมาอย่างที่เราอยากให้มันเป็น .. แป่ววว

    finder-buttons.jpg

    ตอนนี้ผมจะขออธิบายเจ้า 3 ปุ่มเจ้าปัญหานี้ครับ

    ปุ่มซ้ายสุด สีแดงมีเครื่องหมาย x (มีชื่อเป็นทางการว่า Hide หรือว่าซ่อนหน้าต่างนั้นไป)
    บน windows : ปุ่มปิดโปรแกรม
    บน OS X : ปุ่มนี้เป็นการซ่อนหน้าต่างที่เปิดอยู่ ไม่ใช่การปิดโปรแกรมนะครับ คือแค่ซ่อนหน้าต่างไปก่อน แต่โปรแกรมเค้าจะยังคงทำงานอยู่ เพียงหน้าต่างจะถูกปิดซ่อนไป ถ้าจะต้องการจะปิดโปรแกรมให้กด Command+Q ครับ

    ปุ่มกลาง สีเหลือง เครื่องหมาย - (เรียกเป็นทางการว่า ปุ่ม Minimize หรือว่าปุ่มย่อหน้าต่าง)
    บน windows : ย่อหน้าต่างไปเก็บไว้บน Task
    บน OS X : ย่อหน้าต่างไปเก็บไว้บน Dock

    note : ปุ่มนี้ไม่เหมือนกับปุ่มซ่อนหน้าต่างด้านบนนะครับ คือเราย่อหน้าต่างแล้วมาเก็บไว้ใน Dock แทน แบบนี้กินทรัพยกรเครื่องมากกว่าการซ่อนหน้าต่างครับ เพราะยังเห็นหน้าต่างอยู่บน Dock ของเรา ยิ่งถ้ามีความเคลื่อนไหวหรือการทำงานอยู่ในหน้าต่างนั้น ก็จะยิ่งกินเครื่องไปอีกครับ

    ปุ่มสีเขียว เรื่องหมาย + (ปุ่ม Zoom )
    บน windows : จะขยายหน้าต่างที่เปิดอยู่ให้เต็มหน้าจอ desktop
    บน OS X : จะขยายหน้าต่าง Finder เหมือนกัน แต่ขยายเท่าที่เนื้อหาในหน้าต่างนั้นจะมี คือถ้าใน Finder นั้นมีเนื้อหาน้อย ก็จะขยายออกมาน้อย ถ้ามีเนื้อหาเยอะ เค้าก็จะขยายออกมากว้างหน่อย .. แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คือ พอดีกับเนื้อหาทั้งหมดเท่าที่มีใน Finder หน้าต่างนั้นครับ

    หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ =)

    (แก้ไขชื่อปุ่มสีเขียวครับ)

    Keychain Access

    Keychain Access : เป็นโปรแกรมเก็บ password ที่เราใช้ไม่ว่าจะบนเวป หรือโปรแกรมอื่น ๆ รวมไปถึงจดโน๊ตสำคัญที่มี password ป้องกันการเปิดอ่านได้ด้วย สำหรับผู้ใช้โดยทั่วไปแล้ว Keychain Access มีเอาไว้สำหรับ

    • การเข้าไปดู password สำหรับ account ที่เรามี ไม่ว่าจะเป็นเวป หรือว่า password ที่เราใช้บนโปรแกรมต่าง ๆ ในกรณีที่เราลืม password นั้น ๆ ครับ
    • เข้าไปจดโน๊ตสำคัญพร้อมกับเข้ารหัสเอาไว้กันคนอื่นมาเปิด เช่นพวก register code หรือโน๊ตสำคัญอื่น ๆ

    ตัว Keychain Access จะอยู่ใน Applications/Utilities ครับ

    keychain-1.jpg

    หน้าตา icon ของ Keychain Access ครับ

    keychain-icon.jpg

    ส่วนประกอบของ Keychain Access

    keychain-1-1.jpg

    อธิบาย

    1. ประเภทของ key ในแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น password หรือว่าโน๊ตสำคัญ
    2. รายละเอียดของ key ที่เราเลือก
    3. รายการของ key ที่เรามี (แยกตามประเภทที่เราเลือกจากในข้อที่ 1 )

    การกู้ password ในกรณีที่เราลืม

    สำหรับคนที่เข้าเวปแล้วสมัครสมาชิกเอาไว้หลายเวปที่มี password ไม่เหมือนกัน คงมีบางครั้งที่เราจะลืม ว่าเวปไหนใช้ password อะไร .. เราสามารถเข้าไปดู password สำหรับเวปนั้น ๆ ได้จากในตัว keychain ครับ

    เปิด Keychain Access

    จากใน Applications/ Utilities

    keychain-icon_0.jpg

    เลือกหัวข้อจาก Passwords ให้เป็น Internet

    ตรงนี้เราจะกำหนดให้แสดงผลเฉพาะ password ที่เกี่ยวกับเวปที่เราเคย register เอาไว้

    pass-list.jpg

    1. เลือกหัวข้อ Internet จาก list ทางด้านซ้ายมือ
    2. เลือก web ที่เราลืม password ครับ (ถ้าหาไม่เจอ ลองหาจากในช่อง search) แล้วเราจะได้หน้าต่างนี้มา

    pass-detail.jpg

    เลือกติ๊กที่ช่อง Show password เพื่อให้แสดง password ที่เราใช้กับเวปนี้ครับ จากนั้น จะมีหน้าต่างมาถามยืนยัน password ของเครื่องเรา ให้กรอกเข้าไปเพื่อยืนยัน (password เดียวกับที่คุณใช้ log in เข้าเครื่องมานั่นล่ะครับ เป็นอันเดียวกัน)

    pass-input.jpg
    จะมีตัวเลือก 3 ตัว
    Always Allow : เลือกเพื่อที่จะให้แสดง password ที่เราลืมเอาไว้ทุกครั้งที่เราเข้า keychain
    Deny : เลือกไม่ให้แสดง password
    Allow : เลือกเพื่อให้แสดง password แต่เป็นการแสดงเฉพาะครั้งนี้เท่านั้น ถ้าเราเข้า keychain มาใหม่ จะไม่เห็นอีก ถ้าเราจะให้เค้าแสดง password ของเวปที่เราลืมอีก เราต้องกรอกยืนยัน log in password อีกรอบครับ ปรกติ ให้เลือกตัวนี้ เพื่อความปลอดภัย

    หลังจากกด Allow แล้ว เราจะเห็น password เวปที่เราต้องการในช่อง Show password แล้วครับ

    show-pass-1.jpg
    note : ถ้าเราลืม password ที่ใช้ใน Application ต่าง ๆ เราสามารถเลือกดูได้ด้วยวิธีเดียวกันนี้ แต่ให้เลือกจากหัวข้อ Application ในรายการทางด้านซ้ายมือของ Keychain ครับ

    การจดโน๊ตสำคัญบน Keychain

    ใน Keychain เราสามารถที่จะสร้าง Secure Note หรือว่าโน๊ตสำคัญที่เข้ารหัสเอาไว้ได้ (ต้องกรอกรหัสทุกครั้งที่เปิดอ่าน) ซึ่งผมใช้ Secure Notes นี้สำหรับ

    • เก็บ Key ของโปรแกรมที่ซื้อเอาไว้ ในกรณีที่ลงใหม่ ก็เข้ามาดูในนี้
    • เก็บข้อความสำคัญอื่น ๆ เช่นบัญชีธนาคาร หรือโน๊ตสำคัญทั่วไปที่ไม่อยากให้คนอื่นเปิดอ่าน

    sc-note-1-1.jpg

    วิธีสร้าง Secure Note

    sc-note-1-2.jpg

    1. ใน Keychain Access เลือกหัวข้อ Secure Notes
    2. เลือกเครื่องหมาย + เพื่อเป็นการสร้าง Secure Note ใหม่

    จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้เรากรอก note ที่เราต้องการลงไป

    sc-note-2.jpg

    จากนั้นกด Add เราจะได้ note ใหม่ขึ้นมาอยู่ในรายการแล้ว

    sc-note-3.jpg

    ให้ลองกดเข้าไปดู ด้วยการ ดับเบิลคลิ๊ก หรือกด i จากด้านล่างของรายการ (ถัดจากปุ่ม + )เพื่อเข้ามาดูรายละเอียดของ note

    sc-note-4.jpg
    เราจะเห็น note เปล่า ๆ ขึ้นมา ถ้าเราต้องการจะให้แสดงเนื้อหาของ note นี้ เราต้องเลือก Show note จะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาให้กรอก log in password ของเรา แล้วกด Allow เพื่อยืนยันต่อไป (ดูเกี่ยวกับตัวเลือก Allow, Deny, Always Allow จาก การกู้ password ในกรณีที่เราลืม ประกอบ)

    sc-note-5.jpg
    หลังจากกด Allow ไป เราจะเห็นเนื้อหาของ note แล้ว แบบนี้ ยิ้ม

    sc-note-6.jpg

    Mail.app

    Mail : เป็นโปรแกรมรับส่ง Email จากภายในเครื่องเราครับ เหมือนกันกับ M$ Outlook Express

    ซึ่งตามธรรมชาติแล้วโปรแกรมแต่ละตัวของทาง Apple บน OS X เองสามารถทำงานร่วมกันได้ค่อนข้างดีครับ นอกจากจะสามารถช่วยให้เราบริหารจัดการ Email ในเครื่องเราแล้ว เรายังจัดการกับข้อมูลที่อยู่ในเนื้อหาของ Email ต่าง ๆ ได้ด้วย

    mail-interface-1_0.jpg

    ไอคอนโปรแกรม Mail

    mail-icon_0.jpg

    มีส่วนประกอบดังนี้

    mail-basic-1_0.jpg

    Toolbar :

    แถบเครื่องมือของโปรแกรม Mail เราสามารถปรับเปลี่ยนได้จาก menu bar/ View/ Customize toolbar หรือคลิ๊กขวาแล้วเลือก Customize menu bar ก็ได้

    Side bar : เป็นที่อยู่ของ

    mailbox-1_0.jpg

    • Mailboxes ต่าง ๆ ที่เรามี
      • Inbox : กล่องเมล์ขาเข้า
      • Outbox : กล่องเมล์ขาออก
      • Draft : เมล์ที่เราร่างเอาไว้ ยังไม่ได้ส่ง
      • Sent : เมล์ที่ถูกส่งออกไปแล้ว
      • Trash : เมล์ที่เราต้องการจะลบ จะมาถูกพักเอาไว้ในนี้ก่อน (หลักการเดียวกับ Trash)

    reminder-2_0.jpg

    • Reminder : พวกบันทึกช่วยจำ
      • To do : รายการที่เราต้องทำ (ส่วนนี้จะไปโผล่อยู่ในTo do ใน iCal ด้วย)
      • Note : จดบันทึกจิปาถะทั่วไป

    smart-folder_0.jpg

    • Smart Mailboxes : เป็นการจับกลุ่มของอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไขเดียวกันที่เรากำหนด (ดูการใช้ Smart Mailbox ประกอบ)

    OnMyMac_0.jpg

    • On my Mac : เป็น Mailbox ที่เราสร้างเอาไว้บนเครื่อง เอาไว้เก็บเมล์สำคัญ หรืออื่น ๆ

    Rss_0.jpg

    • RSS : เอาไว้สำหรับอ่าน RSS Fedds ที่เรา Subcribe ไปครับ

    Message pane :

    แสดงอีเมล์ที่เรามีบน Account ต่าง ๆ ที่เราเลือก (ปรับย่อขยายส่วนนี้ได้จากการคลิ๊กไปที่ปุ่มกลม ๆ ตรงกรอบด้านล่างของ Message pane นี้)

    reszie-msgpane_0.jpg

    Message Viewer:
    แสดงเนื้อหาของอีเมล์ที่เราเลือกจากใน list

    msg-viewer-1_0.jpg

    Activity window : ตรงนี้จะบอกว่ามีกิจกรรมอะไรเกิดขึ้นบ้าง ส่วนมากจะแสดงผลให้เรารู้ว่าเรากำลังโหลดเมล์เข้ามา หรือกำลังจะส่งเมล์ออกไป

    เราสามารถปิดหน้าต่างนี้ได้จากปุ่มลูกศรเล็ก ๆ ด้านล่าง Activity window นี้
    showmailactivity_0.jpg

    Mail Rules

    Rule : เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับอีเมล์ที่เรามีอยู่ และอีเมล์ที่เราจะได้รับในอนาคตเพื่อสั่งงานอัตโนมัติครับ เช่น

    mail-rules-chart.jpg

    • กำหนดสีของอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไข เพื่อให้ง่ายต่อการแยกอ่านภายหลัง
    • ย้าย/ ทำสำเนาเอาไว้ยังปลายทางที่เราต้องการ คล้ายกับ Smart Mailbox แต่เราสั่งให้ย้ายต้นฉบับแทนที่จะทำสำเนาเหมือนใน Smart Mailbox ได้
    • สั่งงานอัตโนมัติเมื่อมีอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไขถูกส่งเข้ามาใน inbox เรา โดยทำตามเงื่อนไขง่าย ๆ หรือทำงานร่วมกับ apple script อื่น ๆ เช่น auto response
    • ฯลฯ

    note : ดู ความแตกต่างของ Rule กับ Smart Mailbox ประกอบ

    เนื่องจาก Rules มีการใช้งานที่ค่อนข้างจะกว้าง จึงขอทำเป็นตัวอย่างพร้อมคำอธิบายก็แล้วกันนะครับ =)
    โดยตัวอย่างนี้ ผมต้องการที่จะกำหนดเงื่อนไขว่า ให้เมล์ที่ถูกส่งมาจากกลุ่มชื่อว่า BookG ถูกย้ายไปเก็บในแฟ้มชื่อ BookG ที่อยู่บนเครื่องแทน

    ตัวอย่างการสร้าง Rules

    ให้ลองกำหนดสิ่งที่เราต้องการเอาไว้ในใจคร่าว ๆ ว่าเราต้องการทำอะไรกับ Rule นี้บ้าง .. จะจดเอาไว้ตรงไหนก็ได้ครับ.. Rule เป็นสิ่งที่ซับซ้อนพอสมควรครับ ถ้าไม่จดเอาไว้ เรามีโอกาสหลงทางได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ยิ้ม

    ตัวอย่าง ผมต้องการจะย้ายอีเมล์ที่เกี่ยวข้องกับ BookG มาไว้ในแฟ้มชื่อ BookG (หรือว่า Mailbox ที่อยู่บนเครื่อง) .. ที่ผมต้องทำคือ สร้าง Mailbox ใหม่ชื่อว่า BookG เอาไว้บนเครื่องครับ

    mailrule-02.jpg

    จากนั้นก็สร้าง Rule กัน

    การสร้าง Rules

    1.ใน Mail.app ไปที่ Preference (หรือกด Command + ,) แล้วเลือก Rules

    mailrule-01.jpg

    อธิบาย

    • Add Rule : เป็นการเพิ่ม Rule ใหม่เข้าไป
    • Edit : แก้ไข Rule ที่มีอยู่เดิม
    • Duplicate : เป็นการทำสำเนา Rule ที่มีอยู่ เอาไว้สำหรับ backup หรือว่าต้องการสร้าง Rule ใหม่ที่มีพื้นฐานคล้ายของเดิมที่มีอยู่แล้ว
    • Remove : ลบ Rule ออก

    note : ปรกติเราจะมี News From Apple มาเป็น Rule พื้นฐานสำหรับคนที่สมัครรับข่าวสารจาก apple ก็จะได้อีเมล์ที่เป็นสีฟ้าอยู่เรื่อย ๆ ถ้าใครไม่ชอบ หรือว่าอยากเปลี่ยนแปลงก็สามารถเข้าไปแก้ได้จากตรงนี้ครับ

    2.ในที่นี้เลือก Edit เพื่อทำการสร้าง Rule ใหม่ จะมีหน้าต่างกำหนด Rule

    mailrule-02-1-1.jpg

    ตรงนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

    1. ส่วนของการกำหนดเงื่อนไขอีเมล์ที่เราต้องการ
    2. ส่วนของ Actions หรือการสั่งงานอัตโนมัติ ที่เราต้องการกระทำกับอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไข

    note : เราสามารถสร้างเงื่อนไขมากกว่า 1 อันได้จากการกด เครื่องหมาย +,- ครับ

    Description : ชื่อของ Rule ที่จะมีให้เราเลือกในหน้าของ Preference
    ขั้นตอน

    • ในส่วนของเงื่อนไขผมเลือก From เพื่อกำหนดว่าเป็นอีเมล์ที่มาจากใครบ้าง ในที่นี้กำหนดว่าให้มาจาก bookg เท่านั้น
    • actions ที่ผมใช้คือ Move Message ไปยังแฟ้มชื่อ BookG ที่ผมสร้างเอาไว้ตอนแรก

    จากนั้นกด OK จะมีหน้าต่างมาถามเราว่าต้องการจะใช้ Rule ที่เราเพิ่งสร้างนี้กับ Inbox ที่เราเลือกอยู่หรือไม่ (ถ้าเราเลือก Inbox ที่เราต้องการอยู่แล้ว ก็เลือก Apply แล้วข้ามขั้นตอนที่ 3 ไปแต่ถ้าไม่ ก็เลือก Don’t ครับ แล้วไปขึ้นตอนที่ 3)

    mailrule-03.jpg

    3.เลือก อีเมล์จากใน inbox ที่ต้องการ (จะเลือกทั้งหมด หรือว่าบางฉบับที่ต้องการก็ได้) จากนั้นคลิ๊กขวา แล้วเลือก apply rules ครับ

    4.ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราจะย้ายอีเมล์มายัง mailbox บนเครื่องของเราแล้ว

    mailrule-04.jpg

    ส่วนของเงื่อนไข

    โดยทั่วไปจะคล้าย ๆ กับเงื่อนไขบน Smart Mailbox ครับ

    conditions_0.jpg
    อธิบาย

    • From : จากใคร (ผู้ที่ส่งอีเมล์มาให้เรา)
    • To : ผู้รับ (ผู้ที่เราส่งอีเมล์ไปถึง)
    • Cc : สำเนาถึงใครบ้าง
    • Subject : หัวเรื่องของอีเมล์
    • Any Recipient : ระบุว่าผู้รับจะเป็นใครก็ได้ เป็นการกำหนดเงื่อนไขโดยไม่เฉพาะเจาะจงกับผู้รับคนใดคนหนึ่ง
    • Message is addressed to my Full Name : อีเมล์ที่ถูกส่งมาโดยระบุถึงชื่อ + สกุลจริงของเรา
    • Message is not addressed to my Full Name : อีเมล์ที่ไม่ถูกส่งมาโดยระบุถึงชื่อ + นามสกุลจริงของเรา
    • Date Sent : สำหรับอีเมล์ที่เราส่งไปหาคนอื่น โดยเอาเวลาส่งเป็นตัวกำหนดเงื่อนไข เหมาะสำหรับหาอีเมล์ที่เราส่งออกไปหาผู้รับ ในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ (กำหนดได้เป็นวัน)
    • Date Received : คล้ายกับ Date Sent แต่เป็นการกำหนดเงื่อนไขบนอีเมล์ที่เราได้รับ (Received) แทน
    • Account : กำหนดว่าจะเอาAccount ไหนของเรามาเข้าเงื่อนไขบ้าง (สำหรับคนที่มีหลาย Account สามารถใช้ตรงนี้ช่วยแยกได้)
    • Sender is in my Address Book : ผู้ที่ส่งอีเมล์มา มีชื่ออยู่ใน Address Book ของเรา (เรารู้จัก)
    • Sender is not in my Address Book : ผู้ที่ส่งอีเมล์มา มีไม่ชื่ออยู่ใน Address Book ของเรา (เราไม่รู้จัก)
    • Sender is in my Previous Recipients : ผู้ที่ส่งอีเมล์มา เป็นหนึ่งในผู้ที่เราเคยส่งอีเมล์ไปหา (อาจจะรู้จัก หรือเราเคยติดต่อด้วย)
    • Sender is not in my Previous Recipients : ผู้ที่ส่งอีเมล์มา เป็นผู้ที่เราไม่เคยส่งอีเมล์ไปหา (จากใครก็ไม่รู้)
    • Sender is member of Group : ผู้ที่ส่งอีเมล์มา เป็นหนึ่งในกลุ่มของรายชื่อที่เรามีบน Address Book ของเรา
    • Sender is not a member of Group : ผู้ที่ส่งอีเมล์มา ไม่มีรายชื่ออยู่ในกลุ่มบน Address Book ของเรา
    • Message Content : กำหนดเงื่อนไขจากคำที่มีอยู่ในเนื้อหาของอีเมล์
    • Message is junk Mail : อีเมล์ที่ถูกระบุว่าเป็น Junk Mail แล้ว
    • Message is Signed : อีเมล์ที่ถูกเซ็นแบบดิจิตอลมาแล้ว
    • Message is Encrypted : อีเมล์ที่ถูกบีบอัด / เข้าระหัสมาแล้ว
    • Priority is High : อีเมล์ที่มี Priority แบบ High
    • Priority is Normal : อีเมล์ที่มี Priority แบบ Normal
    • Priority is Low : อีเมล์ที่มี Priority แบบ Low
    • Any Attachment Name : อีเมล์ที่มี Attachment (ไม่เจาะจงชื่อ)
    • Message Type : กำหนดชนิดของเนื้อหา ( Email, Note, Rss)
    • Every Message : กำหนดเงื่อนไขมีผลกับอีเมล์ทุกฉบับ
    • Edit Header List... : สำหรับเพิ่มเติม หรือว่าลดเงื่อนไขเกี่ยวกับหัวอีเมล์ที่เรามีอยู่ (ปรกติเราจะมี From, To, Cc, Subject .. เราสามารถเพิ่มเติมในตรงนี้ได้)

    Actions

    Actions : เป็นการสั่งงานอัตโนมัติกับอีเมล์ที่ตรงกับเงื่อนไขของเรา จะเป็นการสั่งงานเพียงอย่างเดียว หรือหลายอย่างพร้อมกันก็ได้ มีให้เลือกดังนี้

    rules.png
    อธิบาย

    • Move Message : ย้ายอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไข ไปยังปลายทางที่กำหนด (ย้ายต้นฉบับ)
    • Copy Message : ทำสำเนาอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไขไปที่ปลายทางที่กำหนด (เป็นการทำซ้ำอีเมล์ขึ้นมา)
    • Se: Color of Message : ตั้งสีของ Subject ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด
    • Play Sound : ตั้งเสียงเตือนแบบต่าง ๆ
    • Bounce Icon in Dock : เมื่อได้รับอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไข ตัวไอคอนเมล์จะเด้งไปมาบน Dock
    • Reply to Message : เมื่อได้รับอีเมล์ที่กำหนด จะทำการตอบกลับอัตโนมัติ (เรากำหนดข้อความตอบกลับได้)
    • Forward Message : เมื่อได้รับอีเมล์ตามเงื่อนไขที่กำหนด จะทำการ forward ไปยังปลายทางที่กำหนด
    • Redirect Message : เมื่อได้รับอีเมล์ตามเงื่อนไขที่กำหนด จะทำการ redirectไปยังปลายทางที่กำหนด
    • Delete Message : เมื่อได้รับอีเมล์ตามเงื่อนไขที่กำหนด จะทำการลบอีเมล์นั้นทันที
    • Mark as Read : เมื่อได้รับอีเมล์ตามเงื่อนไขที่กำหนด อีเมล์ฉบับนั้นจะถูกนับว่าอ่านไปแล้วทันที
    • Mark as Flagged : เมื่อได้รับอีเมล์ตามเงื่อนไขที่กำหนด จะ flag อีเมล์ฉบับนั้นทันที
    • Run AppleScript : เมื่อได้รับอีเมล์ตามเงื่อนไขที่กำหนด จะให้ AppleScript ที่กำหนดไว้ทำงาน
    • Stop evaluating rules : เป็นการบอก Mail.app ว่านี่เป็นจุดสิ้นสุดของ Action ในกรณีที่มีการรอเพื่อกระทำการอย่างอื่นต่อไป (ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดนะ แบร่..)

    Reply, Forward, Redirect, Bounce ?

    เวลาเราได้รับอีเมล์แล้ว ปรกติถ้าเราคลิ๊กขวาจะเป็นทางลัดว่า เราสามารถทำอะไรกับอีเมล์ฉบับนั้นได้บ้าง .. ในบทความนี้จะขออธิบายเกี่ยวกับ Reply, Forward, Redirect และ Bounce ครับ

    Reply, Reply All

    สมชาย ส่งอีเมล์ถึง สมร และ Cc ถึง สมบัติ

    • ถ้า สมร เลือก Reply All อีเมล์ตอบกลับจะถูกส่งถึงทั้ง สมชาย และ สมบัติ (หรือใครก็ตามที่อยู่ใน To, Cc, Bcc )
    • ถ้า สมร เลือก Reply อีเมล์ตอบกลับจะถูกส่งกลับไปที่ สมชาย เพียงคนเดียว
    • ถ้า สมบัติ เลือก Reply อีเมล์ตอบกลับจะถูกส่งกลับไปที่ สมชาย เพียงคนเดียว

    Forward

    สมชาย อ่านอีเมล์ที่คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับ สมร ด้วย จีง Forward อีเมล์ ถึง สมร ซึ่งเนื้อหาในอีเมล์จะถูก Quote เพื่อให้เห็นว่าเป็นอีเมล์ที่ถูก Forward มา

    • ถ้า สมร reply อีเมล์ก็จะถูกตอบกลับมายังสมชาย

    Redirect

    สมร ทำงานอยู่แผนก Customer support ที่จะได้รับอีเมล์ร้องเรียนถึงฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากลูกค้าถึง สมชาย ฝ่ายเครื่องทำน้ำร้อน และ สมบัติ ฝ่ายเครื่องเรือน

    สมร Redirect อีเมล์ ถึง สมชาย และ Redirect อีเมล์ ถึง สมบัติ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง โดยอีเมล์ที่ถูก Redirect มานี้ จะไม่มีการ Quote ข้อความ (เพราะไม่ใช่การ Forward)

    • ถ้าสมชาย Reply อีเมล์จะถูกตอบกลับไปที่ลูกค้าโดยตรง ไม่ผ่าน สมร
    • ถ้าสมบัติ Reply อีเมล์จะถูกตอบกลับถึงลูกค้าโดยตรง ไม่ผ่าน สมร เช่นกัน

    Bounce

    เป็นการปฎิเสธอีเมล์ที่เราไม่ต้องการไปถึงผู้ส่ง (โดยที่เราต้องมีที่ Addressผู้ส่งที่ใช้งานได้จริง) ส่วนมากใช้ร่วมกับ Junk Mail filter เพื่อลดจำนวนอีเมล์ที่เราไม่ต้องการหรือว่า Spam ลง

    Rules - Smart Mailbox แตกต่างกันอย่างไร

    Rule กับ Smart Mailboxes นั้นมีส่วนคล้ายกัน คือให้เรากำหนดเงื่อนไขเพื่อรวมกลุ่มอีเมล์ที่เข้าข่ายเงื่อนไขนั้น ๆ ไว้ที่เดียวกัน โดยมีข้อแตกต่างดังนั้น

    Rules

    จะเป็นการสั่งงานอัติโนมัติกับอีเมล์ที่ตรงกับเงื่อนไขที่เรากำหนด (ดู Mail Rules ประกอบ)

    mail-rules-chart_1.jpg

    ตัวอย่างการใช้ Mail Rules

    • กำหนดสีของอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไข เพื่อให้ง่ายต่อการแยกอ่านภายหลัง
    • ย้าย/ ทำสำเนาเอาไว้ยังปลายทางที่เราต้องการ คล้ายกับ Smart Mailbox แต่เราสั่งให้ย้ายต้นฉบับแทนที่จะทำสำเนาเหมือนใน Smart Mailbox ได้
    • สั่งงานอัตโนมัติเมื่อมีอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไขถูกส่งเข้ามาใน inbox เรา โดยทำตามเงื่อนไขง่าย ๆ หรือทำงานร่วมกับ apple script อื่น ๆ เช่น auto response
    • ฯลฯ

    note : Rule สามารใช้กรองอีเมล์ที่ถูกส่งมา หรืออีเมล์ที่เรามีอยู่แล้วใน inbox ก็ได้ (คลิ๊กขวาที่อีเมล์ใน inbox ที่เราต้องการ จากนั้นเลือก Apply Rule)

    Smart Mailboxes

    เป็นการสร้าง alias (ร่างทรง) ของอีเมล์ต้นฉบับใน inbox ของเรา บนจุดหมายปลายทาง (smart mailboxes) ที่เราต้องการเท่านั้น ไม่มีการสั่งงานอัตโนมัติอื่น ๆ เพิ่มเข้ามาอีก

    mail-smrtfoldr-chart_0.jpg

    จากภาพจะเห็นว่าการทำ Smart Mailbox จะเป็นการสร้างสำเนาของอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไขขึ้นมาใหม่ บนจุดหมายปลายทางที่ต้องการ หมายความว่า ต้นฉบับจะยังคงมีอยู่ใน inbox ครับ

    นี่เป็นหลักการเดียวกับ Smart Folder บน Finder หรือว่า Smart Album บน iPhoto หรือ Smart อื่น ๆ บน OS X ครับ

    note :
    1.อีเมล์ฉบับเดียว (ต้นฉบับ) ใน inbox สามารถไปอยู่ในหลาย Smart Mailboxได้ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่กำหนด
    2.ถ้าเราทำการแก้ไข flag / หรือว่าลบอีเมล์ที่เป็นสำเนาบน Smart Mailbox .. ต้นฉบับใน inbox ก็จะถูกแก้ไขตาม หรือว่าลบไปด้วยครับ
    3.ถ้าเราลบ Smart Mailbox สำเนาอีเมล์ทั้งหมดใน Smart Mailbox นั้นจะถูกลบไปด้วย แต่ ต้นฉบับของอีเมล์ทั้งหมดใน inbox จะยังอยู่

    การสร้าง Email ใหม่

    การสร้างอีเมล์ใน Mail สามารถทำได้ดังนี้

    ใน Mail บน menu bar เลือก New Message

    Picture1_30.jpg

    เข้าสู่หน้าต่างเขียนอีเมล์ใหม่
    Picture2_27.jpg
    เหมือนขั้นตอนการสร้างอีเมล์บน webmail ทั่วไปครับ มีส่วนประกอบตามนี้

    To : ระบุ Email ผู้รับที่เราต้องการจะส่งถึง
            Cc : การส่งสำเนาไปถึงผู้รับอื่น ๆ อีก
            Bcc :การส่งสำเนาไปถึงผู้รับอีื่น ๆ โดยที่จะไม่ระบุในอีเมล์ปลายทางว่าเราส่งสำเนาไปให้ใครบ้าง
    Subject : กำหนดหัวข้อของ Email
    From : เป็นการระบุว่าเมล์นี้ถูกส่งจากไหน ปรกติจะตั้งเอาไว้เป็น account แรกของเรา แต่ ถ้าเรามีหลาย account เราสามารถเลือกที่จะเปลี่ยนได้จากตรงนี้ครับ
    Signature : ใส่ลายเซ็นของเราในข้อความ (เราต้องสร้างลายเซ็นขึ้นมาก่อน ดู การสร้างลายเซ็น ประกอบ)
    Priority : กำหนดความสำคัญเร่งด่วนของอีเมล์

    note : เราสามารถปรับแต่งให้แสดง หัวข้อเหล่านี้ได้จากการกดเข้าไปที่ปุ่มเล็ก ๆ (แถวเดียวกับ Subject) แล้วเลือกเปิดปิดหัวข้อที่เราไม่ต้องการได้

    add-feild.jpg

    บน Tool bar

    mail-toolbar.jpg

    มีคำสั่งต่าง ๆ ดังนี้

    button-send.jpg

    Send : ส่งอีเมล์ที่เราเขียนเสร็จแล้วออกไปหาผู้รับ

    button-chat.jpg

    Chat : ถ้า Buddy ใน iChat ของเราออนไลน์เราสามารถเห็นได้จากตรงนี้

    button-attach.jpg

    Attach : เพิ่มไฟล์แนบ

    button-addressbook.jpg

    Address : ใส่อีเมล์ผู้รับลงในหัวข้อ To, Cc, Bcc โดยเลือกจาก contact ใน address book ของเรา

    button-font.jpg

    Font : ปรับแต่งเกี่ยวกับตัวอักษรที่ใช้พิมพ์ในเนื้อหาอีเมล์

    button-color.jpg

    Color : ปรับแต่งสีของตัวอักษร (ใช้ได้กับอีเมล์แบบ Rich Text เท่านั้น ถ้าเราใช้กับ Plaintext โปรแกรมจะถามเราว่าต้องการ convert อีเมล์ที่เราเขียนให้เป็น Rich text หรือไม่)

    button-saveasdraft.jpg

    Save as draft : เป็นการร่างอีเมล์เก็บเอาไว้ก่อน (เมื่อ save as draft แล้วอีเมล์ที่ save ไปนี้จะไปอยู่ในส่วนของ Mailbox/Draft )

    button-richplaintxt.jpg

    Rich Text, Plain Text : ปุ่มนี้จะให้เราเลือก format ของอีเมล์ที่เราเขียนครับ

    • Rich Text : จะเป็นอีเมล์แบบปรับเปลี่ยนสีของตัวหนังสือ หรือว่าใส่ link เข้าไปที่ตัวหนังสือได้เลย ทำให้ดูดีกว่าแบบ Plain text แต่การแสดงผลที่ไม่สม่ำเสมอ ขึ้นอยู่กับโปรแกรมอีเมล์ที่ใช้ และแต่ละโปรแกรมก็จะมีวิธีการแสดงผลอีเมล์แบบ Rich text ไม่เหมือนกัน - -’
    • Plain Text : เป็นอีเมล์ปรกติที่ไม่ค่อยมีลูกเล่นอะไรมากนัก แต่ว่าเข้ากันได้ดีกับระบบอีเมล์ส่วนใหญ่ (แสดงผลไม่ค่อยผิดพลาดบนโปรแกรมต่าง ๆ ด้วย)

    button-textsize.jpg

    Text size : ปรับเปลี่ยนขนาดตัวอักษร

    button-photobrowser.jpg

    Photo Browser : เรียกใช้งาน Photo Browser เพื่อเข้าไปดึงรูปจาก iPhoto หรือ Library อื่น ๆ มาใส่ในอีเมล์ (ดูหัวข้อถัดไปเรื่องการใช้ Stationary ประกอบ)

    button-stationary.jpg

    Show Stationary : เป็น Template อีเมล์แบบ Rich text สวยงาม (ดูหัวข้อถัดไปประกอบ)

    จากนั้นก็เริ่มเขียนข้อความ เมื่อเสร็จแล้ว กด Send เป็นการส่งเมล์ออกไปหาผู้รับ
    ยิ้ม

    การสร้างอีเมล์ด้วย Stationary

    Picture3_26.jpg

    กดปุ่มนี้ครับ แล้วเราจะเห็นหน้าต่างที่เป็น Template โผล่ขึ้นมาเนื้อช่องเนื้อหาอีเมล์ของเรา

    Picture5_19.jpg

    เป็น Template ที่มีหลากหลายประเภทให้เลือกนะครับ ลองเลือกดู

    Picture4_13.jpg

    จากนั้นก็ใส่รูป + เนื้อหา

    Picture6_13.jpg

    เลือกปุ่ม Photo Browser เพื่อเปิดหน้าต่าง Photo Browser ขึ้นมาให้เราสามารถเข้าไปดึงรูปจากใน iPhoto Library หรือจาก Aperture ได้ มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้ครับ

    Picture7_15.jpg
    ด้านบนจะให้เราเลือกว่าจะเข้าไปเอารูปจากไหนมาได้บ้าง (การแบ่ง album อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยบน iPhoto หรือว่า Aperture ช่วยตรงนี้ได้มากสุด ๆ ครับ)

    Picture8-1_2.jpg

    ที่เราต้องทำคือ ลากรูปจากใน Photo Browser มาลงในตำแหน่งรูปที่มีอยู่บน Template ครับ จากนั้นก็กดพิมพ์เนื้อหา แล้วเลือก Send เพื่อเป็นการส่งเมล์ออกเป็นอันเสร็จพิธีครับ ยิ้ม

    ทดสอบการส่งอีเมล์ด้วย Stationary

    Picture9_7.jpg

    ผมลองทดสอบการใช้ Stationary ส่งออกหาผู้ใช้ Hotmail ดูนะครับ และนี่คือผลลัพท์ที่ได้ ดูดีไม่หยอก (รอยต่อของภาพบางส่วนใน hotmail นี้ต่อกันไม่สนิท แต่อยู่ในขั้นรับได้ และดูดีพอสมควรเลยนะครับ)

    ลองเล่นกันดูนะครับ =)

    ขอให้มีความสุขในการใช้ Mail ครับ

    การใช้ Smart Mailbox

    Smart Mailboxes : เป็นการจับกลุ่มอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไขเดียวกันจากที่เรากำหนด เป็นหลักการเดียวกับ Smart foler ในโปรแกรมอื่น ๆ บน OS X

    mail-smrtfoldr-chart_1.jpg

    ตัวอย่างการสร้าง Smart Mailboxes ไว้ใช้งาน

    ตัวอย่างที่ 1 สร้าง Smart Mailboxes สำหรับอีเมล์ที่ยังไม่ได้อ่านทั้งหมด

    จากหน้าต่างของ Mail ไปที่เครื่องหมาย +

    Picture1_43.jpg

    เลือก New Smart Mailbox..

    เข้าหน้าต่างกำหนดเงื่อนไขของ Smart Mailbox

    Picture2_37.jpg

    Smart Mailbox Name : กำหนดชื่อของ Smart Mailbox ที่เรากำลังจะสร้าง
    Contain : จะเลือกว่าเราต้องการจะใช้ Smart Mailbox นี้กับอะไร ระหว่าง เนื้อหาใน Mail หรือว่า To do
    that match : เป็นการกำหนดว่าจะให้ Smart Mailbox นี้แสดงผลลัพท์ที่เข้าข่ายทั้งหมด (All) หรือว่า เข้าข่ายเงื่อนไขบางส่วน(Any) ตามที่เรากำหนด แล้วจับผลลัพท์ที่ได้มารวมกัน
    Include messages from Trash : เลือกเพื่อให้แสงผลลัพท์จากเมล์ที่อยู่ใน Trash บน Mail ด้วย
    Include message from Sent : เลือกเพื่อให้รวมผลลัพท์จากในอีเมล์ที่ถูกส่งไปแล้วด้วย

    note : เลือก All ถ้าต้องการให้ผลลัพท์เข้าข่ายเงื่อนไขทั้งหมดที่เราตั้ง ยิ่งเรามีหลายเงื่อนไข ผลลัพท์ที่ได้จะลดลงเรื่อย ๆ ในทางตรงกันข้ามกับการเลือก Any ที่ผลลัพท์จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเราตั้งเงื่อนไขเอาไว้ไม่ดี อาจจะได้เมล์จากทุก account มารวมกันได้ครับ - -’

    ให้เราตั้งเงื่อนไขแรกเป็น Unread Message

    Picture2-1_15.jpg

    เลือกไปที่ช่อง From เพื่อทำการเปลี่ยนเงื่อนไข จากนั้นเลือกไปที่ Message is Unread

    Picture3_40.jpg
    จากนั้นเราจะได้หน้าตาของเงื่อนไขที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยตามนี้

    Picture4_22.jpg

    กด OK ผ่านไปเป็นอันเสร็จขึ้นตอนตรงนี้ครับ

    ดูในส่วนของ Smart Mailbox

    Picture5_28.jpg

    เราจะเห็น Smart Mailbox ที่เราเพิ่งสร้างใหม่อยู่ด้านซ้ายมือแล้วครับ พร้อมกับถ้าเรามีจำนวนอีเมล์ที่ยังไม่ได้อ่าน (ตามเงื่อนไขเป๊ะ ๆ) เค้าก็จะขึ้นมาเป็นตัวเลขบอกจำนวนให้เราทราบครับ ว่ามีอีเมล์ที่เข้าเงื่อนไขของ Smart Mailbox นี้กี่ฉบับ

    เป็นอันหมดในส่วนของการสร้าง Smart Mailbox เอาไว้ดูอีเมล์ที่เรายังไม่ได้อ่านนะครับ

    ตัวอย่างที่ 2 สร้าง Smart Mailboxes สำหรับอีเมล์จากผู้รับที่เรากำหนดเท่านั้น

    conditions_1.jpg

    เลือก that match ให้เป็น all หรือ any ก็ได้ สำหรับจากตัวอย่างผมเลือกเป็น any เพราะว่าต้องการให้ผลลัพท์ที่ได้รวมอีเมล์จาก 2 ผู้ส่งเข้าด้วยกัน

    From : เพื่อที่จะระบุว่า มาจากใคร
    Contains : จะเป็นการกรองชื่อว่าให้มีชื่อที่เราต้องการเท่านั้นถึงจะเข้าเงื่อนไข
    ในช่องว่าง กรอกชื่ออีเมล์ที่เราต้องการเข้าไปครับ

    note : ถ้าเราต้องการเพิ่มเงื่อนไขสามารถทำได้โดยการกดเครื่องหมาย + หรือว่า - เพื่อเป็นการเอาเงื่อนไขนั้น ๆ ออกครับ

    update : 5 พย.2551 เพิ่มภาพประกอบเกี่ยวกับ Smart mailbox

    จัดการกับข้อมูลในเนื้อหาของ Mail

    Mail เป็น app ที่ฉลาดพอที่จะแยกแยะประเภทของข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในเนื้อหาได้ครับ เช่น

    การแยกแยะวันที่ เพื่อนำมาสร้าง Event ใหม่ใน iCal ให้

    Picture8-1_3.jpg
    เมื่อคลิ๊กไปที่ลูกศรเล็ก ๆ ทางด้านขวาของข้อมูล จะมีตัวเลือกคือ

    • Create New iCal Event.. : เป็นการสร้าง Event ใหม่ใน iCal
    • Show this Date in iCal : เปิด iCal ขึ้นมาและพาเราไปยังวันที่ ที่ระบุอยู่ในอีเมล์นี้

    note : ผลลองทดสอบกับวันที่ในรูปแบบต่าง ๆ ดูแล้ว พบว่า เค้าสามารถแยกแยะออกครับ ไม่ว่าจะเขียนตัวย่อตัวเต็ม ... แต่ใช้ได้กับเฉพาะวันที่ ค.ศ. เท่านั้นนะครับ วันที่แบบไทย ๆ หมดสิทธิ์ - -

    Picture10_5.jpg
    รูปแบบวันที่ในรูปด้านบนนี้ Mail สามารถแยกแยะออกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับวันที่ และเวลาได้หมดเลยครับ

    การแยกแยะข้อมูลที่อยู่ เพื่อเพิ่มลงใน Address Book

    Picture1_31.jpg

    • Create New Contact : สร้าง Contact ใหม่ขึ้นมาใน Address Book พร้อมกับเพิ่มที่อยู่นี้ลงไปใน contact ใหม่
    • Add to Existing Contact : เพิ่มที่อยู่นี้ลงไปใน contact ที่เรามีอยู่่แล้ว
    • Show Map : แสดงแผนที่จาก google map
    • Large Type : แสดงที่อยู่เป็นตัวหนังสือขนาดใหญ่

    แยกแยะ Email ผู้ส่งเพื่อจดจำลง Address Book

    Picture5_21.jpg

    • Copy Address : เป็นการ copy ที่อยู่นี้เอาไว้ใน clipboard เพื่อเอาไป paste ที่อื่น
    • New Message : สร้างอีเมล์ตอบกลับผู้ส่งนี้ขึ้นมา
    • Add to Address Book : เพิ่มอีเมล์นี้ลงใน Address Book
    • Create Smart Mailbox : สร้าง Smart Mailbox สำหรับผู้ส่งนี้ขึ้นมา เอาไว้หาอีเมล์ฉบับอื่น ๆ ที่ถูกส่งมาโดยคนเดียวกัน
    • Spotlight : ค้นหาโดยใช้ Spotlight เพื่อหาข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับผู้ส่งนี้ที่เราอาจจะมีอยุ่ในเครื่อง เช่นไฟล์งาน ที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

    Mail Tips

    Tips & Tricks ในการใช้งาน Mail.app

    note : ถ้าเมนูด้านซ้ายมือซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง ให้ดูจากรายการด้านล่างนี้แทนครับ

    Drag & Drop - ลากแล้ววาง

    ปรกติแล้ว เราใช้การ Drag & Drop ในการจัดการตำแหน่งของไฟล์ เช่นย้ายไฟล์ไปไว้ยังที่ใหม่ แต่บน OS X การ Drag & Drop สามารถใช้งานได้มากกว่าการเคลื่อนย้ายไฟล์ครับ

    ลากแล้ววางไฟล์แนบ จากใน Mail

    ถ้าเราได้รับอีเมล์ ที่มีไฟล์ภาพแนบมาด้วย เราสามารถลากไฟล์ภาพออกมาวางไว้บน Desktop เราได้เลย ซึ่งจะเป็นการสร้างไฟล์ใหม่ขึ้นมาครับ

    drag-mailpic-1_0.jpeg

    ที่เราต้องทำคือ ให้คลิ๊กที่ไฟล์ภาพที่เราเห็นอยู่ในเนื้อหาของอีเมล์ฉบับนั้น แล้วลากไปวางไว้บน Desktop

    drag-mailpic-2_0.jpeg

    เราจะได้ไฟล์ใหม่ขึ้นมาบน Desktop ครับ ซึ่งก็คือไฟล์ภาพเดียวกับใน อีเมล์ ของเรานั้นเอง เป็นไฟล์ใหม่ ที่มีคุณสมบัติเหมือนไฟล์ภาพทั่วไปทุกประการ

    drag-mailpic-3_0.jpeg

    note :

    • เราสามารถลากไฟล์ชนิดอื่น ๆ ที่แนบมาในอีเมล์ ได้จากวิธีเดียวกันนี้ครับ
    • หรือเราจะเลือก save ไฟล์ออกมาได้จากปุ่ม Save ที่ต่อท้ายชื่อไฟล์ในส่วนของ Attachment ก็ได้

    saveattach_0.jpg

    ไม่เฉพาะกับไฟล์แนบเท่านั้น

    เราสามารถใช้การ Drag & Drop กับเนื้อหาที่เป็นตัวหนังสือบางส่วน หรือทั้งหมดในอีเมล์ได้ด้วยครับ

    1.เลือกเนื้อหาที่เราต้องการ จากนั้นให้เล็งดี ๆ ครับ เราจะลากเค้าออกมาได้ตัว cursor ของเราต้องเป็นตัว I (สัญลักษณ์เวลาเราจะพิมพ์) นะครับ ถ้าเป็น cursor ลูกศรปรกติเราจะลากไม่ได้

    Picture3_4.jpeg

    2.ลากมาวางไว้บน Desktop

    Picture5_0.jpeg

    3.ได้ไฟล์ใหม่มาแล้ว

    Picture4_2.jpeg

    Picture6_0.jpeg

    เราคลิ๊กเข้้าไปดูในไฟล์นี้ได้ครับ ว่ามีข้อความอะไรอยู่ในนี้บ้าง
    Picture7_0.jpeg
    note : ไฟล์ text ที่ได้มาบน Desktop จากขึ้นตอนนี้เราจะคลิ๊กเข้าไปดูได้ แต่จะแก้ไขไม่ได้นะครับ ดูขั้นตอนต่อไปประกอบ

    วิธีนำไฟล์ text ที่ได้ไปใช้ต่อ

    หลังจากที่เราได้ไฟล์ text ที่เราต้องการมาแล้ว ต่อมาให้เราเปิดโปรแกรม TextEdit จาก Applications/TextEdit

    Picture8_0.jpeg

    แล้วลากไฟล์ text ที่เราได้มาลงในหน้าต่างของ TextEdit ครับ

    Picture9_0.jpeg

    เราจะได้ข้อความที่เราต้องการมาอยู่ใน TextEdit แล้ว ซึ่งจากตรงนี้ เราสามารถแก้ไขเพื่อนำไปใช้ต่อในขั้นตอนอื่น ๆ ได้แล้วครับ

    Picture10_0.jpeg

    note : การลากตัวอักษรออกมานี้ สามารถนไปใช้กับ Application อื่น ๆ ได้อีก เช่น Safari , Finder หรือว่าเวลาดูไฟล์ PDF บน Preview ครับ

    หมดแล้วครับ หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อยนะครับ ยิ้ม

    Mail Tips : วิธี backup และ restore อีเมล์ในแบบต่าง ๆ ครับ

    คุณ Biggie ถามคำถามเกี่ยวกับการ backup และ restore อีเมล์ในลักษณะต่าง ๆ จากบน mail.app และมี comment ที่เป็นประโยชน์มาก ๆ จากคุณ pippo เพิ่มเติมนะครับ ผมเลยเอามาเก็บไว้ใน how to เกี่ยวกับ mail.app นี้เลย จะได้เป็นประโยชน์กับสมาชิกท่านอื่น หรือกับผู้สนใจทั่วไป

    อ่านได้ที่นี่ครับ

    http://macmuemai.com/forum/topic/1666

    Mail.app : ลบ email ที่มาจาก yahoo account

    แล้วมิกย้ายจาก Hotmail มา Yahoo เพื่ออะไรหนอ - -"
    ไหนๆก็พูดเรื่อง Mail.app แล้วขอามเลยละกันครับ มีปัญญหาพอดีเลยครับ
    - อยากรู้วิธีบลอก Mail พวก Junk Mail อะครับ ไม่ให้ติดมาด้วยตอน Get Mial ใน Mail.app มันจะมาด้วย แต่ชื่อเมลจะเป็นสีน้ำตาลๆ ทำไงถึงจะให้มันไม่โผล่มาใน Mail.app ครับ
    - พักหลังๆไม่รู้เป็นอะไรครับ ไม่สามารถลากเมลที่ต้องการจะลบเข้า Trash ของ Yahoo ได้ พอลองแล้วมันจะขึ้นตามรูปน่ะครับ เป็นเพราะมีปัญหา หรือมิกไม่กดอะไรมัั่วรึป่าวหนอ -*-

    Mail.app : วิธีอ่านเมล์ที่มาเป็นภาษาต่างดาว

    ถ้าเราได้รับอีเมล์ที่เป็นภาษาต่างดาวมา เราสามารถเข้าไปแก้ให้อ่านเป็นภาษาไทยในขั้นต้นได้แบบนี้ครับ

    1. บน Mail.app ไปที่ Message บนเมนูบาร์
    2. เลือก Text Encoding จากเดิมเขาจะตั้งเป็น Automatic ให้เราเปลี่ยนเป็น Thai (Windows,Dos) ครับ =)

    [Tip]วีธีตั้งต่า Mail app ให้ใช้ Hotmail ได้

    ได้ใช้บริการเวบนี้ตอนเริ่มทดลองลง Leopard ทำอยู่หลายวันจนรู้ว่าเราผิดยังไง เวบนี้ช่วยได้มาก ๆ เลยค่ะ ทำให้อะไร ๆ ง่ายขึ้นเยอะค่ะ

    แล้วก็ตอนเล่นใหม่ ๆ ก็อยากเล่น Mail app กับเค้าบ้าง ก็หาวิธีอยู่นานว่าจะทำยังไงให้ Mail app ใช้ เมล์ของ Hotmail ได้ เห็นหลายคนโพสไว้ว่าใช้ได้แต่ Gmail ถ้าเป็น Hotmail ต้องเสียเงิน

    แต่ตอนนี้เรามีวิธี set Mail app ให้ใช้ Hotmail ได้แล้วค่ะ มีความสุข ตอนนี้ก็เลยอยากแบ่งปันบ้าง เห็นยังไม่มีใครโพส ก็ฝากกระทู้นี้ด้วยนะคะ มีความสุข

    สำหรับ Hotmail ให้ตั้งค่าดังนี้ค่า
    Incoming Mail Server :
    * POP server: pop3.live.com (Port 995)
    * POP SSL required? Yes
    * User name: Your Windows Live ID, for example yourname@hotmail.com
    * Password: The password you usually use to sign in to Hotmail or Windows Live

    Outgoing Mail Sever :
    * SMTP server: smtp.live.com (Port 25 or 587)
    * Authentication required? Yes (this matches your POP username and password)
    * TLS/SSL required? Yes

    กรอกตัวหนาลงในช่องว่างนะคะ สำคัญที่สุด มีความสุข
    ทดลองแล้ว ใช้ได้ค่ะ
    วิธีนี้สามารถใช้ได้กับ โปรแกรม E-mail เช่น Microsoft Outlook, Eudora ได้อีกด้วยค่ะ
    ขอให้สนุกกับการเช็คอีเมล์นะคะ

    ที่มา - Windows Live Hotmail Blog
    http://mailcall.spaces.live.com/blog/cns!CC9301187A51FE33!49799.entry?sa=644575177

    การใช้ Gmail กับ Mail app

    สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ Mail กับ Account ของ Gmail สามารถทำได้ดังนี้

    เข้าไป Enable POP จากใน Gmail ของเรา

    Picture2_28.jpg

    เลือก Enable POP for All mail ครับ จะเป็นการดูดอีเมล์ทั้งหมดเข้ามาบนเครื่อง
    ถ้าเลือก
    Enable POP for mail that arrives from now on : จะเป็นการเริ่มดูดอีเมล์เข้าเครื่องเรา จากวันนี้เป็นต้นไป

    จากนั้นเลื่อนมาดูด้านล่าง

    Picture3_27.jpg

    เลือก Save Changes ครับ

    เข้ามาสร้าง New Account ใหม่บน Mail app

    (ดู การสร้าง mail account ใหม่ ประกอบ)

    setupgmailacct.jpg
    กรอก login + password ของ Gmail ที่เราใช้ลงไป พร้อมกับเลือก Automatically set up account

    แล้วเลือก Create

    จากนั้น โปรแกรมจะทำการ detect ค่าต่าง ๆ ให้เอง ให้กด Continue ผ่านไปเรื่อย ๆ เหมือนการสร้าง account ใหม่ปรกติครับ

    ขอให้มีความสุขในการใช้งาน Mail app กับ Gmail นะครับ =)

    note : ตัว Gmail เราสามารถเลือกใช้แบบ IMAP ได้นอกจาก POP นะครับ สำหรับบางคนที่ใช้งาน sync กับเครื่องหลาย ๆ เครื่อง หรือว่ากับอุปกรณ์หลาย ๆ ชิ้น IMAP จะดีกว่าแบบ POP แต่ก็มีปัญหาเกิดกับ IMAP ได้ในบางกรณี คือเค้าอาจจะทำให้เกิดอีเมล์ซ้ำซ้อน และกินพื้นที่บนเครื่องของเราได้ครับ

    และมีบาง bug บน Gmail IMAP กับ Apple Mail 3 ครับ

    imap-knowissues.jpg
    ที่มาจากหน้าเวป Known issues บน Gmail
    http://mail.google.com/support/bin/static.py?page=known_issues.cs#

    การใช้งาน Yahoo กับ Mail app

    สำหรับคนที่จะใช้อีเมล์ของ Yahoo! กับ Mail app บนเครื่องนั้น เราสามารถทำได้ครับ

    note : แต่มีข้อแม้ว่า จะต้องไม่เป็น email ที่ใช้นามสกุลว่า @yahoo.com นะครับ ส่วนที่เหลือใช้ได้หมด เช่น @yahoo.sg, @yahoo.co.th ฯลฯ

    และนี่เป็นขั้นตอนการใช้งานเมล์ของ Yahoo! กับ Mail app บนเครื่องเราครับ

    Log in เข้าไปที่ Yahoo! mail ของเรา

    ถ้าใครใช้หน้าตาเมล์ของ Yahoo แบบใหม่อยู่ให้ทำการเปลี่ยนเป็นแบบ Classic ก่อน โดยเลือกที่ Option / Switch to Yahoo! Mail Classic..

    Picture2_29.jpg

    จากนั้นเลือก Switch to Yahoo! Mail Classic อีกครั้งเพื่อยืนยัน

    Picture3_28.jpg

    พอเราได้หน้าตา email ของเรากลับเป็นรุ่นดั้งเดิม (Classic) แล้ว ให้เลือกไปที่ Option

    Picture4_14.jpg

    เข้าสู่หน้า Mail Options

    Picture5_20.jpg

    เลือก POP Access and Forwarding

    Log in เข้าไปที่ Yahoo! mail ของเรา

    Picture6_14.jpg

    1. เลือกตำแหน่งนี้
    2. จากนั้นเลือกไปที่ View POP Setting

    เข้าสู่หน้า POP Access Settings

    Picture7_16.jpg
    ให้เรานำค่าที่ได้ตรงนี้ทั้ง Incoming Mail Server(POP3) และ Outgoing Mail Server(POP3) ไปกรอกตอนที่สร้าง New Account ใน Mail app อีกที

    note : อย่าลืมตั้ง authentication ด้วยในระหว่างที่สร้าง account ใหม่นะครับ

    วิธีแก้ปัญหา Gmail บน Mail.app (Gmail account ถาม password ตลอด login ไม่ได้สักที)

    ทิปเล็ก ๆ สำหรับแก้ปัญหา login ใช้งาน Gmail account ที่เรามีอยู่บน Mail.app ไม่ได้ครับ

    Preview

    Preview : เป็น app ที่มีมากับ OS X เอาไว้สำหรับดูภาพและไฟล์ PDF

    preview-basic-1_0.jpg

    จะเรียกว่าเป็น app สารพัดประโยชน์ก็น่าจะได้ เพราะตัว app นี้สามารถทำอะไรได้เยอะมากนอกจากการเปิดอ่านไฟล์ภาพและ PDF เช่น

    • แปลี่ยนชนิดของไฟล์ภาพ (จาก .png เป็น .jpg เป็นต้น)
    • ปรับแต่งไฟล์ภาพ (ย่อ,crop, ปรับสี, หรือว่าเอาพื้นหลังของภาพออก)
    • ย่อขนาดไฟล์ภาพ / PDF
    • ปรับแต่งไฟล์ภาพแบบ batch process (ทำพร้อมกันหลาย ๆ ภาพในคราวเดียว)
    • เขียน หรือใส่สัญลักษณ์ลงในไฟล์ภาพ / PDF เพื่อการอธิบาย หรือโน๊ตสั้น ๆ สำหรับการแก้ไขงาน (ภาพประกอบหลายบทความใน แมคมือใหม่.คอม ก็ใช้ความสามารถนี้บน Preview ครับ)
    • เปิดดูไฟล์ภาพหลายไฟล์ให้เป็น Slide show ง่าย ๆ

    มี icon แบบนี้

    preview-icon.jpg

    note :

    1. ในการเปิดไฟล์ภาพ และ PDF นั้น จะมีชุดคำสั่งบน Toolbar ไม่เหมือนกัน
    2. ถ้า list ด้านซ้ายมือซ้อนกัน ให้ดูจาก link ด้านล่างนี้แทนนะครับ ยิ้ม

    การปรับแต่งไฟล์ภาพบน Preview

    คำสั่งในการจัดการไฟล์ภาพบน Preveiw

    คำสั่งแต่งรูปภาพ

    โดยพื้นฐานแล้วบนเมนูของ Preview เราสามารถปรับแต่งรูปภาพได้ด้วยคำสั่ง Tools/ Adjust Color เราจะได้หน้าต่างนี้ขึ้นมา

    adj-color_1.jpg

    • Exposure : เป็นการปรับค่าความสว่างโดยรวมของภาพ
    • Brightness : ปรับค่าความสว่าง (ความขาว)
    • Contrast : ปรับ Contrast ของภาพ
    • Saturation : ปรับความอิ่มของสี
    • Temperature : ปรับ white balance โดยหลักจะเป็นการปรับเพิ่มสีน้ำเงิน - ส้ม(เพิ่มโทนเย็น หรือว่าอุ่นให้กับภาพ)
    • Tint :ปรับเพิ่มสีเขียว - แดง ให้กับภาพ
    • Sepia : ลดค่าสีต่าง ๆ ลง + เพิ่มสีโทนน้ำตาลให้มากขึ้น (ออกไปในทาง Sepia)
    • Black Level : ปรับเฉพาะส่วนโทนมืดของภาพ (เพิ่มน้ำหนักให้ภาพมิดลง)
    • White Level : ปรับเฉพาะส่วนสว่างของภาพ
    • Auto Levels : หลักการคือการปรับส่วนมืดและสว่างของภาพให้พอดีกัน (คล้าย ๆ คำสั่ง Auto Level บน Photoshop หรือ iPhoto)
    • Sharpness : เพิ่ม Contrast ของ pixel ทำให้ภาพดูชัดขึ้น (เหมือนคำสั่ง Sharpen บนโปรแกรมแต่งภาพทั่วไป)
    • Reset All : เป็นการกลับไปสู่สภาพก่อนการปรับแต่ง

    คำสั่งปรับขนาดภาพ

    บนเมนูเลือก Tools/ Adjust Size...

    adj-size_1.jpg

    • Fit into : เป็นขนาดสำเร็จรูป ที่สามารถเลือกได้จากตรงนี้
    • Width / Height : กำหนดความกว้าง x สูง ของภาพเอง ในกรณีที่ไม่มีให้เลือกในส่วนของ Fit into
    • Resolution : สำหรับค่า Resolution (ถ้าจะใช้บน web หรือบนหน้า monitor ปรับเอาไว้สัก 72-90 ก็พอครับ แต่ถ้าจะเอาไปพิมพ์ ปรับไว้ที่ 150 ขึ้นไป หรือลองปรับดูที่ resolution ต่าง ๆ ว่าอันไหน พิมพ์ออกมาแล้วชัด โดยที่ไฟล์ไม่ใหญ่เกินไปนะครับ)
    • Scale proportionally : ถ้าเลือกตรงนี้ไว้ การปรับความกว้าง x สูงของภาพ จะยังคงรักษาสัดส่วนของภาพเอาไว้ครับ เช่น ถ้าต้นฉบับของภาพ มีสัดส่วน 3:2 ภาพใหม่ย่อ/ ขยาย ก็จะยังคงสัดส่วนนี้เอาไว้ด้วย
    • Resample image : เป็นการสร้าง Pixel ขึ้นมาใหม่เวลาเราย่อ / ขยายภาพ (เลือกตรงนี้เอาไว้ถ้าต้องการเปลี่ยนขนาดภาพไปใช้บน web หรือต้องการกำหนดขนาดภาพใหม่เป็นหน่วย pixel )
    • ในช่องดานล่าง จะบอกขนาดของภาพใหม่เป็นสัดส่วนเทียบกับของเดิมเป็น % และขนาดไฟล์คร่าว ๆ

    การ Crop ภาพ

    ถ้าเราต้องการส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพ สามารถทำได้ดังนี้

    crop_1.jpg

    1. เลือกคำสั่ง Select (จะเลือกเป็นสี่เหลี่ยม วงกลม หรือว่า Lasso Tool ก็ได้ครับ - ตัวอย่างผมเลือกแบบเป็นสี่เหลี่ยม)
    2. คลิ๊กลากบริเวณที่ต้องการจะ Crop
    3. จากนั้นไปที่เมนู Tools/ Crop หรือกด Command + K เราจะได้รูปที่เรา Crop ไว้แล้วแบบนี้
    4. crop-12_1.jpg
    5. จากนั้นก็ save as เป็นไฟล์ใหม่ไปเป็นอันเสร็จพิธี ยิ้ม

    การนำพื้นหลังออกจากภาพ

    สำหรับผู้ที่ต้องการนำภาพไปใช้ประกอบงาน graphic อื่น ๆ เช่นงาน presentation ที่เราต้องการเฉพาะ subject บางตัวบนภาพ และไม่อยากได้ background ที่ติดมาด้วย เราสามารถทำตรงนี้ได้บน Preview เลยครับ

    1.ใน Toolbar เลือก Selection แบบ Instant Alpha

    Picture2_33.jpg

    2.เราจะเห็นคำแนะนำการใช้งานคำสั่งนี้ในหน้าต่างของ preview ด้วย .. ให้เลือกบริเวณของ background ที่เราไม่ต้องการ ไฮไลท์ลงในภาพได้เลยครับ ระหว่างนี้เราจะเห็น preview ส่วนที่เข้าข่ายกับที่เราเลือกเอาไว้เป็นสีแดง ซึ่งจะเป็นบริเวณที่จะถูกลบออกไปครับ

    Picture5_25.jpg

    3.ถ้าเราพอใจกับผลที่ได้แล้ว กด Enter เค้าจะขึ้นสรุปบริเวณที่เราไม่ต้องการมาให้เป็นไฮไลท์สีขาว
    Picture4_18.jpg
    4.จากนั้นกด Enter อีกครั้งเพื่อยืนยัน แล้วเราจะได้ภาพที่ background หายไปแล้ว
    Picture6_16.jpg
    5.เลือกคำสั่ง Save as ให้เป็นไฟล์แบบที่สามารถเก็บค่า Alpha เอาไว้ได้ (ค่า Background ใส ๆ ) เช่น PNG, PDF, TIFF หรือว่า Gif

    Picture7_18.jpg

    เราจะได้ไฟล์ที่ไม่มี Background พร้อมใช้งานแล้วครับ มีความสุข

    note : คำสั่ง Instant Alpha นี้มีในโปรแกรม Keynote ของชุด iWork ด้วยนะครับ จะใช้จากตรงนั้นเอาก็ได้ ให้ผลเดียวกัน

    การแยก Subject ออกจากพื้นหลัง

    คำสั่ง Extract Shape จะมีหลักการคล้ายกับ Instant Alpha ครับ ที่จะนำ Background ของภาพออก (ดู การนำพื้นหลังออกจากภาพ ประกอบ ) มีที่แตกต่างกันนิดหน่อย คือคำสั่ง Instant Alpha เราจะต้องเลือก Crop Subject ที่เราต้องการก่อน แล้วค่อยเอา background ออก แต่บนคำสั่ง Extract Shape นี้ เราเลือกเฉพาะ Subject ที่ต้องการ แล้ว Preview จะตัดเฉพาะที่เราเลือกเลย ซึ่งภาพที่ได้ก็จะไม่มี background เหมือนกับ Instant Alpha ครับ

    เป็นคำสั่งที่ช่วยในการไดคัทภาพแบบรวดเร็วอีกวิธีหนึ่ง

    ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง Extract Shape

    1.เปิดไฟล์ภาพที่เราต้องการขึ้นมา แล้วเลือก Selection แบบ Extract Shape

    etshape-1-1.jpg

    2.เลือกโดยรอบ subject ที่เราต้องการ

    etshape-2-1.jpg

    วงให้ครบรอบนะครับ แล้วเราจะได้ตัวเลือกแบบนี้ขึ้นมา
    etshape-3-1.jpg
    note : จากตรงนี้ เราสามารถปรับลดจุดที่ต้องการได้ หรือจะปรับรูปร่างที่เราเลือกเอาไว้ใหม่ได้เลย เหมือนการทำงานบน Vector ทั่วไป

    3.กด Enter เพื่อยืนยันพื้นที่ หรือว่า Subject ที่เราต้องการ

    etshape-4.jpg
    จะเห็นพื้นที่บริเวณที่เราไม่ต้องการเป็นสีเทา
    จากนั้นกด Enter อีกครั้งเพื่อยืนยัน เราจะได้ไฟล์ใหม่ที่มีเฉพาะ Subject ที่เราเลือกเอาไว้ + Background ใส ๆ บางส่วนแล้ว (ถ้าเราต้องการจะเอา Background ออกทั้งหมด ให้ใช้คำสั่ง Instant Alpha ต่อจากตรงนี้อีกทีนะครับ - ดู การนำพื้นหลังออกจากภาพ ประกอบ - อีกที แบร่..)
    etshape-5.jpg
    เสร็จแล้วก็เลือก Save as เป็นไฟล์แบบที่เก็บค่า Alpha ได้ต่อไป (PNG, PDF, TIFF หรือว่า GIF)

    Preview Tips

    Tips & Tricks ในการใช้งาน Preview

    note : ถ้าเมนูด้าซ้ายมือซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง ให้ดูจาก link ด้านล่างนี้แทนนะครับ

    จัดการไฟล์ภาพพร้อมกันเป็นกลุ่ม

    เราสามารถจัดการไฟล์แบบเป็นกลุ่ม พร้อมกันได้จากบน Preview ครับ (หรือที่เรียกว่า Batch Processing) ส่วนใหญ่แล้วจะช่วยให้เราจัดการไฟล์พร้อมกันทีละเยอะ ๆ ได้เร็วขึ้น เช่น เปลี่ยนขนาดไฟล์ เปลี่ยนชนิดไฟล์ หรือว่าการปรับแต่งกับภาพอื่น ๆ

    วิธีการ Batch Process บน Preview

    เปิดไฟล์ภาพที่เราต้องการทั้งหมดขึ้นมา

    select.jpg

    เลือกทั้งหมดแล้วดับเบิลคลิ๊กไป จะเปิด Preview ขึ้นมา (เราจะเห็น sidebar แสดงขึ้นมาด้วย ภาพที่เราเลือกทั้งหมด จะมารวมกันอยู่ตรงนี้ครับ)

    sidebar-1_0.jpg
    อธิบาย

    1. ปุ่มย่อขยายขนาดของ sidebar (ประมาณเดียวกับบน Finder หรือ app อื่น ๆ ที่มีตรงนี้ครับ )
    2. ปุ่ม Action จะเป็นคำสั่งเพิ่มเติมที่จะมี
      • Sort By : เป็นการเรียงลำดับของรูปที่แสดงบน Side bar
      • Mail Selected Images : ส่งเมล์รูปที่เราเลือก
      • Send Selected Images to iPhoto : นำรูปที่เลือกเข้า iPhoto
      • Save Selected ... : เป็นการ Save ไฟล์ภาพที่เลือกเอาไว้ครับ จะเปลี่ยนชนิดของไฟล์ที่เราเลือกจากตรงนี้เลยก็ได้
    3. Slide bar : เอาไว้ปรับขนาดของภาพที่แสดงใน Side bar

    ที่เราต้องทำต่อไปคือ เลือกภาพที่เราต้องการจากใน Side bar จะเลือกทั้งหมด หรือว่าบางส่วนก็ได้ จากนั้น เข้าสู่คำสั่งการแต่งภาพเหมือนปรกติทั่วไป (ดู การปรับแต่งไฟล์ภาพบน Preview ประกอบ)

    note :

    1. เมื่อเราปรับแต่งภาพทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราจะปิด Preview เค้าจะมีหน้าต่างมาแจ้งเตือนว่าจะ Save การเปลี่ยนแปลงที่ไฟล์ต้นฉบับหรือไม่ ในกรณีที่เรา Save as ไปที่อื่นแล้ว ก็เลือก DIscard ไปครับ
    2. คำสั่งบางอันใช้บน Batch Process ไม่ได้นะครับ ยิ้ม

    คำสั่งที่ใช้ได้เท่าที่ผมลองมีดังนี้

    • Adjust Size..
    • Assign Color Profile
    • Match Color Profile
    • Save As (เลือกจาก Save Selected ในปุ่ม Action ครับ)

    คำสั่งที่ใช้ตอนเลือก Process หลายภาพพร้อมกันไม่ได้

    • Adjust Color (อันนี้ปรับพร้อมกันหมดโดย set ครั้งเดียวไม่ได้ ต้องค่อย ๆ ไล่ทำทีละภาพ)
    • ใส่ Annotation ไม่ได้ (ถ้าเข้าสู่การ Batch Process เมื่อไหร่ เราจะใส่พวกลูกศร หรือตัวหนังสือลงบนภาพไม่ได้ครับ จะทำทีละภาพก็ไม่ได้ - -a)

    Annotation : ความสามารถที่ซ่อนอยู่บน Preview

    Annotation : คือการใส่ตัวอักษร, ลูกศร หรือว่าเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนภาพ / PDF ครับ เอาไว้สำหรับการอธิบายประกอบภาพ และผมใช้งานตรงนี้ทำภาพติวเตอร์ในหลาย ๆ ส่วนบน แมคมือใหม่.คอม นี้ด้วยเหมือนกันครับ ยิ้ม

    annotate-1_2.jpg

    ก่อนที่เราจะใส่ Annotation ได้ เราต้องทำการเพิ่มคำสั่งนี้ให้มาอยู่บน Toolbar ใน Preview ของเราก่อนะครับ (โดยค่าพื้นฐานแล้ว คำสั่งนี้จะซ่อนอยู่ )

    annotate-2_2.jpg

    ภาพ Tool bar ปรกติบน Preview ที่จะไม่มีคำสั่ง Annotate มาให้

    note : ตัวอย่างนี้สำหรับการ Annotate ไฟล์ภาพบน Preview นะครับ ถ้าใครต้องการ Annotate PDF ก็ต้องทำแบบเดียวกันคือเพิ่มคำสั่ง Annotate เข้าไปใน Toolbar ก่อน แล้วถึงจะใช้งานได้ (ดู การใช้ Annotate กับไฟล์ PDF ประกอบ)

    การเพิ่มคำสั่ง Annotate ใน Preview (สำหรับ Image Files)

    1.คลิ๊กขวาบน Toolbar เลือก Customize Toolbar (หรือจะไปที่คำสั่งบนเมนู เลือก View/ Customize Toolbar ก็ได้ ให้ผลเหมือนกัน)

    annotate-3_2.jpg

    2.จากนั้นให้ลากปุ่ม Annotate ขึ้นมาไว้บน Toolbar

    annotate-4_2.jpg

    annotate-5_2.jpg

    เมื่อวางปุ่น Annotate บน Toolbar เสร็จแล้ว คลิ๊ก Done เพื่อปิดการ Customize Toolbar ไป

    แล้วเราก็จะได้ Toolbar ใหม่ที่มีคำสั่ง Annotate ให้ใช้แล้ว แบบนี้

    annotate-6_2.jpg

    การใช้งานคำสั่ง Annotate

    ในชุดคำสั่งของ Annotate มีตัวเลือกด้วยกัน 4 คำสั่งครับ

    annotate-7_2.jpg

    1. Oval : รูปทรงกลม
    2. Rectangle : รูปทรงสี่เหลี่ยม
    3. Note : ใส่อักษรหรือว่าพิมพ์ข้อความ
    4. Line : สร้างเส้น หรือว่าลูกศรชี้

    Tips การใช้ Annotate

    • ปรกติแล้วทุกครั้งที่เราใส่ Annotate จะมีเงาเกิดขึ้น ถ้าเราไม่ต้องการเงา ให้กด S
    • การใส่ Note เราสามารถปรับสีของตัวหนังสือได้ จากคำสั่ง Command +T เพื่อจัดการกับตัวหนังสือเหมือนบน word process app ทั่วไป
    • การวาด Line จะมีลูกศรติดมาให้เสมอ ถ้าเราไม่ต้องการตรงนี้ ให้กด 1หรือ 2 เพื่อเพิ่ม ลด ลูกศรที่ปลายเส้นในแต่ละด้าน

    การแชร์ไฟล์แบบ PDF [update]

    สำหรับผู้ที่ใช้ windows มานาน อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับทำงานกับไฟล์แบบ PDF นี้ ที่ส่วนใหญ่จะทำให้นึกถึงซอฟแวร์ราคาแพงและดูเป็นเรื่องไกลตัว เลยพาให้ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้ว PDF นี่จริง ๆ เอาไว้ทำอะไร, ใช้อย่างไร หรือว่าทำให้ชีวิตเราดีขึ้นได้ยังไงบ้าง ยิ้ม

    ผมเลยตั้งใจว่าจะลองอธิบายการใช้งานไฟล์ PDF บน OS X แบบคร่าว ๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ใช้ mac มือใหม่ไม่น่าจะมองข้ามครับ

    ไฟล์แบบ PDF คือ?

    นานมาแล้ว การทำงานเอกสารหรือการแชร์ไฟล์ข้ามโปรแกรม หรือว่าข้ามระบบปฎิบัติการ มักจะเป็นเรื่องยุ่งยาก เพราะแต่ละค่ายก็จะมีวิธีการจัดการไฟล์เอกสารแตกต่างกันออกไป ทำให้เราไม่สามารถนำไฟล์จากโปรแกรม A มาเปิดดูบนเครื่องที่ไม่มีโปรแกรม A ได้..

    PDF เลยเกิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ ให้ลองนึกภาพคร่าว ๆ ว่าไฟล์ PDF ก็เหมือนไฟล์มาตรฐานสากลเหมือนไฟล์ภาพ JPEG หรือ GIF ที่เป็นมาตรฐานที่โปรแกรมจัดการกับภาพส่วนใหญ่รับรู้และแสดงผลเหมือน ๆ กัน PDF ก็เกิดขึ้นมาสำหรับไฟล์เอกสารครับ โดยทั่วไป สามารถเปิดข้ามระบบ OS ได้ โดยที่การแสดงผลยังเหมือนเดิม

    การแชร์ไฟล์ผ่าน PDF มีข้อดีคือ เราแทบไม่ต้องคำนึงถึงเรื่อง font ว่าเครื่องปลายทางจะมี font หรือว่าโปรแกรมเฉพาะกิจสำหรับเปิดไฟล์เอกสารที่เรามีอยู่หรือไม่ เพราะบน windows pc จะมีโปรแกรมฟรีชื่อ Adobe Acrobat Reader เอาไว้เปิดตรงนี้ได้ และมีมาให้ใน windows แทบจะทุกเครื่อง หรือถ้าไม่มี ก็สามารถ download ได้จากหน้าเวปของ Adobe ครับ ส่วนบน OS X เราเปิด PDF ได้ผ่านโปรแกรม Preview ที่มีมากับ OS X ทุกเครื่องอยู่แล้วครับ =)

    คร่าว ๆ เป็นประมาณนี้ แต่นอกจากไฟล์แบบเอกสารแล้ว PDF ยังสามารถแป่ะไฟล์ multimedia อื่น ๆ ลงไปได้อีก หรือว่าสามารถนำไปใช้ในกระบวนการพิมพ์ชั้นสูงได้ต่อไป แต่สำหรับตรงนี้ ผมคงเขียนเกี่ยวกับการใช้งานกับไฟล์เอกสารทั่วไปนะครับ

    การสร้างไฟล์ PDF บน OS X

    มีหลายวิธีดังนี้

    1.Export to PDF : หลายโปรแกรมรองรับตรงนี้ครับ และเชื่อว่าผู้ใช้งานส่วนใหญ่จะคาดหวังในคำสั่งนี้ แต่ไม่ทุกโปรแกรมที่ทำงาน Export ได้ดีพอ และมักจะมีปัญหาการแสดงผลที่คลาดเคลื่อนได้จากคำสั่งนี้ในบางโปรแกรม

    2.Print to PDF : เป็นการสร้างไฟล์ PDF ผ่านคำสั่ง print ครับ เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวก เพราะทุกโปรแกรมบน OS X สามารถสั่ง print ได้อยู่แล้ว และเท่าที่ผมใช้งานตรงนี้มา มีความคลาดเคลื่อนของหน้าตาเอกสารน้อยกว่าวิธีแรกเยอะมากครับ =)

    เราสามารถสร้างไฟล์ PDF ได้จากไฟล์ในทุกรูปแบบที่โปรแกรมสามารถสั่ง print ได้ ลองเปิดไฟล์อะไรขึ้นมาดู แล้วสั่ง Print จากนั้น ให้ลองเลือกที่มุมด้านซ้ายล่างหัวข้อ PDF ดู จะมีตัวเลือกออกมาอีก แบบนี้ครับ

    print-to-pdf_0.jpg

    ให้ลองเลือก Save as PDF เพื่อ save ลงในเครื่อง แล้วลองเปิดด้วย Preview ขึ้นมาดู .. เราก็จะได้ไฟล์ PDF ตามที่เราต้องการแล้ว

    note : การสร้างไฟล์ PDF ด้วยวิธีนี้ ตัวหนังสือภายในไฟล์เอกสาร สามารถ hilight ได้ หรือพูดให้ง่ายคือ spotlight สามารถ index เพื่อค้นหาได้ครับ

    3.สร้างไฟล์ PDF ผ่านโปรแกรมจากค่ายอื่น ๆ : ถ้าเราต้องการความสามารถที่นอกเหนือไปจากการสร้างไฟล์ PDF แบบทั่วไปบน OS X แล้ว เราก็สามารถใช้โปรแกรมอื่นสร้างไฟล์ PDF ได้เหมือนบน PC ครับ

    สรุปข้อดีของ PDF

    • ไม่ต้องกังวลเรื่องการรับส่งไฟล์ หรือนำไฟล์ไปเปิดบนเครื่องอื่น สำหรับไฟล์เอกสาร ก็ไม่ต้องกังวลเรื่อง font หรือ layout เพราะ PDF มีความเป็นมาตรฐานในตัวเอง ที่มีผู้พัฒนาโปรแกรมคอยทำตาม ทำให้เปิดข้ามโปรแกรมหรือข้าม OS กันได้แบบไม่ค่อยมีปัญหา
    • สามารถค้นหาได้ในตัว PDF เอง ตรงนี้เป็นข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนจากแต่ก่อนที่เราพยายามทำไฟล์เอกสารให้เป็นไฟล์ภาพ เพราะมีการเก็บค่าของตัวอักษรเอาไว้ใน PDF ทำให้โปรแกรม search ในเครื่อง (หรือบน OS X = spotlight) สามารถ index คำค้นต่าง ๆ เพื่อค้นหาภายหลังได้อีก ซึ่งค่อนข้างสะดวกในการจัดเก็บเอกสารเยอะ ๆ ข้ามปี โดยที่ไม่ต้องกังวลว่าถ้า upgrade โปรแกรมพวก Office suit ไปแล้วจะกลับมาเปิดอ่านไม่ได้
    • เก็บเอกสารหลาย ๆ หน้าไว้ใน PDF ไฟล์เดียวได้
    • ไฟล์ PDF เองมัศักยภาพมากพอที่จะจดจำค่าสีที่ถูกต้อง และสามารถนำไปพิมพ์หรือทำ production ในส่วนของงานพิมพ์ได้ถ้าเข้าใจวิธีการทำ workflow ที่ถูกต้อง
    • มีความยืดหยุ่นกว่าการทำเอกสารเป็นไฟล์ภาพ เพราะ PDF สามารถเก็บ media ต่าง ๆ ไว้ในตัวเองได้ด้วย

    ข้อด้อย

    • เกิดจากที่ผู้ใช้งานไม่รู้ว่าจะจัดการกับไฟล์ PDF อย่างไร รวมไปถึงการใส่ note หรือทำ annotate อื่น ๆ ให้กับไฟล์ PDF ตรงนี้ทำให้เกิดความรู้สึกว่ายุ่งยาก และซับซ้อนกว่าที่เคยรับส่งไฟล์เอกสารเป็น .doc หรือเป็นไฟล์ภาพ JPG ทั่วไป
    • โดยส่วนใหญ่แล้ว เราไม่สามารถแก้ไขไฟล์เอกสารที่เป็น PDF โดยตรงได้ คือทำได้ แต่ต้องใช้โปรแกรมเฉพาะ ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปคิดว่าไม่สะดวก .. เพราะโดยธรรมชาติของ PDF เองแล้ว เค้าถูกออกแบบมาเพื่อการเป็น “สื่อกลาง” สำหรับแชร์ข้อมูล จากเครื่อง A มายังเครื่อง B หรือเครื่อง C โดยพยายามคงสภาพของต้นฉบับเดิมเอาไว้ให้เพี้ยนน้อยที่สุดครับ

    อ่านประกอบ :
    การใช้ Preview จัดการกับไฟล์ PDF
    http://macmuemai.com/content/215

    [update เพิ่มข้อดี, ข้อด้อยของ PDF เท่าที่ผมพอจะนึกออกครับ - ก๊อก]

    สงสัยเกี่ยวกับสัญลักษณ์ของ PDF File

    สงสัยว่าทำไมไฟล์ PDF (ดังภาพ) จึงมีสัญลักษณ์แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่มาจากโปรแกรมเดียวกันครับ

    /จากความผิดพลาดของผมทำให้ภาพตอนบนคลาดเคลื่อน จึงทำภาพและเนื้อหาใหม่ ซึ่งในการนี้ทำให้ผมได้ข้อสรุปบางอย่างเพิ่มขึ้นเสริมจากที่คุณ pippo ได้กรุณาไว้ ดังนี้

    - อันที่ 1 กับ 5 เหมือนกัน คือไฟล์ PDF ที่มีหน้าเดียวครับ

    - อันที่ 3 กับ 4 คือไฟล์ที่มีมากกว่า 1 หน้า (จึงเห็นมีสันเหมือนการเข้าเล่มกระดูกงู)
    - อันที่ 2 มักพบเมื่อเราส่งไฟล์ข้ามระหว่าง OSX กับ Window เช่นส่งเป็น attach ไฟล์ไปให้กัน หรือไฟล์ที่ไม่ใส่นามสกุลก็จะเป็นเช่นกันครับ รวมถึง เกิดจากการนำไฟล์ภาพ มาแปลงเป็นไฟล์ PDF ด้วยครับ


    [ผมได้ edit โพสแรกนี้ให้อ่านได้ง่ายขึ้นและแก้ภาพที่ผิดออกแล้วนะครับ - kok]

    การใช้ Annotate กับไฟล์ PDF

    อธิบายการใช้ Annotate + Mark Up กับ PDF ไฟล์บน Preview

    ก่อนอื่น เราต้องเพิ่มชุดคำสั่ง Annotate และ Mark Up เข้าไปบน Toolbar ของ Preview ก่อน โดยการไปที่เมนูบาร์ เลือก View/ Customize Toolbar แล้วเลือกชุดคำสั่ง Annotate กับ Mark Up มาใส่ไว้บน Toolbar ของ Preview (ดูวิธีการเดียวกันนี้ได้จากAnnotation : ความสามารถที่ซ่อนอยู่บน Preview ประกอบ)

    annotate-pdf_0.jpg

    หลังจากเราเห็นชุดคำสั่ง Annotate + Mark Up บน Toolbar ของเราแล้ว ก็เริ่มการใช้งานได้เลย


    คำสั่ง Annotate สำหรับ PDF

    คำสั่ง Annotate สำหรับไฟล์ PDF นั้นจะมีที่แตกต่างจาก Annotate สำหรับไฟล์ภาพอยู่นิดหน่อยนะครับ แต่หลัก ๆ แล้วเหมือนกัน คือเปิดโอกาสให้เราใส่โน๊ต หรือว่าเครื่องหมายสี่เหลี่ยม, วงกลม เพื่อประกอบการอธิบายต่าง ๆ ได้

    annotate-menu_0.jpg
    • Oval : ใส่เครื่องหมายวงกลม
    • Rectangle : ใส่เครื่องหมายสี่เหลี่ยม
    • Note : ใส่โน๊ต หรือว่าข้อความเพิ่มเติมเข้าไปใน PDF ครับ จะเป็นการแยกออกมาต่างหากจากในเนื้อหา แบบนี้
    addnote_0.jpg

    อธิบาย

    1. เลือก Annotate เป็น Note
    2. เลือกตำแหน่งที่เราต้องการจะใส่โน๊ต
    3. พิมพ์รายละเอียดของโน๊ต

    note : การใส่ note ลงใน PDF นี้สามารถอ่านได้จากบน windows pc ครับ

    • Link : ใส่ Link ลงใน PDF ครับ โดย Link ที่อยู่ใน PDF นี้มี 2 แบบ
      • Link ไปยัง URL ของเวปที่กำหนด
      • Link ไปยังเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ภายในไฟล์ PDF นั้น ๆ เอง

    note : เราสามารถกำหนดหรือว่าแก้ไข Link ได้จากใน Inspector ครับ ดูวิธีการจากหัวข้อถัดไป

    การ Link ไปยังหน้าที่ต้องากรในไฟล์ PDF

    pdf-link-1_1.jpg

    pdf-link-2_0.jpg

    อธิบาย

    1. เลือกไฮไลท์ข้อความที่ต้องการทำ Link
    2. เลือกคำสั่ง Annotate / Link
    3. เค้าจะเปิด Inspector ขึ้นมาให้เราเลือก Action : Link within PDF
    4. เลือกหน้าปลายทางที่ต้องการ Link ไป
    5. เลือก Set Destination เพื่อยืนยันการสร้าง Link

    note :

    1. เราสามารถดูได้ว่า Link ปัจจุบันนั้นมีปลายทางไปยังหน้าไหนของไฟล์ PDF โดยดูจาก Destination : Go to page ... ใน Inspector นี้ครับ
    2. ถ้าต้องการทดสอบว่า Link ใช้งานได้หรือไม่ ให้เอาตัวเลือก Edit Link Annotation ออกจาก Inspector แล้วลองคลิ๊กดูที่ข้อความเพื่อทดสอบ Link ครับ
    test-link_0.jpg

    การสร้าง Link ไปยัง URL ที่กำหนด

    pdf-link-1_2.jpg

    set-url_0.jpg

    อธิบาย

    1. เลือกคำที่ต้องการสร้าง Link
    2. ที่คำสั่ง Annotate เลือก Link
    3. ใน Inspector เลือก Action : URL
    4. กรอก URL ของเวปปลายทางที่ต้องการ
    5. เลือก Set URL เพื่อเป็นการยืนยัน

    การใช้ Mark Up

    mark-menu_0.jpg

    Mark Up เป็นการเพิ่มการแสดงผลเกี่ยวกับตัวหนังสือภายใน PDF ครับ มีคำสั่งด้วยกัน 3 ตัวคือ

    • Highlight : ตรงตัวคือการไฮไลท์ข้อความที่ต้องการ
    • Strike Through : ขีดฆ่าข้อความ
    • Underline : เป็นการขีดเส้นใต้

    note : ถ้าต้องการยกเลิก Mark Up ให้เลือกทำซ้ำแบบเดิมครับ (ตอนที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ 10.5.5 มีอาการยกเลิกได้บ้างไม่ได้บ้างครับ ไม่รู้ทำไม - -a)

    Quick Look

    Quick Look : เป็น Feature ใหม่ที่มีมาบน OS X Leopard เอาไว้สำหรับพรีวิวดูไฟล์ต่าง ๆ แบบคร่าว ๆ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเปิด app สำหรับไฟล์นั้นขึ้นมา เป็นวิธีที่ค่อนข้างสะดวกเวลาที่เราต้องการเปิดดูหรือว่าค้นหาไฟล์ที่เราต้องการแบบรวดเร็วนะครับ

    qlook-icon.jpg

    เราสามารถเรียกใช้งาน Quick Look ได้จากปุ่มเครื่องหมายลูกตาบน Finder หรือเลือกไฟล์ที่ต้องการแล้วกด Space bar ครับ

    จะเลือกดูเดี่ยว ๆ หรือจะเป็นกลุ่มก็ได้

    qlook-1-1.jpg

    หรือจะใช้ Quick Look ร่วมกับ Cover Flow บน Finder ก็สะดวกไปอีกแบบนะครับ ยิ้ม

    qlook-2.jpg

    คำสั่งต่าง ๆ บน Quick Look

    qlook-buttons.jpg

    อธิบาย
    1.ส่วนควบคุมลำดับไฟล์ที่แสดงผลใน Quick Look จะมีตรงนี้เมื่อเราเลือกไฟล์มาเป็นกลุ่ม ใช้สำหรับเลือกดูไฟล์ก่อนหน้า หรือลำดับถัดไป และสามารถแสดงเป็น Slide Show ง่าย ๆ ได้ด้วย (กดปุ่ม play )
    2.Index Sheet : สำหรับการแสดง Thumbnail ของกลุ่มไฟล์ทั้งหมดที่เราเลือก

    qlook-1.jpg

    3.Full Screen Mode : แสดงผลแบบเต็มจอ
    4.Send to iPhoto : เลือกส่งไฟล์ภาพที่เราเปิดบน Quick Look เข้า iPhoto ครับ

    เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ Quick Look

    • เราสามารถใช้ Quick Look ได้จากทั้งบน Finder (ในทุก View Option)
    • ShortCut สำหรับใช้งาน Quick Look คือ Space Bar
    • เราสามารถดูเนื้อหาของไฟล์ Text ได้จากใน Quick Look
    • ถ้าเราเลือกไฟล์เป็นกลุ่มแล้วใช้ Quick Look เราสามารถดูไฟล์ทั้งหมดเป็นแบบ Thumbnail ได้จากปุ่ม Index Sheet ที่อยู่ด้านล่างของหน้าต่าง Quick Look
    • สร้าง Slide Show แบบง่าย ๆ ได้บน Quick Look
    • เราเรียกใช้ Quick Look ได้จากการคลิ๊กขวา แล้วเลือก Quick Look
    • ถ้าเรา Quick Look กับแฟ้มปรกติ เราจะทราบรายละเอียดของแฟ้มนั้น (ถ้าจะเลือกดูเนื้อหาของแฟ้มนั้นด้วย เราต้องลง plug-in เพิ่มครับ)
    • ถ้าเราเลือกหลายไฟล์ เรากดปุ่มลูกศรบนคีบอร์ดเพื่อเลื่อนไปดูไฟล์ก่อนหน้า หรือถัดไปได้ หรือจะคลิ๊กเมาส์ไปที่ไฟล์ที่ต้องการจะดูตรง ๆ เลยก็ได้
    • สามารถเปิดไฟล์ Keynote presentation ได้ (ดูแต่ละ slide ได้)
    • การดูไฟล์ภาพ ถ้าเรากด Option ค้างเอาไว้ แล้ว Scroll ขึ้น-ลง จะเป็นการย่อ - ขยาย ภาพ หรือจะกด Option + Click = zoom in, Option + Shift + Click = zoom out
    • ไฟล์ PDF เราสามารถดู PDF ที่มีหลายหน้าทั้งหมดได้จากใน Quick Look (กด Command +, Command - เพื่อย่อขยายเนื้อหาใน PDF ได้)
    • ไฟล์ Video จะมีตัว player มาให้เราเปิดดูไฟล์ Video ได้จากใน Quick Look
    • ไฟล์เสียง มีตัว player มาให้เราฟังเสียงได้เลยใน Quick Look ครับ

    File ที่ Quick Look เปิดได้เลย

    • PDFs
    • HTML (คลิ๊กบน link ไม่ได้ แต่จะแสดงว่า link ไปที่ไหน)
    • QuickTime
    • ASCII
    • RTF
    • Apple iWork (Keynote, Pages, Numbers)
    • ODF document
    • MS Word, Excel, PowerPoint
    • RAW (ตัวที่ถูกบรรจุเข้าไปใน OS แล้ว ดูได้จากหน้านี้ครับ http://support.apple.com/kb/HT1475)

    ไฟล์ที่อยู่นอกเหนือจากนี้ เราต้องลง plug-in เพิ่มเพื่อให้เปิดจาก Quick Look ได้ครับ (ดูหัวข้อถัดไปประกอบ)

    Plug-in

    ไฟล์พื้นฐานโดยทั่วไปภายใน OS X เราสามารถใช้ Quick Look เปิดูได้หมด ถ้าเราต้องการเปิดไฟล์โปรแกรมเฉพาะทางผ่าน Quick Look เช่นพวก .psd .ai หรือไฟล์ Video format ใหม่ ๆ พวก HD, AVCHD ฯลฯ เราสามารถเข้าไปโหลด plug-in สำหรับ Quick Look ได้จาก
    http://www.quicklookplugins.com/ (บางตัวฟรี และบางตัวไม่ฟรี)
    http://www.qlplugins.com/ (บางตัวฟรี บางตัวไม่ฟรีเหมือน link ข้างบนครับ)

    เพิ่มเติม
    http://www.apple.com/macosx/features/quicklook.html
    http://en.wikipedia.org/wiki/Quick_Look

    Safari

    Safari : เป็นโปรแกรม web browser สำหรับใช้ท่องเวปที่มีมากับ OS X ครับ สามารถใช้งานแทน Internet Explorer บน window pc ได้เกือบทุกอย่าง ซึ่งแต่เดิมคนจะเข้าใจว่า Safari ใช้ยาก เพราะไม่มีเวปรองรับที่มากพอ แต่ปัจจุบันทั้ง Safari เองและตัวผู้พัฒนาเวปไซท์ที่ทำตามมาตรฐานเวปสากลมากขึ้นแล้ว เลยทำให้ปัญหาเดิมที่มีอยู่นี้ค่อย ๆ ลดลงครับ

    sf-basic-1_0.jpg

    icon โปรแกรม

    safari-icon_0.jpg

    ส่วนประกอบทั่วไป

    sf-basic-2-1_0.jpg

    ส่วนประกอบของ Toolbar ใน Safari

    button-1_0.jpg

    Back/Forward : ใช้สำหรับไปย้อนไปยังหน้าเวปที่เพิ่งผ่านมา หรือหน้าเวปถัดไป

    button-5_0.jpg        button-6_0.jpg

    Stop/Reload : สำหรับ reload(refresh) หน้าเวปที่เราเข้าอยู่

    button-2_0.jpg

    Open in Dashboard : ปุ่มนี้สำหรับเอาไว้ให้เราสร้าง Web Clip สำหรับเก็บบางส่วนของหน้าเวปที่เราต้องการเอาไว้ดูทีหลัง (web clip จะถูกเก็บรวมอยู่กับ widget ใน Dashboard ครับ - ดู เกี่ยวกับ Dashboard ประกอบ)

    button-3_1.jpg

    Add Bookmark : สำหรับเก็บ url ของเวปเอาไว้ในส่วนของ Bookmarks (ความหมายเดียวกับ Favourite บน IE ครับ) ดู การจัดการ Bookmarks ประกอบ

    button-4_0.jpg

    ช่องใส่ Url และช่อง Search : สำหรับใส่ Url ของเวปที่เราต้องการ หรือว่าดูอยู่ครับ ส่วนช่อง Search นี้เอาไว้เป็นทางลัดในการค้นหา โดยผลลัพท์ที่จะได้มาจาก Google

    Safari-Web clip

    Web clip ทำให้เราสามารถที่จะตัดบางส่วนของหน้าเวปที่เราต้องการเก็บไว้เป็น Dashboard Widget ได้ด้วย (ดู เกี่ยวกับ Dashboard widget ประกอบ)

    การสร้าง Web Clip

    ไปที่หน้าเวปที่ต้องการ จากนั้นกดปุ่ม Open in Dashboard (รูปกรรไกร)

    Picture1_37.jpg

    เราจะเห็นแถบสีม่วงขึ้นมาด้านบนของหน้าเวปเพื่อบอกเราว่าตอนนี้เตรียมที่จะทำการสร้าง web clip แล้ว
    Picture3_5.jpeg

    ให้เราเลือกส่วนที่เราต้องการบนหน้าเวป จากนั้นกำหนดขนาด

    Picture4_4.jpeg

    ถ้าตอนแรกที่เลือกยังไม่ได้ขนาดที่ต้องการ เราสามารถที่จะปรับเพิ่มเติมได้โดยการคลิ๊กที่ปุ่มกลม ๆ ที่มุมหรือตรงกลางของกรอบ เพื่อขยายบริเวณตามที่ต้องการ

    Picture5_1.jpeg

    เมื่อเลือกเสร็จแล้ว กด Add

    Picture6_2.jpeg

    เราจะถูกพาเข้ามาที่หน้าของ Dashboard พร้อมกับ widget ที่เราสร้างเอาไว้กำลังถูกโหลดขึ้นมา

    Picture8_1.jpeg

    Picture9_1.jpeg

    ตัว widget ที่เราสร้างจากเวปเองนี้ มีคุณสมบัติเหมือน widget อื่น ๆ บน Dashboard ทุกประการ คือเราสามารถที่จะปิด หรือปรับแต่งค่าต่าง ๆ ได้จากการกดเข้าไปที่รูปตัว i ที่มุมขวาล่างของตัว widget

    Picture10_8.jpg

    จะมีให้เลือกกรอบของ widget ครับ ว่าอยากได้กรอบแบบไหน

    Picture11_0.jpeg

    หลังจากเลือกเสร็จแล้วกด Done ก็จะได้ widget เราพร้อมกรอบใหม่ตามที่เราเลือกแล้วครับ

    Picture12.jpeg

    ถ้าเราไม่ต้องการ widget ตัวนี้แล้ว เราสามารถลบออกไปได้เหมือน widget ทั่วไปครับ ( ดู การปรับแต่งDashboard ประกอบ)

    การจัดการ Bookmark

    Bookmark : เป็นการ save url ของเวปที่เราต้องการเอาไว้เข้าภายหลัง ประมาณเดียวกับ Favorite บน IE ครับ ถ้าเรามี Bookmark เยอะ ๆ การจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่เพื่อการเข้าอีกภายหลังเป็นเรื่องที่จำเป็นครับ อย่างน้อยทำให้เราหาเวปที่เรา Bookmark ไว้เจอเร็วขึ้น

    การ เพิ่ม Bookmark ใน Safari

    เมื่อเราท่องเวปไปเจอ url ที่น่าสนใจแล้วเราอยากเก็บเอาไว้เข้าอีกวันหลัง เราสามารถทำได้โดยการคลิ๊กที่ปุ่ม + ด้านข้างช่อง address field ครับ

    Picture1-1_8.jpg

    note : หรือจะไปที่ menu bar เลือก Bookmarks/ Add Bookmark หรือกด Command + D

    จากนั้นจะมีหน้าต่างใหม่ให้เรากำหนด ชื่อ Bookmark กับจะเซฟเก็บเอาไว้ตรงไหน

    Picture1-2_5.jpg

    เลือกเสร็จแล้วกด Add เป็นอันเสร็จการเพิ่ม Bookmark ในฐานข้อมูลของ Safari ครับ

    การจัดการกับ Bookmark
    เลือกที่ปุ่ม Show all bookmarks (สัญลักษณ์รูปหนังสือ)

    Picture1_1.jpeg

    แล้วเราจะเข้ามาที่หน้าต่างจัดการกับ bookmark ทั้งหมดของเรา

    Picture2_2.jpeg

    ส่วนประกอบใน Bookmarks
    Collections : รวมรายการ Bookmarks ของเราจะส่วนต่าง ๆ ภายในเครื่อง

    Bookmarks Bar : ตรงนี้จะเป็นส่วนที่เราเห็นอยู่บน Bookmarks Bar ในหน้าต่างปรกติของ Safari ครับ จะขึ้นชื่อ Bookmarks ตามที่เราจัดเอาไว้ในนี้ (สังเกตดูจากภาพใน Bookmark Bar นั้นจะเรียงเหมือนกับใน ที่ผมจัดเอาไว้ในหน้านี้ครับ)

    Picture2-1_13.jpg

    note :

    1. คำสั่ง Auto-Click จะเป็นการเปิดเวปทั้งหมดในแฟ้มขึ้นมาเมื่อเราคลิ๊กไปที่แฟ้มนั้นครับ ถ้ามีเวปอยู่ในแฟ้มไม่เยอะก็สะดวกดี แต่ถ้าใครมีเวปอยู่ในแฟ้มเกิน 5-10 เวป ผมไม่แนะนำวิธีนี้ครับ จะมี tab ใหม่เปิดขึ้นมาเติมไปหมด - -a
    2. เราสามารถจัดเรียงตำแหน่งของแฟ้มบน Bookmark Bar ได้ด้วยการลากแล้ววางเหมือนแฟ้มปรกติครับ ซึ่งพอเราเข้ามาหน้าจัดการ Bookmark นี้ เค้าจะ update ให้เป็นไปตามที่เราลากเอาไว้บน Bookmark Bar ครับ

    Bookmarks Menu : เป็นส่วนเดียวกับ Bookmarks บน menu bar ของ Safari

    Picture4_3.jpeg

    Picture5-1.jpg

    Address Book : สำหรับใน contact ของเราถ้าลง url เอาไว้ จะมาขึ้นในส่วนนี้ด้วยครับ

    Bonjour : เป็น bookmark ที่อยู่ในวง network ของเราเองครับ

    History : หน้าเวปที่เราเคยเข้ามา

    Picture6_1.jpeg

    note : เรากำหนดได้ว่าจะให้เก็บ History เอาไว้นานแค่ไหน จากใน Preferences /General/ Remove history items

    All RSS Feeds : RSS ที่เราสมัครรับข่าวสารเอาไว้ดูใน Safari ทั้งหมด (ดู เกี่ยวกับ RSS ประกอบ)

    Picture7_1.jpeg

    Bookmarks : เป็นที่รวม Bookmarkทั้งหมดในเครื่องเราครับ เราอาจจะแบ่งบางส่วนจากตรงนี้เอาไปไว้ในคำสั่ง Bookmarks บน menu bar หรือใน Bookmarks bar ด้วยก็ได้ (เพิ่มจำนวนแฟ้มได้ด้วยการกดเครื่องหมาย + ที่มุมซ้ายล่างครับ)

    เกี่ยวกับ Bookmark

    โดยทั่วไปแล้วการจัดการ Bookmark บน Safari ไม่ต่างอะไรกับการจัดการไฟล์ลงแฟ้มให้เป็นหมวดหมู่ครับ เราสามารถที่จะลาก copy หรือว่า move ไปไว้ตรงไหนก็ได้เหมือนใน Finder ปรกติ ซึ่งตรงนี้จะช่วยให้เราเข้าถึงเวปที่เราเข้าประจำได้ง่ายขึ้น ใครที่ยังไม่เคยลองเข้ามาตรงส่วนนี้เลย ก็อยากให้ลองดูนะครับ =)

    ช่วยอธิบายคำสั่งในเมนูแถวแรกของ Safari ให้หน่อยครับ

    ช่วยอธิบาย เมนู safari แถวแรกให้ทราบหน่อยครับ
    บางอันยังไม่ทราบว่าใช้ทำอะไร เช่น Private browing คืออะไรง่ะ งง
    อธิบายให้ครบน่ะครับ

    เกี่ยวกับ RSS

    RSS มาจากคำว่า Real Simple Syndication : เป็นรูปแบบของ Web Feed หรือว่า News Feed คือการนำข้อมูลหรือข่าวสารของเวปที่มีการอัพเดทมาสู่เครื่องของผู้รับโดยอัตโนมัติ .. ลองนึกภาพมีคนมาส่งหนังสือพิมพ์ให้ที่บ้านเราทุก ๆ เช้าโดยที่เราไม่ต้องเดินไปซื้อเองนั่นล่ะครับ

    สัญลักษณ์ของ RSS มีที่ใช้กันแพร่หลายและสามารถเห็นได้ทั่วไป

    feed-icon_0.jpg

    จาก Mozila Foundation ผู้พัฒนา Web browser ชื่อว่า Firefox และตอนหลังสัญลักษณ์นี้ถูกนำมาใช้บน IE ด้วย

    ส่วนสัญลักษณ์ของ RSS บน Safari นั้น จะเป็นแบบนี้ครับ

    Rss-icon_0.jpg

    ซึ่งเวปไซท์ที่มี News Feed หรือว่า RSS นี้เราต้องทำการสมัคร (หรือเรียกว่า Subscribe) เพื่อยืนยันการรับข่าวสาร RSS จากเวปที่เราต้องการก่อนนะครับ แล้วจากนั้นเนื้อหาถึงจะถูกส่งมาที่เครื่องเรา ให้ลองนึกถึงการสมัครรับข่าวสารจากจดหมายข่าว หรือว่า Newsletter ดูครับ ประมาณเดียวกันคือเราต้องสมัครก่อน แล้วถึงจะได้รับข้อมูล

    การสมัครรับข่าวสารทาง RSS

    บน Safari สามารถทำได้โดยการคลิ๊กไปเครื่องหมาย RSS ได้เลย โดยที่ครั้งแรกที่เรากดเข้าไปนั้น Safari จะพาเรามาที่หน้าสรุปของ RSS ที่มีในเวปนั้น ๆ ครับ แบบนี้

    rss-1_0.jpg

    เราจะถูกพาเข้ามาในหน้าเวปใหม่ ที่เป็นหน้าของ feed โดยเฉพาะ
    rss-2_0.jpg
    จากนั้นให้เราเลือก Add Bookmark (ปุ่มเครื่องหมาย + ข้าง ๆ Address Field )

    button-3_2.jpg

    จะมีกล่องข้อความเตือนมาถามเราว่า ต้องการจะสมัครอ่านข่าว RSS โดยใช้โปรแกรมอะไร

    rss-3_0.jpg
    โดยมาตรฐานแล้วเราจะใช้ Safari หรือว่า Mail ในการเปิดอ่าน RSS ก็ได้ครับ

    ตั้งชื่อ เลือกโปรแกรม แล้วกด Add

    rss-4_0.jpg

    จากภาพ ถ้าเราต้องการจะใช้ Safari ในการอ่าน RSS เค้าจะให้เราเลือกว่าจะให้ Bookmark ไปไว้ที่ไหน (ดู การใช้ Bookmark ประกอบ)

    หลังจากกด Add เพื่อสมัครรับข่าวสารจากเวปที่ต้องการแล้ว เราจะขึ้นหน้าเวปแบบนี้

    rss-5_0.jpg
    โดยจุดฟ้า ๆ กลม ๆที่เห็นอยู่ในชื่อตอนของบทความจะแสดงว่า เรายังไม่ได้อ่านครับ

    การอ่าน RSS

    • บน Safari

    เราสามารถใช้ Safari ในการอ่า่น RSS ได้ครับ ถ้าเราเลือกเอาไว้ตอน Subscribe วิธีการอ่านก็คลิ๊กเข้าไปยังที่ ๆ เรา Bookmark เอาไว้ หรือถ้าเรา Bookmark เอาไว้บน Bookmark bar ของเราด้วยแล้ว เวลาที่มีการอัพเดทเวปที่เราสมัครเอาไว้ จะขึ้นตัวเลขมาบอกเราให้ทราบด้วยว่า มีที่เรายังไม่ได้อ่านอยู่กี่อัน

    rss-13_0.jpg

    rss-14_0.jpg

    ถ้าเราจะอ่านก็คลิ๊กเข้าไปเราก็จะเข้าไปที่หน้าสรุป News Feed (RSS) บน Safari

    rss-15_0.jpg

    ถ้าหัวเรื่องในหน้า RSS ใหญ่และเนื้อหายาวเกินไป เราสามารถปรับได้จากด้านขวามือตรงส่วน Article Length ครับ

    rss-17_0.jpg

    Article Length : จะเป็นตัวช่วยกำหนดความยาวของเนื้อหาที่อยู่ในหน้า RSS ของ Safari ยิ้งกำหนดไว้ยาวมาก ก็จะเห็นส่วนของเนื้อหาในโพสนั้น ๆ มากขึ้นเรื่อย ๆ และถ้าโพสไหนมีภาพประกอบ ก็จะติดมาตรงนี้ด้วย

    rss-18_0.jpg

    ลองปรับให้เนื้อหาสั้นลง เราจะได้หน้าเวปที่เนื้อหาสรุปสั้นลงแล้วครับ แบบนี้

    rss-16_0.jpg

    • บน Mail.app

    มาดูใน Mail.app เราจะเห็นเวปที่เราสมัครไปแล้วขึ้นอยู่ในรายการ RSS ทางด้านซ้ายมือพร้อมกับเนื้อหา ตอนล่าสุดของเวปที่ถูกดึงเอามาใว้ใน Mail เพื่อรอให้เราอ่านแล้วครับ

    rss-7_0.jpg
    rss-6_0.jpg

    note :

    • สัญลักษณ์ตัวเลขมีความหมายเหมือนอีเมล์ทั่วไป คือเป็นตัวที่แสดงว่าเรายังไม่ได้อ่าน
    • ส่วนสัญลักษณ์ลูกศร จะเป็นการแสดง RSS ใน Inbox ของเราครับ

    Safari : Anti Phishing Scam ?

    บน Safari 3.2 มีความสามารถใหม่เพิ่มขึ้นมาคือ Anti Phishing Scam หรือว่าเป็นการเตือนเมื่อเราจะเข้าเวปไซท์ที่ไม่ปลอดภัย และพอดีว่าผมเจอมากับตัวเอง เป็นเวปทั่วไปแต่ดันโดน blacklist เป็นเวปอันตรายขึ้นมา ผมเลยต้องหาวิธีปิดการทำงานตรงนี้ไป เลยอยากจะเขียนเก็บเอาไว้สำหรับผู้สนใจทั่วไปนะครับ

    การทำงานของ Anti Phishing Scam บน Safari

    Phishing : ส่วนใหญ่จะพวกเวปหลอก ที่มีหน้าตาเหมือนกับเวปธนาคารหรือเวปที่น่าเชื่อถือทั่วไป หลอกให้เรา log-in เข้าระบบ เพื่อเก็บข้อมูลของเราแล้วนำไปใช้ต่อโดยที่เราไม่รู้ครับ บน Safari 3.2 ถ้าเราเข้าเวปไซท์ที่เข้าข่ายไม่ปลอดภัยขึ้นมา จะเราจะถูกพาเข้ามาที่หน้าต่างเตือนแบบนี้ เพื่อจะบอกเราว่า เวปที่เรากำลังเข้าอยู่ มีรายชื่ออยู่ใน blacklist เวปอันตรายครับ


    จะมีตัวเลือก 2 ตัวคือ

    • Ignore warning : ไม่สนใจคำเตือนนี้ และจะทำการเข้าเวปที่เราต้องการต่อไป
    • Go Back : ย้อนกลับไปเวปก่อนหน้านี้

    ถ้าเราเลือก Ignore warning เพื่อที่จะทำการเข้าเวปต่อ จะมีการเตือนมาอีก 1 รอบครับ ว่าเราต้องการจะเข้าเวปนี้จริง ๆ หรือไม่ - -a

    anti-phishing-02_0.jpg

    ถ้าต้องการเข้าเวปต่อไป ก็เลือก Continue หรือกด Cancel เพื่อยกเลิกการเข้าเวปนี้ครับ

    note : ถ้าเวปที่เราเข้าเป็นเวปหลายหน้า เราจะถูกเตือนแบบนี้ทุกครั้งที่กด link ครับ และถ้าเรากดผ่านคำเตือนอีกรอบ เราจะถูกพากลับเข้ามาที่หน้าแรกของเวป - - ซึ่งตรงนี้ สำหรับเวปที่เราจำเป็นต้องใช้ เรามีทางเดียวคือต้องปิดการป้องก้น Phishing บน Safari นี้ก่อนเข้าเวปครับ

    วิธีเปิด- ปิดการใช้งาน Anti Phishing Scam บน Safari

    ทีนี้ สำหรับเวปที่เราจำเป็นต้องเข้าจริง ๆ เราสามารถเลือกที่จะปิดการทำงานส่วนนี้ (จะชั่วคราวหรือถาวร) ก็ได้ จากวิธีด้านล่างนี้ครับ

    ใน Safari ไปที่ Preferences หรือกด Command+,

    anti-phishing-03_0.jpg

    ไปที่หัวข้อ Security แล้วเลือกติ๊กหน้าหัวข้อ Warn when visiting a fraudulent website ออกครับ

    note : เวปที่ถูกเตือนขึ้นมาแบบนี้ อาจจะไม่ใช่เวปใต้ดินเสมอไปนะครับ อย่างในกรณีที่ผมเจอ เป็นเวปของธนาคารยี่ห้อนึงในประเทศไทยครับ - -’ ผมเลยจำเป็นที่จะต้องเข้า และไม่เข้าใจว่าทำไมเวปขอธนาคารถึงติด blacklist ว่าเป็นเวปอันตรายกับเค้าด้วยเหมือนกัน

    วิธีป้องกันตัวเองจาก Phishing Scam เบื้องต้น

    • สมัยนี้จะมีลูกเล่นแปลก ๆ เช่นทำเหมือนว่าธนาคารส่งอีเมล์มาหาเรา แล้วให้เราคลิ๊กเข้าไปจากในอีเมล์นั้น ๆ ดังนั้น ทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดคือ ไม่คลิ๊ก link จากในอีเมล์แบบสุ่มสี่สุ่มห้าครับ
    • ถ้าเป็นข้อมูลเกี่ยวกับธนาคาร ให้ log-in เข้าจากเวปของธนาคารที่เราเข้าเองจะปลอดภัยกว่าหรือไม่ ถ้ามีข้อสงสัยประการใด ให้โทรติดต่อไปยังธนาคารจะดีที่สุดครับ
    • ถ้าได้รับอีเมล์จากคนที่ไม่รู้จัก (หรือจะรู้จักก็ตาม) ให้สงสัยเอาไว้ก่อน และไม่คลิ๊ก link หรือเปิดดูคครับ

    Safari Tips

    Tips & Tricks ในการใช้งาน Safari ครับ

    [Safari 4 : Tip] วิธีเพิ่มเวปเข้าไปใน Top Sites เอง

    ผมเคยเขียนการเพิ่มเวปที่เราต้องการลงไปในหน้า Top Sites เองเมื่อตอนที่ออกมาเป็น Safari 4 Beta ตอนนั้นวิธีนี้จะไม่ได้ผลถ้าเราปิด safari ไป เวปที่เราเพิ่มเข้าไปก็จะหายไปด้วย

    แต่ใน Safari 4 Full version นั้นผมรู้สึกว่าเขาปรับปรุงความสามารถตรงนี้แล้ว คือเวปที่เพิ่มเข้าไปใน top sites เอง จะยังอยู่หลังจากที่เราปิด safari ไป =)

    ลองเข้าไปดูกันนะครับ

    http://macmuemai.com/content/722

    [Safari Plug-in] Inquisitor Spotlight for the web

    ช่วงอาทิตย์ที่แล้วตอนที่ผมหาข้อมูลเพื่อมาเขียน How-Tos เกี่ยวกับ Safari ได้ไปเจอกับ plug-in ตัวนี้เข้า Inquisitor เป็น plug-in สำหรับ Safari ที่ทำให้เวลาเราพิมพ์คำค้นหาในช่อง search จะสุ่มผลลัพท์มาให้ เหมือนเราใช้งาน spotlight ครับ

    Picture3_34.jpg

    สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถที่จะ download ได้ที่..

    http://www.inquisitorx.com/safari/index_en.php

    note : เมื่อกลางปีที่ผ่านมา Yahoo! ได้ซื้อ Inquisitor ครับ ทำให้ผลการค้นหาจากในช่อง search จะเป็นหน้าของ Yahoo! แทน Google (สำหรับผมไป ๆ มา ๆ ชักชอบ Yahoo! นะ เพราะรู้สึกว่าพักหลัง ๆ ชักจะหาอะไรจาก google เจอยากขึ้นทุกที แบร่..)

    ถ้าเราอยากจะเปลี่ยนผลการค้นหาให้กลับเป็น Google และปรับแต่งการทำงานของ Inquisitor ให้ไปที่ เมนูบาร์ Safari/Preferences แล้วเลือกหัวข้อ Search จะเป็นการปรับแต่ง Inquisitor ครัรบ

    inquisitor-pref.jpg

    เปลี่ยนผใการค้นหาให้เป็น Google โดยเลือกในหัวข้อ Search Engine แล้วเปลี่ยนกลับเป็น Google หรือลองดูตัวเลือกอื่น ๆ ได้ตามต้องการครับ =)

    [Safari Tip] ทำให้ Safari เปิดเวปใหม่ในหน้าต่างเดียว

    ถ้าใครใช้ FireFox แล้วชอบกับการที่ไม่ว่าเราจะคลิ๊ก link เปิดหน้าเวปใหม่เท่าไหร่ เค้าจะสร้าง Tab ใหม่ให้เราเสมอ โดยที่ไม่สร้างหน้าต่างของ FireFox ใหม่ไปเรื่อย ๆ เหมือนบน Safari .. 

    อันที่จริงใน Safari เราทำตรงนี้ได้ด้วยการกด Command ค้างเอาไว้ตอนคลิ๊กไปที่ link เราจึงจะสร้าง Tab ใหม่ขึ้นมาในหน้าต่าง Safari เดิม

    วันนี้ขอนำเสนอวิธีที่ง่ายกว่านั้น ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ใช้ Terminal เข้าช่วยครับ ...

    <

    div>note : Tip นี้สำหรับคนที่เคยใช้ Terminal นะครับ บน window pc กับ OS X นั้นจะคล้ายกัน คือใส่ command แล้วกด Enter เพื่อรันได้เลย

    เปิด Terminal.app ขึ้นมา แล้วพิมพ์ข้อความด้านล่างนี้ลงไป (จะใช้ copy & paste ไปจากตรงนี้ก็ได้)

    defaults write com.apple.Safari TargetedClicksCreateTabs -bool true

    แล้วกด Enter จากนั้นให้เรา Quit Safari แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ .. ลองคลิ๊กไปที่ link ต่าง ๆ ดู จะเห็นว่าเค้าจะเปิดเป็น Tab ใหม่ให้เลย ไม่เปิดเป็นหน้าต่าง Safari ใหม่อีกต่อไปแล้ว

    ถ้าเราอยากแก้ให้กลับเป็นเหมือนเดิม ให้เข้า Terminal อีกครั้งแล้วพิมพ์ว่า

    defaults write com.apple.Safari TargetedClicksCreateTabs -bool false

    จากนั้นกด Enter แล้ว Quit Safari แล้วเข้า Safari ใหม่ครับ

    ที่มา : http://www.mactips.org/archives/2008/10/10/enable-single-window-mode-for-safari/

    [Tips] Safari : ย้อนกลับไปหน้าที่เคยผ่านมาแล้วแบบง่าย ๆ

    บน FIrefox ถ้าเรากดคลิ๊กขวาบนปุ่ม Back / Forward เราจะเห็นรายการหน้าเวปที่เราเคยเข้าไปแล้วแสดงขึ้นมาให้เลือก ...

    go-back-ff.jpg

    คำถามต่อมาคือ แล้วบน Safari ล่ะมีวิธีทำแบบเดียวกันนี้ได้ไหม? คำตอบคือมีครับ .. ไม่ต้องใช้ plug-in เสริมใด ๆ

    เพียงแค่เรากดปุ่ม Back หรือว่า ปุ่ม Forward ค้างเอาไว้สักครู่หนึ่ง เค้าจะขึ้นรายการหน้าเวปที่เราเพิ่งเข้าไปมาให้เราเลือก ในแบบเดียวกันนี้ครับ

    safari-back.jpg

    จะบอกว่าผมเองเพิ่งเจอวิธีนี้เมื่อตอนเย็นนี้เอง อาย แห่ะ ๆ แอบจิ้ม ๆ ปุ่ม Back/ Forward หลาย ๆ ที ไม่ก็ใช้ history มาตั้งนาน ฮ่า...

    การใช้ Internet banking จาก Safari

    การใช้ Internet Banking จากเวปของธนาคารที่ส่วนใหญ่แล้วออกแบบมาให้ใช้กับ IE ได้เท่านั้น เราจะเข้าจาก Safari โดยตรงเลยไม่ได้ครับ เค้าจะฟ้องว่าไม่ support กับ browser ที่เราใช้งานอยู่

    แต่เรามีวิธีที่จะบอกเวปธนาคารว่าเราใช้ IE จากตัว Safari โดยตรงครับ มีวิธีแบบนี้

    1.เข้า Safari ไปที่ menu bar เลือก safari/preferences
    ไปที่ tab Advance แล้วติ๊กช่อง Show Develop menu on menu bar ครับ

    ua-01.jpg
    2.เข้าเวปธนาคาร หน้า iBanking
    ถึงเราจะเข้าไม่ได้อยู่ตอนนี้ ให้เข้าไปก่อน แล้วผ่านไปขั้นตอนต่อไป

    3.ใน safari บน menu bar เลือก Develop/User Agent
    แล้วเลือกใช้ IE เวอร์ชั่น 7 หรือต่ำกว่าครับ

    ua-02.jpg

    4.จากนั้นให้ลอง refresh หน้าจอของหน้า iBanking ใหม่
    ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราน่าจะเข้าหน้า log in เพื่อใช้งาน Internet Banking ได้แล้วครับ
    ua-03.jpg

    จากนี้ไปน่าจะใช้งานได้เหมือนปรกติแล้วครับ

    [ขอบคุณคุณ pimarn จากคำถามนี้ครับ ผมเลยเขียนเก็บไว้เป็น Tips & Tricks เอาไว้เลย เผื่ออ้างอิงต่อไปครับ]

    รวม Tips Safari-Tabs

    เวลาเราเปิดหน้าต่างเวปเยอะ ๆ การใช้ Tab ช่วย เราสามารถท่องเวปได้อย่างสบายใจขึ้น และหน้าจอไม่รก ในตอนนี้ผมจะขอแนะนำ tips ในการจัดการเกี่ยวกับ Tab บน Safari ครับ

    ลาก Tab มารวมกัน

    ใน Safari ถ้าเราไม่ได้กด Command ค้างเอาไว้ตอนเปิดหน้าเวปใหม่ ที่เราจะได้คือการเปิดหน้าต่างของ Safari ใหม่ไปเรื่อย ๆ ทำให้ดูลำบาก และรกหน้าจอ

    Picture1_38.jpg

    มีคำสั่งช่วยให้เราจัดการตรงนี้ได้ดังนี้ครับ

    ลาก Tab ที่เิปิดใหม่มารวมกับหน้าต่างเดิมที่เปิดอยู่แล้ว

    คลิ๊กเลือกบน tab ของเวปที่เราต้องการ แล้วลากออกมาวางไว้ใน tab ที่ใหม่ครับ

    Picture1-1_9.jpg

    ระหว่างที่ลาก เราจะเห็นตัว tab เปลี่ยนเป็นหน้าเวปเล็ก ๆ ให้เราดูด้วย ไม่ต้องตกใจครับ ลากไปวางไว้คู่กับ tab ที่เราต้องการได้เลย

    Picture2_3.jpeg

    เสร็จแล้วเราก็จะได้ tab ใหม่ที่เราเพิ่งลากมาอยู่ในหน้าต่างเดียวกันนี้แล้ว ยิ้มปากกว้าง

    Picture3_6.jpeg

    note : ในทางกลับกันเราสามารถคลิ๊กแล้วลาก tab ที่ต้องการออกมาปล่อยใน Desktop จะเป็นการสร้างหน้าต่าง Safari ใหม่ของ Tab นั้นขึ้นมาครับ

    รวมหน้าต่าง Safari ที่เหลือ ให้มาเป็นหน้าต่างเดียว

    ไปที่ menu bar เลือก Window/ Merge All Windows

    mergeallwin.jpg

    คำสั่งนี้จะเป็นการรวมหน้าต่างของ Safari ที่เราเปิดเอาไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะมีกี่ Tab ก็ตาม ให้มารวมกับหน้าต่างที่เราเลือกอยู่ครับ

    Tips : จัด Tab

    เราสามารถสลับตำแหน่งของ Tab ต่าง ๆ ได้ ด้วยการคลิ๊กแล้วลากที่ตัว Tab ครับ

    ลองดู ยิ้มปากกว้าง

    รวม Tips Safari-ไปไหนมา

    เป็น Tip เล็ก ๆ 2 Tips สำหรับคนที่ต้องการย้อนไปหน้าที่เคยเข้ามาแล้วโดยทันที โดยที่ไม่อยากกดปุ่ม Back ไล่ย้อนกลับนะครับ

    วิธีที่ 1
    ใน Safari ถ้าเราเข้าเวปหนึ่งไปเรื่อย ๆ แล้ว เราสามารถเลือกดู url ของหน้าเวปที่เรากดผ่านมาแล้วได้ โดยการคลิ๊กขวาที่บนชื่อของเวปนั้นบน Toolbar ครับ

    whd-1.jpg

    whd-2.jpg

    note :

    1. วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะกับเวปที่เรากำลังดูอยู่เพียงเวปเดียวเท่านั้น ถ้าเราต้องการย้อนไปไกลกว่านี้ ให้เลือกดูจากบน History ใน menu bar แทน
    2. การคลิ๊กขวาบน Toolbar ตรงส่วน Title นี้ยังนำไปใช้กับ Finder เพื่อดูไฟล์ path ไล่ย้อนไปได้ด้วย
    1. whd-3.jpg

    วิธีที่ 2

    การเข้าเวปขนาดใหญ่ ที่มีหน้าย่อย ๆ หลายสิบหน้า บางครั้งเราก็ทำเราหลงทางได้ครับ ถ้าเราต้องการที่จะกลับไปที่หน้าแรกของเวปที่เราเข้ามาในทันที โดยที่ไม่ต้องเข้าไปรื้อจากใน history เราสามารถทำได้ด้วยการใช้คำสั่ง Snapback บน Safari ครับ

    คำสั่ง Snapback นี้จะขึ้นเป็นลูกศรสีส้มเล็ก ๆ อยู่ด้านขวาของ url

    snapback.jpg

    note :

    1. เมื่อเลือก Snapback แล้ว เราจะถูกพากลับมายังหน้าแรกของเวปนั้น ๆ ที่เราเข้าครับ (ไม่จำเป็นต้องเป็นหน้า Homepage เสมอไป)
    2. ถ้าเราเข้าเวปที่ได้จากผลการ search ผ่าน search field ใน safari ตัว snapback นี้จะไปโผล่อยู่ในช่อง search field แทนครับ ค่อนข้างสะดวกเวลาต้องการกลับมายังผลการค้นหาในหน้าของ google

    iCal - Basic

    iCal - เป็น app ที่มากับ OS X สำหรับการจัดการนัดหมายต่าง ๆ แบบเดียวกัน Outlook บน Windows PC ครับ

    ical-1-1.jpg

    iCal - ไอคอนโปรแกรม

    ical-icon.jpg
    note : แต่เดิมตามปรกติใน OS X เวอร์ชั่นก่อน ๆ เราจะเห็นวันที่บนไอคอนของ iCal เป็น 17 July นะครับ คือเป็นวันแรกที่ app ตัวนี้ถูกเปิดตัว .. และจาก Leopard เป็นต้นมาไอคอนของ iCal ที่เห็นบน Dock จะแสดงเป็นวันที่ปัจจุบันครับ

    ical-dock-icon.jpg

    ส่วนประกอบทั่วไปของ iCal

    ical-01-b.jpg

    อธิบาย

    1. Today : เอาไว้สำหรับกลับมายังวันที่ปัจจุบัน
    2. Calendar List : เป็นรายการแสดง Calendar หรือปฎิทินทั้งหมดที่เรามี (สามารถสร้างได้หลาย Calendar ครับ จะแย่ง ส่วนตัว กับเรื่องงาน หรืออื่น ๆ จากกันก็ได้)
    3. Mini Calendar / Notifications Pane : เป็นบริเวณที่จะแสดงปฎิทินขนาดจิ๋ว หรือแสดงการแจ้งเตือนต่าง ๆ (เลือกแสดงได้อย่างใดอย่างหนึ่ง) จากปุ่มทางด้านซ้ายมือล่างของ iCal
    4. รายละเอียดของนัดหมายเรา จะเลือกให้แสดงเป็นรายวัน, รายสัปดาห์ หรือว่า รายเดือนก็ได้
    5. To dos list : รายการสิ่งที่ต้องทำ เราสามารถเลือกเปิด/ปิดบริเวณนี้ได้จาก View/ Show-Hide To dos list หรือว่ากด Option+Command+T ครับ
    6. ช่องค้นหา : สำหรับค้นหานัดหมายต่าง ๆ ของเรา

    note :

    1. สำหรับผู้ที่ใช้งาน iSync กับมือถือ เราสามารถ Sync ข้อมูลจาก iCal ลงในปฎิทินบนมือถือของเราได้นะครับ (ดู การใช้ iSync ประกอบ)
    2. ถ้ารายการทางด้านซ้ายมือนี้ซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง ให้เลือกจากรายการทางด้านล่างนี้แทนนะครับ

    Calendar Views

    Calendar Views
    เราสามารถปรับดูน้ดหมายของเราได้จากปุ่มคำสั่งด้านบนของ iCal ครับ

    ical-views.jpg

    Day : ดูนัดหมายเป็นรายวัน
    Week : ดูนัดหมายเป็นรายสัปดาห์
    Month : ดูนัดหมายเป็นรายเดือน
    ลูกศรทางด้านซ้ายขวา จะเป็นการเลื่อนลำดับไปดูนัดหมายก่อนหน้า หรือว่าหลังจากนัดหมายที่เราดูอยู่ปัจจุบันครับ

    ตัวอย่าง
    Day : การดูนัดหมายรายวัน

    ical-03.jpg

    note : เราสามารถสร้างนัดหนมายซ้อนกันได้จากภาพตัวอย่าง และจะมีเส้นแสดงบอกช่วงเวลาปัจจุบันให้เราทราบ

    Week : การดูนัดหมายรายสัปดาห์

    ical-02.jpg

    note : ในการแสดงผลแบบ Week นี้ เรายังเห็นเส้นบอกเวลาปัจจุบันได้เหมือนใน Day View ด้วย

    Month : การดูตารางนัดหมายเป็นรายเดือน

    ical-01.jpg

    note : ในกรณีที่เรามีปฎิทินอยู่หลายอันเราสามารถเลือกเปิด / ปิด ปฎิทินแต่ละรายการได้โดยการติ๊กเครื่องหมายถูกที่อยู่หน้ารายการนั้น ๆ ออก

    Calendar list และการสร้าง Calendar ต่าง ๆ และการจัดกลุ่ม Calendar

    เราสามารถสร้าง Calendar ขึ้นมาใหม่ในรายการทางด้านซ้ายมือได้เรื่อย ๆ ครับ เอาไว้สำหรับการแยกประเภทของนัดหมาย ไม่ว่าจะส่วนตัว, เรื่องาน หรืออื่น ๆ ครับ

    ical-new-calendr-01-1.jpg

    การสร้าง Calendar ใหม่

    1.ใน iCal ไปที่เมนูบาร์เลือก File / New Calendar หรือกด Option+Command+N เราจะได้ Calendar ใหม่ขึ้นมาให้เราตั้งชื่อ

    ical-new-calendr-01.jpg

    note : สามารถสร้าง Calendar ใหม่ได้จากปุ่ม + ที่อยู่มุมซ้ายมือด้านล่างของหน้าต่าง iCal ได้อีกทางหนึ่งครับ =)

    2.หลังจากตั้งชื่อ Calendar ใหม่ของเราเสร็จแล้ว ให้คลิ๊กขวา แล้วเลือก Get Info เพื่อปรับแต่งรายละเอียดกัน

    ical-new-calendr-02.jpg

    3.จะมีหน้ากล่องข้อความให้เราปรับแต่ง

    ical-new-calendr-03.jpg

    • Name : ชื่อ Calendar จะตั้งใหม่หรือปล่อยเอาไว้ก็ได้
    • Color : สีของ Calendar ตรงนี้จะมีผลถึง Event ต่าง ๆ ที่อยู่ใน Calendar นี้ด้วย
    • Description : รายละเอียดเพิ่มเติมของ Calendar นี้
    • Ignore alarms : ปิดการเตือนต่าง ๆ ที่มีใน Calendar นี้
    • Publish : สำหรับผู้ที่ต้องการแสดง Calendar บน Internet (ใช้งานร่วมกับ MobileMe หรือ WebDev)

    เมื่อตั้งทุกอย่างเสร็จแล้วกด OK ก็จะเป็นการพร้อมใช้งาน Calendar นี้ครับ

    จัดกลุ่มใหั Calendar
    สำหรับคนที่มี Calendar เยอะ ๆ เราสามารถจัดกลุ่ม Calendar ได้ เพื่อให้เป็นระเบียบมากขึ้น มีวิธีการดังนี้

    1.ใน iCal ไปที่เมนูบาร์เลือก File / New Calendar Group หรือกด Shift+Command+N จากนั้นก็ตั้งชื่อ Calendar Group ที่เราต้องการ

    ical-cldr-grp-01.jpg

    2.คลิ๊กลาก Calendar ที่เราต้องการมาไว้ใน Group ครับ

    ical-cldr-grp-02.jpg

    จากนั้นเราก็จะได้แบบนี้

    ical-cldr-grp-03.jpg

    คลิ๊กที่เครื่องหมายสามเหลี่ยมด้านหน้า Calendar Group เพื่อเปิด / ปิด การแสดง Calendar ย่อยที่มีอยู่ใน Group ครับ เหมือนกับบน Finder =)

    การกำหนดนัดหมายซ้ำ และการตั้งเตือน

    การกำหนดนัดหมายซ้ำ (Repeat)
    Repeat : เป็นการกำหนดการซ้ำ (หรือว่าจะให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต) สำหรับกรณีเราต้องการลงนัดหมายทุก ๆ ช่วงเวลาที่กำหนดครับ เช่น

    • นัดหมายการจ่ายค่าเช่า/ค่าน้ำ/ค่าไฟ/ค่าโทรศัพท์ในทุก ๆ เดือน
    • วันเกิดคนรู้จักของเรา หรือว่าวันสำคัญอื่น ๆ ที่จะมีขึ้นทุก ๆ ปี

    เมื่อกดเลือกเข้าไป จะมีตัวเลือกย่อย ๆ นี้แสดงขึ้นมา
    ical-05.jpg
    อธิบาย

    • None : ไม่กำหนดการซ้ำกับนัดหมายที่เราเลือก
    • Everyday : กำหนดให้นัดหมายนี้ซ้ำในทุก ๆวัน (ณ ช่วงเวลาเดียวกันกับนัดหมายต้นฉบับ)
    • Every week : กำหนดซ้ำทุก ๆ สัปดาห์
    • Every month : กำหนดซ้ำทุก ๆ เดือน
    • Every year : กำหนดซ้ำทุก ๆ ปี
    • Custom... : ซ้ำแบบกำหนดช่วงเวลาเอง

    note : ถ้าเกิดเราตั้ง Repeat ให้นัดหมายของเราแล้ว จะมีตัวเลือก End ขึ้นมาครับ เอาไว้สำหรับกำหนดหยุด / ยกเลิกการซ้ำของนัดหมายของเรา

    การตั้งเตือนนัดหมาย

    ical-alrm-04.jpg

    สำหรับคนที่ต้องการให้มีการเตือนก่อนถึงกำหนดนัดหมายนะครับ เราสามารถเลือกการตั้งเตือนได้ในหลาย ๆ กรณี ซึ่งจะมีส่วนประกอบหลัก ๆ 4 ส่วนดังนี้

    1. ขั้นตอนการเตือน : ให้เราเลือกว่าจะเตือนเราแบบไหน
    2. รายละเอียดการเตือน : เป็นการกำหนดรายละเอียดในการเตือนแบบต่าง ๆ เช่น ถ้าเราเลือกให้เตือนผ่าน Email เค้าจะให้เรากำหนด Email address ตรงนี้ครับ
    3. เตือนวันไหน.. : กำหนดวันและเวลาเตือนก่อนที่จะถึงนัดหมาย
    4. กำหนดเวลาเตือนที่แน่นอน

    อธิบาย
    1.ขั้นตอนการเตือน
    จะเป็นการกำหนดรูปแบบการเตือนหลัก ๆ ที่เราต้องการครับ
    ical-alrm-05.jpg
    จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

    • 1.การกำหนดการเตือนใหม่ในแบบต่าง ๆ มี 5 ตัวเลือกดังนี้

    • Message : การเตือนด้วยข้อความ เมื่อถึงเวลาที่เราเตือนเอาไว้จะมีกล่องข้อความแสดงขึ้นมา
    • Message with sound : มีกล่องข้อความพร้อมเสียงเตือนแสดงขึ้นมาบน Desktop ตามที่เราตั้งเอาไว้ (เราไม่จำเป็นต้องเปิด iCal ทิ้งเอาไว้ครับ เค้าจะเตือนเอง)
    • ical-alarm.jpg
    • Email : เป็นการส่งอีเมล์มาเตือนเราตาม email address ที่เรากำหนด
    • Open file : เปิดไฟล์ที่เรากำหนด
    • Run script : สำหรับการเรียกใช้งาน apple script ที่เรากำหนด

    2.การกำหนดการเตือนที่เราเคยเรียกใช้งานมาแล้ว ถ้าเราเคยกำหนดรูปแบบการเตือนไว้บ้างแล้ว ตรงนี้จะขึ้นมาให้เราเลือกครับ จะได้ไม่ต้องตั้งใหม่อยู่เรื่อย ๆ

    2.รายละเอียดการเตือน

    • ถ้าเราเลือก Message with sound ตรงนี้จะให้เราตั้งเสียงเตือน
    • ถ้าเราเลือก Email ตรงนี้จะให้เรากำหนด email address ปลายทางครับ

    note : เราจะตั้งเตือนผ่าน Email ได้เราจะต้องไปกำหนดนามบัตรของเราจากใน Address Book ก่อนนะครับ ทำได้โดย

    1. ใน Address Book สร้างนามบัตรของเราขึ้นมา จากนั้น
    2. ไปที่เมนูบาร์ เลือก Card/ Make This My Card ครับ

    3.เตือนวันไหน...
    เราสามารถตั้งเตือนล่วงหน้าในแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้
    ical-alrm-06.jpg

    • the same day : เป็นการเตือนในวันนัดหมายนั้น
    • the day before : เตือนก่อนหน้าวันนัดหมาย 1 วัน
    • days before : เตือนก่อนหน้าวันนัดหมาย xx วัน (เรากำหนดจำนวนวันล่วงหน้าได้)
    • days after : เตือนหลังจากวันนัดหมายแล้ว xx วัน (เรากำหนดจำนวนวันได้)
    • on date : กำหนดวันเตือนที่แน่นอน

    4.กำหนดเวลาเตือนที่แน่นอน
    ระบุตรงนี้จะเป็นเวลาเตือนนัดหมายที่แน่นอนตามที่เรากำหนดครับ

    เพิ่มเติม

    • ใน 1 นัดหมาย เราสามารถตั้งเตือนได้หลายรูปแบบนะครับ

    ical-alrm-03.jpg

    จากตัวอย่างจะมีการเตือนผมดังนี้

    1. มีกล่องข้อความพร้อมเสียง เตือน 1 เดือนล่วงหน้าก่อนนัดหมาย เวลาห้าทุ่มสี่สิบหน้านาที และ
    2. อีเมล์แจ้งเตือน 15 วันล่วงหน้าเวลาห้าทุ่ม สี่สิบห้านาทีเช่นกัน

    • การแจ้งเตือนผ่าน email เราจะได้อีเมล์ส่งมาให้เราตาม email address ที่เรากำหนดเอาไว้ครับ ที่ผมลองดูเค้าส่งตรงตามที่ตั้งเอาไว้ครับ=)

    ical-alrm-mail-1.jpg

    • ถ้าต้องการปิดการแจ้งเตือนต่าง ๆ ทั้งหมดในกรณีที่เรากำลัง present งานหรือประชุมสำคัญอื่น ๆ อยู่ ให้ไปที่ Preferences / Advanced แล้วเลือก Turn off all alarms

    ical-alrm-off.jpg

    การสร้าง Event - กำหนดนัดหมายของเรา

    Event : หรือว่ากำหนดนัดหมายของเรา

    การสร้าง Event (กำหนดนัดหมาย) ใหม่

    สามารถที่จะสร้างได้จากวิธีต่อไปนี้

    • เปิด iCal ขึ้นมา แล้วบนเมนูบาร์เลือก File/ New Event หรือว่ากด Command+N
    • ใน Calendar View : Day, Week เราคลิ๊กแล้วลากช่วงเวลานัดหมายในแต่ละวันที่ต้องการได้เลย จากนั้นค่อยไป Edit รายละเอียดทีหลัง
    • ใน Month VIew : ดับเบิลคลิ๊กไปในช่องของวันที่ต้องการสร้างนัดหมายใหม่ จากนั้นค่อยกำหนดรายละเอียด

    รายละเอียดในนัดหมายของเรา
    ในการสร้างนัดหมายใหม่ จะมีกล่องรายละเอียดของนัดหมายแสดงขึ้นมาให้เรา แบบนี้

    ical-04.jpg

    อธิบาย

    • ชื่อ Event : เป็นการกำหนดชื่อหรือว่าสาระสำคัญของนัดหมายของเรา ไม่ควรยาวมาก เอาแค่สรุปสั้น ๆ ครับ เพราะถ้าใส่ไปยาว ๆ แล้วเวลาดูใน Month หรือว่า Week view จะดูไม่รู้เรื่อง
    • Location : กำหนดสถานที่ ที่เกี่ยวข้อง
    • All-day : เป็นตัวเลือกเพื่อกำหนด Event นั้นเป็นแบบเต็มวันหรือไม่ ประมาณเดียวกับบน Outlook ครับ ส่วนใหญ่เอาไว้สำหรับ Event เต็มวัน หรือไม่ระบุช่วงเวลาแน่นอน เช่นวันเกิด
    • From - To : สำหรับกำหนดช่วงเวลาของนัดหมาย เราสามารถกำหนดเป็นตัวเลขลงในนี้ หรือจะลากเปลี่ยนแปลงเอาจากใน Day, Week view ก็ได้
    • Repeat : จะเป็นการสั่งให้นัดหมายนี้แสดงทุก ๆ ช่วงเวลาที่เรากำหนดหรือไม่ เช่น ถ้าเป็นวันเกิด เราควรจะตั้งตรงนี้เอาไว้ให้ repeat ซ้ำ ทุก ๆ ปี หรือกำหนดเหตุการณ์อื่นที่มีช่วงเวลาซ้ำ ๆ กันแน่นอน
    • Calendar : กำหนดนัดหมายของเราว่าจะให้ไปลงกับปฎิทินไหนของเรา บางคนมีหลายปฎิทิน ก็สามารถเลือกลงได้จากตรงนี้ครับ
    • Alarm : เป็นการตั้งเตือนนัดหมายในรูปแบบต่าง ๆ (ดูรายละเอียดในหัวข้อถัดไปประกอบ)
    • Attendees : เป็นการกำหนดว่ามีใครเกี่ยวข้องกับนัดหมายนี้บ้าง
    • Attachment : แนบไฟล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนัดหมายนี้
    • URL : ใส่ URL เวปที่เกี่ยวข้อง
    • Note : สำหรับใส่รายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับนัดหมายของเรานี้ครับ

    เมื่อกำหนดนัดหมายพร้อมรายละเอียดเสร็จแล้ว กด Done เพื่อบันทึกลงปฎิทินของเราครับ

    note : ถ้ากล่อง Event ที่เราเลือกอยู่โผล่ออกมาบังรายละเอียดของตารางนัดหมาย เราสามารถคลิ๊กแล้วลากกล่อง Event นั้นไปยังที่ ๆเราต้องการได้ครับ

    การแก้ไขนัดหมาย (Edit Event)
    ถ้าเราต้องการแก้ไขนัดหมายที่เราสร้างขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เราดับเบิลคลิ๊กที่นัดหมายที่เราต้องการแก้ไขนั้นขึ้นมาใหม่ แล้วเลือก Edit ครับ และเลือก Done เมื่อแก้ไขเสร็จแล้ว

    ical-edit.jpg

    เกี่ยวกับ To do (ใช้งานร่วมกับ Mail.app)

    To Do : คือรายการที่เราตั้งเป้าไว้ว่าจะต้องทำ สามารถเรียกดูรายการนี้บน iCal ได้จากบนเมนูบาร์ View/ Show-Hide To Do List หรือกด Option+Command+T ครับ มีหน้าตาแบบนี้ ..

    ical-todo-1.jpg

    อธิบาย

    • รายการที่ต้องทำ (To Do) ต่าง ๆ จะถูกแยกตามประเภทของปฎิทินที่เรามีใน iCal ครับ ถ้าเราปิดปฎิทินไป รายการ To Do ที่เกี่ยวข้องกับปฎิทินนั้นก็จะหายไปด้วย
    • ตัวขีดเล็ก ๆ ที่อยู่ตอนท้ายของแต่ละรายการ คือลำดับความสำคัญของ To Do นั้น ๆ ครับ สีเข้มจะหมายความว่าสำคัญมาก
    • รายการ To Do นี้จะมีกล่องสำหรับติ๊กเครื่องหมายถูกไว้ด้านหน้าเสมอ เอาไว้สำหรับเป็นการกำหนดว่า อันไหนที่เราทำไปแล้วบ้าง

    การสร้างรายการที่ต้องทำ(To Do items)

    1.เปิดแสดง To Do list ใน iCal โดยไปที่เมนูบาร์ เลือก View/ Show To Do List

    2.คลิ๊กขวาบนพื้นที่ว่างของ To Do list แล้วเลือก New To Do
    ical-todo-02.jpg
    note : หรือบนเมนูบาร์ เลือก File/ New To Do หรือว่ากด Command+K ก็ได้ครับ

    3.เราจะได้ To Do อันใหม่ขึ้นมาในรายการ ให้กำหนดชื่อที่เราต้องการลงไปจากนั้นกด Enter
    ical-todo-03.jpg

    4.ทำการแก้ไข หรือว่ากำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้วยการดับเบิลคลิ๊กเข้าไปบนรายการที่เราเพิ่งสร้างเสร็จ จะมีกล่องรายละเอียดของ To Do ขึ้นมาครับ
    ical-todo-04.jpg

    อธิบาย

    • ชื่อ To Do : เป็นการกำหนดชื่อที่เราต้องการ
    • Completed : เป็น Check box เอาไว้ให้เราติ๊กว่าอันไหนเราทำไปแล้ว
    • Priority : กำหนดลำดับความสำคัญให้ To Do นี้ (มาก - น้อย) และจะถูกแสดงเป็น icon เล็ก ๆ ท้ายรายการใน To Do list ครับ อันไหนสำคัญมาก จะสีเข้ม
    • Due date : กำหนดวันที่เราต้องการสำหรับ To Do นี้
    • Calendar : กำหนดให้ To Do อันนี้ไปลงในรายการ Calendar ต่าง ๆ ของเรา
    • URL : URL ของเวปที่เกี่ยวข้อง
    • Note : รายละเอียดเพิ่มเติมอื่น ๆ ของ To Do นี้

    5.ทุกรายการ To Do ที่เราสร้างใน iCal นี้ จะสามารถเห็นได้จากใน Mail.app ด้วยครับ ซึ่งจะมีรายละเอียดบอกเราด้วย

    ical-todo-05.jpg

    การจัดลำดับก่อนหลังของรายการ To Do
    เราสามารถจัดลำดับรายการที่ต้องทำได้โดยการคลิ๊กไปที่ส่วนหัวข้อ To Do items บนหน้าต่าง iCal ได้เลยครับ แล้วเราจะเห็นตัวเลือกสำหรับช่วยจัดลำดับของ To Do เราดังนี้

    ical-todo-sort.jpg
    อธิบาย

    • Sort by Due Date : จัดลำดับตามวัน due ที่เราตั้งเอาไว้
    • Sort by Priority : จัดลำดับตามความสำคัญ
    • Sort by Title : จัดลำดับตามชื่อของ To Do
    • Sort by Calendar : จัดลำดับตามประเภทของปฎิทิน
    • Sort Manually : จัดลำดับตามที่เราต้องการเอง หลังจากเลือกหัวข้อนี้แล้ว เราสามารถจะจับรายการต่าง ๆ ที่เรามีสลับตำแหน่งตามที่ต้องการเองได้เลย
    • Hide Items After the Calendar View : ตรงนี้ตามที่ผมเข้าใจคือ จะนับเฉพาะ To Do ที่อยู่ในปฎิทินปีที่เราเลือกเอาไว้เท่านั้น เช่นดูปฎิทินของปี 2551 ก็จะแสดงเฉพาะรายการ To Do ของปี 2551 เท่านั้น
    • Show All Completed iTems : เลือกตรงนี้เพื่อให้แสดงรายการ To Do ที่เราทำเสร็จไปแล้วด้วย

    iCal : เปลี่ยนเวลาบน iCal จาก AM/PM เป็น 24 ชม. กันดีไหม

    ด้วยความที่ผมมีปัญหาเกี่ยวกับ eng พอตัวและสับสนเสมอว่า AM/PM มันช่วงเวลาตอนไหนเลยอยากจะให้ iCal แสดงเป้น 24 ชม. ก็สามารถทำได้ง่าย ๆ ครับ เพื่อน ๆ ที่เจอปัญหาเหมือน ๆ ผมลองอ่านดูนะครับ ..

    http://www.blogintrend.com/mac-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B...

    iSync

    iSync - Sync ข้อมูลบนเครื่องกับอุปกรณ์มือถือของเรา

    isync-icon.jpg

    iSync เป็นโปรแกรมที่มีมากับ OS X เอาไว้สำหรับ Sync ข้อมูลจาก Address Book, iCal หรืออื่น ๆ เข้ากับอุปกรณ์มือถือของเราผ่าน usb cable หรือว่า bluetooth

    picture17-1.jpg
    หน้าตาของโปรแกรม

    Picture13.jpg
    ก่อนใช้เริ่มใช้งาน iSync เราควรเข้าไปดูรายชื่อโทรศัพท์มือถือที่ทำงานกับ iSync ได้ที่
    http://www.apple.com/macosx/features/isync/

    ปรกติจะมีโทรศัพท์เกือบรุ่นปัจจุบันเกือบทั้งหมด แต่โทรศัพท์บางรุ่นอาจจะยังไม่ update ในรายการนี้
    ซึ่งของ Nokia สามารถเข้าไป download ได้จากหน้า iSync Plug-in บนเวป Nokia ครับ

    iSync plugin สำหรับ Nokia บางรุ่นที่ไม่ support

    สมัยนี้การ back up ข้อมูลรายชื่อ contact ทั้งหลาย ถ้าจะมานั่งจดๆพิมพ์ใหม่หมดกับโทรศัพท์เครื่องใหม่
    ก็คงเสียเวลาใช่เล่นเลยครับ ยิ่งใครติดต่องานเยอะๆยิ่งแล้วใหญ่เลย

    iSync คงเป็นคำตอบในการจัดการ รายชื่อ นัดหมาย ปฏิทิน ต่างๆ แต่ก็ใช่ว่ามันจะ sync กับทุกเครื่องได้นี่สิ
    โดยเฉพาะเครื่องที่ราคาค่อนข้างถูก

    ยกตัวอย่าง nokia 2630 ที่ผมพึ่งได้มา(ดันทำเครื่องเก่าตกน้ำ T-T) มัน pair bluetooth ได้ีครับ
    แต่ดันใช้กับ iSync ไม่ได้ หลายรุ่นของ nokia เลยที่เป็นแบบนี้โดยเฉพาะ series 40

    แต่ผมก็หาข้อมูลจนได้ตัวช่วยมาครับ ตามนี้เลย
    http://www.james-lloyd.com/scripts/nokia-series-40-isync-plugin/
    ซึ่งจะเรียกว่า plugin ก็ไม่เชิงเพราะจริงๆแล้วมันเป็นแค่ script ครับ ที่เขียนเพิ่มมาให้เราสามารถ
    เชื่อมต่อด้วย iSync ได้

    ที่ผมหาได้ตอนนี้มีแค่ของ Nokia series 40 นะครับ ตัวอื่นอาจจะต้องลองงมใน google กันอีกครับ
    รา่ยละเอียดและวิธีการทำก็ตาม link เลยนะครับทุกท่านนนน.................

    ตัวอย่างการ setup iSync กับมือถือ

    ตัวอย่างการ Setup iSync เพื่อ Sync ข้อมูลกับโทรศัพท์มือถือ Nokia 6230

    นี่เป็นตัวอย่างการ setup โปรแกรม iSync เพื่อ Sync ข้อมูลกับโทรศัพท์มือถือ Nokia 6230 นะครับผ่าน bluetooth นะครับ โดยโทรศัพท์แต่ละรุ่นอาจจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่มีหลักการคล้ายกัน ดังนี้

    เปิด Bluetooth ในมือถือของเรา

    โทรศัพท์แอบเก่าครับ อาย
    R0011271.jpeg

    R0011273.jpeg

    R0011276.jpeg

    เสร็จแล้วก็เรียก iSync ขึ้นมา

    เริ่มเปิดโปรแกรม iSync ขึ้นมา จาก Application folder / iSync

    Picture1_8.jpg

    ไปที่ menu bar / Devices / Add Device..

    Picture2_11.jpg

    เป็นการเพิ่มอุปกรณ์ที่เรามีเข้าไปผูกกับโปรแกรม iSync ครับ

    เข้าหน้าต่างเตือนให้เราเปิด Bluetooth บนเครื่อง
    Picture3_15.jpg
    ถ้าเรายังไม่ได้เปิด Bluetooth เอาไว้ เค้าจะเตือนให้เราเปิดตรงนี้ครับ เลือก Turn Bluetooth On ไป

    เข้าสู่หน้าต่าง Bluetooth Setup Assistant
    Picture4_6.jpg
    จะเป็นตัวช่วยเรา setup อุปกรณ์มือถือที่จะต่อเข้ากับเครื่องผ่าน bluetooth

    Picture5_6.jpg
    ในที่นี้เราจะต่อเข้ากับโทรศัพท์มือถือครับ เลือก Mobile phone จากนั้นเลือก Continue
    note : จะเห็นว่าเราสามารถต่ออุปกรณ์อื่น ๆ ผ่าน bluetooth ได้อีก ถ้าจะติดตั้งเพิ่ม ก็เข้ามาขั้นตอนนี้ใหม่อีกรอบ

    โปรแกรมจะเริ่มสั่ง Scan หาอุปกรณ์ที่เปิดสัญญาณ Bluetooth เอาไว้
    Picture6_3.jpg
    ถ้าขึ้นมาเป็นตัวหนังสือเลขรหัสที่ดูไม่รู้เรื่อง ให้รอสักพักนึงครับ เค้าจะเปลี่ยนให้เป็นตามชื่ออุปกรณ์ที่เราตั้งเอาไว้ (อาจจะ Scan เจอเครื่องอื่น ๆ อีกในบริเวณเดียวกัน ถ้าเค้าเปิดสัญญาณ bluetooth เอาไว้ด้วย)
    Picture7_3.jpg
    เห็นชื่อเครื่องมือถือเราอยู่ใน list แล้ว จากนั้นเลือก Continue ครับ

    หน้าต่างแจ้งเตือนก่อนการ setup มือถือ
    Picture8_3.jpg
    เลือก Continue

    หน้าต่างแจ้งรหัสในการ pair กับมือถือของเรา

    Picture9.jpg
    ให้เรานำรหัสที่ได้นี้ มาใส่ในเครื่องมือถือของเรา ที่ตอนนี้เราน่าจะได้รับสัญญาณจากเครื่อง Mac ส่งข้อความยืนยันว่าจะ Pair เข้ากับมือถือเราแล้วแบบนี้ครับ

    R0011286-1.jpg

    กด Accept (หรือ Ok ในมือถือรุ่นอื่น ๆ ) แล้วเราจะเข้าหน้าที่ให้ใส่รหัสยืนยัน

    R0011289.jpeg

    กรอกรหัสยืนยันที่ได้ลงในหน้าต่างนี้ จากนั้นกด OK

    R0011291.jpeg

    ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด จะมีหน้าต่างแจ้งว่าจับคู่กับมือถือเราสำเร็จแล้วบนหน้าจอครับ

    Picture10_0.jpg
    จากนั้นกด Continue ผ่านไป

    เข้าหน้ารายละเอียด Setup มือถือของเรา

    Picture11.jpg
    ถ้ามี Username กับ Password ก็ให้กรอกไปครับ (สำหรับกรณีใช้ต่อ Internet ผ่านมือถือ)
    สำหรับผู้ที่ม่ได้ใช้บริการนี้ ก็กด Continue ผ่านไปได้เลย

    หน้าต่างแจ้งเราว่าทำการ Setup เรียบร้อยแล้ว
    Picture12_0.jpg
    ถ้าต้องการ pair อุปกรณ์อื่น ๆ อีก ให้เลือก Set up Another Device ครับ
    จนทุกอย่างเรียบร้อยแล้วจากนั้นกด Quit

    กลับสู่หน้าต่างโปรแกรม iSync จะแจ้งเราว่าจับคู่กับมือถือเราสำเร็จแล้วพร้อมรายละเอียด

    Picture13_0.jpg
    อธิบาย
    For First Sync : สำหรับการ Sync กับมือถือของเราครั้งแรก เราต้องการให้เครื่อง Sync ข้อมูลกับมือถือเราแบบไหน ระหว่าง
    Picture15_0.jpg

    • Merge datat on computer and device : สลับจับคู่พร้อมอัพเดทระหว่างเครื่องกับมือถือของเราให้มีข้อมูลเหมือนกันเลย
    • Erase data on device then sync : ลบข้อมูลบนมือถือของเราออก แล้วแทนที่ด้วยข้อมูลที่มีอยู่บนเครื่องลงไป

    Turn on “อุปกรณ์มือถือของเรา” synchronization : เลือกเพื่อที่จะทำการ Sync มือถือผ่าน iSync

    Contact : ถ้าเรามีหลาย Group ใน Address Book ของเรา เราสามารถที่จะเลือก Sync แยกเป็น Group ได้ (เลือกระหว่าง 1 group ที่ต้องการ หรือทั้งหมด)
    Picture16_0.jpg

    Calendar : เลือกว่าเราต้องการจะ Sync ปฎิทินอันไหนเข้ากับมือถือของเรา จะทั้งหมด หรือว่าหลายประเภทปฎิทินก็ได้ (เลือกได้มากกว่า 1 หัวข้อ)

    Put event create on phone into : หัวข้อนี้จะกำหนดว่า ถ้าเราสร้าง event ในปฎิทินบนมือถือของเรา เวลา sync ครั้งต่อไป event นี้จะไปอยู่ในหมวดหมู่ไหนบน iCal ในเครื่องเรา
    Picture17_0.jpg

    More Option : ตัวเลือกเพิ่มเติม

    Picture14.jpg

    • Synchronize only contacts with phone numbers : sync เฉพาะ contact ใน Address Book ที่มีเบอร์โทรศัพท์เท่านั้น พวก Contact ที่มีแต่อีเมล์ หรืออื่น ๆ แต่ไม่มีเบอร์โทรศัพท์จะไม่ถูก Sync
    • Don’t synchronize events prior to : กำหนดไม่ให้ Sync นัดหมายในปฎิทินของเราในช่วงเวลาที่ผ่านไปแล้ว (จากภาพ นัดหมายที่เกิดก่อน 1 อาทิตย์ที่แล้วจะไม่ถูก sync )
    • Don’t synchronize events after : กำหนดไม่ให้ sync นัดหมาย หลังจากช่วงเวลาที่กำหนด (จากภาพ นัดหมายล่วงหน้าที่ยังมาไม่ถึงในอีก 1 เดือนนับจากวันที่ sync นี้จะไม่ถูก sync เข้ามาด้วย)
    • Synchronize alarms : sync แจ้งเตือนต่าง ๆ เข้าไปด้วย (ในกรณีที่เราตั้งเตือนเอาไว้ ไม่ว่าจะบนมือถือ หรือใน iCal)

    หลังจาก Set up ทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เลือก Sync Devices

    picture17-2.jpg
    จะเริ่มเข้าสู่ขึ้นตอนการ Sync
    Picture18_1.jpg
    ซึ่งระหว่างนี้ เราจะถูกแจ้งเตือนบนมือถือเราด้วยเช่นกัน
    R0011292.jpeg

    หน้าต่างแจ้งข้อมูลที่แตกต่างกันทั้งจากเครื่องและบนมือถือ

    Picture19_1.jpg

    • Add : คือข้อมูลที่ถูกเพิ่มเข้าไปใหม่ นับจากการ Sync ครั้งล่าสุด
    • Modify : คือข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนแปลง นับจากการ Sync ครั้งล่าสุด
    • Delete : ข้อมูลที่ถูกลบ นับจากการ Sync ครั้งล่าสุด

    ถ้าต้องการดูรายละเอียดว่ามีอะไรบ้าง ให้เลือก Show Details

    จากนั้นกด Sync

    R0011293.jpeg

    เสร็จแล้ว จะแจ้งเตือนเราผ่านหน้าจอโทรศัพท์

    R0011294.jpeg

    เลือก OK เป็นอันเสร็จครับ

    หลังจาก sync เสร็จแล้ว

    ควรจะตรวจสอบว่าข้อมูลอัพเดทตรงกันหรือไม่ และอย่าลืมปิด bluetooth ทั้งบนเครื่อง และบนมือถือของเรานะครับ

    System Preferences

    System Preferences เป็น application สำหรับปรับแต่งส่วนต่าง ๆ ภายใน OS X (คล้าย ๆ กับ Control Panel บน windows pc)

    note : ถ้าหัวข้อทางด้านซ้ายมือซ้อนกันหลายบรรทัดและอ่านยาก ให้ดูหัวข้อทางด้านล่างนี้แทนนะครับ เหมือนกัน =)

    ส่วนต่าง ๆ ของ System Preferences

    คำสั่งและส่วนต่าง ๆ ของ System Preferences

    system-pref-icon.jpg

    System Preferences คือส่วนที่ให้เราทำการปรับแต่งการใช้งาน / การแสดงผลในส่วนต่าง ๆ บนเครื่องเราครับ คล้าย ๆ กับบน Control Panel บน Windows

    System-pref-1.jpg
    มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้
    Personal : เกี่ยวกับรูปแบบแสดงผลส่วนต่าง ๆ ของเครื่องเรา

    • Appearance : รูปแบบของส่วนที่เราเห็นในโปรแกรมต่าง ๆ เช่น สี scroll bar, ตำแหน่งการเลือก scroll bar ฯลฯ
    • Desktop & Screen Saver : ปรับแต่งภาพพื้นหลังของ desktop และ screen saver
    • Dock : ปรับแต่งหน้าตาของ Dock
    • Expose´ & Spaces : ปรับการใช้งาน Expose´ (อ่านว่า เอ๊กโปเซ่) และ Spaces
    • International : เพิ่ม ลบ ภาษาที่จะใช้งานภายในเครื่องของเรา
    • Security : ตั้งค่าความปลอดภัย
    • Spotlight : ปรับแต่งการใช้งานของ Spotlight (โปรแกรมค้นหาสารพัดภายในเครื่อง)

    Hardware : ปรับแต่ง Hardware ส่วนต่าง ๆ รวมไปการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ เช่น หน้าจอ, คีบอร์ด, เมาส์, พริ้นเตอร์ ฯลฯ

    • Bluetooth : ตั้งค่าเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Bluetooth กับอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น มือถือ PDA
    • CDs & DVDs : ปรับพฤติกรรมการใช้งานของไดร์ฟ CD / DVD ที่มีอยู่ในเครื่องเรา
    • Display : ปรับขนาดความละเอียดหน้าจอ
    • Energy Saver : ตั้งค่าพักหน้าจอ หรือ sleep เพื่อประหยัดพลังงานเวลาที่เราไมไ่ด้ใช้ หรือว่าเปิดทิ้งเอาไว้ (สำหรับคนที่ใช้ Macbook, Macbook Pro - การปรับแต่งตรงนี้ช่วยในเรื่องยืดอายุแบตเตอรี่ได้ด้วย)
    • Keyboard & mouse : ปรับแต่งเมาส์ + คีบอร์ดบนเครื่อง
    • Print & Fax : จัดการเกี่ยวกับพรินเตอร์ + แฟกซ์ ที่ต่อเข้ากับเครื่องเราอยู่
    • Sound : ปรับเกี่ยวกับเสียงต่าง ๆ ทั้งจากลำโพง และซาวน์ effect ที่มีอยู่ในเครื่อง

    Internet & Network : การเชื่อมต่อ Network, Internet

    • MobileMe : สำหรับ login เข้าไปใช้งาน MobileMe ของเรา (ต้องซื้อ MobileMe มาก่อนถึงจะใช้งานตรงนี้ได้)
    • Networks : การใช้งาน Internet หรือการเชื่อมต่อ network ทั้งแบบสาย Lan และ Wifi
    • QuickTime : เกี่ยวกับ QuickTime เป็นโปรแกรมแสดงผล multimedia ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่องเรา
    • Sharing : การแชร์ข้อมูลกับระบบอื่น ๆ เช่น windows หรือกับคนที่มาเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเรา

    System : สร้าง user account และอื่น ๆ เกี่ยวกับระบบของเรา

    • Account : สร้าง และ บริหารบัญชีผู้ใช้งาน (user account) ต่าง ๆ บนเครื่องเรา
    • Date & Time : กำหนด Time Zone และการแสดงผลเกี่ยวกับวันที่ และเวลา
    • Parental Controls : สำหรับผู้ปกครองเอาไว้ควบคุมการการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของบุตรหลาน
    • Software Update : ค้นหา / อัพเดทซอฟแวร์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเครื่อง
    • Speech : สั่งงานทางเสียง และเลือกเสียงอ่าน (เราเลือกได้)
    • Startup Disk : เลือกว่าเราจะ boot เครื่องเราจากที่ไหน (กรณีมีหลาย os) และเข้าใช้งานเกี่ยวกับTarget Disk Mode
    • Time Machine : เปิด / ปิด setup ต่าง ๆ เกี่ยวกับโปรแกรม TimeMachine (โปรแกรม Backup ที่มากับ osx 10.5- Leopard)
    • Universal Access : สำหรับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตา หรือบกพร่องทางการรับรู้อื่น ๆ ให้สามารถใช้งานเครื่องได้สะดวกมากขึ้น เช่นมีทำให้ font อ่านง่ายขึ้น หรือว่ามีเสียงช่วยอ่านคำสั่งต่าง ๆ ฯลฯ

    Other : ปรับแต่งอุปกรณ์ หรือว่าโปรแกรม 3rd party อื่น ๆ ที่เรา install เพิ่มภายหลังได้จากตรงนี้ (จากภาพ ผมใช้งาน tablet เลยมีตรงนี้เพิ่มเข้ามา)

    การตั้งค่าภาษาไทย บน OSX - Leopard

    วิธีการตั้งค่าภาษาไทยบน OS X 10.5 - Leopard

    ตามปรกติแล้ว หลังจากการที่เราลง osx เสร็จใหม่ ๆ เราจะยังใช้งานภาษาหลักได้เพียงภาษาเดียวเท่านั้น (คือภาษาอังกฤษ หรือภาษาอะไรก็ตามที่เราเลือกเอาไว้ตอนลง os ครั้งแรก) ซึ่งการใช้งานภาษาไทยบน OS X เวอร์ชั่น 10.5 (Leopard) โดยทั่วไปมีขั้นตอนที่ต้องถือว่าง่าย เพียงแค่กดเข้าไปไม่กี่ที่ก็สามารถ ใช้งานภาษาไทยได้แล้ว โดยการ activate ให้ใช้งานภาษาไทยในเครื่องได้นั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    ไปที่ System Preference เลือก international

    001-_4.jpg

    เข้าสู่หน้าต่าง International เลือก Edit List..

    Picture1_39.jpg

    เลื่อนลงมาด้านล่าง หาตัวเลือก “ภาษาไทย” จากนั้นกด OK

    Picture2-1_14.jpg

    เราจะเห็นมีรายชื่อภาษาไทยเข้าไปอยู่ใน list แล้ว

    Picture3_35.jpg

    1. เราจะเห็นว่าภาษาไทยที่เราเพิ่งเลือกมานั้น อยู่ในรายการบนสุด หมายความว่า ทุกครั้งที่เรา log in เข้าใช้งานเครื่องนี้ ภาษาไทยจะถูกตั้งเป็นค่ามาตรฐานมาให้เราสามารถพิมพ์ไทยได้เลย
    2. มีคำเตือนขึ้นมา 2 ย่อหน้า ย่อหน้าแรกจะบอกเราว่า ภาษาไทยที่เราเพิ่ง setup เสร็จไปนั้น จะแสดงผลหลังจากที่เข้า finder ใหม่อีกครั้ง ส่วนย่อหน้าที่สองจะบอกเราว่า ภาษาที่เราเลือกนั้น ตรงกับประเทศที่อยู่เราที่เราตั้งเอาไว้ตอน install หรือไม่ (จากในภาพผมตั้งค่าตอน install osx เป็น singapore แล้วพอมา setup ภาษาไทยเข้าไป เครื่องเลยฟ้อง เพราะภาษาหลักไม่ใช่ภาษาอังกฤษครับ - ซึ่งตรงนี้จะมีผลเกี่ยวกับรูปแบบการแสดงผลของสกุลเงิน, ตัวเลข, วันที่ ฯลฯ ครับ)

    เลือก tab ที่ 2 = Formats

    formats_2.jpg

    1. Dates : เป็นรูปแบบการแสดงวันที่ในแบบต่าง ๆ ส่วนมากจะมีผลกับโปรแกรมที่อยู่ภายในเครื่อง
    2. Times : เป็นรูปแบบการแสดงเวลา
    3. Numbers : เป็นรูปแบบการแสดงตัวเลขต่าง ๆ
      • ค่าสกุลเงิน (Currency) ที่จะแสดงผลเป็นเงินบาท
      • หน่วยวัด (Measurement Units) เป็นระบบ Metric หรือหน่วยวัดเป็น เซ็นติเมตร - เมตร (ถ้าเราเลือกแบบ US จะแสดงผลเป็น ฟุต - นิ้ว ครับ)

    ปรับการแสดงผลแบบ พุทธศักราช ในหัวข้อ Dates เลือก Calendar

    Picture2_34.jpg

    Calendar : Gregorian - แสดงปี ค.ศ.

    Picture3_36.jpg

    Calendar : Buddhist - แสดงปีแบบ พ.ศ.

    หัวข้อ Times เลือก Customize เพื่อปรับการแสดงผลเกี่ยวกับเวลา

    Picture4_19.jpg

    ลองปรับดูในส่วนต่าง ๆ นะครับ =)
    จะให้แสดงผลละเอียดมากน้อยแค่ไหนตั้งได้จากหัวข้อ
    Show : ครับ .. เอาแบบแสดงกันเป็นวินาทียังได้เลย ซึ่งการแสดงผลตรงนี้จะไปมีผลกับโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเครื่่องครับ (ผมเองก็ไม่แน่ใจว่าตัวเลขพวกนี้จะไปโผล่ที่ไหนบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่เราสามารถที่จะตั้งค่าการแสดงผลตามใจฉันได้จากส่วนต่าง ๆ ของโปรแกรมนั้น ๆ ครับ รวมไปถึงบน menu bar ข้างบนด้วย)

    บน Menu bar มีเวลา + วันที่ตามที่เราตั้งเอาไว้แล้ว

    thai-time_2.jpg

    เมื่อคลิ๊กเข้าไปในนาฬิการ เราจะเห็นวันที่และรูปแบบการแสดงผลครับ
    ซึ่งเราสามารถเลือกดูเวลาได้สองแบบ

    • View as Digital : เป็นการแสดงผลเวลาแบบตัวเลขนาฬิกาดิจิตอลทั่ว ๆ ไป
    • View as Analog : แสดงผลแบบนาฬิกาเข็มอันเล็ก ๆ (ดูยากนิดนึง)

    สำหรับผู้ที่ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย

    Picture4-1_4.jpg

    สามารถตั้งเวลาเป็นคริสตศักราช และหน่วยวัดสากลได้ จากการไปสลับตำแหน่งของค่า default ภาษาของเครื่องเราครับ (คลิ๊กที่ “ภาษาไทย” แล้วลากสลับลงมาได้เลย) ตรงนี้จะเป็นการบอกเครื่องว่า เราจะใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 เท่านั้นนะ เรื่องหน่วยวัด หรือวันที่ ให้อิงกับภาษาแรก คือภาษาอังกฤษแทน

    ต่อมา เราจะมาตั้งค่า shortcut สำหรับสลับภาษาระหว่างการใช้งานในเครื่อง

    thai-input_2.jpg

    1. ไปที่ tab Input Menu
    2. เลื่อนลงมาหาส่วนคีบอร์ดของภาษาไทย

    thai-input-2_2.jpg

    1. ติ๊กถูกเพื่อเลือกใช้งานคีบอร์ดภาษาไทย (จะใช้อันไหนก็ได้ครับ)
    2. Show input menu in menu bar : ตรงนี้มีเอาไว้เพื่อแสดงสัญลักษณ์ภาษาที่เราใช้งานอยู่ขณะนั้นบน menu bar (เราสามารถเปลี่ยนภาษาได้จาก         menu bar ตรงนี้ด้วยครับ)                                thai-menubar_2.jpg
    3. เลือกเพื่อเข้าสู่การตั้ง shortcut เป็นลำดับต่อไป

    เข้าสู่การตั้งค่า keyboard shortcut สำหรับการใช้งานภาษาไทย

    shortcut_2.jpg

    1. เราจะมาอยู่ที่ tab ของ Keyboard Shortcutsดยอัตโนมัติ
    2. ให้เลื่อนลงมาหาหัวข้อ Input Menu

    Picture8-1_5.jpg

    1. ติ๊กในส่วนหัวข้อ Input Menu นี้
    2. เราจะถูกเตือนมาว่า shortcut ที่เราต้องการจะใช้นั้น ไปซ้ำกับ shortcut เดิมที่มีอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว (ในที่นี้คือส่วนของ Spotlight ครับ)

    Picture9-1_5.jpg

    1. สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้งาน Spotlight แบบเต็มรูปแบบ ก็สามารถติ๊กเอาหัวข้อ Show Spotlight Window ออกไปก่อนได้
    2. จากนั้น คลิ๊กในตำแหน่งที่ 2 เพื่อเปลี่ยนปุ่ม shortcut ของ spotlight ใหม่ ให้คลิ๊กที่ shortcut เดิมได้เลย สักพักเค้าจะเปลี่ยนเป็นกล่องข้อความแล้วให้เราพิมพ์ shortcut ที่เราอยากจะได้เข้าไปใหม่ ถ้าไม่ถูกใจ ก็เปลี่ยนไปได้ใหม่เรื่อย ๆ ครับ ขอแค่ไม่ไปซ้ำกับ shortcut เดิมที่มีอยู่แล้วในระบบเป็นใช้ได้ (ในที่นี้ผมเปลี่ยนมาเป็น Ctrl + Space bar ครับ)

    หลังจากเปลี่ยนปุ่ม shortcut ใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะเห็นว่า ไม่มีเครื่องหมายตกใจมาแจ้งเตือนเราอีก เพราะว่า shortcut ที่เราตั้งใหม่นั้นไม่ไปซ้ำกับของเดิมในระบบครับ ดังนั้น สบายใจได้ครับ =)

    หลังจากตั้ง shortcut ของ spotlight เสร็จแล้ว เรามาลองทดสอบกันดู

    test-spotlight_2.jpg

    ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เวลาเรากดปุ่ม Ctrl + Space bar (หรือ shortcut อื่น ๆ ที่เราตั้งเอาไว้) spotlight จะทำงานครับ

    พอ spotlight ทำงานเป็นปรกติแล้ว ก็ถึงเวลาทดสอบการสลับภาษาไทย - อังกฤษ

    ปุ่ม shortcut สำหรับเปลี่ยนภาษาของเราคือปุ่มจากในหัวข้อ Input Menu ที่เราเลือกเอาไว้ด้านบนนะครับ คือ

    Change-lang_2.jpg

    Command + Space Bar : สำหรับการเปลี่ยนไปยังภาษาก่อนหน้าที่เราใช้อยู่
    Option + Command + Space Bar : สำหรับเปลี่ยนไปยังภาษาถัดไป

    อาจจะดูงง ๆ เล็กน้อยครับ ยิ้มปากกว้าง แต่สำหรับเครื่องที่มีอยู่ 2 ภาษา คำสั่งทั้งสองอันจะให้ผลเหมือนกัน คือสลับไปมาระหว่าง Eng - Thai ครับ ดังนั้นเลือกใช้อันใดอันหนึ่งก็ได้

    กด Command + Space Bar

    มาลองดูกันครับ ตอนนี้ภาษาในเครื่องเราจะเป็นอะไรก็ตามแต่ ถ้าเรากด Command + Space Bar แล้ว เค้าจะต้องเปลี่ยนให้เรา

    thai_2.jpg

    กด Command (ปุ่มรูปแอปเปิล หรือเครื่องหมายยันต์) พร้อมกับ Space Bar นะครับ

    eng-1_2.jpg

    ได้ผลเปลี่ยนเป็นแบบนี้ ยิ้มปากกว้าง

    ขอให้มีความสุขในการใช้งานภาษาไทยบน Leopard นะครับ =)

    Tips

    การสลับภาษาโดยใช้ Caps Lock คุณ nickoe เขียนเอาไว้ใน blog นี้ครับ
    มือใหม่ต้องเจอ : กด Caps Lock เร็วฉันใด เปลี่ยนภาษาเร็วฉันนั้น

    การสร้าง user account / บัญชีผู้ใช้งานใหม่ (ในกรณีที่ใช้งานบนเครื่องเดียวกันมากกว่า 1 คน)

    การสร้าง account ผู้ใช้งานใหม่ (ในกรณีที่ใช้งานบนเครื่องเดียวกันมากกว่า 1 คน)

    ตามปรกติแล้วแต่ละเครื่องจะมี Account ผู้ใช้งานประจำเครื่องอย่างน้อย 1 account เสมอครับ (เหมือนกับบน windows) ถ้าเป็นเครื่องส่วนตัวเราจะไม่ค่อยได้มาตรงส่วนนี้เท่าไหร่ ถ้าเราใช้งานคนเดียวบนเครื่อง account เราก็จะเป็นชื่อของเรา และได้สิทธิ์เป็น admin ให้จัดการทรัพยากรของเครื่องได้ทั้งหมด

    แต่สำหรับเครื่องในบริษัท หรือเครื่องที่มีผู้ใช้งานหลายคนร่วมกันนั้น การสร้าง account ให้เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละคนเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ (และควรกระทำด้วยครับ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรภายในเครื่องเราครับ ยิ้มปากกว้าง)

    โดยเครื่องที่มีมากกว่า 1 account นั้น ปรกติค่า setting ต่าง ๆ ของแต่ละ account จะแยกจากกันได้โดยอิสระ เช่น

    • โปรแกรมต่าง ๆ
    • ขนาด font ข้อความ
    • ภาพพื้นหลัง desktop
    • รวมไปถึง setting เฉพาะกิจต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้งานแต่ละคนจะเลือกตั้งเอาไว้ (พูดให้ง่ายคือ ของใครของมันครับ ไม่เกี่ยวกัน)

    เครื่องที่มีผู้ใช้งานมากกว่า 1 คนขึ้นไป ผู้ที่เป็นเจ้าของเครื่อง หรือ ผู้ใช้งานระดับ admin สามารถสร้าง account ใหม่ขึ้นมาให้กับผู้ใช้แต่ละคนได้ ซึ่งการทำแบบนี้มีข้อดีคือ

    1. ช่วยให้บริหาร file / folder ภายในเครื่องสะดวกขึ้น เช่น ป้องกันการเข้าถึงไฟล์ที่เจ้าของเครื่อง/admin ไม่ต้องการให้ผู้ใช้งานคนอื่นบนเครื่องเข้าถึง หรือใช้งานไฟล์นั้น ๆได้ เพราะเอกสารของแต่ละ account จะแยกจากกัน ยกเว้นบาง folder เช่น public folder / shared folder ที่จะมองเห็นร่วมกันเท่านั้น (หรือจะกำหนดสิทธิ์พิเศษให้มองเห็น folder ต่าง ๆ เป็นกรณีไปก็ทำได้)
    2. ป้องกันความเสียหายจาก user อื่นไม่ให้มาซนกับไฟล์ของ admin หรือไฟล์ของระบบ
    3. admin สามารถจำกัดสิทธิ์การใช้งานของ user อื่น ๆ บนเครื่องได้ เช่น ผู้ปกครองสามารถสร้าง account ให้บุตรหลานใช้งานบนเครื่องเดียวกัน แล้วยังกำหนดระยะเวลาให้เล่น internet ได้ถึง 4 ทุ่มของทุกวันเท่านั้น เป็นต้น

    ไปที่ System Preference เลือก Accounts
    001-_3.jpg

    เราจะเห็นหน้าต่างแสดงรายชื่อบัญชีผู้ใช้หรือว่า Account ที่มีอยู่ในเครื่อง

    002-_3.jpg

    ตรงนี้จะบอกเราว่า ขณะนี้ในเครื่องของเรามี บัญชีผู้ใช้ (account) ของใครอยู่ในเครื่องบ้าง

    • My Account - คือ account ของเราเอง ดูสถานะได้จากใต้ชื่อ ใครที่มีสถานะเป็น Admin จะสามารถปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ ได้
    • Other Accounts - คือ บัญชีผู้ใช้อื่น ๆ ที่ admin สามารถสร้างเพิ่ม หรือว่าลบออกจากระบบได้

    ให้สังเกตว่ากุญแจที่อยู่ด้านล่างล๊อกอยู่หรือไม่ ถ้าล๊อกอยู่เราจะเข้าไปแก้ไขข้อมูลอะไรไม่ได้ ต้องปลดล๊อกก่อนเท่านั้น การปลดล๊อกทำได้ด้วยการคลิ๊กไปที่ลูกกุญแจครับ

    คลิ๊กไปที่ลูกกุญแจเพื่อปลดล๊อก

    003-_3.jpg
    เมื่อคลิ๊กที่รูปกุญแจแล้ว ระบบจะถาม username กับ password ของเรา ให้กรอกแล้วกด OK ผ่านไป
    หมายเหตุ - ขึ้นตอนการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับ system หรือว่าไฟล์ของระบบแล้วนั้นส่วนใหญ่ ถ้าเราจะทำการแก้ไข เรามักจะต้องใส่ password ก่อนเสมอ

    หลังจากปลดล๊อกแล้ว ทำการเพิ่ม account โดยการกดที่เครื่องหมาย ‘+’ (บวก)

    004-_3.jpg

    หน้าต่างใหม่ให้กรอกรายละเอียดของ ผู้ใช้งาน/user ใหม่บนเครื่อง

    006-_3.jpg

    New Account: ชนิตของบัญชีผู้ใช้แบบต่าง ๆ (อธิบายจากรูปถัดไป)
    Name: ชื่อประจำตัวของ account นี้ โดยทั่วไปก็เอาชื่อ/ตำแหน่งผู้ใช้งานมาใส่ .. จะเป็นอะไรก็ได้ที่ไม่ทำให้สับสนทีหลัง
    Short Name: ชื่อย่อ
    Password: ระหัสผ่าน
    Verify: ยืนยันระหัสผ่าน
    Password Hint: คำถามใบ้ แนะแนวกรณีที่เราลืม password ตั้งอะไรก็ได้ที่เกี่ยวโยงกับ password ที่เราตั้งไว้ จะกรอกตรงนี้เป็นภาษาไทยก็ได้ครับ =)

    เลือกประเภท ผู้ใช้งาน/user ใหม่บนเครื่อง

    005-_0.png

    Administrator: ผู้ใช้งานชั้นสูงสุด ที่มีสิทธิ์เพิ่ม ลบ หรือแก้ไขอะไรต่าง ๆ ที่อยู่บนเครื่องได้ทั้งหมด
    Standard: ผู้ใช้งานทั่วไป ส่วนใหญ่ไม่มีสิทธิ์จัดการกับไฟล์ของระบบ หรือของผู้ใช้ account อื่น ๆ นอกจากจะใช้งานบนบัญชีตัวเองเท่านั้น
    Managed with Parental Controls: เป็น account ที่สามารถกำหนดการใช้งานให้รัดกุมได้ สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการกำหนดขอบเขตการใช้งานเครื่องกับลูกหลาน
    Sharing Only: คนทั่วไป ทำอะไรไม่ได้มากไปกว่า การเข้าถึงเฉพาะส่วน public folder หรือที่เปิดแชร์เอาไว้เท่านั้น log in เข้าจากหน้าเครื่องก็ไม่ได้ด้วย
    Group: เอาไว้สำหรับกำหนดสิทธิ์ในการแชร์ไฟล์ใหักับกลุ่ม account อื่น ๆ

    รูปกุญแจที่เห็นอยู่ด้านหลังช่องกรอก password

    008-_3.jpg

    คือ Password Assistant

    007-_0.png

    มีเอาไว้สำหรับตรวจสอบความแข็งแรงของ password ที่เราตั้งเอาไว้ พร้อมกับมีข้อแนะนำในรูปแบบต่าง ๆ เช่นพวกการสลับตัวอักษรกับตัวเลข หรือการใช้ตัวเล็กตัวใหญ่สลับกัน....

    แต่ขอแนะนำว่า ตั้งอะไรก็ได้ล่ะครับ เอาให้ไม่ลืมและเข้าใจเองได้คนเดียวเป็นพอครับ มีความสุข

    กรอกรายละเอียดตามช่องที่ให้มาให้หมด

    009-_3.jpg

    จากนั้นกดเลือก Create Account เพื่อเป็นการเริ่มสร้าง account ใหม่
    หมายเหตุ : จากรูปผมตั้งคำถามนำทาง เวลาลืม password เป็นภาษาไทยครับ หรือถ้าไม่แน่ใจ ก็ใส่ไว้ 2-3 ข้อก็ได้ =)

    ถ้าเราตั้ง password กับ verify ไม่เหมือนกัน

    010-_3.jpg

    จะถูกฟ้องว่าเรากรอก password กับ verify ไม่ตรงกันครับ =P

    หลังจากสร้าง account ใหม่สำเร็จแล้ว เราจะกลับมาที่หน้าต่างรายชื่อ account

    011-_3.jpg

    1.การเปลี่ยนรูปประจำตัว ทำได้ด้วยการคลิ๊กเข้าไปที่ตรงนี้
    2.เปลี่ยน password ใหม่
    3.เปลี่ยนชื่อประจำเครื่อง/MobileMe ใหม่ (เมื่อเปลี่ยนแล้วรายชื่อทางด้านซ้ายมือจะเปลี่ยนตามครับ)
    4.
    Allow user to administer this computer : กำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้นี้เป็น admin ของเครื่องได้
    Enable Parental Controls : กำหนดสิทธิ์ความคุมการใช้งานเครื่องของ user ในรูปแบบต่าง ๆ

    ถ้าเปลี่ยนทุกอย่างเข้าที่เข้าทางแล้ว อย่าลืมกลับมาล๊อกกุญแจกลับเข้าที่เดิม

    012-_3.jpg

    จะเป็นการป้องการการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลจาก user อื่น ๆ บนเครื่อง หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงโดยตัวเราเอง =)
    ถ้าจะแก้ไขอีกคราวหน้า ก็ให้กลับมาปลดล๊อกใหม่ และทำซ้ำแบบเดิมครับ

    หมดในส่วนของการสร้าง Account ใหม่แล้วครับ

    note : อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ account ได้จาก
    http://docs.info.apple.com/article.html?path=Mac/10.5/en/8235.html

    เปลี่ยนรูป Desktop

    การ เปลี่ยนรูปพื้นหลัง Desktop

    เราสามารถเปลี่ยนรูปพื้นหลังของ Desktop เราได้โดย

    1.ไปที่ System Preferences แล้วเลือก Desktop & Screen Saver

    p-desktop_0.jpg
    หรือ

    2.คลิ๊กขวาบนพื้นที่ว่างบน Desktop ของเราแล้วเลือก Change Desktop Background..

    note : ทั้ง 2 วิธีให้ผลเหมือนกันคือเราจะเข้าไปเลือกรูป Desktop ใหม่จากใน System Preferences

    คลิ๊กขวาบนพื้นที่ว่างบน Desktop แล้วเลือก Change Desktop Background..

    Picture2-1_3.jpg

    เข้าสู่หน้า System Preferences / Desktop & Screen Saver เพื่อเลือกรูปใหม่

    select-pic_0.jpeg
    เราจะได้มาหน้าต่างนี้เพื่อเลือกรูปที่ต้องการ ได้จากใน list ทางด้านซ้ายมือ..

    สำหรับคนที่มีรูปอยู่ใน iPhoto หรือส่วนอื่น ๆ ของเครื่อง เราสามารถที่จะเข้าไปเลือกรูปจากในนั้นมาใช้ได้นะครับ (จากในตัวอย่างผมไม่มีรูปใน iPhoto เลยไม่มีในรายการทางด้านซ้ายให้เลือกครับ)

    note : ถ้าเราไม่ใช้วิธีคลิ๊กขวา สามารถมาตรงนี้โดยไปที่ System Preferences/ Desktop & Screen Saver (จากในรูปแรก) ครับ

    ลองเลือกรูปใหม่แล้วกลับออกมาดู Desktop ของเรา

    Picture3_0.jpeg

    รูปจะเปลี่ยนไปตามที่เราเลือกไว้จากใน System Preferences/ Desktop & Screen Saver ครับ

    System Preferences Tips

    Tips & Tricks เกี่ยวกับ System Preferences

    การเพิ่ม Shortcut ใหักับคำสั่งต่าง ๆ เอง

    การเพิ่ม Shortcut ให้กับคำสั่งต่าง ๆ เอง

    โดยทั่วไปแล้ว คำสั่งต่าง ๆ ของ แต่ละ application จะมี Shortcut ให้เข้าถึงการใช้งานหลักได้เกือบทุกคำสั่งอยู่แล้ว แต่บางกรณีบางคำสั่งก็จะไม่มี

    แล้ว... ถ้าเกิดว่าเราต้องใช้คำสั่งที่ไม่มี shortcut บ่อย ๆ ขึ้นมา เราจะทำอย่างไร? เราสามารถสร้าง Shortcut ให้กับคำสั่งเหล่านี้ได้หรือไม่?

    คำตอบของเรื่องนี้คือ เราสามารถสร้าง Shortcut ขึ้นมาใหม่เฉพาะคำสั่งที่เราต้องการได้ครับ

    ตัวอย่าง คำสั่งบน Preview/Tools/Adjust Size...

    ผมจะขอยกตัวอย่างของคำสั่งบน Preview คือ Adjust Size.. (ปรับขนาดรูป) โดยคำสั่งนี้เดิมทีจะสั่งงานได้ผ่านทางเมนูบาร์ด้านบนเท่านั้น ตามนี้ครับ

    Picture2_12.png

    เอาล่ะ เรามาเพิ่ม Shortcut ให้คำสั่งนี้กัน

    เปิด System Preferences ขึ้นมา

    Picture3_37.jpg
    เลือก Keyboard & Mouse

    เข้าหน้าต่าง Keyboard & Mouse

    004_4.jpg
    เลือกไปที่เครื่องหมาย “+”

    ตัวอย่าง คำสั่งบน Preview/Tools/Adjust Size...

    Picture2_13.png

    1. เลือก Applications ที่ต้องการจากใน List นี้ ลองกดเข้าไปดูครับ ว่ามี Application อะไรให้เลือกบ้าง ซึ่งจะมีเกือบ ทุก application หลักที่มีอยู่ในเครื่อง (ในที่นี้ผมเลือก Preview ครับ)
    2. กรอกชื่อคำสั่งที่เราต้องการเพิ่ม Shortcut ใหม่เข้าไป (ต้องสะกดให้เหมือนที่มีให้เลือกในโปรแกรมนะครับ)
    3. ใส่ Shurtcut ใหม่ที่เราอยากได้ โดยการกด Shortcut เข้าไปเลย (จากตัวอย่างผมกด Ctrl + Command+ A ครับ)

    note : ถ้าต้องการใช้ Shortcut ใหม่นี้กับทุกโปรแกรม ให้เลือก All Aplications - ซึ่งไม่แนะนำครับ เพราะว่า Shortcut ใหม่นี้อาจจะไปซ้ำกับของเดิมที่มีอยู่แล้วในแต่ละ Application ได้ .. สร้างใหม่ให้เฉพาะกับ Application ที่เราต้องการจริง ๆ จะดีกว่าครับ =D

    เราจะได้มาเป็นแบบนี้

    Picture5_4.png

    เราสามารถแก้ Shortcut ที่ต้องการได้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะพอใจครับ เอาอันที่กดถนัดและเป็นธรรมชาติที่สุดจะเป็นการดี

    จากนั้นกด Add เพื่อยืนยัน

    กลับมาที่หน้า Keyboard & Mouse

    Picture6_4.png

    เราจะเห็นว่ามี Shortcut เพิ่มขึ้นมาใหม่สำหรับ Application Preview โดยเฉพาะที่เราเพิ่มไปเมื่อสักครู่โผล่มาให้เห็นแล้ว

    note : ตรงลูกศรชี้ ถ้าเกิดเราจะเปลี่ยนใจตั้ง Shortcut ใหม่ เราสามารถแก้ได้เลยจากตรงนี้ครับ กดดับเบิลคลิ๊กไปที่ Shortcut เดิมตรงนี้ล่ะ

    จากนั้นให้เราลองเปิด Preview ขึ้นมาครับ

    ไปที่ Tools/ Adjust Size...

    Picture7_0.png

    มี ShortCut ใหม่เพิ่มขึ้นมาแล้ววว ~

    ยิ้มปากกว้าง

    จากขึ้นตอนทั้งหมดนี้ เราสามารถตั้ง Shortcut เพิ่มให้กับ Application ต่าง ๆ เองได้ครับ ลองดูนะ

    ขอให้สนุกกับการใช้งาน Shortcut ใหม่ครับ ~

    มือใหม่ต้องเจอ : เมาส์ฉันไม่ทันใจ -*-

    สำหรับมือใหม่ใจรัก mac ทุกท่าน เปิดเครื่องมาปั๊ป โอว OS สุดแจ่ม Interface งดงาม

    แต่ทันใดนั้น เมื่อขยับเมาส์คู่กาย cursor เจ้ากรรมกลับหนืดสนิท:หลอน: 
    ช้าเป็นเต่าคลาน ลากตั้งไกล ขยับไปนิดเดียว โกรธ  
    ทำให้รำคาญใจกับ mac เครื่องใหม่ เกิดอาการสงสัยเป็นเหตุอันใด อะไรเสียรึเปล่า 
    กังวลต่างๆนาๆ มาฟังทางนี้ครับ

    ความเป็นจริงแล้วมันมีที่มาครับ มันเป็นมาอย่างนี้
    Cursor ของเมาส์บน Mac OS จะมีความแตกต่างจากของ Windows ก็ตรงที่
    จะมีการคำณวณระยะทางให้สัมพันธ์กับความเร็วของมือเราครับ(Windows ไม่มีตรงนี้เลยทำให้มันเร็วเท่ากันหมด)
    เปรียบได้กับการเดินกับการวิ่งนั้นเองคับ ซึ่งการคำณวณแบบนี้ ทำให้ได้ความแม่นยำของ Cursor มากกว่าครับ
    ลองลากเร็วๆกับช้าๆเทียบกันครับ ด้วยระยะทางที่เท่ากันนะครับจะเห็นผลชัดมาก
    Credit : คุณ Cyberdude ที่เคยตอบไว้ใน www.Freemac.net ให้เป็นวิทยาทานครับ

    แต่ เราไม่จำเป็นจะต้องใช้ช้าๆ อย่างที่ Default ตั้งไว้เสมอไปนะครับ เราสามารถตั้งได้ที่ System preferences
    ได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นความเร็วของเมาส์ หรือ Trackpad ก็ตาม
    ตรงนี้นะครับ ถ้าจะตั้ง Trackpad ก็ไปที่ Tab ของ Trackpad แล้วก็เลือก Tracking เหมือนกันครับ
    มันจะช่วยให้เร็วขึ้นแต่การคำณวณข้างต้นยังอยู่นะครับ ไม่ได้ไปไหน แค่ทันใจกว่าเดิมเท่านั้นเอง
    คราวนี้ถ้าลองลากเร็วๆจะเป็นจรวดเลยครับ :หมดกัน-2:

    [แก้ไขขนาดของภาพครับ ของเดิมล้นจอ - kok]

    Spaces & Exposé

    เกี่ยวกับการใช้งาน Spaces และ Exposé

    Spaces เบื้องต้น

    Spaces เบื้องต้น

    spaces-icon_0.jpg

    Spaces (อ่านว่า สะ-เป-เซ่ด) เป็นความสามารถใหม่บน OS X Leopard เอาไว้สำหรับลดความวุ่นวายของหน้าจอ desktop ของเราลง โดยการจำลองพื้นที่เสมือนสำหรับจัดเก็บ application ที่เราเปิดใช้งานเอาไว้เป็นหมวดหมู่แยกจากกันอย่างชัดเจน เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน

    00-activate_1.jpg

    มีวิธีการ setup ก่อนการใช้งานดังนี้

    ไปที่ System Preferences เลือก Exposé

    001-sys-pref_1.jpg

    เลือก Tab : Spaces

    01-_0.jpg
    เราจะเข้าหน้าต่าง setting ของ spaces (อธิบายในหัวข้อถัดไป) ซึ่งจะมีตัวเลือก 2 ตัวที่ด้านบนดังนี้

    1. Enable Spaces : เป็นการเปิดใช้งาน Spaces (จำเป็นต้องเลือก เพื่อเปิดใช้งาน Spaces ครับ)
    2. Show Spaces in menu bar : แสดงไอคอนสถานะของ Spaces บน menu bar ที่ด้านบน แบบนี้ 03-_0.jpg (จะเลือกหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าเลือกไว้ก็จะสะดวกดีตรงที่เราจะรู้ว่าตอนนี้ เราใช้ Spaces เบอร์อะไรอยู่)

    การ setting ต่าง ๆ

    02-2_0.jpg

    1.
    เพิ่ม / ลด จำนวน Spaces ที่เราต้องการจะใช้งาน จากเครื่องหมาย “+”, “-” ถ้าเราอยากจะเพิ่ม จะลดเอากี่ช่องก็ทำได้จากตรงนี้ โดยจะมีให้เราปรับ 2 ส่วนคือ

    • Rows : เพ่ิม - ลด จำนวน Spaces ในแนวนอน
    • Columns : เพิ่ม - ลด จำนวน Spaces ในแนวตั้ง

    note : Spaces ในตอนแรกจะเตรียมมาให้เรา 4 ช่องครับ

    2.
    กำหนดตายตัวไปว่า Application ไหน จะไปอยู่ท่ี่ Spaces เบอร์อะไร โดยการเลือกเครื่องหมาย “+”, “-” ที่อยู่ตรงมุมซ้ายล่างของช่องนี้ (ดูวงกลมเล็ก)

    ซึ่งวิธีนี้คอนข้างสะดวกสำหรับคนที่ต้องการแยกการใช้งาน Application แต่ละประเภทออกจากกัน เช่น Spaces สำหรับ Internet เป็นคนละ ช่องกับ Spaces สำหรับ work เป็นต้น

    3.
    การตั้ง Shortcut ในการใช้งาน Spaces มีหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้

    • To Activate Spaces : Shortcut สำหรับเข้าสู่การใช้งาน Spaces มีให้เลือก (ปุ่ม F หรือปุ่มอื่น) หรือ (ปุ่มบนเมาส์)
    • To switch Between spaces : การสลับไปมาระหว่าง Spaces ช่องอื่น ๆ
    • To switch directly to a space : การไปที่ Space เบอร์ที่เราต้องการแบบเจาะจง

    note : ถ้าเราไม่ใช้ Shortcut เราสามรถจะเปลี่ยนไปใช้ space ช่องอื่นได้จาก icon ของ spaces บน menu bar ครับ แบบนี้..

    04-_0.jpg

    หมดแล้วครับ ลองเล่นกันดูนะ

    ขอให้มีความสุขในการใช้งาน Spaces ครับ =)

    Exposé เบื้องต้น

    Exposé เบื้องต้น

    epose-icon_0.jpg
    Exposé (อ่านว่า เอ๊ก-โป-เซ่) เป็น Application ที่มีมากับ OS X Leopard อยู่แล้ว มีหน้าทีสำหรับช่วยให้เรามองภาพรวมของหน้าต่าง Application ที่เราเปิดอยู่บน Desktop ได้สะดวกขึ้นในกรณีที่เราเปิด App ทิ้งไว้เยอะ ๆ แล้วหน้าต่างจะซ้อนกันไปเรื่อย ๆ

    001-clutter-desktop_0.jpg

    จากตัวอย่าง ถ้าผมใช้ Exposé (หรือกด F9)แล้ว จะได้ผลลัพท์ตามภาพด้านล่างนี้

    002-expse_1.jpg

    มีโปรแกรมเปิดอยู่อีกเต็มไปหมดเลย ~

    ต่อมา เรามาปรับแต่งการทำงานของ Exposé กัน

    ไปที่ System Preferences เลือก Exposé and Spaces

    001-sys-pref_2.jpg

    เข้าสู่หน้าต่าง setting ของ Exposé

    setting-01-1_0.jpg
    อธิบาย

    1.ส่วนของ Active Screen Corners : เป็นการสั่งให้ Exposé ทำงานโดยการนำเมาส์ไปวางไว้ที่มุมจอ ซึ่งเราตั้งค่าได้ทั้ง 4 มุม (อธิบายรายละเอียดในหัวข้อถัดไป)

    2.ส่วนการกำหนด Shortcut ของ Exposé : เพื่อการแสดงผล Exposé ในแบบต่าง ๆ มีตัวเลือกดังนี้

    • All windows : แสดงหน้าต่าง application ที่เปิดอยู่ในขณะนั้นทั้งหมดรวมกัน โดยไม่เกี่ยงประเภท
    • Application windows : แสดงเฉพาะหน้าต่างของ application ที่เราเลือกเอาไว้แล้วเท่านั้น เช่นเลือกแสดงเฉพาะหน้าต่างของโปรแกรม Finder เท่านั้น เป็นต้น..
    • Show Desktop : เอาหน้าต่างออกไปซ่อนไว้ทั้งหมด เพื่อแสดงหน้า Desktop ของเรา

    (ดูรายละเอียดพร้อมภาพประกอบคำอธิบายในหัวข้อถัดไป)

    3.กำหนด Shortcut ให้กับ Dashboard : กำหนด shortcut เพื่อเรียก Dashboard ขึ้นมา ( Dashboard เป็นโปรแกรมที่รวมโปรแกรมเล็ก ๆ อีกที)

    ตัวเลือก Active Screen Corner และ การแสดงผล Exposé ในลักษณะต่าง ๆ

    hot-corners_0.jpg

    • All Windows : แสดงหน้าต่าง application ที่เปิดอยู่ในขณะนั้นทั้งหมดรวมกัน โดยไม่เกี่ยงประเภท

    002-expse_2.jpg

    • Application windows : แสดงเฉพาะหน้าต่างของ application ที่เราเลือกเอาไว้แล้วเท่านั้น (จากภาพ ผมเลือกให้แสดงเฉพาะหน้าต่างของ Finderเท่านั้น ซึ่งหน้าต่างของ Application อื่น ๆ จะไม่ถูกแสดงขึ้นมาด้วย)

    expose-window_0.jpg

    • Show Desktop : เอาหน้าต่างออกไปซ่อนไว้ทั้งหมด เพื่อแสดงหน้า Desktop ของเรา

    show-desktop_0.jpg

    • Dashboard : แสดง Dashboard ของเราขึ้นมา

    show-dashboard_0.jpg

    • Spaces : เข้าสู่การทำงานของ Spaces (เราต้อง activate Spaces เอาไว้ก่อน)

    00-activate_2.jpg

    • Start Screen Saver : เข้าสู่การทำงานของ Screen Saver
    • Disable Screen Saver : สั่งหยุดการทำงานของ Screen Saver
    • Sleep Display : เข้าสู่โหมดประหยัดพลังงานพักหน้าจอ

    ปรับตั้งเสร็จแล้วจะเป็นแบบนี้ ยิ้มปากกว้าง

    Setting-01_0.jpg
    นี่เป็นตัวอย่างการตั้งค่าใช้งาน Active Screen Corner ที่ผมใช้อยู่ครับ =)

    Time Machine

    Time Machine : Backup ในคลิ๊กเดียว

    Picture8.jpg

    Time Machine คือ Application สำหรับการ backup ที่มีมากับ OS X - Leopard ที่ถูกออกแบบมาให้การ backup เป็นเรื่องที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ปรกติมากขึ้น ยิ้มปากกว้าง

    โดยมีหลักการทำงานคร่าว ๆ ดังนี้

    Time Machine จะทำการ backup ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในเครื่องเราทั้งหมดในการ backup ครั้งแรก แล้วจากนั้นจะทำการ backup เพิ่มเติมในไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อจากนั้นไปเรื่อย ๆ ในทุก ๆ วัน

    สิ่งที่ Time Machine backup

    • System Files - ไฟล์สำคัญของระบบ
    • Applications - โปรแกรมภายในเครื่อง
    • Account - บัญชีผู้ใช้งาน
    • Preferences - ค่า setting ต่าง ๆ
    • Music - เพลง (ถ้ามีอยู่ใน library บนเครื่อง)
    • Photos - รูป (ถ้ามีอยู่ใน library บนเครื่อง)
    • Documents - เอกสารและไฟล์ทุก ๆ อย่างที่เราเก็บเอาไว้ในเครื่อง

    สิ่งที่ Time Machine ไม่ Backup

    • Temporary files - เช่นพวก Browser Cache หรือไฟล์ชั่วคราวต่าง ๆ ที่จะถูกสร้างใหม่ขึ้นมาได้เรื่อย ๆ

    ข้อมูลที่ Time Machine เก็บ

    • backup รายชั่วโมง สำหรับ 24 ชม.ล่าสุด
    • backup รายวัน สำหรับเดือนล่าสุด
    • backup รายสัปดาห์ จนกว่าพื้นที่ HD จะเต็ม

    Time Machine ถูกออกแบบมาให้ backup กินพื้นที่บน HD เราไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมด แล้วจะเริ่มลบ backup อันที่เก่าที่สุดออกไปก่อน เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับ backup ใหม่เสมอ .. ดังนั้น จะเป็นการดีที่สุดถ้าเราแบ่ง partition บน HD เอาไว้สำหรับ Time Machine backup โดยเฉพาะ ซึ่งจะทำให้ Time Machine จะกินพื้นที่เฉพาะใน partition ที่เราแบ่งเอาไว้แล้วเท่านั้น .. ไม่มากินพื้นที่ส่วนอื่นที่เหลืออยู่บน HD ของเรา

    note : ปรกติ ถ้าเราซื้อ External HD มาต่อเข้ากับเครื่องเรา จะมีกล่องข้อความจาก Time Machine มาถามเราว่าต้องการจะใช้ HD ลูกที่เพิ่งต่อเข้ามานี้กับ Time Machine หรือไม่ ...

    tm-start.jpg

    ถ้าคุณแบ่ง partition เอาไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถเลือกกด Use as Backup Disk จากตรงนี้ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ได้ทำการแบ่ง partition เอาไว้ ให้เลือก Cancel ผ่านไปก่อน

    [how to] คู่มือการแก้ปัญหา Time Machine เบื้องต้นด้วยตนเอง

    ผมบังเอิญเจอหน้า forum topic นี้จากการค้นหาคำตอบเกี่ยวกับ Time Machine ให้สมาชิกท่านหนึ่งใน มมม. ครับ เป็นความบังเอิญที่น่าเก็บเอามาบอกต่อ หน้านี้เป็นหน้าวิธีแก้ปัญหาการใช้งาน Time Machine เบื้องต้น คล้าย ๆ กับการรวมปัญหาและวิธีแก้แบบต่าง ๆ ไว้ในหน้าเดียว ลองดูนะครับ ผมเชื่อว่ามีประโยชน์ในเบื้องต้นมาก ๆ ครับ ยิ้ม (เป็นภาษาอังกฤษ)

    การ Restore System จาก Time Machine Backup

    วันนี้ผมได้มีโอกาสลอง Restore ทั้ง System ใหม่จาก Time Machine backup ครับ เลยอยากจะเขียน How-Tos เก็บเอาไว้ เผื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจอยากจะทราบขั้นตอนการ Restore นี้ครับ

    note : สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ของบทความนี้จะเป็นการทำงานก่อนที่ user จะเข้าใช้งานเครื่องปรกติ ทำให้ไม่สามารถที่จะเข้า Internet ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการนำบทความนี้ไปอ้างอิงในการใช้งานจริง สามารถที่จะปรินท์บทความต่อไปนี้โดย

    1. เลือกคำสั่ง Printer-friendly version ที่ตอนล่างสุดของบทความนี้ในหน้า How-tos
    2. แล้วสั่ง print ครับ

    การ Restore ทั้ง System?

    เหมือนกับการ Copy Hard disk + ข้อมูลต่าง ๆ ที่เรามีอยู่ใน Time Machine (ต่อไปจะขอย่อว่า TM) มาลงใน Hard disk ลูกใหม่ หรือว่า HD ลูกเดิมที่มีปัญหาทำให้เราต้อง format ใหม่ แล้วสามารถทำงานต่อได้เลย โดยเริ่มจากข้อมูลล่าสุด(หรือก่อนหน้านั้น) ที่เรามีอยู่เดิมจากใน TM Backup ครับ

    ตรงนี้เป็นความสามารถที่มีประโยชน์มากของ TM นะครับ ที่คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า TM เอาไว้กู้ไฟล์ที่หายไปบางอันเท่านั้น.. แต่จริง ๆ แล้วเค้าสามารถกู้กลับมาทั้ง System เลยก็ได้ครับ

    note :

    1. ควรจะมี External Hd เอาไว้สำหรับเก็บไฟล์ Backup ของ TM นะครับ เพราะจะได้เอาไว้กู้กลับมาได้ ถ้าเราเก็บ Backup บน HD ในเครื่อง ไฟล์นี้จะถูกลบไปด้วยตอน format HD ของเราครับ
    2. สำหรับคนมีหลาย Partitionดูเรื่อง การใช้ Disk Utility : Format HD ประกอบ
    3. สำหรับคนที่ต้องการรวมหลาย Partition ให้เป็นก้อนเดียวสำหรับการ Restore ดู Disk Utility : การรวม Partition ประกอบ
    4. สำหรับการใช้งานพื้นฐานของ Time Machine สามารถเข้าไปดูได้ที่ บทความเกี่ยวกับ Time Machine ครับ

    การ Restore System เดิมลงบน HD ใหม่ (หรือ HD เก่าที่ format ใหม่)

    1.ใส่แผ่น OS X install DVD เข้้าไปในเครื่อง จากนั้นรอสักพักจนหน้าต่าง Finder ของ OS X Installation โผล่ขึ้นมาบน Desktop

    sysrstore-01_0.jpg

    2.ไปที่ Apple เมนูบนเมนูบาร์ด้านซ้ายมือบนสุด เลือก Shutdown (Shutdown เท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ Restart)

    3.รอให้เครื่องปิดสนิทดีแล้ว ค่อยเปิดขึ้นมาใหม่ พร้อมกับกดปุ่ม Option ค้างเอาไว้ตอนที่ได้ยินเสียง “ผ่าง” ตอนเปิดเครื่อง จากนั้นรอสักพัก จะมีตัวเลือกให้เราเลือกว่าจะ boot เครื่องจากตรงไหน ให้เลือก boot จากแผ่น OS X install DVD

    note : ขั้นตอนนี้จะรอนานหน่อยเพราะว่าเป็นการ Boot จากแผ่น DVD Installer ครับ ไม่ใช่จาก HD ภายในเครื่อง

    sysrestore-01-2_0.jpg

    4.เลือกภาษาหลักที่จะใช้ในการติดตั้ง เลือกเป็น English ตามหัวข้อแรกไปครับ

    sysrstore-01-1_0.jpg

    5.เมื่อเข้าหน้าต่าง Welcome เตรียมการติดตั้ง OS X ให้ปล่อยเอาไว้ แล้วไปเลือกบนเมนูบาร์ด้านบน เลือก Utilities / Restore System From Backup ครับ จากนั้นก็รอสักพัก

    sysrstore-01_1.jpg

    6.จะมีหน้าต่างเตรียมการ Restore จาก TM backup แจ้งขึ้นมา ให้กด Continue ผ่านไป

    sysrstore-02.jpg

    7.จากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง Source ให้เราเลือก Backup files(system) จากข้อมูลที่เราให้ TM Backup ไว้ ให้เลือกข้อมูลของ TM ที่เราคิดว่ามี Backup ล่าสุดอยู่ในนั้นครับ

    sysrstore-03.jpg

    อธิบาย

    1. เลือก ข้อมูล Backup ของ TM จากแหล่งที่เรามีอยู่
    2. เลือก Continue เพื่อยืนยัน

    note : ตรงนี้ปรกติจะขึ้นมาให้เลือกอันเดียว แต่ถ้าคนที่แบ่ง TM backup ไว้หลายที่ อาจจะมีให้เลือกหลายตัวครับ

    8.จากนั้น จะมีรายการลำดับ Backup ของวันต่าง ๆ ขึ้นมาให้เลือก ตรงนี้ให้เลือกอันที่เรา Backup ไว้ล่าสุด (ปรกติจะอยู่บนสุดของ List ครับ)

    sysrstore-04.jpg

    9.จะให้เราเลือกจุดหมายปลายทาง ให้เลือก Volume (partiton) ที่เราต้องการครับ

    sysrstore-05.jpg

    อธิบาย

    1. เลือก HD จุดหมายปลายทางที่เราต้องการจะ Restore System
    2. สั่ง Restore - จะมีหน้าต่างเล็ก ๆ ถามยืนยันอีกทีนึง ก็ให้เลือก Continue ไปครับ

    note : สำหรับผู้ที่เพิ่งจะรวม Partition ให้เป็นก้อนเดียว .. เหตุผลว่าทำไมต้อง force quit ในขึ้นตอนหลังจากรวม partition แล้วนะครับ คือ ถ้าเรามาทำการ Restore จาก TM เลยโดยที่ไม่ restart เครื่อง ปรากฎว่า เค้าจะยังไม่เห็น Volume ที่เราเพิ่งสร้างมาใหม่ในขึ้นตอนนี้ครับ ..

    10.จากนั้นก็จะมีหน้าต่างขึ้นตอนการ Restore ขึ้นมา ก็ให้รอจนเสร็จครับ แล้วเค้าจะบังคับให้ Restart อีกครั้ง

    sysrstore-07.jpg

    note : ตรงนี้จะใช้เวลาสักระยะหนึ่ง ขึ้นอยู่กับขนาดของ system เก่าเราด้วยครับ ของผมขนาดประมาณ 20 GB กว่า ๆ ใช้เวลาไปประมาณ 40 นาทีครับ

    11.หลังจาก Restore เสร็จแล้ว จะมีกล่องข้อความแจ้งเราขึ้นมาว่าเสร็จแล้วให้เลือก Restart ครับ

    sysrstore-08.jpg

    12.หลังจาก restart กลับมาถ้าไม่มีอะไรผิดปรกติ เราจะเข้าสู่การทำงานของเครื่องเราได้เหมือนเดิม ณ สถานะที่เรา Backup ไว้ใน TM ล่าสุดได้จากตรงนี้นะครับ แต่มีบางอย่างที่คุณควรทราบเอาไว้เกี่ยวกับการเริ่มต้นใหม่หลัง Restore System เดิมกลับมาแล้วนะครับ

    • Mail จะถาม เหมือนการใช้งาน Mail ครั้งแรก ให้กด Continue ไปตามปรกติ
    • Spotlight จะยังไม่ทำงานในทันทีที่เราเปิดเข้ามาครั้งแรกนี้นะครับ ต้องรอเค้าทำการ Index ใหม่สักพัก
    • 3rd party app หรือว่า app บางตัวบน Dock หายไป (ขึ้นเครื่องหมาย ?) ครับ ให้ลาก ? จากบน Dock ทิ้งไป แล้วลองหาดูจากใน Application Folder ว่า app ตัวนั้น ๆ ยังอยู่ในนี้หรือไม่ ถ้ายังอยู่ ก็ให้ลากมาลงใน Dock ใหม่ (ส่วนใหญ่แล้วจะอยู่เหมือเดิม แต่มีบางตัวที่หายไปจาก Application folder ก็ต้องโหลดมาลงใหม่ครับ ที่ผมเจอนะ มี FireFox ครับ)
    • ตัวเลขของ Rss บน Safari bookmarks bar จะเริ่มนับใหม่ ใครมีตรงนี้เยอะ ๆ ก็ต้องไล่กดเปิดกันใหม่หมดครับ ^^’
    • สีของแฟ้มต่าง ๆ ที่เรา Lebel เอาไว้ใน Stack จะหายไป (Lebel ใหม่ ก็ไม่มาครับ - - ผมไม่เข้าใจตรงนี้เหมือนกัน)

    เพิ่มเติม

    • ถ้าเรามี Backup เก็บเอาไว้หลายชุด ไม่ว่าจะจาก TM เอง หรือว่า Backup อยู่บน External HD ที่เรามีอยู่แล้ว การ Backup ครั้งสุดท้ายก่อนการ Restore เราสามารถที่จะลดขนาดของ Backup ไฟล์ได้โดยการเข้าไปเลือกยกเว้นไฟล์ Backup ที่เรามีอยุ่แล้วจากใน Time Machine Preference ครับ (จะได้ไม่ซ้ำซ้อน และเสียเวลาในการ Restore น้อยลงด้วย) ดู การ setting Time Machine ประกอบ
    • การ Restore System กลับมานี้ ถ้า HD ใหม่มีความจุมากกว่าเดิม (จะได้มาจากการรวม Partition หรือว่าเปลี่ยน HD ลูกใหม่ก็ตามแต่) ก็จะไม่มีผลอะไรครับ ที่เราจะได้มาก็คือ System เดิม (ที่กินพื้นที่เท่าเดิม) แต่อยู่บน HD ลูกใหม่.. ประมาณนี้ครับ

    note : อยากเขียนตรงนี้เก็บเอาไว้ เพราะตอนแรกผมเองก็งง ๆ เหมือนกัน ว่าเค้าจะยังไงแน่ =)

    หมดในส่วนของการ Restore แล้วครับ =)

    การ Restore ไฟล์ (บางไฟล์ ไม่ใช่ทั้งหมด) จาก Time Machine backup

    ถ้าเราบังเอิญลบไฟล์หรือว่าแฟ้มงานของเราไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เราสามารถ restore ไฟล์/แฟ้มงานนั้นกลับมาได้ด้วยการใช้ Time Machine (ย่อว่า TM) ครับ

    tm-rest-file-03.jpg

    การ Restore ไฟล์ที่หายไปด้วย Time Machine (จะ 1 ไฟล์หรือมากกว่าก็ได้)

    1.บน Finder ให้เรียกใช้งาน TM จากเมนูบาร์ด้านบนแล้วไปที่สัญลักษณ์ของ TM แล้วเลือก Enter Time Machine ตามรูปด้านล่างนี้ หรือจะเรียกจาก Applications / Time Machine ก็ได้

    tm-rest-file-01.jpg

    2.เราจะเข้าหน้าต่างของ TM จะแสดง Finder ของวันที่ปัจจุบันไว้หน้าสุด และวันก่อนหน้าในลำดับถัดไป

    tm-rest-file-04-1.jpg

    อธิบาย
    1.ให้เราเลือกวันที่ย้อนกลับไปจากทางด้านขวาของ TM ให้เลือกย้อนกลับไปในวันที่คิดว่าเรายังมีไฟล์งานนั้นอยู่ในเครื่องหรือว่าใน TM ครับ (ตรงนี้อาจจะมากน้อยไม่เท่ากันในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้งาน TM มานานแค่ไหนแล้ว ยิ่งใช้นาน ตรงนี้ก็จะยิ่งย้อนไปได้ยาวขึ้น)

    2.หลังจากเลือกวันที่ไปแล้ว หน้า finder จะถูกย้อนกลับมายังเวลาที่เราเลือกเอาไว้ด้วย หลังจากเค้าย้อนมาวันที่ต้องการได้แล้ว (animation จะหยุดลง) ให้ลองเข้ามาหาไฟล์ที่ต้องการดู โดยจะเป็นเหมือนกับเรา browse ไฟล์ผ่าน finder ปรกติ

    note : เราสามารถเลือกวันที่ หรือชม.ถัดไปหรือก่อนหน้าได้จากการกดปุ่มลูกศร (ที่วงกลมสีแดงเอาไว้) ครับ

    tm-rest-file-05.jpg

    อธิบาย(ต่อจากด้านบน)
    3.เมื่อเราหาไฟล์งานที่ต้องการได้แล้วให้เลือกเค้าค้างเอาไว้
    4.แล้วเลือก Restore เพื่อเป็นการนำไฟล์นั้นกลับมายังเวลาปัจจุบัน

    note : ไฟล์ที่ถูก restore กลับมานี้จะมาอยู่ในตำแหน่งเดียวกับที่เราเห็นใน TM นะครับ

    การตั้งค่า Time Machine

    การตั้งค่า Time Machine

    การตั้งค่าต่าง ๆ ของ Time Machine ก่อนการเริ่มต้นใช้งาน มีขั้นตอนดังนี้

    ปรับตั้งการทำงานต่าง ๆ ของ Time Machine

    pref-tm.jpg
    ไปที่ System Preferences เลือก Time Machine

    เข้าสู่หน้าต่าง setup ของ Time Machine

    TM-pref.jpg

    1. ปุ่มเปิดปิดการทำงานของ Time Machine ที่เราสามารถสั่งได้ตลอดเวลา
    2. รายละเอียดของ HD ที่เราต้องการให้ Time Machine ใช้สำหรับ backup
      • Name : ชื่อ HD/ partition
      • Available : พื้นที่ที่เหลือ จาก พื้นที่ทั้งหมด
      • Oldest Backup : วันที่ backup อันที่เก่าที่สุด
      • Latest Backup : วันที่ backup ครั้งล่าสุด

    ตรงนี้จะมีตัวเลือกให้เราเลือกปรับได้อีก 2 ตัวคือ

    1.Change Disk : เลือกพื้นที่สำหรับ Time Machine
    2.Options : กำหนดว่าไม่ให้ Time Machine backup อะไรบ้าง ในบางกรณีที่เราคิดว่ามี backup ไว้อยู่แล้ว และไม่ต้องการให้พื้นที่สำหรับ backup บน Time Machine นี้ใหญ่เกินจำเป็น

    note : ติ๊กช่อง Show Time Machine status in the menu bar ถ้าต้องการให้ Time Machine แสดง icon สถานะบน menu bar Picture6.jpg (ตอน Time Machine กำลังทำงาน เราจะเห็น icon นี้หมุนไปหมุนมาด้วย ยิ้มปากกว้าง)

    ChangeDisk : เลือกพื้นที่สำหรับ Time Machine backup

    Picture3_8.jpg

    จะให้เราเลือกพื้นที่สำหรับ Time Machine ทั้งจากพื้น HD ภายในเครื่อง และ HD ที่เราต่อพ่วงอยู่ทั้งหมด

    1. สำหรับคนที่มี Time Capsule ให้เลือกตรงนี้
    2. แต่ถ้าไม่มี ก็ให้เลือก Use for Backup ผ่านไปได้เลย

    หลังจากเลือก HD ที่ต้องการใช้กับ Time Machine ได้แล้ว จะสังเกตว่า icon ของตัว HD ที่เราเลือกเอาไว้นั้นเปลี่ยนไป เป็นการแสดงให้เราเห็นว่า HD ลูกนี้ถูกจองไว้ใช้กับ Time Machine แล้วนะ ยิ้มปากกว้าง

    Picture2_5.jpg

    Options : กำหนดไม่ให้ Time Machine backup อะไรบ้าง

    do-not-backup.jpg

    1. เลือก “+” เพื่อเพิ่มสิ่งที่ไม่อยากให้ Time Machine ทำการ backup
    2. หลังจากเพ่ิมรายการเรียบร้อยแล้ว กด Done เพื่อยืนยันการเปลี่ยนแปลงนี้

    note : ปรกติถ้ามี library หรือว่าไฟล์ใหญ่มาก ๆ อาจจะทำการ backup ส่วน library หรือว่าไฟล์นั้น ๆ เองก็ได้ ทำให้ประหยัดพื้นที่ของ Time Machine backup ไปได้พอสมควร

    ปรับทกุอย่างเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลา เปิดใช้งาน Time Machine ครั้งแรก

    Picture4_5.jpg
    หลังจากเริ่มการทำงานสักพัก เราจะเห็นกล่องแสดงสถานะการ backup ของ Time Machine โผล่ขึ้นมาด้วย แบบนี้ ~
    Picture5_1.jpg
    นอกจากเราจะเห็นสถานทะการทำงานของ Time Machine บน menu bar ด้านบนแล้ว (รูปร่างแบบนี้ Picture6_0.jpg) เรายังสามารถเห็นว่า Time Machine กำลังทำงานอยู่ผ่านทาง side bar ใน finder ได้อีกด้วย

    tm-running-1.jpg

    note : การ backup ด้วย Time Machine ครั้งแรกนั้นจะใช้เวลานานพอสมควร (เพราะต้องเริ่มทำการ backup ทุกสิ่งที่อย่างในเครื่องเราใหม่หมด) .. แต่หลังจากนี้แล้ว การ backup ครั้งต่อ ๆ ไปจะเสียเวลาน้อยลง เพราะจะเก็บข้อมูลเฉพาะส่วนที่เกิดความเปลี่ยนแปลงของไฟล์เท่านั้น =)

    Time Machine backup เสร็จแล้ว

    Picture7.jpg

    หลังจาก backup ครั้งแรกเสร็จไปแล้ว ถ้าเราเข้ามาดู จะพบกับ folder เดี๋ยว ๆ ชื่อว่า Backups.backupdb

    วิธีการเข้าสู่ Time Machine บน System Preferences จาก menu bar

    จะเปิด Time Machine Preferences จาก System Preferences บน Dock หรือจะเปิดผ่าน Time Machine status icon บน menu bar ก็ได้ครับ แบบนี้..

    open-tm-pref.jpg

    จากตรงนี้จะมีข้อมูลแสดงให้เราดูแยกย่อยไปอีก มีดังนี้

    • Status : จะบอกสถานะการ backup จากในรูปของผมกำลังที่จะเตรียม backup ครั้งใหม่ .. แต่ถ้าผ่านการ backup ไปแล้ว ตรงนี้จะขึ้นวัน / เวลาที่ทำการ backup ไว้ล่าสุดแทน
    • Start/Stop Backing Up : เลือกตรงนี้ถ้าเกิดต้องการ backup หรือว่าหยุดการ backup โดยที่ไม่อยากรอให้ Time Machine ทำงานเอง
    • Enter Time Machine : เข้าสู่ Time Machine เพื่อไปกู้ไฟล์งานของเรา
    • Open Time Machine Preferences : เข้าสู่หน้าต่างปรับค่า Time Machine ใน System Preferences

    กลับมาดูที่หน้าต่าง Time Machine บน System Preferences เราจะได้ข้อมูลแบบนี้

    details.jpg
    Oldest Backup : วันที่ของข้อมูลที่เก่าที่สุดของ backup ที่เรามีอยู่ในเครื่อง (ถ้าเกิดพื้นที่บน HD ของคุณเต็ม Time Machine จะทำการลบข้อมูล backup ที่เก่าที่สุดออกจากระบบก่อนเสมอ เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับ backup ที่ใหม่กว่า .. และจะเตือนคุณก่อนการลบของเก่าออก)
    Latest Backup : วันที่ของข้อมูล backup ล่่าสุดที่เรามี
    Next Backup : บอก วันที่ และเวลาในการ backup ครั้งต่อไป (ปรกติจะทำการ backup ทุก ๆ 1 ชั่วโมง)

    การลบ backup ของไฟล์ที่เราไม่ต้องการใน Time Machine

    ในบางกรณีถ้าเราคิดว่าบางไฟล์ไม่จำเป็นต้อง backup หรือว่า backup ของไฟล์นั้นมีขนาดใหญ่ เราอาจจะต้องการลบ backup ของไฟล์นั้นทิ้งไป เพื่อเรียกพื้นที่ของ HD เราคืนมา

    การลบ backup ของไฟล์ที่เรามีใน Time Machine (ขอย่อว่า TM)

    1.เข้า Time Machine จากบนเมนูบาร์ด้านบน ไปที่สํญลักษณ์ของ TM แล้วเลือก Enter Time Machine หรือจะเปิดจาก Applications/ Time Machine ก็ได้

            tm-rest-file-01_0.jpg

    2.เมื่อเข้าหน้าต่างของ TM แล้ว ให้แน่ใจว่าตอนนี้เราเลือก finder ในวันที่ปัจจุบันอยู่ จากนั้นเลือกค้นหาไฟล์ที่เราต้องการตามปรกติ ให้ค้นหาไฟล์ที่เราต้องการจะลบ backup ใน TM ทิ้ง แล้วเลือกค้างเอาไว้

    3.ไปที่สัญลักษณ์ฟันเฟือง (ปุ่ม Action) แล้วเลือก Delete All Backups of “ไฟล์ที่เราเลือกเอาไว้” (จากตัวอย่างผมเลือกลบ backup ของแฟ้ม Download)

            delete.jpg

    4.จากนั้นจะมีหน้าต่างเตือนขึ้นมาแบบด้านล่างนี้ ถ้าเราต้องการจะลบจริง ๆ ก็ให้กด OK ผ่านไป

    delete-w.jpg

    5.และจะมีหน้าต่างใหม่มาถาม Login กับ Password ขึ้นมา ให้เรากรอกข้อมูลของเราลงไป (เหมือนตอนเรา login เข้าใช้งานเครื่องตามปรกติ)แล้วเลือก OK

    จากตรงนี้ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาด เราก็จะได้พื้นที่ของ HD เรากลับมาแล้วครับ =)

    note : ในขั้นตอนนี้จะไม่มีอะไรแสดงมาให้เราทราบว่าเค้าทำการลบไปแล้วหรือกำลังดำเนินการอยู่ ถ้าในกรณีที่เราต้องการจะลบไฟล์ขนาดใหญ่มาก ๆ ก็ให้รอเค้าทำงานสักแป๊ปนึงน่าจะปลอดภัยที่สุดครับ (ตรงนี้ผมเดาเอาเองนะ จริง ๆ อาจจะไม่ต้องรอก็ได้ แต่ผมรอเพื่อความอุ่นใจครับ ^^’)

    การติดตั้ง Windows บน OS X (Boot Camp)

    บทความชุดนี้จะเป็นรายละเอียดการติดตั้ง Windows ลงบน OS X ผ่าน Boot Camp นะครับ สำหรับตัวอย่างที่ผมจะเขียนนี้เป็นการใช้ OS X Leopard (10.5.5)ลง Windows Vista (Home Basic) ซึ่งคิดว่าสามารถนำไปใช้เทียบเคียงกับการลง Windows เวอร์ชั่นอื่น ๆ ได้อีกสำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป

    เนื้อหาของกระบวนการทั้งหมดจะค่อนข้างยาว (ทั้งหมดประมาณ 50 ขั้นตอน) เพราะผมต้องการทำให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เลยอาจจะต้องแบ่งบทความชุดนี้ออกเป็นหลายตอนนะครับ เพื่อให้หน้าเวปโหลดได้เร็ว และดูง่ายขึ้น .. มีทั้งหมดมี 8 ตอนแบบอ่านตามลำดับไปนะครับ .. ดังนี้

    ก่อนเริ่ม

    การติดตั้ง Windows

    ทั้งหมดนี้ ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. ครึ่งโดยประมาณครับ ถ้าใครจะลงโปรแกรมบน Windows อื่น ๆ อีก คงต้องเผื่อเวลาเอาไว้มากกว่านี้ครับ..

    สำหรับขั้นตอนต่าง ๆ ของบทความนี้จะเป็นการทำงานก่อนที่ user จะเข้าใช้งานเครื่องปรกติ ทำให้ไม่สามารถที่จะเข้า Internet ได้ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการนำบทความนี้ไปอ้างอิงในการใช้งานจริง สามารถที่จะปรินท์บทความต่อไปนี้โดย

    1. เลือกคำสั่ง Printer-friendly version ที่ตอนล่างสุดของบทความนี้ในหน้า How-tos
    2. แล้วสั่ง print ครับ

    ที่มาของบทความชุดนี้ :

    note :

    1. บทความชุดนี้ ผมทำขึ้นเพื่อเป็นการสาธิตในการติดตั้ง Windows Vista ผ่าน Boot Camp เป็นหลักเท่านั้นครับ จะไม่มีเนื้อหาในส่วนของการใช้งาน หรือว่า Setting สำหรับโปรแกรมทั่วไปของ Windows นะครับ
    2. ตัวอย่างการติดตั้ง Windows ผ่าน Boot Camp ในชุดนี้ จะเป็นการติดตั้ง Windows OS ใหม่แบบ Clean Install ครับ ไม่ใช่การ Upgrade (ซึ่งการ Upgrade จะมีรายละเอียดที่ไม่ถูกเขียนถึงในบทความชุดนี้ครับ)
    3. บทความนี้เขียนขึ้นโดยใช้ OS X 10.5.5 และ Windows Vista Home Basic SP 1 ครับ ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนหรือรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ต่างไปจากนี้บ้างใน Software แต่ละเวอร์ชั่นนะครับ
    4. บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อประกอบการอ้างอิงและใช้งานส่วนตัวของผมเองเป็นหลัก ไม่รับประกันความเสียหายใดใดที่จะเกิดขึ้นจากการนำบทความนี้ไปใช้นะครับ
    5. ภาพประกอบอาจจะไม่ชัดนะครับ เอาไว้แค่เป็นแนวทางคร่าว ๆ นะ (ผมไม่ค่อยสบาย มือเลยสั่นครับ แบร่..)
    6. ถ้ารายการด้านซ้ายมือซ้อนกันจนอ่านไม่รู้เรื่อง สามารถเลือกไล่ลำดับดูได้จากรายการด้านล่างนี้แทนนะครับ =)

    1.สิ่งที่ควรจะต้องเตรียมก่อนการติดตั้ง Windows บน OS X

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 1
    สิ่งที่ควรจะต้องเตรียมก่อนการติดตั้ง Windows บน OS X

    ก่อนการติดตั้ง Windows ผ่าน Boot Camp เรามีสิ่งที่ควรจะต้องเตรียมดังต่อไปนี้ครับ

    ทั่วไป

    1. Backup ข้อมูลสำคัญของเราในฝั่ง OS X เอาไว้ด้วยเผื่อมีอะไรผิดพลาด
    2. เสียบปลั๊กไฟบ้านเข้ากับตัวโน๊ตบุค
    3. พิมพ์วิธีการติดตั้ง (ทั้งจากตัว Boot Camp เอง หรือจะพิมพ์จากในเวปแมคมือใหม่.คอมก็ได้ครับ) เอาไว้อ้างอิงเวลานำไปใช้จริง
    4. หนังสือ หรือเกม ที่จะเอาไว้อ่านฆ่าเวลาระหว่างรอ Install ครับ (ของผมใช้เวลาไปประมาณ 1 ชม.ครึ่งครับ)

    เฉพาะกิจ (สำคัญ)

    1. แผ่น OS X 10.5(Leopard) ทั้งแบบที่มากับเครื่อง หรือแบบที่ซื้อแยกต่างหากก็ได้
    2. จากเอกสารแนะนำการติดตั้งของ Apple บอกว่าพื้นที่บน HD ควรจะมีขั้นต่ำ 10 GB .. ผมคิดว่าน่าจะหมายถึงพื้นที่ส่วนของ Partition ที่เราต้องการจะลง Windows ที่ควรจะมีมากกว่า 10 GB ด้วยครับ ..
    3. พื้นที่ขั้นต่ำสำหรับ Windows คือ 5GB (ดู note 1)
    4. พื้นที่ที่เหลือน้อยที่สุดสำหรับ OS X คือพื้นที่ของ OS X ที่เราใช้งานอยู่ + พื้นที่เปล่าอีก 5 GB
    5. แผ่น Windows OS ที่เราต้องการจะลง ในตัวอย่างบทความนี้ผมใช้ Windows Vista Home Basic ครับ (สำหรับคนที่จะลง XP ต้องเป็น Service Pack 2 ขึ้นไป และสำหรับ Vista ได้หมดทุกเวอร์ชั่นครับ)
    6. แผ่น Windows OS ต้องเป็นแผ่นติดตั้งแบบเสร็จจบในแผ่นเดียวนะครับ (อันนี้สำคัญ) ไม่ใช่แผ่นแบบ upgrade และถ้าเอาแบบปลอดภัยที่สุด ก็ให้ใช้แผ่น Windows แบบ 32-bit ครับ(ดู note 2)
    7. เวลาสัก 2 ชม.สำหรับการติดตั้ง (ทั้ง Windows OS และ Boot Camp Driver ครับ) ไม่รวม Setup หรือว่าลงโปรแกรมอื่น ๆ อีก

    note :

    1. ตอนแบ่ง Partition สำหรับ Windows เราควรจะแบ่งไว้มากกว่า 10 GB ครับ ถึงเค้าจะบอกว่าเอาแค่ 5GB ก็ตาม.. จะ 32GB หรือว่าแบ่งครึ่ง ๆ ของ HD ที่เรามีอยู่ก็ได้ เพราะเท่าที่ผมลง Vista นะครับติดตั้งเฉพาะ Windows OS และ Boot Camp Driver อย่างเดียวก็กินพื้นที่ไปเกือบ ๆ 9.5GB แล้วครับ =) (สำหรับ Windows XP อาจจะกินพื้นที่น้อยกว่านี้ แต่ถ้าจะใช้ Windows แบบจริงจังแล้ว แบ่งให้เยอะไว้หน่อยก็ดีครับ เพราะเปลี่ยนแปลงทีหลังลำบาก)
    2. ถึงแม้จะมี Mac บางรุ่นที่สามารถลง Windows แบบ 64-bit ได้ แต่อาจจะมีปัญหาการใช้งานจริงเกี่ยวกับเรื่อง Driver สูงครับ - อันนี้จากประสบการณ์ตรงในการใช้งาน Windows แบบ 64-bit ผมที่ใช้งานอยู่ทุกวันนี้ครับ หา Driver กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ค่อยจะได้

    ถ้าเราเตรียมทุกอย่างเอาไว้พร้อมหมดแล้ว ก็ให้เริ่มต้นการติดตั้ง Windows Vista จาก Boot Camp Asistant (ใน Applications/Utilities) ในบทความตอนต่อไปได้เลยครับ

    ดูบทความตอนที่ 2. การแบ่ง Partition สำหรับ Windows บน OS X

    2.การแบ่ง Partition สำหรับ Windows บน OS X

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 2
    การแบ่ง Partition สำหรับ Windows บน OS X

    การแบ่ง Partition เพื่อเตรียมติดตั้ง Windows Vista
    1.เรียกใช้งาน Boot Camp Assistant
    จาก Applications/Utilities ครับ

    bcamp-win-01.jpg

    2.เข้าสู่โปรแกรม Boot Camp Assistant

    bcamp-win-02.jpg

    จะมีรายละเอียดและเตือนให้เรา Backup ข้อมูล ให้เลือก Continue

    3.เราจะเข้าสู่หน้าต่างการแบ่ง Partition เพื่อเตรียมเอาไว้สำหรับลง Windows บนเครื่องเราแล้วครับ

    bcamp-win-03-1.jpg

    อธิบาย

    1. Divide Equally : เป็นการแบ่ง Partition ให้ Windows ขนาดครึ่งหนึ่งของ HD ที่เรามีอยู่
    2. Use 32 GB : แบ่งให้ Windows ที่ขนาด 32 GB
    3. เราสามารถลากปรับขนาดเท่าที่ต้องการได้โดยการคลิ๊กแล้วลากจากตรงนี้ครับ
    4. เมื่อได้ขนาดของ Partition สำหรับ Windows ที่ต้องการแล้ว เลือก Partition เพื่อยืนยัน เค้าจะใข้เวลาสักครู่หนึ่งในการแบ่ง Partition ครับ เสร็จแล้วก็ไปที่ขั้นตอนต่อไปได้เลย

    note : ถ้าจะใช้งาน Windows จริงจัง ควระที่จะแบ่งให้เยอะเอาไว้ก่อนนะครับ เพราะเปลี่ยนแปลงทีหลังลำบาก (หรืออาจจะไม่ได้เลยในบางกรณี) ตามที่จะเห็นคนถามวิธีนี้อยู่ในเวปบอร์ดอยู่เรื่อย ๆ ครับ =)

    4.หลังจากแบ่ง Partition เสร็จแล้ว จะมีหน้าต่างแจ้งเตือนเรามาแบบนี้ พร้อมกับเห็น Drive ชื่อ Boot Camp มาอยู่บน Desktop ของเราแล้วครับ

    bcamp-win-05.jpg

    bcamp-win-06.jpg

    เสร็จจากการแบ่ง Partition ให้ Windows แล้ว..

    5.จากนี้ที่เราต้องทำต่อไป ให้เราใส่แผ่น Windows OS ที่มีลงไปใน Drive ของเครื่องเรา แล้วกด Start Installation ครับ

    R0011411-1_0.jpg

    ดูบทความที่ 3.การติดตั้ง windows #1เป็นขั้นตอนต่อไปจากตรงนี้ครับ

    3.การติดตั้ง Windows #1

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 3
    การติดตั้ง Windows #1 : Activation-Installation Type

    ขั้นตอนต่อจากนี้ไปจะเป็นการเริ่ม Install Windows เนื้อหาบทความประกอบด้วย

    • การ Activate Windows (ใส่ Product Key)
    • การเลือกชนิดสำหรับการติดตั้ง Windows Vista ครับ

    เริ่ม..
    1.จากบทความตอนที่แล้วที่หน้า Boot Camp Assistant ที่เตือนเราให้ใส่แผ่น Windows OS ก็ให้ใส่เข้าไปครับ แล้วกด Start Installation

    R0011411-1.jpg

    note : ขอถ่ายรูปขั้นตอนนี้ไว้หน่อยครับ นาน ๆ จะเห็นที แบร่..

    2.หลังจากกด Start Installation แล้ว เครื่องจะ Boot จากแผ่น Windows ขึ้นมาด้วยหน้าจอนี้

    R0011412.jpg

    3.เข้าหน้าจอการเริ่มต้นจาก Windows เหมือนปรกติ

    R0011413.jpg

    4.เข้าสู่หน้าต่าง Setting ภาษาที่เราจะเลือกใช้ในเครื่องของเรา ซึ่งเราสามารถที่จะเลือกให้เป็นภาษาไทย และตั้ง Time Zone เป็นเวลาประเทศไทยได้จากตรงนี้เลยครับ

    R0011415.jpg

    note : สำหรับคนที่ตั้งค่า Input เป็นภาษาไทยเอาไว้แล้วต้องการเปลี่ยนเวลาสร้าง account ใหม่ (เวลากรอก password) สามารถเลือกเปลี่ยนได้จาก icon เปลี่ยนภาษาในขั้นตอน Install ที่จะเห็นต่อไปในบทความตอนอื่น ๆ ครับ)

    5.หน้าต่างเตรียมการติดตั้ง Windows Vista ให้เลือก Install Now (จากบริเวณกลางหน้าจอ)

    R0011417.jpg

    6.แล้วเราจะเข้าหน้า Product Key ให้เรากรอกเข้าไปในขั้นตอนนี้

    R0011418.jpg

    note : หรือจะทำภายหลังก็ได้ แต่ windows จะใช้งานได้ 30 วันถ้าไม่ Activate เค้าครับ

    7.แสดงข้อตกลง ให้เลือกยอมรับ (Accept) แล้วจากนั้นเลือก Next ครับ

    R0011419.jpg

    8.หน้าต่างเลือกชนิดการติดตั้ง Windows ในขั้นตอนนี้ผมจะติดตั้ง Vista ใหม่ลงบนเครื่อง (ไม่ใช่การ upgrade) ให้เลือก Custom(Advance) ครับ

    R0011421.jpg

    ดูขั้นตอนที่ 9 จาก บทความตอนที่ 4.เริ่มการติดตั้ง Windows # 2 เป็นขั้นตอนต่อไปจากตรงนี้ครับ

    4.การติดตั้ง Windows #2

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 4
    การติดตั้ง Windows #2 : Format - Setting User Account

    เนื้อหาบทความนี้ประกอบไปด้วย

    • ขั้นตอนการ Format Partition ที่เราแบ่งด้วย Boot Camp Assistant ให้เป็น NTFS เพื่อให้สามารถ Boot Windows ขึ้นมาทำงานได้
    • การสร้าง User Account ผู้ใช้งานคนแรก

    ต่อครับ..
    9.หลังจากเราเลือก Custom (Advance) แล้ว จะมีหน้าต่างให้เราเลือก Partition สำหรับติดตั้ง Windows

    R0011422-1_0.jpg

    อธิบาย

    1. ให้เลือก Partition ชื่อ Disk 0 Partition 3 BOOTCAMP เท่านั้น (สำคัญ)
    2. เลือก Advance เพื่อเข้าไปทำการ Format Partition นี้ให้เป็น NTFS format ให้สามารถ Boot Windows ขึ้นมาใช้งานได้
    3. คำเตือนว่า ให้เราเลือก Format partition นี้ใหม่ให้เป็น NTFS ครับ

    10.เราจะเข้าสู่คำสั่ง Advance เพื่อเตรียม Format Windows Partition ให้ เป็น NTFS ครับ

    R0011423-1_0.jpg

    อธิบาย

    1. ให้เลือก Partition ชื่อ Disk 0 Partition 3 BOOTCAMP อยู่เหมือนเดิมเท่านั้น (สำคัญ)
    2. เลือก Format ครับ (คำสั่งที่ 3 นับจากด้านซ้าย)

    11.จากนั้นจะมีกล่องข้อความขึ้นมาเตือนเราว่าถ้า Format แล้วข้อมูลจะหายหมด

    R0011424-1_0.jpg

    ก็ให้เลือก Continue ไปครับ

    12.หลังจาก Format เสร็จแล้วเราจะกลับมายังหน้าเดิม แต่คราวนี้คำเตือนให้ Format เป็น NTFS จะหายไป ให้เลือก Next ครับ

    R0011425_0.jpg

    13.เข้าสู่กระบวนการติดตั้ง Windows ครับ ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาสักพัก (ถึงพักใหญ่ ๆ )ครับ .. อดใจรอนิด

    R0011427_0.jpg

    note : จะมีข้อความบอกเราว่าระหว่างการติดตั้ง Vista นี้จะมีการ Restart เกิดขึ้นหลายครั้งนะครับ ไม่ต้องตกใจและเครื่องจะทำการ Restart เองหลังจากจบในส่วนที่ 2 ครับ (Expanding Files)

    14.เครื่องจะ Restart เองหลังจาก Expanding Files เสร็จ

    R0011428_0.jpg

    15.ต่อมา ก็จะบอกเราว่ากำลัง Setup เครื่องให้เราครับ ให้เรารออีกหน่อย..

    R0011429_0.jpg

    16.จะกลับมาที่หน้าจอ Installing Windows พร้อมด้วยขั้นตอนที่เสร็จไปมากขึ้น

    R0011431_0.jpg

    note : ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเยอะครับ และมีการ refresh หน้าจอ 2 ครั้ง

    17.เสร็จจากนั้น เราจะเข้ามาสู่การสร้าง User Account ของเราบน Vista ครับ กรอกชื่อ User name และ Password จากนั้นเลือกภาพแทนตัวเองที่เราต้องการลงไป เสร็จแล้วกด Next

    R0011433_0.jpg

    note : สำหรับคนที่ต้องการสลับภาษาในการตั้งชื่อ + password ให้คลิ๊กเลือกเอาจากบริเวณตอนบนจอด้านขวามือนะครับ แล้วเลือกภาษาที่ต้องการ

    18.จะเข้าหน้าต่างตั้งชื่อเครื่องครับ ก็ให้ตั้งชื่อเครื่อง + เลือกภาพ Desktop เสร็จแล้วกด Next

    R0011434_0.jpg

    note : ชื่อเครื่องตรงนี้จะเอาไว้ใช้อ้างอิงในระบบ network ต่อไป ครับ และจะไม่ขอเขียนถึงในบทความนี้นะครับ

    ดูขั้นตอนที่ 19 ใน บทความที่ 5.การติดตั้ง windows #3 เป็นขั้นตอนต่อไปจากตรงนี้ครับ

    5.การติดตั้ง Windows #3

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 5
    การติดตั้ง Windows #3 :Windows Setting-Time Zone-Finalize Installation-First Log in

    เนื้อหาบทความนี้ประกอบไปด้วย

    • การตั้งค่าเพิ่มเติม เช่น Time Zone, Auto Setting และข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องเรา
    • การ Log in เข้าใช้งาน Windows Vista ครั้งแรก

    ต่อครับ

    19.เข้าหน้า Set My Windows เกี่ยวกับทั่วไปของเครื่องครับ ถ้าไม่อะไรมาก ก็ให้เลือกหัวข้อแรกไป

    R0011435-1.jpg

    20.จากนั้นเราจะมาตั้ง Time Zone วันที่และเวลาปัจจุบันครับ

    R0011437.jpg

    21.และจะให้เราเลือกว่าเครื่องที่ใช้อยู่ตอนนี้ อยู่ที่ไหนครับ ใครใช้ที่บ้านก็เลือกบ้านครับ =)

    R0011438-1.jpg

    22.Thank You!

    R0011439.jpg

    23.จากหน้าจอ Thank You นะครับ รอสักพัก เราจะถูกพามาที่การเชคเครื่อง

    R0011441.jpg

    note : ขั้นตอนนี้ใช้เวลานานมากครับ แนะนำให้หาอะไรมาทำระหว่างรอ =)

    24.เมื่อเชคเครื่องเสร็จแล้ว ก็จะเข้าหน้า Log in ครับ

    R0011442.jpg

    note : สำหรับคนที่ต้องการสลับภาษาเพื่อใส่ชื่อ + Password ให้เลือกเปลี่ยนภาษาได้จากปุ่มทางด้านมุมซ้ายล่างของหน้าจอนี้ครับ

    25.Preparing Your Desktop .. ก็รออีกนิดหน่อยครับ แบร่..

    R0011443.jpg

    26.ในที่สุด หลังจากรอมาหลายรอบ เราก็จะเข้าสู่การใช้งาน Windows Vista ได้แล้วครับ

    R0011445.jpg

    แต่เดี๋ยวก่อน แบร่.. .. เรายังมีที่ต้องทำอยู่ครับ (เหลืออีกประมาณครึ่งทาง...) คือเราต้องทำการติดตั้ง Boot Camp Driver ที่ทำให้ Windows บน Mac ของเรางานได้อย่างถูกต้อง

    ดูขั้นตอนที่ 27 ได้จาก บทความที่ 6.การติดตั้ง windows #4 เป็นขั้นตอนต่อไปจากตรงนี้ครับ

    6.การติดตั้ง Windows #4

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 6
    การติดตั้ง Windows #4 : Install Boot Camp Drivers

    เนื้อหาบทความนี้ประกอบไปด้วย

    • การติดตั้ง Boot Camp Driver เพื่อให้เครื่อง Mac ของเราทำงานได้อย่างถูกต้องกับ Windows ครับ

    27.เมื่อเข้าสู่ Windows หลังจาก Install เสร็จสิ้นลงได้แล้ว.. ให้เราทำการ Eject แผ่น Windows OS ที่อยู่ในเครื่องออกมาครับ ไปที่ My Computer แล้วเลืกอ Eject จาก Task menu ครับ (หรือถ้าใครใช้เมาส์ได้ ก็คลิ๊กขวาแล้วเลือก Eject ออกมา)

    R0011446.jpg

    28.จากนั้นใส่แผ่น OS X Leopard Installation DVD ของเราเข้าไป

    R0011447.jpg

    29.จะขึ้น autorun มาให้เราเลือก Setup.exe ครับ

    R0011448.jpg

    note :

    1. ถ้าเค้าไม่ Autorun ให้เลือกเข้าไปดูจากในแผ่นแล้วหา Setup.exe ครับ
    2. ถ้าคลิ๊ก Setup.exe ไปแล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ให้ลองสังเกตดูบริเวณ Task Bar นะครับ อาจจะมีหน้าต่างเปิดอยู่ แต่ว่าถูกซ่อนเอาไว้ ให้คลิ๊กเพื่อเรียกหน้าต่า่งนั้นขึ้นมาครับ
    3. ห้ามคลิ๊ก Cancel ในขั้นตอน Install ต่อจากนี้ไปนะครับ

    30.หน้าต่างเตรียมติดตั้ง Boot Camp Driver

    R0011450.jpg

    เค้าจะให้เรายืนยันครับ เลือก Continue ไป

    31.รอสักพัก จะมีหน้าต่าง Boot Camp Installer ขึ้นมาให้เลือก Next

    R0011452.jpg

    32.หน้าต่างยอมรับข้อตกลงการใช้งาน Boot Camp เลือก Accept แล้วเลือก Next ครับ

    R0011453.jpg

    33.หน้าต่างเลือก Software update for Windows ของทาง Apple สำหรับ เลือกตรงนี้ไปแล้วกด Next ครับ

    R0011454.jpg

    ดูขั้นตอนที่ 35 ได้จาก บทความที่ 7.การติดตั้ง windows #5 เป็นขั้นตอนต่อไปจากตรงนี้ครับ

    7.การติดตั้ง Windows #5

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 7
    การติดตั้ง Windows #5 : Install Boot Camp Drivers (ต่อ)

    เนื้อหาบทความนี้ประกอบไปด้วย

    • การติดตั้ง Boot Camp Driver เพื่อให้เครื่อง Mac ของเราทำงานได้อย่างถูกต้องกับ Windows ครับ(ต่อจากตอนที่แล้ว)

    34.เริ่มการติดตั้ง Driver ต่าง ๆ ลงบนเครื่องครับ

    R0011455.jpg

    note : อาจจะมีการ refresh หน้าจอบ้างระหว่างที่ติดตั้ง driver เกี่ยวกับกราฟฟิกครับ

    35.ระหว่างนี้อาจจะมีหน้าต่างแจ้งเตือน error (problem) ขึ้นมาได้ครับ จากตัวอย่างที่ผมลองกดเข้าไปดูมีพบปัญหาอยู่ 3 ตัว ซึ่งผมไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่านี้ครับ =)

    R0011456.jpg

    36.หน้าต่างแจ้งว่า Install Driver ต่าง ๆ ที่จำเป็นเสร็จแล้ว กด Next ครับ

    R0011457.jpg

    37.แจ้งเตือนว่าให้เรา restart เครื่อง ให้เลือก Yes ไป

    R0011459.jpg

    note : ผมสังเกต Drive C: ที่แบ่งเอาไว้นะครับ แบ่งไว้ 10GB เพื่อจะลง VIsta เบร็จเสร็จทั้ง OS และ Driver กินไปเกือบ 9.5GB ครับ - -’

    38.จากนั้นก็ทำการ Update เครื่องให้เราครับ ตรงนี้ให้รอสักพัก

    R0011460.jpg

    39.แล้วจะตามด้วยการ Update windows

    R0011462.jpg

    40.update windows อีกเหมือนเดิมครับ - -’

    R0011464.jpg

    note : ระหว่างขั้นตอนที่ 38-40 นี้จะมีการ Restart เกิดขึ้น 1 ครั้งครับ

    ดูขั้นตอนที่ 41 ได้จาก บทความที่ 8.การติดตั้ง windows #6 เป็นขั้นตอนต่อไปจากตรงนี้ครับ

    8.การติดตั้ง Windows #6

    บทความขั้นตอนการ ติดตั้ง windows บน OS X ตอนที่ 8
    การติดตั้ง Windows #6 : การ Update Windows หลังการใช้งานครั้งแรก

    เนื้อหาบทความนี้ประกอบไปด้วย

    • การupdate Windows ของเราหลังจาก log in เข้าใช้งานครั้งแรก
    • การสลับกลับมาใช้ OS X จากใน Windows Vista ครับ

    ต่อครับ

    41.เราจะเข้าหน้า log in (อีกรอบ - -) ให้กรอกชื่อ + password ที่เราตั้งไว้เข้าไปครับ

    R0011465_0.jpg

    note : เปลี่ยนภาษาสำหรับการกรอกชื่อ + password ได้จากปุ่มสลับภาษาด้านซ้ายมือตอนล่างของจอครับ

    42.เหมือนบน OS X ครับ หลังจากที่เราเข้ามาใช้งานครั้งแรกแล้ว เราควรจะตาม Update Software ต่าง ๆ ของ OS ให้เป็นเวอร์ชั่นล่าสุด (จากตัวอย่างนี้ผมเจอ 1 update มารออยู่แล้วครับ มีความสุข)

    R0011467_0.jpg

    43.หลังจากกด update ไป เค้าจะมีกล่องข้อความมาเพื่อให้เรายืนยันข้อตกลง และยืนยัน (อีกที) ว่าเราต้องการจะ update software ตัวนี้นะ ก็ให้กดผ่านไปทั้งสองขั้นตอนครับ

    R0011469_0.jpg

    44.หลังจาก Update เสร็จแล้ว จะขั้นแจ้งเรามาครับ =) และหลังจากนี้เราก็จะใช้งาน Windows ได้ตามปรกติแล้ว

    R0011470_0.jpg

    45.ทดสอบเข้าเวป แมคมือใหม่.คอม จาก Vista บน Mac ครับ แบร่..

    R0011472_0.jpg

    46.และถ้าเราต้องการจะกลับไปที่ OS X ใหม่ ให้เราเลือก Boot Camp จากบริเวณ Task bar ทางด้านล่างขวามือครับ แล้วเลือกหัวข้อล่างสุด (Return To Mac OS X)

    R0011473-1_0.jpg

    47.กล่องข้อความเตือนก่อนการ Restart ครับ กด Yes~

    R0011475_0.jpg

    48.หลังจาก Restart จาก Windows แล้ว เราก็จะกลับมาที่หน้า Log in บน OS X เหมือนเดิมแล้วครับ =)

    R0011476_0.jpg

    คงหมดขั้นตอนการ Install Windows Vista (Home Basic) ลงบน Mac ผ่าน Boot Camp แต่เพียงเท่านี้นะครับ

    ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบถึงตรงนี้นะครับ (ขออภัยที่ยาวไปนิด เพราะอยากให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้) หากพบข้อผิดพลาดประการใด กรุณาแจ้งผมด้วยนะครับ จะได้แก้ไขบทความให้ถูกต้อง เพื่อที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจต่อไปครับ

    สามารถแจ้งมาได้ที่ kok[แอท]macmuemai.com ครับ

    ขอบคุณครับ

    ก๊อก

    Version ของ Windows ที่ Support อย่างเป็นทางการบน Boot Camp ครับ

    ไปเจอ url นี้มา คิดว่าเอาเก็บไว้เลยดีกว่า ดูท่าทางแล้วจะ update บ่อยกว่าเอกสารที่แจกติดมาในเครื่องครับ

    คือหน้าเอกสารใน support บนเวป apple.com นี้มีจุดประสงค์เพื่อเตือนให้เราแน่ใจว่าให้ทำการติดตั้ง windows ผ่าน Boot Camp ด้วยเวอร์ชั่นที่ระบุเอาไว้ตัวใดตัวหนึ่งเ้ท่านั้นถึงจะปลอดภัย .. ถ้าติดตั้งเวอร์ชั่นอื่นนอกจากนี้ อาจจะทำให้ restart ไม่ติดหลังจากที่ติดตั้งเสร็จไปครับ

    เวอร์ชั่นที่ระบุเอาไว้ว่า support มีดังนี้

    • Microsoft Windows XP Home or Professional Service Pack 2
    • Windows Vista Home Basic
    • Windows Vista Home Premium
    • Windows Vista Business
    • Windows Vista Ultimate

    อ่านจาก
    http://support.apple.com/kb/TS1978


    note : เมื่อเวลาผ่านไป เวอร์ชั่นของ windows ที่ bootcamp รองรับอาจจะเพิ่มเติมมากกว่านี้ ยังไงเพื่อความปลอดภัยเข้าไปตรวจดูอีกทีจากหน้า support บน apple.com อีกทีเพื่อความแน่นอนที่สุดนะครับ

    [น่ารู้] Boot Camp: Apple keyboard mapping in Windows XP and Vista

    หลังจากช่วยสมาชิกค้นหาคำตอบเกี่ยวกับตัว numlock บน bootcamp ผมไปเจอหน้า support นี้เข้าบน apple.com ครับ เป็นการเทียบเคียง key ต่าง ๆ ของ windows กับ apple keyboard รุ่นต่าง ๆ ครับ ลองเข้าไปดูกันนะครับ ยิ้ม

    http://support.apple.com/kb/HT1167

    [tip] วิธีลง windows และ OS X แบบมี 3 Partition ครับ

    คุณ Chakra เขียนขั้นตอนการลง OS X + Windows แบบมี 3 Partition เอาไว้บน Freemac.net ครับ


    http://freemac.net/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=243097#243097

    ขอบคุณคุณ Chakra มาก ๆ ครับ =)